สศอ.เปิดแผนแม่บทอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล วางเป้าหมายจัดตั้งศูนย์พัฒนาเครื่องจักรกลแห่งชาติ ดันโครงการนำร่อง 4 โครงการ ใช้เป็นแนวทางสนับสนุนผู้ประกอบการแบบครบวงจร ตั้งเป้าภายใน 10 ปี การผลิตเครื่องจักรกลและเครื่องมือกลไทย ต้องมีศักยภาพเป็นที่ยอมรับในภูมิภาค พร้อมลดการนำเข้าเครื่องจักรนอก ขยายตลาดส่งออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน จีน-เวียดนาม-มาเลเซีย
นายปิยวุฒิ ณ พัทลุง รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการได้วางแผนธุรกิจ โดยแผนแม่บทดังกล่าวได้วางเป้าหมายหลักที่จะลดปัญหาการพึ่งพาวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้มากขึ้น พร้อมกับการสร้างมาตรฐานเครื่องจักรที่ผลิตในประเทศทั้งที่เป็นเครื่องจักรเก่าและเครื่องจักรใหม่ โดยสศอ.ได้เสนอแผนให้มีโครงการนำร่อง เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเครื่องจักรกลแห่งชาติต่อไป เนื่องจาก เล็งเห็นว่า อุตสาหกรรมดังกล่าวมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งได้กำหนดเป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมเวลา 10 ปี (2548 - 2558)
"เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพปัญหาของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไทย พบว่า ความต้องการเครื่องจักรอุตสาหกรรม และเครื่องมือกล จากผู้ผลิตในประเทศมีน้อยมาก แต่จะนิยมนำเข้าเครื่องจักรทั้งใหม่และเก่าจากต่างประเทศมากกว่า โดยสถิติที่ผ่านมามีการนำเข้าสูงถึง 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ" นายปิยวุฒิกล่าว
ทั้งนี้ในเบื้องต้น สศอ.ได้จัดทำโครงการนำร่อง 4 โครงการ เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล นำไปสู่การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเครื่องจักรกลแห่งชาติต่อไป ได้แก่ 1.โครงการอุตสาหกรรมต้นแบบ เป็นการดำเนินการสร้างเครื่องจักรต้นแบบ ได้แก่เครื่องกลึงและเครื่องมิลลิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องจักรในการผลิตในโรงงาน และเป็นเครื่องจักรที่ผลิตด้วยฝีมือคนไทยและใช้ชุดควบคุม [Controller
] การผลิตที่ใช้ภาษาไทยมาเป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นการกระตุ้นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทย ให้หันมาสนใจเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักรให้มีความเที่ยงตรงและมีคุณภาพที่ดี สามารถใช้ได้ในระยะยาว
2. โครงการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล โดยจะมีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานอุตสาหกรรม ข้อมูลด้านการผลิต เช่น กำลังการผลิต ผลผลิต และประสิทธิภาพการผลิต ข้อมูลด้านการตลาด ข้อมูลด้านเครือข่าย เช่น ระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และข้อมูลด้านเทคโนโลยี ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นฐานข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น
3.โครงการจัดทำระบบสร้างเครือข่ายการผลิต[Center-Satellite Factory System
] ซึ่งในโครงการนี้ ได้วางเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดการรวมตัวของผู้ประกอบการ โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้รับงานการผลิต และกระจายงานให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยที่อยู่ในเครือข่าย เพื่อทำการผลิตชิ้นส่วนให้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
4.โครงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและผู้ประกอบการ เป็นการสร้างบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีความชำนาญเฉพาะด้าน โดยในโครงการนี้จะมีการเพิ่มหลักสูตรการฝึกงานในโรงงานก่อนสำเร็จการศึกษาให้แก่นักศึกษา เพื่อให้ได้เรียนรู้ทักษะวิชาชีพจากการปฏิบัติงานจริง
นายปิยวุฒิ กล่าวเสริมว่า แม้ว่าโครงการการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องของมาตรฐานและความเที่ยงตรงในการผลิตชิ้นงานออกมา แต่ขณะเดียวกันการศึกษาเครื่องจักรบางชนิด พบว่า ยังมีศักยภาพในการส่งออกได้แก่ เครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐทั้งในด้านการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เนื่องจาก ที่ผ่านมาบีโอไอได้ให้สิทธิพิเศษโดยการขอคืนภาษีในส่วนเครื่องจักรได้ สำหรับผู้ประกอบการที่มีการนำเข้าเครื่องจักรสำเร็จรูปต่างประเทศได้เท่านั้น รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ มีผลทำให้ผู้ประกอบการไทยซึ่งเป็นรายเล็กไม่มีโอกาสในการพัฒนาการผลิตเครื่องจักร ขึ้นมารองรับความต้องการในประเทศได้ทันที
ดังนั้นหากการส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักรรองรับตลาดในประเทศเพื่อนบ้านได้ อาทิ จีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลของไทยจะสามารถส่งออกไปจำหน่ายได้อย่างดีในอนาคต
