1. การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าขาย/รายรับ ระหว่างไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2547
จากการสำรวจสถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เขตเทศบาล
และนอกเขตเทศบาล (อบต.) ทั่วประเทศ โดยใช้ตัวอย่างจำนวนประมาณ 4,046 แห่ง พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ธุรกิจมี
ยอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 เพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.5
ธุรกิจค้าปลีกมียอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 2.0 โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในกิจการที่มีคนทำงาน
16-25 คน 31-50 คน และ 1-15 คน ประมาณร้อยละ 19.6 11.7 และ 2.4 ตามลำดับ ธุรกิจค้าปลีก ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นใน
ไตรมาสนี้ ได้แก่ การขายปลีกอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบในร้านขายเฉพาะอย่าง ขายปลีกอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบเป็นสินค้าหลัก
ดิสเคาน์สโตร์ ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต สินค้าทั่วไป ห้างสรรพสินค้า ขายปลีกสิ่งทอ เสื้อผ้า ขายปลีกยา เวชภัณฑ์
เครื่องสำอาง ฯลฯ สาเหตุที่มียอดขายเพิ่มขึ้นนั้นสถานประกอบการ ประมาณ ร้อยละ 45.4 รายงานว่าเนื่องจากลูกค้ามีกำลังซื้อ
มากขึ้น ร้อยละ 24.7 รายงานว่า เป็นช่วงเทศกาลวันหยุดตามประเพณี ทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น
สำหรับธุรกิจค้าปลีกที่มีคนทำงาน 26-30 คน และกิจการขนาดใหญ่ (คนทำงาน 201 คน ขึ้นไป) มี ยอดขายลดลง
ประมาณร้อยละ 5.5 และ 3.5 ตามลำดับ ซึ่งได้แก่ ขายปลีกของใช้แล้วโดยไม่มีร้าน ซ่อมแซมของใช้
ตาราง 1 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าขาย/รายรับระหว่างไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2547 จำแนกตาม
ประเภทกิจกรรมและขนาดของสถานประกอบการ
ประเภทกิจกรรม
ขนาดของสถานประกอบการ รวม ขายปลีก โรงแรม ภัตตาคาร กิจกรรม การบริการ
(จำนวนคนทำงาน) รีสอร์ท และ นันทนาการ อื่นๆ
เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร ข่าว การกีฬา
หอพัก
รวม 1.5 2.0 -20.4 11.3 -6.9 21.9
1-15 คน 4.0 2.4 -0.5 13.2 -9.5 22.5
16-25 คน 15.5 19.6 11.4 2.6 2.6 6.6
26-30 คน -5.8 -5.5 -19.5 -5.9 -10.4 62.7
31-50 คน 14.6 11.7 -14.3 109.6 23.2 96.1
51-200 คน -8.1 - -33.1 -37.0 -10.0 -4.8
201 คนขึ้นไป -6.5 -3.5 -18.8 -33.5 -17.2 -5.4
หมายเหตุ: ...ต่ำกว่าร้อยละ 0.1
สำหรับธุรกิจประเภทโรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮาส์ และหอพัก พบว่า ในไตรมาสนี้มีสัดส่วนของรายรับลดลงจากไตรมาส
ก่อน ประมาณร้อยละ 20.4 โดยมีรายรับลดลงในกิจการเกือบทุกขนาดโดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 51-200 คน มีสัดส่วนของ
รายรับลดลงสูงที่สุด ประมาณร้อยละ 33.1 สำหรับกิจการขนาดอื่นๆ มีรายรับลดลงไม่เกิน ร้อยละ 20.0 ยกเว้นกิจการที่มีคนทำงาน
16-25 คน ที่มีรายรับเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 11.4 สาเหตุที่รายรับลดลงนั้น ร้อยละ 41.6 รายงานว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี
ร้อยละ 20.6 รายงานว่า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และภาวะสงครามในประเทศอิรัก ทำให้
นักท่องเที่ยวลดลง
ธุรกิจประเภทภัตตาคารและร้านอาหาร พบว่า ในไตรมาสนี้มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 11.3
โดยกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงถึง 1 เท่า สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 51-200 คน 201 คน
ขึ้นไป และ 26-30 คนนั้นมีรายรับลดลง ประมาณร้อยละ 37.0 33.5 และ 5.9 ตามลำดับ สาเหตุที่รายรับเพิ่มขึ้น พบว่า เนื่อง
