สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอนามัยและสวัสดิการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยในช่วงแรกได้ดำเนินการสำรวจทุกปีจนถึง พ.ศ. 2521 และตั้งแต่ พ.ศ. 2524 -- 2544 ได้ดำเนินการสำรวจทุก 5 ปี และสืบเนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ "โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค" ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานสถิติแห่งชาติให้จัดทำการสำรวจอนามัยและสวัสดิการทุกปี ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2550 ซึ่งการสำรวจครั้งนี้นับเป็นการสำรวจครั้งที่ 12 โดยดำเนินการสำรวจในเดือนเมษายน พ.ศ. 2547
1. สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจัดเป็นการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน จำแนกเป็นสวัสดิการหลักด้านค่ารักษาพยาบาลของประชากรไทยที่จัดหาให้โดยหน่วยงานของรัฐ และสวัสดิการรองด้านค่ารักษาพยาบาลของประชากรไทยที่ได้จากหน่วยงานอื่น ดังนั้นในการสำรวจครั้งนี้จึงได้ทำการสอบถามถึงสวัสดิการหลักด้านค่ารักษาพยาบาลที่ประชากรไทยทุกคนพึงได้รับจากรัฐ เพื่อใช้ในการประเมินความครอบคลุมของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาล รวมทั้งศึกษาถึงการได้รับสวัสดิการรองด้านค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นของประชากรไทย
สวัสดิการหลักด้านค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานของรัฐ
ผลจากการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 93.3 ของประชากรทั้งประเทศได้รับสวัสดิการหลักด้านค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานรัฐ โดยส่วนใหญ่ได้รับบัตรประกันสุขภาพ (บัตรทอง) มากที่สุด (ร้อยละ 78.8 ของผู้ได้รับสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐ) เป็นบัตรทองประเภทไม่มี ท. (เสีย 30 บาทป ร้อยละ 46.0 และบัตรทองประเภทมี ท. (ไม่เสีย 30 บาท) ร้อยละ 32.8
สวัสดิการรองด้านค่ารักษาพยาบาลจากหน่ายงานอื่น
ผลจากการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 5.7 ของประชากรทั้งประเทศได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น โดยส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการจากการประกันสุขภาพกับบริษัทประกัน (ร้อยละ 77.5 ของผู้ได้รับ สวัสดิการจาหน่วยงานอื่น)
2. การเจ็บป่วยในรอบ 1 เดือนก่อนการสำรวจ
จากประชากร 65.1 ล้านคน มีประชากรที่ป่วยหรือรู้สึกไม่สบายในรอบ 1 เดือนก่อนการสำรวจ จำนวน 13.4 ล้านคน (ร้อยละ 20.6) โดยภาคเหนือมีการเจ็บป่วยสูงสุด ร้อยละ 29.2 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 23.6 ภาคใต้ ร้อยละ 17.8 ภาคกลาง ร้อยละ 14.8 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 14.0
สำหรับจำนวนครั้งที่ป่วยหรือรู้สึกไม่สบายในรอบ 1 เดือน พบว่า โดยเฉลี่ยป่วยประมาณ 2 ครั้ง
ในการป่วย/รู้สึกไม่สบายครั้งสุดท้ายของผู้ป่วย จำนวน 13.4 ล้านคน ผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษา (ตอบได้มากกว่า 1 วิธี) โดยการไปรักษาที่สถานีอนามัย/ศูนย์บริการสาธารณสุข/ศูนย์สุขภาพชุมชนมากที่สุด (ร้อยละ 24.6) ซื้อยากินเอง ร้อยละ 20.9 และไปโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 19.4
สำหรับค่ารักษาพยาบาลรวมของทุกวิธีการรักษาที่เลือกใช้ในการป่วย/รู้สึกไม่สบายครั้งสุดท้าย พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย (ร้อยละ 41.1) ไม่เสียค่ารักษาพยาบาล รองลงมาเสียค่ารักษาต่ำกว่า 100 บาท (1-99 บาท) ร้อยละ 35.8 และเสียค่ารักษา 100-499 บาท ร้อยละ 18.3
3. การเข้าพักรักษาในสถานพยาบาล
จากการสำรวจ พบว่า ในรอบ 12 เดือนก่อนการสำรวจ มีประชากรเข้าพักรักษาในสถานพยาบาล จำนวน 4.5 ล้านคน (ร้อยละ 6.9 ของประชากรทั้งประเทศ) และเข้าพักรักษาในสถานพยาบาลโดยเฉลี่ย 1 ครั้ง โดยประชากรในภาคเหนือมีการเข้าพักรักษาในสถานพยาบาลสูงกว่าภาคอื่นๆ
สำหรับประเภทสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยจำนวน 4.5 ล้านคนเลือกเข้าพักรักษาในรอบ 12 เดือนก่อน การสำรวจ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) พบว่า ผู้ป่วยเลือกเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลชุมชนสูงที่สุด (ร้อยละ 52.6) รองลงมาคือ โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ (ร้อยละ 40.2) และโรงพยาบาลเอกชน (ร้อยละ 16.6)
และเมื่อพิจารณาในแต่ละภาคพบว่า ผู้ป่วยในกรุงเทพมหานครมีรูปแบบการเข้าพักรักษาแตกต่างจากภาคอื่นๆ คือ เลือกเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลเอกชนสูงที่สุด (ร้อยละ 49.1) รองลงมาคือ โรงพยาบาลสังกัดอื่นของรัฐ ร้อยละ 35.4 และโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 14.3 ตามลำดับ
