สรุปผลเบื้องต้นการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในปี 2547
สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเป็นประจำทุก 2 ปี สำหรับการสำรวจ
ปี 2547 นี้ ใช้ครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างทั่วประเทศประมาณ 46,600 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็น 12 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมี
ครัวเรือนตัวอย่างกระจายอยู่ในทุกจังหวัด และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเดือนละกลุ่ม ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2547 และ
เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลให้มีข้อมูลใช้ในระดับหนึ่ง สำนักงานฯ จึงได้ทำการสรุปผลเบื้องต้นจากข้อมูล 6 เดือนแรก
(ม.ค.-มิ.ย. 2547) ซึ่งสรุปผลได้ดังนี้
รายได้ของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีขนาดครัวเรือนเฉลี่ย 3.4 คน มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 14,617 บาทต่อครัวเรือน (เป็นรายได้
ของครัวเรือนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา แล้วนำมาเฉลี่ยต่อเดือน) ซึ่งพบว่า รายได้ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.8 มาจากค่าจ้างและ
เงินเดือน ร้อยละ 17.9 มาจากกำไรสุทธิจากการทำธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ใช่การเกษตร ร้อยละ 11.2 เป็นกำไรสุทธิจากการทำ
การเกษตร และร้อยละ 12.0 เป็นรายได้จากทรัพย์สิน เงินช่วยเหลือและบำเหน็จ/บำนาญ เป็นต้น สำหรับรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน
คิดเป็นร้อยละ 16.1 ของรายได้ทั้งหมด
ตาราง 1 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 1/ จำแนกตามแหล่งที่มาของรายได้ เป็นรายภาค
มูลค่า : บาท
แหล่งที่มาของรายได้ ทั่วราช กรุงเทพมหานคร กลาง เหนือ ตะวันออก ใต้
อาณาจักร และ 3 จังหวัด 2/ เฉียงเหนือ
อัตราร้อยละของครัวเรือน 100.0 18.0 19.0 19.6 30.9 12.5
ขนาดของครัวเรือนโดยเฉลี่ย 3.4 3.2 3.4 3.2 3.7 3.7
รายได้ทั้งสิ้น 14,617 26,351 16,513 10,897 9,916 14,319
ค่าจ้างและเงินเดือน 6,260 15,678 7,183 3,975 3,114 4,309
กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจ
ส่วนตัวที่ไม่ใช่การเกษตร 2,614 4,952 3,217 1,939 1,323 2,994
กำไรสุทธิจากการทำการเกษตร 1,637 137 2,039 1,513 1,480 3,489
รายได้เป็นตัวเงินจากแหล่งอื่น ๆ 3/ 1,756 2,303 1,586 1,539 1,889 1,322
รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน 4/ 2,350 3,281 2,488 1,930 2,110 2,205
1/ เป็นรายได้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา แล้วนำมาเฉลี่ยต่อเดือน
2/ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
3/ รายได้เป็นตัวเงินจากแหล่งอื่นๆ ได้แก่ รายได้จากทรัพย์สิน เงินที่ได้รับการช่วยเหลือ บำเหน็จ บำนาญ และรายรับที่เป็น
ตัวเงินอื่นๆ
4/ มูลค่าสิ่งของที่ได้รับมาโดยไม่ต้องซื้อ รวมค่าประเมินค่าเช่าบ้านที่ครัวเรือนเป็นเจ้าของ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีรายได้เฉลี่ยสูงสุด
คือ เดือนละ 26,351 บาทต่อครัวเรือน รองลงมา คือ ครัวเรือนในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ
16,513 บาท 14,319 บาท และ 10,897 บาท ตามลำดับ ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าทุกภาค
(9,916 บาท) โดยรายได้ส่วนใหญ่ของครัวเรือนในทุกภาคมาจากค่าจ้างและเงินเดือน สำหรับแหล่งที่เป็นรายได้หลักอันดับรองลงมา
จะแตกต่างกัน โดยที่ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ รวมทั้งภาคกลางและภาคเหนือจะเป็นรายได้จาก
กำไรจากการทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร ส่วนครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้จะเป็นรายได้จากกำไรจากการทำการ
เกษตร
ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 12,115 บาทต่อครัวเรือน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นการสะสมทุน เช่น
ค่าซื้อ/เช่าซื้อบ้าน ที่ดินและของมีค่าต่างๆ) ในจำนวนนี้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคร้อยละ 88.7 หรือ 10,748 บาท และ
เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคอีกร้อยละ 11.3 หรือ 1,367 บาท ซึ่งได้แก่ ค่าภาษี ดอกเบี้ย ค่าเบี้ยประกัน
เงินบริจาคหรือเงินซื้อของขวัญ เงินซื้อสลากกินแบ่ง เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้นส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร
เครื่องดื่ม และยาสูบ (ร้อยละ 33.2) รองลงมา ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและค่าบริการสื่อสารร้อยละ 21.0
ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้านร้อยละ 20.7 นอกจากนี้ในแต่ละเดือนครัวเรือนยังมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่ารักษาพยาบาลและรายจ่าย
ส่วนบุคคลร้อยละ 4.8 และค่าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 3.6
ตาราง 2 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 1/ จำแนกตามประเภทของค่าใช้จ่าย เป็นรายภาค
มูลค่า : บาท
แหล่งที่มาของรายได้ ทั่วราช กรุงเทพมหานคร กลาง เหนือ ตะวันออก ใต้
อาณาจักร และ 3 จังหวัด 2/ เฉียงเหนือ
อัตราร้อยละของครัวเรือน 100.0 18.0 19.0 19.6 30.9 12.5
ขนาดของครัวเรือนโดยเฉลี่ย 3.4 3.2 3.4 3.2 3.7 3.7
ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 12,115 20,547 13,220 9,484 8,493 12,807
อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ 4,022 6,078 4,342 3,022 3,179 4,559