จากลูกค้ามีกำลังซื้อมากขึ้นและเป็นช่วงเทศกาลวันหยุด (ร้อยละ 42.9 และ 21.6 ตามลำดับ)
ในไตรมาสนี้ กิจกรรมนันทนาการ ข่าว และการกีฬา มีรายรับลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ประมาณ ร้อยละ 6.9 โดย
กิจการขนาดใหญ่ (คนทำงาน 201 คนขึ้นไป) มีรายรับลดลง ในสัดส่วนสูงที่สุด ประมาณร้อยละ 17.2ธุรกิจที่มีรายรับลดลง ได้แก่
การผลิต และจำหน่ายภาพยนตร์ วีดีโอ การกีฬา กิจกรรมสำนักข่าว การบันเทิงอื่นๆ และละคร ดนตรี ศิลป สาเหตุที่รายรับลดลง
ในช่วงนี้ ประมาณร้อยละ 29.8 รายงานว่า เนื่องจากมีคู่แข่งธุรกิจประเภท เดียวกัน สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน และ
16-25 คน พบว่า มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ประมาณร้อยละ 23.2 และ 2.6 ตามลำดับ
สำหรับธุรกิจการบริการอื่นๆ ได้แก่ บริการเสริมสวย สถานเสริมความงามต่าง ๆ บริการซักรีด ทำความสะอาด กิจกรรม
เกี่ยวกับการทำศพ และบริการอื่นๆ พบว่า มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 21.9 โดยเฉพาะกิจการที่มีคน
ทำงาน 31-50 คน มีรายรับ เพิ่มขึ้นสูงเกือบ 1 เท่า และกิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50.0
สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 51 คนขึ้นไป กลับมีรายรับลดลงไม่เกินร้อยละ 6.0 สาเหตุ ที่รายรับลดลงนั้น สถานประกอบการส่วนใหญ่
รายงานว่า เนื่องมาจากลูกค้ามีกำลังซื้อมากขึ้น (ร้อยละ 42.7) และเป็นช่วงเทศกาลวันหยุด (ร้อยละ 23.6)
2. การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าขาย/รายรับ ระหว่างไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2547
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าขาย/รายรับระหว่างไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เทียบกับปี 2547 พบว่า ใน
ปี 2547 ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮาส์ และหอพัก มีรายรับในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมาประมาณ
ร้อยละ 16.4 โดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่ (คนทำงาน 201 คน ขึ้นไป) มีรายรับเพิ่มขึ้นในสัดส่วนสูง ที่สุดประมาณร้อยละ 46.9
ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร พบว่า ในไตรมาสนี้มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ
10.3 โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นในสัดส่วนสูงที่สุดมากกว่า ร้อยละ 50.0 สำหรับกิจการที่มีคน
ทำงาน 1-25 คน มีรายรับเพิ่มขึ้น ไม่เกินร้อยละ 20.0 ในขณะที่กิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน และ 51 คนขึ้นไปนั้นมีรายรับ
ลดลง
ตาราง 2 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าขาย/รายรับ ระหว่างไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2546 และ พ.ศ.2547
จำแนกตามประเภทกิจกรรมและขนาดของสถานประกอบการ
ประเภทกิจกรรม
ขนาดของสถานประกอบการ รวม ขายปลีก โรงแรม ภัตตาคาร กิจกรรม การบริการ
(จำนวนคนทำงาน) รีสอร์ท และ นันทนาการ อื่นๆ
เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร ข่าว การกีฬา
หอพัก
รวม -8.2 -10.7 16.4 10.3 -21.8 20.2
1-15 คน -12.2 -16.9 -4.7 14.4 35.1 20.3
16-25 คน 33.1 46.2 14.5 19.2 13.1 9.9
26-30 คน 5.5 14.2 -18.0 -3.5 -45.3 58.2
31-50 คน -17.6 -19.9 9.7 70.2 34.8 94.6
51-200 คน -5.1 -2.0 -19.5 -45.4 -26.3 25.0
201 คนขึ้นไป 7.4 6.2 46.9 -44.5 -82.3 2.0
ในธุรกิจการบริการอื่น ๆ นั้น พบว่า ในไตรมาสนี้มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 20.2
โดยเพิ่มขึ้นในกิจการทุกขนาด โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีสัดส่วนของรายรับเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่า และกิจการที่มี