ในการเข้าพักรักษาครั้งสุดท้าย ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.7 ของผู้ป่วยไม่เสียค่ารักษาพยาบาล ในขณะที่ผู้ป่วยที่เสียค่ารักษาพยาบาล พบว่า เสียค่ารักษา 1-499 บาท ร้อยละ 28.0 และเสียค่ารักษา 1,000-4,999 บาท ร้อยละ 10.7 โดยค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยเท่ากับ 2,120 บาท
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
1. สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจัดเป็นการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน จำแนกเป็นสวัสดิการหลักด้านค่ารักษาพยาบาลของประชากรไทยที่จัดหาให้โดยหน่วยงานของรัฐ และสวัสดิการรองด้านค่ารักษาพยาบาลของประชากรไทยที่ได้จากหน่วยงานอื่น ดังนั้นในการสำรวจครั้งนี้จึงได้ทำการสอบถามถึงสวัสดิการหลักด้านค่ารักษาพยาบาลที่ประชากรไทยทุกคนพึงได้รับจากรัฐ เพื่อใช้ในการประเมินความครอบคลุมของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาล รวมทั้งศึกษาถึงการได้รับสวัสดิการรองด้านค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นของประชากรไทย
สวัสดิการหลักด้านค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานของรัฐ
ผลจากการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 93.3 ของประชากรทั้งประเทศได้รับสวัสดิการหลักด้านค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานรัฐ โดยส่วนใหญ่ได้รับบัตรประกันสุขภาพ (บัตรทอง) มากที่สุด (ร้อยละ 78.8 ของผู้ได้รับสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐ) เป็นบัตรทองประเภทไม่มี ท. (เสีย 30 บาทป ร้อยละ 46.0 และบัตรทองประเภทมี ท. (ไม่เสีย 30 บาท) ร้อยละ 32.8
สวัสดิการรองด้านค่ารักษาพยาบาลจากหน่ายงานอื่น
ผลจากการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 5.7 ของประชากรทั้งประเทศได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น โดยส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการจากการประกันสุขภาพกับบริษัทประกัน (ร้อยละ 77.5 ของผู้ได้รับ สวัสดิการจาหน่วยงานอื่น)
2. การเจ็บป่วยในรอบ 1 เดือนก่อนการสำรวจ
จากประชากร 65.1 ล้านคน มีประชากรที่ป่วยหรือรู้สึกไม่สบายในรอบ 1 เดือนก่อนการสำรวจ จำนวน 13.4 ล้านคน (ร้อยละ 20.6) โดยภาคเหนือมีการเจ็บป่วยสูงสุด ร้อยละ 29.2 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 23.6 ภาคใต้ ร้อยละ 17.8 ภาคกลาง ร้อยละ 14.8 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 14.0
สำหรับจำนวนครั้งที่ป่วยหรือรู้สึกไม่สบายในรอบ 1 เดือน พบว่า โดยเฉลี่ยป่วยประมาณ 2 ครั้ง
ในการป่วย/รู้สึกไม่สบายครั้งสุดท้ายของผู้ป่วย จำนวน 13.4 ล้านคน ผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษา (ตอบได้มากกว่า 1 วิธี) โดยการไปรักษาที่สถานีอนามัย/ศูนย์บริการสาธารณสุข/ศูนย์สุขภาพชุมชนมากที่สุด (ร้อยละ 24.6) ซื้อยากินเอง ร้อยละ 20.9 และไปโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 19.4
สำหรับค่ารักษาพยาบาลรวมของทุกวิธีการรักษาที่เลือกใช้ในการป่วย/รู้สึกไม่สบายครั้งสุดท้าย พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย (ร้อยละ 41.1) ไม่เสียค่ารักษาพยาบาล รองลงมาเสียค่ารักษาต่ำกว่า 100 บาท (1-99 บาท) ร้อยละ 35.8 และเสียค่ารักษา 100-499 บาท ร้อยละ 18.3
3. การเข้าพักรักษาในสถานพยาบาล
จากการสำรวจ พบว่า ในรอบ 12 เดือนก่อนการสำรวจ มีประชากรเข้าพักรักษาในสถานพยาบาล จำนวน 4.5 ล้านคน (ร้อยละ 6.9 ของประชากรทั้งประเทศ) และเข้าพักรักษาในสถานพยาบาลโดยเฉลี่ย 1 ครั้ง โดยประชากรในภาคเหนือมีการเข้าพักรักษาในสถานพยาบาลสูงกว่าภาคอื่นๆ
สำหรับประเภทสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยจำนวน 4.5 ล้านคนเลือกเข้าพักรักษาในรอบ 12 เดือนก่อน การสำรวจ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) พบว่า ผู้ป่วยเลือกเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลชุมชนสูงที่สุด (ร้อยละ 52.6) รองลงมาคือ โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ (ร้อยละ 40.2) และโรงพยาบาลเอกชน (ร้อยละ 16.6)
และเมื่อพิจารณาในแต่ละภาคพบว่า ผู้ป่วยในกรุงเทพมหานครมีรูปแบบการเข้าพักรักษาแตกต่างจากภาคอื่นๆ คือ เลือกเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลเอกชนสูงที่สุด (ร้อยละ 49.1) รองลงมาคือ โรงพยาบาลสังกัดอื่นของรัฐ ร้อยละ 35.4 และโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 14.3 ตามลำดับ
ในการเข้าพักรักษาครั้งสุดท้าย ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.7 ของผู้ป่วยไม่เสียค่ารักษาพยาบาล ในขณะที่ผู้ป่วยที่เสียค่ารักษาพยาบาล พบว่า เสียค่ารักษา 1-499 บาท ร้อยละ 28.0 และเสียค่ารักษา 1,000-4,999 บาท ร้อยละ 10.7 โดยค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยเท่ากับ 2,120 บาท
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-