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ
และค่าบริการสื่อสาร 2,551 4,655 2,882 1,983 1,490 2,895
ที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้าน 3/ 2,507 4,405 2,818 1,914 1,774 2,368
ค่าตรวจรักษาพยาบาล และ
รายจ่ายส่วนบุคคล 578 981 656 472 393 582
เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 436 528 474 384 329 603
ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคอื่น ๆ 4/ 654 1,222 704 564 460 481
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการ
อุปโภคบริโภค 5/ 1,367 2,678 1,344 1,145 868 1,319
1/ ค่าใช้จ่าย ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นการสะสมทุน เช่น ซื้อ/เช่าซื้อบ้าน ที่ดิน และของมีค่าต่าง ๆ เช่น เพชร พลอย
2/ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
3/ รวมค่าประเมินค่าเช่าบ้านที่ครัวเรือนเป็นเจ้าของ
4/ รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
5/ รวมค่าภาษี ของขวัญ และเงินบริจาค เบี้ยประกันภัย เงินซื้อสลากกินแบ่ง ดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค
ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าครัวเรือนในภาคอื่นๆ มาก คือ
เฉลี่ยเดือนละ 20,547 บาทต่อครัวเรือน รองลงมา คือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 13,220 บาท
12,807 บาท และ 9,484 บาท ตามลำดับ ขณะที่ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้จ่ายต่ำกว่าภาคอื่น คือ เฉลี่ยเดือน
ละ 8,493 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ซึ่งต่ำกว่าภาคอื่นๆ ครัวเรือนในทุกภาคมีลักษณะการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค
เป็นไปในแนวทางเดียวกันและมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมีค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
ยานพาหนะและค่าบริการสื่อสาร และค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้าน โดยมีข้อสังเกตว่า ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จะมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ สูงกว่าภาคอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 37.4) และมีค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับยานพาหนะและค่าบริการสื่อสารต่ำกว่าภาคอื่นๆ (ร้อยละ17.6) ขณะที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารฯ เพียงร้อยละ 29.6 และมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและการสื่อสารสูงถึงร้อยละ 22.7
หนี้สินของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีหนี้สินโดยเฉลี่ย 103,940 บาทต่อครัวเรือน ในจำนวนนี้เป็นหนี้สินเพื่อการใช้จ่ายในครัวเรือน
67,189 บาท หรือร้อยละ 64.7 ซึ่งเป็นหนี้สินที่เกิดจากการซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดินร้อยละ 37.1 และใช้จ่ายอุปโภคบริโภคร้อยละ
27.6 นอกจากนี้ ก็ยังมีหนี้สินที่กู้มาเพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตรจำนวน 17,262 บาท (ร้อยละ 16.6) และกู้มาเพื่อใช้ทำการ
เกษตร 16,656 บาท (ร้อยละ 16.0) ที่เหลือเป็นหนี้สินอื่นๆ
ตาราง 3 จำนวนหนี้สินโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือน จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม เป็นรายภาค
มูลค่า : บาท
แหล่งที่มาของรายได้ ทั่วราช กรุงเทพมหานคร กลาง เหนือ ตะวันออก ใต้
อาณาจักร และ 3 จังหวัด 2/ เฉียงเหนือ
หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 103,940 168,074 116,680 89,195 78,978 88,665
เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน 67,189 124,893 73,086 50,243 50,759 52,340
-ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน 38,533 88,604 46,061 24,555 21,742 27,243
-ใช้จ่ายอุปโภคบริโภค 28,656 36,289 27,025 25,688 29,017 25,097
เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร 17,262 33,553 20,222 13,078 8,705 19,862
เพื่อใช้ทำการเกษตร 16,656 1,473 21,919 24,019 17,303 15,261
หนี้อื่นๆ 2/ 2,833 8,155 1,453 1,855 2,211 1,202
1/ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
2/ หนี้อื่นๆ ได้แก่ หนี้จากการค้ำประกันบุคคลอื่น หนี้ค่าปรับหรือจ่ายชดเชยค่าเสียหาย เป็นต้น
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีหนี้สินเฉลี่ยต่อ
ครัวเรือนสูงที่สุด คือ 168,074 บาท และมีสัดส่วนของหนี้สินเพื่อการใช้จ่ายในครัวเรือนสูงกว่าภาคอื่นๆ คือ ร้อยละ 74.3 ซึ่ง
ในจำนวนนี้ใช้ในการซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดินสูงถึงร้อยละ 52.7 สำหรับครัวเรือนในภาคกลาง มีหนี้สินเฉลี่ย 116,680 บาทต่อ
ครัวเรือน โดยเป็นหนี้สินเพื่อการใช้จ่ายของครัวเรือนค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน คือ ร้อยละ 62.6 ขณะที่ครัวเรือนในภาคเหนือ
ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 89,195 บาท 88,665 บาท และ 78,978 บาท ตามลำดับ
โดยมีสัดส่วนของหนี้สินเพื่อการใช้จ่ายในครัวเรือนอยู่ระหว่างร้อยละ 56-64 และมีข้อสังเกตว่า ครัวเรือนในภาคตะวันออก-
เฉียงเหนือมีหนี้สินเพื่อการอุปโภคและบริโภคสูงกว่าภาคอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 36.8)
เปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของครัวเรือนปี 2547 กับปี 2545
ในการเสนอผล ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้ โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลจากการสำรวจ
ในปี 2545 ในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนโดยรวมทั่วประเทศ (เป็นรายได้ของครัวเรือนในรอบ 12
เดือนที่ผ่านมานำมาเฉลี่ยต่อเดือน) เพิ่มขึ้นจาก 13,418 บาท ในปี 2545 เป็น 14,617 บาท ในปี 2547 หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น
อัตราร้อยละ 4.4 ต่อปี โดยครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากทุกแหล่งที่มา ทั้งรายได้จากค่าจ้างและเงินเดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8)
กำไรจากการทำการเกษตร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4) กำไรจากการทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7) รวมทั้งรายได้
ที่ไม่เป็นตัวเงิน เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในทุกภาคเพิ่มขึ้น ยกเว้นเพียงครัวเรือนใน
กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ลดลงประมาณร้อยละ 2.1 ต่อปี ครัวเรือนในภาคกลางและภาคเหนือมี
รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าภาคอื่นๆ คือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และ 9.4 ต่อปี ส่วนครัวเรือนในภาคอื่นๆ มีรายได้เฉลี่ยต่อ
ครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4-7 ต่อปี ส่วนในด้านการใช้จ่ายนั้น ครัวเรือนทั่วประเทศมีการใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้นประมาณ
ร้อยละ 5.4 ซึ่งพบว่าครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายสินค้าและบริการทุกประเภทเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและบริการ
สื่อสารเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 ต่อปี รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคอื่นๆ และค่าที่อยู่อาศัยและ
เครื่องใช้ในบ้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 - 7 ต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่า ครัวเรือนเกือบทุกภาคมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้น โดย
เฉพาะครัวเรือนในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคใต้ มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8-10 ต่อปี ยกเว้นเพียงครัวเรือนใน
กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ
หากพิจารณาเปรียบเทียบความพอเพียงของรายได้ที่ครัวเรือนนำมาใช้จ่าย พบว่า ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ใช้จ่ายคิดเป็นร้อยละ 85.6 ของรายได้ทั้งสิ้น ซึ่งต่ำกว่าปี 2545 เป็นผลให้ครัวเรือนในภาคนี้มีเงินเหลือสำหรับการเก็บออมมากขึ้น
ขณะที่ครัวเรือนในภาคกลางมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับปี 2545 ส่วนในภาคอื่น ๆนั้น มีสัดส่วนของเงินรายได้
ที่เหลือจากการใช้จ่ายลดน้อยลงกว่าปี 2545
สำหรับหนี้สินของครัวเรือนโดยรวมทั่วประเทศในปี 2547 เพิ่มขึ้นคิดเป็นอัตราร้อยละ 11.7 ต่อปี เมื่อเทียบกับปี 2545
โดยจำนวนหนี้สินที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนและเพื่อใช้ทำการเกษตร เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า
ครัวเรือนในทุกภาคมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนในภาคกลางและภาคเหนือมีหนี้สินเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ
22.3 และ 24.8 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ มีหนี้สินเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
หากพิจารณาเปรียบเทียบสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนเกือบทุกภาคมีสัดส่วนดังกล่าว
เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ยกเว้นครัวเรือนในภาคใต้ที่มีสัดส่วนลดลงจาก 6.4 เท่าในปี 2545 เป็น 6.2 เท่าในปี 2547
ตาราง 4 เปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนและหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ในช่วงครึ่งปีแรกของ
ปี 2547 กับปี 2545 เป็นรายภาค
มูลค่า : บาท
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน อัตราร้อยละของ
ร้อยละของ ร้อยละของ ร้อยละของ ค่าใช้จ่ายต่อรายได้
การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ปี 2545 ปี 2547
ภาค ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี
ทั่วราชอาณาจักร 13,418 14,617 4.4 10,908 12,115 5.4 83,314 103,940 11.7 81.3 82.9
กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด 1/ 27,514 26,351 -2.1 20,589 20,547 -0.1 161,980 168,074 1.9 74.8 78.0
กลาง 13,750 16,513 9.6 11,025 13,220 9.5 77,948 116,680 22.3 80.2 80.1
เหนือ 9,101 10,897 9.4 7,775 9,484 10.4 57,297 89,195 24.8 85.4 87.0
ตะวันออกเฉียงเหนือ 9,126 9,916 4.2 7,869 8,493 3.9 63,963 78,978 11.1 86.2 85.6
ใต้ 12,576 14,319 6.7 10,965 12,807 8.1 80,579 88,665 4.9 87.2 89.4
1/ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
ตาราง 5 เปรียบเทียบรายได้ตามแหล่งที่มา ประเภทค่าใช้จ่าย และหนี้สินตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม
ของครัวเรือนในช่วงครึ่งปีแรกของ ปี 2547 กับปี 2545 ทั่วราชอาณาจักร
มูลค่า : บาท
อัตราร้อยละของ
รายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ปี 2545 ปี 2547 การเปลี่ยนแปลงต่อปี
รายได้ทั้งสิ้นต่อเดือน 13,418 14,617 4.4
ค่าจ้างและเงินเดือน 5,589 6,260 5.8
กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจส่วนตัว
ที่ไม่ใช่การเกษตร 2,432 2,614 3.7
กำไรสุทธิจากการทำการเกษตร 1,502 1,637 4.4
รายได้เป็นตัวเงินจากแหล่งอื่นๆ 1,702 1,756 1.5
รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน 2,191 2,350 3.6
ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อเดือน 10,908 12,115 5.4
อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ 3,938 4,022 1.1
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและบริการสื่อสาร 1,886 2,551 16.3
ที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้าน 2,254 2,507 5.5
ค่าตรวจรักษาพยาบาลและรายจ่ายส่วนบุคคล 561 578 1.5
เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 403 436 4.0
ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคอื่นๆ 576 654 6.6
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค 1,289 1,367 3.0
หนี้สินต่อครัวเรือน 83,314 103,940 11.7
เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน 50,504 67,189 15.3
เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร 17,541 17,262 -0.8
เพื่อใช้ทำการเกษตร 13,249 16,656 12.1
หนี้อื่นๆ 2,021 2,833 18.4
รายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินของครัวเรือน ตามกลุ่มสถานะทางเศรษฐสังคม
เมื่อพิจารณารายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ตามกลุ่มสถานะทางเศรษฐสังคม (กำหนดตามอาชีพและสถานภาพการ
ทำงานของผู้มีรายได้สูงสุดในครัวเรือน) พบว่า ในปี 2547 ครัวเรือนทุกกลุ่ม มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2545
ครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตรที่เป็นเจ้าของที่ดิน มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่ากลุ่มอื่น คือ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ
7.8 ต่อปี ครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ และนักบริหาร และครัวเรือนคนงานเกษตร มีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตรา
ร้อยละ 5-6 ต่อปี ส่วนครัวเรือนกลุ่มอื่นมีรายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 4 สำหรับการใช้จ่ายนั้น พบว่า ครัวเรือนทุกกลุ่มมีค่าใช้จ่าย
เฉลี่ยต่อเดือนในปี 2547 เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2545 โดยที่ครัวเรือนเกือบทุกกลุ่มมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าการเพิ่มขึ้น
ของรายได้ในแต่ละกลุ่ม ยกเว้นครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตรที่เป็นเจ้าของที่ดินและครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ
และนักบริหารเท่านั้นที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า สำหรับความพอเพียงของรายได้ในการใช้จ่ายนั้น ครัวเรือนเกือบทุกกลุ่มมี
รายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ยกเว้นครัวเรือนคนงานเกษตรเพียงกลุ่มเดียวที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งในปี 2545 และปี 2547
โดยในปี 2547 ใช้จ่ายมากกว่ารายได้ประมาณร้อยละ 5
สำหรับหนี้สินของครัวเรือนนั้น พบว่าครัวเรือนทุกกลุ่มมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนในปี 2547 เพิ่มขึ้นจากปี 2545 โดยเฉพาะ
ครัวเรือนคนงานทั่วไปมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น คือ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 47.5 ต่อปี ครัวเรือนลูกจ้างที่
ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตมีหนี้สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2 ต่อปี ขณะที่ครัวเรือนลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ วิชาการและนักบริหาร
ครัวเรือนคนงานเกษตรและครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตรที่เช่าที่ดินมีหนี้สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 19-21 สำหรับครัวเรือนผู้ดำเนินธุรกิจ
ที่ไม่ใช่การเกษตรมีหนี้สินเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 0.9 ต่อปี
ตาราง 6 เปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนและหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนในช่วงครึ่งปีแรกของ
ปี 2547 กับปี 2545 จำแนกตามสถานะทางเศรษฐสังคมของครัว
มูลค่า : บาท
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน อัตราร้อยละของ
ร้อยละของ ร้อยละของ ร้อยละของ ค่าใช้จ่ายต่อรายได้
การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ปี 2545 ปี 2547
สถานะทางเศรษฐสังคม ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี
ครัวเรือนทั้งหมด 13,418 14,617 4.4 10,908 12,115 5.4 83,314 103,940 11.7 81.3 82.9
ผู้ถือครองทำการเกษตร
เป็นเจ้าของที่ดิน 8,707 10,126 7.8 7,600 8,728 7.2 56,611 62,997 5.5 87.3 86.2
เช่าที่ดิน 10,241 10,652 2.0 7,843 8,291 2.8 55,337 80,626 20.7 76.6 77.8
ผู้ดำเนินการธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่
การเกษตร 18,532 18,943 1.1 14,084 15,405 4.6 165,476 168,407 0.9 76.0 81.3
ลูกจ้าง
ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ
และนักบริหาร 33,126 36,944 5.6 24,914 26,553 3.2 234,433 331,487 18.9 75.2 71.9
คนงานเกษตร 5,467 6,122 5.8 5,649 6,404 6.5 17,693 25,148 19.2 103.3 104.6
คนงานทั่วไป 7,384 7,653 1.8 6,616 7,542 6.8 15,880 34,565 47.5 89.6 98.5
เสมียน พนักงาน พนักงานขาย
และให้บริการ 14,517 15,543 3.5 12,441 13,649 4.7 73,043 93,956 13.4 85.7 87.8
ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต 10,383 10,939 2.6 8,933 9,868 5.1 29,622 53,312 34.2 86.0 90.2
ผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจ 9,324 9,955 3.3 7,708 8,669 6.1 40,553 48,965 9.9 82.7 87.1