คนทำงาน 26-30 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50.0
กิจกรรมนันทนาการ ข่าว การกีฬา มีรายรับลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 21.8 โดยกิจการ
ที่มีคนทำงาน 201 คนขึ้นไป มีรายรับลดลงสูงถึงร้อยละ 82.3 สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 1-25 คน และ 31-50 คน พบว่า มี
รายรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่เกินร้อยละ 36.0
ธุรกิจค้าปลีก พบว่า ยอดขายในไตรมาสนี้ลดลงจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 10.7 โดยยอดขายลดลง ในกิจการที่มีคน
ทำงาน 31-50 คน 1-15 คน และ 51-200 คน (ร้อยละ 19.9 16.9 และ 2.0 ตามลำดับ) สำหรับกิจการขนาดอื่นๆ มียอด
ขายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 16-25 คน มีสัดส่วนของยอดขายเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ประมาณร้อยละ 46.2
3. การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือของการขายปลีก ระหว่างไตรมาสที่ 2 และ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2547
จากตาราง 3 พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มูลค่าสินค้าคงเหลือของธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเพียงเล็กน้อย
กล่าวคือต่ำกว่าร้อยละ 1.0 โดยมีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นในการขายปลีก ยา เวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง (ร้อยละ 26.0) สินค้า
ทั่วไป ห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 13.9 ) ขายปลีกอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบในร้านขาย เฉพาะอย่าง (ร้อยละ 11.0) ขายปลีก
อาการ เครื่องดื่ม ยาสูบเป็นสินค้าหลัก (ร้อยละ 9.7) และขายปลีกสินค้าอื่นๆ (ร้อยละ 1.4) สำหรับการขายปลีกสิ่งทอ เสื้อผ้า
รองเท้า เครื่องหนัง ขายปลีกเครื่องโลหะ สีทา กระจก และขายปลีกเครื่องใช้ในครัวเรือน มีมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง ประมาณ
ร้อยละ 17.0 11.9 และ 9.1 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า ธุรกิจขายปลีกมีมูลค่าสินค้า
คงเหลือลดลงในกิจการที่มีคนทำงาน 16 คนขึ้นไป (ไม่เกินร้อยละ 15.0) ยกเว้นกิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน ที่มีมูลค่าสินค้า
คงเหลือ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.1
ตาราง 3 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือของการขายปลีก ระหว่างไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2547
จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ
ขนาดของสถาน อาหาร อาหาร ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง
ประกอบการ เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป เครื่องดื่ม สิ่งทอ เครื่อง สินค้า
(จำนวน รวม ยาสูบ ห้างสรรพ ยาสูบ ยา เวชภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องใช้ โลหะ สีทา อื่นๆ
คนทำงาน) เป็นสินค้า สินค้า ในร้านขาย เครื่องสำอาง รองเท้า ใน กระจก
หลัก เฉพาะอย่าง เครื่องหนัง ครัวเรือน
รวม " 9.7 13.9 11.0 26.0 -17.0 -9.1 -11.9 1.4
1-15 คน 1.1 17.9 36.1 12.0 26.7 -17.6 -0.7 -11.9 0.1
16-25 คน - 28.4 47.3 18.1 3.6 4.7 -19.5 -35.0 2.8
14.8
26-30 คน - -63.9 28.5 21.1 10.7 -58.9 -7.3 -35.5 12.7
11.4
31-50 คน -6.7 22.2 25.1 -9.9 15.2 -11.9 -10.4 -1.8 -24.1
51-200 คน -3.9 -1.6 -12.0 1.5 28.6 4.9 -39.1 1.9 19.3
201 คนขึ้นไป -1.2 -4.8 -5.5 - 33.3 -25.0 -37.4 - 16.7
หมายเหตุ: ... ต่ำกว่าร้อยละ 0.1
4. การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือของการขายปลีก ระหว่างไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2547