ทั้งนี้ที่ผ่านมาการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศมักมุ่งเน้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำ ทำให้ประเทศไทยมีการนำเข้าเครื่องจักรกลในมูลค่าที่สูง และผู้ประกอบการในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้าได้ ซึ่งหากมีศูนย์กลางที่ทำหน้าที่สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมในทุกด้าน คาดว่า จะสามารถพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลภายในประเทศ รวมทั้ง สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นายปิยวุฒิ ณ พัทลุง รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการได้วางแผนธุรกิจ โดยแผนแม่บทดังกล่าวได้วางเป้าหมายหลักที่จะลดปัญหาการพึ่งพาวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้มากขึ้น พร้อมกับการสร้างมาตรฐานเครื่องจักรที่ผลิตในประเทศทั้งที่เป็นเครื่องจักรเก่าและเครื่องจักรใหม่ โดยสศอ.ได้เสนอแผนให้มีโครงการนำร่อง เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเครื่องจักรกลแห่งชาติต่อไป เนื่องจาก เล็งเห็นว่า อุตสาหกรรมดังกล่าวมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งได้กำหนดเป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมเวลา 10 ปี (2548 - 2558)
"เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพปัญหาของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไทย พบว่า ความต้องการเครื่องจักรอุตสาหกรรม และเครื่องมือกล จากผู้ผลิตในประเทศมีน้อยมาก แต่จะนิยมนำเข้าเครื่องจักรทั้งใหม่และเก่าจากต่างประเทศมากกว่า โดยสถิติที่ผ่านมามีการนำเข้าสูงถึง 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ" นายปิยวุฒิกล่าว
ทั้งนี้ในเบื้องต้น สศอ.ได้จัดทำโครงการนำร่อง 4 โครงการ เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล นำไปสู่การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเครื่องจักรกลแห่งชาติต่อไป ได้แก่ 1.โครงการอุตสาหกรรมต้นแบบ เป็นการดำเนินการสร้างเครื่องจักรต้นแบบ ได้แก่เครื่องกลึงและเครื่องมิลลิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องจักรในการผลิตในโรงงาน และเป็นเครื่องจักรที่ผลิตด้วยฝีมือคนไทยและใช้ชุดควบคุม [Controller
] การผลิตที่ใช้ภาษาไทยมาเป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นการกระตุ้นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทย ให้หันมาสนใจเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักรให้มีความเที่ยงตรงและมีคุณภาพที่ดี สามารถใช้ได้ในระยะยาว
2. โครงการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล โดยจะมีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานอุตสาหกรรม ข้อมูลด้านการผลิต เช่น กำลังการผลิต ผลผลิต และประสิทธิภาพการผลิต ข้อมูลด้านการตลาด ข้อมูลด้านเครือข่าย เช่น ระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และข้อมูลด้านเทคโนโลยี ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นฐานข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น
3.โครงการจัดทำระบบสร้างเครือข่ายการผลิต[Center-Satellite Factory System
] ซึ่งในโครงการนี้ ได้วางเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดการรวมตัวของผู้ประกอบการ โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้รับงานการผลิต และกระจายงานให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยที่อยู่ในเครือข่าย เพื่อทำการผลิตชิ้นส่วนให้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
4.โครงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและผู้ประกอบการ เป็นการสร้างบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีความชำนาญเฉพาะด้าน โดยในโครงการนี้จะมีการเพิ่มหลักสูตรการฝึกงานในโรงงานก่อนสำเร็จการศึกษาให้แก่นักศึกษา เพื่อให้ได้เรียนรู้ทักษะวิชาชีพจากการปฏิบัติงานจริง
นายปิยวุฒิ กล่าวเสริมว่า แม้ว่าโครงการการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องของมาตรฐานและความเที่ยงตรงในการผลิตชิ้นงานออกมา แต่ขณะเดียวกันการศึกษาเครื่องจักรบางชนิด พบว่า ยังมีศักยภาพในการส่งออกได้แก่ เครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐทั้งในด้านการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เนื่องจาก ที่ผ่านมาบีโอไอได้ให้สิทธิพิเศษโดยการขอคืนภาษีในส่วนเครื่องจักรได้ สำหรับผู้ประกอบการที่มีการนำเข้าเครื่องจักรสำเร็จรูปต่างประเทศได้เท่านั้น รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ มีผลทำให้ผู้ประกอบการไทยซึ่งเป็นรายเล็กไม่มีโอกาสในการพัฒนาการผลิตเครื่องจักร ขึ้นมารองรับความต้องการในประเทศได้ทันที
ดังนั้นหากการส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักรรองรับตลาดในประเทศเพื่อนบ้านได้ อาทิ จีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลของไทยจะสามารถส่งออกไปจำหน่ายได้อย่างดีในอนาคต
ทั้งนี้ที่ผ่านมาการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศมักมุ่งเน้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำ ทำให้ประเทศไทยมีการนำเข้าเครื่องจักรกลในมูลค่าที่สูง และผู้ประกอบการในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้าได้ ซึ่งหากมีศูนย์กลางที่ทำหน้าที่สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมในทุกด้าน คาดว่า จะสามารถพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลภายในประเทศ รวมทั้ง สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-