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเป็นประจำทุก 2 ปี สำหรับการสำรวจ
ปี 2547 นี้ ใช้ครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างทั่วประเทศประมาณ 46,600 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็น 12 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมี
ครัวเรือนตัวอย่างกระจายอยู่ในทุกจังหวัด และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเดือนละกลุ่ม ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2547 และ
เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลให้มีข้อมูลใช้ในระดับหนึ่ง สำนักงานฯ จึงได้ทำการสรุปผลเบื้องต้นจากข้อมูล 6 เดือนแรก
(ม.ค.-มิ.ย. 2547) ซึ่งสรุปผลได้ดังนี้
รายได้ของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีขนาดครัวเรือนเฉลี่ย 3.4 คน มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 14,617 บาทต่อครัวเรือน (เป็นรายได้
ของครัวเรือนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา แล้วนำมาเฉลี่ยต่อเดือน) ซึ่งพบว่า รายได้ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.8 มาจากค่าจ้างและ
เงินเดือน ร้อยละ 17.9 มาจากกำไรสุทธิจากการทำธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ใช่การเกษตร ร้อยละ 11.2 เป็นกำไรสุทธิจากการทำ
การเกษตร และร้อยละ 12.0 เป็นรายได้จากทรัพย์สิน เงินช่วยเหลือและบำเหน็จ/บำนาญ เป็นต้น สำหรับรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน
คิดเป็นร้อยละ 16.1 ของรายได้ทั้งหมด
ตาราง 1 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 1/ จำแนกตามแหล่งที่มาของรายได้ เป็นรายภาค
มูลค่า : บาท
แหล่งที่มาของรายได้ ทั่วราช กรุงเทพมหานคร กลาง เหนือ ตะวันออก ใต้
อาณาจักร และ 3 จังหวัด 2/ เฉียงเหนือ
อัตราร้อยละของครัวเรือน 100.0 18.0 19.0 19.6 30.9 12.5
ขนาดของครัวเรือนโดยเฉลี่ย 3.4 3.2 3.4 3.2 3.7 3.7
รายได้ทั้งสิ้น 14,617 26,351 16,513 10,897 9,916 14,319
ค่าจ้างและเงินเดือน 6,260 15,678 7,183 3,975 3,114 4,309
กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจ
ส่วนตัวที่ไม่ใช่การเกษตร 2,614 4,952 3,217 1,939 1,323 2,994
กำไรสุทธิจากการทำการเกษตร 1,637 137 2,039 1,513 1,480 3,489
รายได้เป็นตัวเงินจากแหล่งอื่น ๆ 3/ 1,756 2,303 1,586 1,539 1,889 1,322
รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน 4/ 2,350 3,281 2,488 1,930 2,110 2,205
1/ เป็นรายได้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา แล้วนำมาเฉลี่ยต่อเดือน
2/ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
3/ รายได้เป็นตัวเงินจากแหล่งอื่นๆ ได้แก่ รายได้จากทรัพย์สิน เงินที่ได้รับการช่วยเหลือ บำเหน็จ บำนาญ และรายรับที่เป็น
ตัวเงินอื่นๆ
4/ มูลค่าสิ่งของที่ได้รับมาโดยไม่ต้องซื้อ รวมค่าประเมินค่าเช่าบ้านที่ครัวเรือนเป็นเจ้าของ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีรายได้เฉลี่ยสูงสุด
คือ เดือนละ 26,351 บาทต่อครัวเรือน รองลงมา คือ ครัวเรือนในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ
16,513 บาท 14,319 บาท และ 10,897 บาท ตามลำดับ ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าทุกภาค
(9,916 บาท) โดยรายได้ส่วนใหญ่ของครัวเรือนในทุกภาคมาจากค่าจ้างและเงินเดือน สำหรับแหล่งที่เป็นรายได้หลักอันดับรองลงมา
จะแตกต่างกัน โดยที่ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ รวมทั้งภาคกลางและภาคเหนือจะเป็นรายได้จาก
กำไรจากการทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร ส่วนครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้จะเป็นรายได้จากกำไรจากการทำการ
เกษตร
ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 12,115 บาทต่อครัวเรือน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นการสะสมทุน เช่น
ค่าซื้อ/เช่าซื้อบ้าน ที่ดินและของมีค่าต่างๆ) ในจำนวนนี้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคร้อยละ 88.7 หรือ 10,748 บาท และ
เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคอีกร้อยละ 11.3 หรือ 1,367 บาท ซึ่งได้แก่ ค่าภาษี ดอกเบี้ย ค่าเบี้ยประกัน
เงินบริจาคหรือเงินซื้อของขวัญ เงินซื้อสลากกินแบ่ง เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้นส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร
เครื่องดื่ม และยาสูบ (ร้อยละ 33.2) รองลงมา ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและค่าบริการสื่อสารร้อยละ 21.0
ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้านร้อยละ 20.7 นอกจากนี้ในแต่ละเดือนครัวเรือนยังมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่ารักษาพยาบาลและรายจ่าย
ส่วนบุคคลร้อยละ 4.8 และค่าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 3.6
ตาราง 2 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 1/ จำแนกตามประเภทของค่าใช้จ่าย เป็นรายภาค
มูลค่า : บาท
แหล่งที่มาของรายได้ ทั่วราช กรุงเทพมหานคร กลาง เหนือ ตะวันออก ใต้
อาณาจักร และ 3 จังหวัด 2/ เฉียงเหนือ
อัตราร้อยละของครัวเรือน 100.0 18.0 19.0 19.6 30.9 12.5
ขนาดของครัวเรือนโดยเฉลี่ย 3.4 3.2 3.4 3.2 3.7 3.7
ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 12,115 20,547 13,220 9,484 8,493 12,807
อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ 4,022 6,078 4,342 3,022 3,179 4,559
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ
และค่าบริการสื่อสาร 2,551 4,655 2,882 1,983 1,490 2,895
ที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้าน 3/ 2,507 4,405 2,818 1,914 1,774 2,368
ค่าตรวจรักษาพยาบาล และ
รายจ่ายส่วนบุคคล 578 981 656 472 393 582
เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 436 528 474 384 329 603
ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคอื่น ๆ 4/ 654 1,222 704 564 460 481
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการ
อุปโภคบริโภค 5/ 1,367 2,678 1,344 1,145 868 1,319
1/ ค่าใช้จ่าย ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นการสะสมทุน เช่น ซื้อ/เช่าซื้อบ้าน ที่ดิน และของมีค่าต่าง ๆ เช่น เพชร พลอย
2/ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
3/ รวมค่าประเมินค่าเช่าบ้านที่ครัวเรือนเป็นเจ้าของ
4/ รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
5/ รวมค่าภาษี ของขวัญ และเงินบริจาค เบี้ยประกันภัย เงินซื้อสลากกินแบ่ง ดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค
ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าครัวเรือนในภาคอื่นๆ มาก คือ
เฉลี่ยเดือนละ 20,547 บาทต่อครัวเรือน รองลงมา คือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 13,220 บาท
12,807 บาท และ 9,484 บาท ตามลำดับ ขณะที่ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้จ่ายต่ำกว่าภาคอื่น คือ เฉลี่ยเดือน
ละ 8,493 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ซึ่งต่ำกว่าภาคอื่นๆ ครัวเรือนในทุกภาคมีลักษณะการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค
เป็นไปในแนวทางเดียวกันและมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมีค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
ยานพาหนะและค่าบริการสื่อสาร และค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้าน โดยมีข้อสังเกตว่า ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จะมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ สูงกว่าภาคอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 37.4) และมีค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับยานพาหนะและค่าบริการสื่อสารต่ำกว่าภาคอื่นๆ (ร้อยละ17.6) ขณะที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารฯ เพียงร้อยละ 29.6 และมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและการสื่อสารสูงถึงร้อยละ 22.7
หนี้สินของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีหนี้สินโดยเฉลี่ย 103,940 บาทต่อครัวเรือน ในจำนวนนี้เป็นหนี้สินเพื่อการใช้จ่ายในครัวเรือน
67,189 บาท หรือร้อยละ 64.7 ซึ่งเป็นหนี้สินที่เกิดจากการซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดินร้อยละ 37.1 และใช้จ่ายอุปโภคบริโภคร้อยละ
27.6 นอกจากนี้ ก็ยังมีหนี้สินที่กู้มาเพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตรจำนวน 17,262 บาท (ร้อยละ 16.6) และกู้มาเพื่อใช้ทำการ
เกษตร 16,656 บาท (ร้อยละ 16.0) ที่เหลือเป็นหนี้สินอื่นๆ
ตาราง 3 จำนวนหนี้สินโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือน จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม เป็นรายภาค
มูลค่า : บาท
แหล่งที่มาของรายได้ ทั่วราช กรุงเทพมหานคร กลาง เหนือ ตะวันออก ใต้
อาณาจักร และ 3 จังหวัด 2/ เฉียงเหนือ
หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 103,940 168,074 116,680 89,195 78,978 88,665
เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน 67,189 124,893 73,086 50,243 50,759 52,340
-ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน 38,533 88,604 46,061 24,555 21,742 27,243
-ใช้จ่ายอุปโภคบริโภค 28,656 36,289 27,025 25,688 29,017 25,097
เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร 17,262 33,553 20,222 13,078 8,705 19,862
เพื่อใช้ทำการเกษตร 16,656 1,473 21,919 24,019 17,303 15,261
หนี้อื่นๆ 2/ 2,833 8,155 1,453 1,855 2,211 1,202
1/ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
2/ หนี้อื่นๆ ได้แก่ หนี้จากการค้ำประกันบุคคลอื่น หนี้ค่าปรับหรือจ่ายชดเชยค่าเสียหาย เป็นต้น
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีหนี้สินเฉลี่ยต่อ
ครัวเรือนสูงที่สุด คือ 168,074 บาท และมีสัดส่วนของหนี้สินเพื่อการใช้จ่ายในครัวเรือนสูงกว่าภาคอื่นๆ คือ ร้อยละ 74.3 ซึ่ง
ในจำนวนนี้ใช้ในการซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดินสูงถึงร้อยละ 52.7 สำหรับครัวเรือนในภาคกลาง มีหนี้สินเฉลี่ย 116,680 บาทต่อ
ครัวเรือน โดยเป็นหนี้สินเพื่อการใช้จ่ายของครัวเรือนค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน คือ ร้อยละ 62.6 ขณะที่ครัวเรือนในภาคเหนือ
ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 89,195 บาท 88,665 บาท และ 78,978 บาท ตามลำดับ
โดยมีสัดส่วนของหนี้สินเพื่อการใช้จ่ายในครัวเรือนอยู่ระหว่างร้อยละ 56-64 และมีข้อสังเกตว่า ครัวเรือนในภาคตะวันออก-
เฉียงเหนือมีหนี้สินเพื่อการอุปโภคและบริโภคสูงกว่าภาคอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 36.8)
เปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของครัวเรือนปี 2547 กับปี 2545
ในการเสนอผล ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้ โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลจากการสำรวจ
ในปี 2545 ในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนโดยรวมทั่วประเทศ (เป็นรายได้ของครัวเรือนในรอบ 12