ในไตรมาสที่ 2 มูลค่าสินค้าคงเหลือของธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ของปี 2546 ประมาณร้อยละ 16.3 โดย
เพิ่มขึ้นในธุรกิจค้าปลีกเกือบทุกประเภท ยกเว้นขายปลีกเครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลงประมาณร้อยละ 30.9
ธุรกิจที่มีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ได้แก่ ขายปลีกอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ ในร้านขายเฉพาะอย่าง ขายปลีก
สิ่งทอเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง และสินค้าอื่นๆ (ร้อยละ 53.2 44.3 และ 34.6 ตามลำดับ) สำหรับธุรกิจ ค้าปลีกประเภท
อื่นๆ นั้น มีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่เกินร้อยละ 13.0
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า กิจการที่มี คนทำงาน
1-30 คน มีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน มีมูลค่าสินค้า คงเหลือเพิ่มขึ้นใน
สัดส่วนที่สูงมากกว่าร้อยละ 50.0 ส่วนกิจการที่มีคนทำงาน 31 คนขึ้นไป กลับมีมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง (ตาราง 4)
ตาราง 4 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือของการขายปลีก ระหว่างไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2546
และ พ.ศ. 2547 จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ
ขนาดของสถาน อาหาร อาหาร ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง
ประกอบการ เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป เครื่องดื่ม สิ่งทอ เครื่อง สินค้า
(จำนวน รวม ยาสูบ ห้างสรรพ ยาสูบ ยา เวชภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องใช้ โลหะ สีทา อื่นๆ
คนทำงาน) เป็นสินค้า สินค้า ในร้านขาย เครื่องสำอาง รองเท้า ใน กระจก
หลัก เฉพาะอย่าง เครื่องหนัง ครัวเรือน
รวม 16.3 4.8 4.9 53.2 11.5 44.3 -30.9 12.5 34.6
1-15 คน 25.8 9.6 17.0 100.4 17.7 45.7 -23.7 25.5 39.9
16-25 คน 14.0 36.2 376.4 -50.6 -68.5 10.3 5.9 -9.7 28.3
26-30 คน 59.6 -35.4 -66.6 - 132.7 -77.0 242.4 -40.9 -14.7
31-50 คน -0.8 -26.8 -26.4 -26.2 -13.6 13.4 -40.1 22.6 27.0
51-200 คน - 16.7 -9.5 -92.4 -18.2 18.1 -35.8 -55.4 12.1
10.1
201 คนขึ้นไป - -5.0 -12.9 - -90.0 -62.5 -70.3 -30.4 7.8
15.0
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
จากการสำรวจสถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เขตเทศบาล
และนอกเขตเทศบาล (อบต.) ทั่วประเทศ โดยใช้ตัวอย่างจำนวนประมาณ 4,046 แห่ง พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ธุรกิจมี
ยอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 เพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.5
ธุรกิจค้าปลีกมียอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 2.0 โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในกิจการที่มีคนทำงาน
16-25 คน 31-50 คน และ 1-15 คน ประมาณร้อยละ 19.6 11.7 และ 2.4 ตามลำดับ ธุรกิจค้าปลีก ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นใน
ไตรมาสนี้ ได้แก่ การขายปลีกอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบในร้านขายเฉพาะอย่าง ขายปลีกอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบเป็นสินค้าหลัก
ดิสเคาน์สโตร์ ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต สินค้าทั่วไป ห้างสรรพสินค้า ขายปลีกสิ่งทอ เสื้อผ้า ขายปลีกยา เวชภัณฑ์
เครื่องสำอาง ฯลฯ สาเหตุที่มียอดขายเพิ่มขึ้นนั้นสถานประกอบการ ประมาณ ร้อยละ 45.4 รายงานว่าเนื่องจากลูกค้ามีกำลังซื้อ
มากขึ้น ร้อยละ 24.7 รายงานว่า เป็นช่วงเทศกาลวันหยุดตามประเพณี ทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น