เดือนที่ผ่านมานำมาเฉลี่ยต่อเดือน) เพิ่มขึ้นจาก 13,418 บาท ในปี 2545 เป็น 14,617 บาท ในปี 2547 หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น
อัตราร้อยละ 4.4 ต่อปี โดยครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากทุกแหล่งที่มา ทั้งรายได้จากค่าจ้างและเงินเดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8)
กำไรจากการทำการเกษตร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4) กำไรจากการทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7) รวมทั้งรายได้
ที่ไม่เป็นตัวเงิน เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในทุกภาคเพิ่มขึ้น ยกเว้นเพียงครัวเรือนใน
กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ลดลงประมาณร้อยละ 2.1 ต่อปี ครัวเรือนในภาคกลางและภาคเหนือมี
รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าภาคอื่นๆ คือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และ 9.4 ต่อปี ส่วนครัวเรือนในภาคอื่นๆ มีรายได้เฉลี่ยต่อ
ครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4-7 ต่อปี ส่วนในด้านการใช้จ่ายนั้น ครัวเรือนทั่วประเทศมีการใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้นประมาณ
ร้อยละ 5.4 ซึ่งพบว่าครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายสินค้าและบริการทุกประเภทเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและบริการ
สื่อสารเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 ต่อปี รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคอื่นๆ และค่าที่อยู่อาศัยและ
เครื่องใช้ในบ้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 - 7 ต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่า ครัวเรือนเกือบทุกภาคมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้น โดย
เฉพาะครัวเรือนในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคใต้ มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8-10 ต่อปี ยกเว้นเพียงครัวเรือนใน
กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ
หากพิจารณาเปรียบเทียบความพอเพียงของรายได้ที่ครัวเรือนนำมาใช้จ่าย พบว่า ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ใช้จ่ายคิดเป็นร้อยละ 85.6 ของรายได้ทั้งสิ้น ซึ่งต่ำกว่าปี 2545 เป็นผลให้ครัวเรือนในภาคนี้มีเงินเหลือสำหรับการเก็บออมมากขึ้น
ขณะที่ครัวเรือนในภาคกลางมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับปี 2545 ส่วนในภาคอื่น ๆนั้น มีสัดส่วนของเงินรายได้
ที่เหลือจากการใช้จ่ายลดน้อยลงกว่าปี 2545
สำหรับหนี้สินของครัวเรือนโดยรวมทั่วประเทศในปี 2547 เพิ่มขึ้นคิดเป็นอัตราร้อยละ 11.7 ต่อปี เมื่อเทียบกับปี 2545
โดยจำนวนหนี้สินที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนและเพื่อใช้ทำการเกษตร เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า
ครัวเรือนในทุกภาคมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนในภาคกลางและภาคเหนือมีหนี้สินเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ
22.3 และ 24.8 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ มีหนี้สินเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
หากพิจารณาเปรียบเทียบสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนเกือบทุกภาคมีสัดส่วนดังกล่าว
เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ยกเว้นครัวเรือนในภาคใต้ที่มีสัดส่วนลดลงจาก 6.4 เท่าในปี 2545 เป็น 6.2 เท่าในปี 2547
ตาราง 4 เปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนและหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ในช่วงครึ่งปีแรกของ
ปี 2547 กับปี 2545 เป็นรายภาค
มูลค่า : บาท
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน อัตราร้อยละของ
ร้อยละของ ร้อยละของ ร้อยละของ ค่าใช้จ่ายต่อรายได้
การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ปี 2545 ปี 2547
ภาค ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี
ทั่วราชอาณาจักร 13,418 14,617 4.4 10,908 12,115 5.4 83,314 103,940 11.7 81.3 82.9
กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด 1/ 27,514 26,351 -2.1 20,589 20,547 -0.1 161,980 168,074 1.9 74.8 78.0
กลาง 13,750 16,513 9.6 11,025 13,220 9.5 77,948 116,680 22.3 80.2 80.1
เหนือ 9,101 10,897 9.4 7,775 9,484 10.4 57,297 89,195 24.8 85.4 87.0
ตะวันออกเฉียงเหนือ 9,126 9,916 4.2 7,869 8,493 3.9 63,963 78,978 11.1 86.2 85.6
ใต้ 12,576 14,319 6.7 10,965 12,807 8.1 80,579 88,665 4.9 87.2 89.4
1/ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
ตาราง 5 เปรียบเทียบรายได้ตามแหล่งที่มา ประเภทค่าใช้จ่าย และหนี้สินตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม
ของครัวเรือนในช่วงครึ่งปีแรกของ ปี 2547 กับปี 2545 ทั่วราชอาณาจักร
มูลค่า : บาท
อัตราร้อยละของ
รายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ปี 2545 ปี 2547 การเปลี่ยนแปลงต่อปี
รายได้ทั้งสิ้นต่อเดือน 13,418 14,617 4.4
ค่าจ้างและเงินเดือน 5,589 6,260 5.8
กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจส่วนตัว
ที่ไม่ใช่การเกษตร 2,432 2,614 3.7
กำไรสุทธิจากการทำการเกษตร 1,502 1,637 4.4
รายได้เป็นตัวเงินจากแหล่งอื่นๆ 1,702 1,756 1.5
รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน 2,191 2,350 3.6
ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อเดือน 10,908 12,115 5.4
อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ 3,938 4,022 1.1
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและบริการสื่อสาร 1,886 2,551 16.3
ที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้าน 2,254 2,507 5.5
ค่าตรวจรักษาพยาบาลและรายจ่ายส่วนบุคคล 561 578 1.5
เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 403 436 4.0
ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคอื่นๆ 576 654 6.6
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค 1,289 1,367 3.0
หนี้สินต่อครัวเรือน 83,314 103,940 11.7
เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน 50,504 67,189 15.3
เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร 17,541 17,262 -0.8
เพื่อใช้ทำการเกษตร 13,249 16,656 12.1
หนี้อื่นๆ 2,021 2,833 18.4
รายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินของครัวเรือน ตามกลุ่มสถานะทางเศรษฐสังคม
เมื่อพิจารณารายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ตามกลุ่มสถานะทางเศรษฐสังคม (กำหนดตามอาชีพและสถานภาพการ
ทำงานของผู้มีรายได้สูงสุดในครัวเรือน) พบว่า ในปี 2547 ครัวเรือนทุกกลุ่ม มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2545
ครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตรที่เป็นเจ้าของที่ดิน มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่ากลุ่มอื่น คือ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ
7.8 ต่อปี ครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ และนักบริหาร และครัวเรือนคนงานเกษตร มีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตรา
ร้อยละ 5-6 ต่อปี ส่วนครัวเรือนกลุ่มอื่นมีรายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 4 สำหรับการใช้จ่ายนั้น พบว่า ครัวเรือนทุกกลุ่มมีค่าใช้จ่าย
เฉลี่ยต่อเดือนในปี 2547 เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2545 โดยที่ครัวเรือนเกือบทุกกลุ่มมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าการเพิ่มขึ้น
ของรายได้ในแต่ละกลุ่ม ยกเว้นครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตรที่เป็นเจ้าของที่ดินและครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ
และนักบริหารเท่านั้นที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า สำหรับความพอเพียงของรายได้ในการใช้จ่ายนั้น ครัวเรือนเกือบทุกกลุ่มมี
รายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ยกเว้นครัวเรือนคนงานเกษตรเพียงกลุ่มเดียวที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งในปี 2545 และปี 2547
โดยในปี 2547 ใช้จ่ายมากกว่ารายได้ประมาณร้อยละ 5
สำหรับหนี้สินของครัวเรือนนั้น พบว่าครัวเรือนทุกกลุ่มมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนในปี 2547 เพิ่มขึ้นจากปี 2545 โดยเฉพาะ
ครัวเรือนคนงานทั่วไปมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น คือ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 47.5 ต่อปี ครัวเรือนลูกจ้างที่
ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตมีหนี้สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2 ต่อปี ขณะที่ครัวเรือนลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ วิชาการและนักบริหาร
ครัวเรือนคนงานเกษตรและครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตรที่เช่าที่ดินมีหนี้สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 19-21 สำหรับครัวเรือนผู้ดำเนินธุรกิจ
ที่ไม่ใช่การเกษตรมีหนี้สินเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 0.9 ต่อปี
ตาราง 6 เปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนและหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนในช่วงครึ่งปีแรกของ
ปี 2547 กับปี 2545 จำแนกตามสถานะทางเศรษฐสังคมของครัว
มูลค่า : บาท
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน อัตราร้อยละของ
ร้อยละของ ร้อยละของ ร้อยละของ ค่าใช้จ่ายต่อรายได้
การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ปี 2545 ปี 2547
สถานะทางเศรษฐสังคม ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี ปี 2545 ปี 2547 ต่อปี
ครัวเรือนทั้งหมด 13,418 14,617 4.4 10,908 12,115 5.4 83,314 103,940 11.7 81.3 82.9
ผู้ถือครองทำการเกษตร
เป็นเจ้าของที่ดิน 8,707 10,126 7.8 7,600 8,728 7.2 56,611 62,997 5.5 87.3 86.2
เช่าที่ดิน 10,241 10,652 2.0 7,843 8,291 2.8 55,337 80,626 20.7 76.6 77.8
ผู้ดำเนินการธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่
การเกษตร 18,532 18,943 1.1 14,084 15,405 4.6 165,476 168,407 0.9 76.0 81.3
ลูกจ้าง
ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ
และนักบริหาร 33,126 36,944 5.6 24,914 26,553 3.2 234,433 331,487 18.9 75.2 71.9
คนงานเกษตร 5,467 6,122 5.8 5,649 6,404 6.5 17,693 25,148 19.2 103.3 104.6
คนงานทั่วไป 7,384 7,653 1.8 6,616 7,542 6.8 15,880 34,565 47.5 89.6 98.5
เสมียน พนักงาน พนักงานขาย
และให้บริการ 14,517 15,543 3.5 12,441 13,649 4.7 73,043 93,956 13.4 85.7 87.8
ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต 10,383 10,939 2.6 8,933 9,868 5.1 29,622 53,312 34.2 86.0 90.2
ผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจ 9,324 9,955 3.3 7,708 8,669 6.1 40,553 48,965 9.9 82.7 87.1
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-