สำหรับธุรกิจค้าปลีกที่มีคนทำงาน 26-30 คน และกิจการขนาดใหญ่ (คนทำงาน 201 คน ขึ้นไป) มี ยอดขายลดลง
ประมาณร้อยละ 5.5 และ 3.5 ตามลำดับ ซึ่งได้แก่ ขายปลีกของใช้แล้วโดยไม่มีร้าน ซ่อมแซมของใช้
ตาราง 1 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าขาย/รายรับระหว่างไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2547 จำแนกตาม
ประเภทกิจกรรมและขนาดของสถานประกอบการ
ประเภทกิจกรรม
ขนาดของสถานประกอบการ รวม ขายปลีก โรงแรม ภัตตาคาร กิจกรรม การบริการ
(จำนวนคนทำงาน) รีสอร์ท และ นันทนาการ อื่นๆ
เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร ข่าว การกีฬา
หอพัก
รวม 1.5 2.0 -20.4 11.3 -6.9 21.9
1-15 คน 4.0 2.4 -0.5 13.2 -9.5 22.5
16-25 คน 15.5 19.6 11.4 2.6 2.6 6.6
26-30 คน -5.8 -5.5 -19.5 -5.9 -10.4 62.7
31-50 คน 14.6 11.7 -14.3 109.6 23.2 96.1
51-200 คน -8.1 - -33.1 -37.0 -10.0 -4.8
201 คนขึ้นไป -6.5 -3.5 -18.8 -33.5 -17.2 -5.4
หมายเหตุ: ...ต่ำกว่าร้อยละ 0.1
สำหรับธุรกิจประเภทโรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮาส์ และหอพัก พบว่า ในไตรมาสนี้มีสัดส่วนของรายรับลดลงจากไตรมาส
ก่อน ประมาณร้อยละ 20.4 โดยมีรายรับลดลงในกิจการเกือบทุกขนาดโดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 51-200 คน มีสัดส่วนของ
รายรับลดลงสูงที่สุด ประมาณร้อยละ 33.1 สำหรับกิจการขนาดอื่นๆ มีรายรับลดลงไม่เกิน ร้อยละ 20.0 ยกเว้นกิจการที่มีคนทำงาน
16-25 คน ที่มีรายรับเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 11.4 สาเหตุที่รายรับลดลงนั้น ร้อยละ 41.6 รายงานว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี
ร้อยละ 20.6 รายงานว่า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และภาวะสงครามในประเทศอิรัก ทำให้
นักท่องเที่ยวลดลง
ธุรกิจประเภทภัตตาคารและร้านอาหาร พบว่า ในไตรมาสนี้มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 11.3
โดยกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงถึง 1 เท่า สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 51-200 คน 201 คน
ขึ้นไป และ 26-30 คนนั้นมีรายรับลดลง ประมาณร้อยละ 37.0 33.5 และ 5.9 ตามลำดับ สาเหตุที่รายรับเพิ่มขึ้น พบว่า เนื่อง
จากลูกค้ามีกำลังซื้อมากขึ้นและเป็นช่วงเทศกาลวันหยุด (ร้อยละ 42.9 และ 21.6 ตามลำดับ)
ในไตรมาสนี้ กิจกรรมนันทนาการ ข่าว และการกีฬา มีรายรับลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ประมาณ ร้อยละ 6.9 โดย
กิจการขนาดใหญ่ (คนทำงาน 201 คนขึ้นไป) มีรายรับลดลง ในสัดส่วนสูงที่สุด ประมาณร้อยละ 17.2ธุรกิจที่มีรายรับลดลง ได้แก่
การผลิต และจำหน่ายภาพยนตร์ วีดีโอ การกีฬา กิจกรรมสำนักข่าว การบันเทิงอื่นๆ และละคร ดนตรี ศิลป สาเหตุที่รายรับลดลง
ในช่วงนี้ ประมาณร้อยละ 29.8 รายงานว่า เนื่องจากมีคู่แข่งธุรกิจประเภท เดียวกัน สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน และ
16-25 คน พบว่า มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ประมาณร้อยละ 23.2 และ 2.6 ตามลำดับ
สำหรับธุรกิจการบริการอื่นๆ ได้แก่ บริการเสริมสวย สถานเสริมความงามต่าง ๆ บริการซักรีด ทำความสะอาด กิจกรรม
เกี่ยวกับการทำศพ และบริการอื่นๆ พบว่า มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 21.9 โดยเฉพาะกิจการที่มีคน
ทำงาน 31-50 คน มีรายรับ เพิ่มขึ้นสูงเกือบ 1 เท่า และกิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50.0
สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 51 คนขึ้นไป กลับมีรายรับลดลงไม่เกินร้อยละ 6.0 สาเหตุ ที่รายรับลดลงนั้น สถานประกอบการส่วนใหญ่
รายงานว่า เนื่องมาจากลูกค้ามีกำลังซื้อมากขึ้น (ร้อยละ 42.7) และเป็นช่วงเทศกาลวันหยุด (ร้อยละ 23.6)
2. การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าขาย/รายรับ ระหว่างไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2547
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าขาย/รายรับระหว่างไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เทียบกับปี 2547 พบว่า ใน
ปี 2547 ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮาส์ และหอพัก มีรายรับในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมาประมาณ
ร้อยละ 16.4 โดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่ (คนทำงาน 201 คน ขึ้นไป) มีรายรับเพิ่มขึ้นในสัดส่วนสูง ที่สุดประมาณร้อยละ 46.9
ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร พบว่า ในไตรมาสนี้มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ
10.3 โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นในสัดส่วนสูงที่สุดมากกว่า ร้อยละ 50.0 สำหรับกิจการที่มีคน
ทำงาน 1-25 คน มีรายรับเพิ่มขึ้น ไม่เกินร้อยละ 20.0 ในขณะที่กิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน และ 51 คนขึ้นไปนั้นมีรายรับ
ลดลง
ตาราง 2 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าขาย/รายรับ ระหว่างไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2546 และ พ.ศ.2547
จำแนกตามประเภทกิจกรรมและขนาดของสถานประกอบการ
ประเภทกิจกรรม
ขนาดของสถานประกอบการ รวม ขายปลีก โรงแรม ภัตตาคาร กิจกรรม การบริการ
(จำนวนคนทำงาน) รีสอร์ท และ นันทนาการ อื่นๆ
เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร ข่าว การกีฬา
หอพัก
รวม -8.2 -10.7 16.4 10.3 -21.8 20.2
1-15 คน -12.2 -16.9 -4.7 14.4 35.1 20.3
16-25 คน 33.1 46.2 14.5 19.2 13.1 9.9
26-30 คน 5.5 14.2 -18.0 -3.5 -45.3 58.2
31-50 คน -17.6 -19.9 9.7 70.2 34.8 94.6
51-200 คน -5.1 -2.0 -19.5 -45.4 -26.3 25.0
201 คนขึ้นไป 7.4 6.2 46.9 -44.5 -82.3 2.0
ในธุรกิจการบริการอื่น ๆ นั้น พบว่า ในไตรมาสนี้มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 20.2
โดยเพิ่มขึ้นในกิจการทุกขนาด โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีสัดส่วนของรายรับเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่า และกิจการที่มี
คนทำงาน 26-30 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50.0
กิจกรรมนันทนาการ ข่าว การกีฬา มีรายรับลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 21.8 โดยกิจการ
ที่มีคนทำงาน 201 คนขึ้นไป มีรายรับลดลงสูงถึงร้อยละ 82.3 สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 1-25 คน และ 31-50 คน พบว่า มี
รายรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่เกินร้อยละ 36.0
ธุรกิจค้าปลีก พบว่า ยอดขายในไตรมาสนี้ลดลงจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 10.7 โดยยอดขายลดลง ในกิจการที่มีคน
ทำงาน 31-50 คน 1-15 คน และ 51-200 คน (ร้อยละ 19.9 16.9 และ 2.0 ตามลำดับ) สำหรับกิจการขนาดอื่นๆ มียอด
ขายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 16-25 คน มีสัดส่วนของยอดขายเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ประมาณร้อยละ 46.2
3. การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือของการขายปลีก ระหว่างไตรมาสที่ 2 และ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2547
จากตาราง 3 พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มูลค่าสินค้าคงเหลือของธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเพียงเล็กน้อย
กล่าวคือต่ำกว่าร้อยละ 1.0 โดยมีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นในการขายปลีก ยา เวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง (ร้อยละ 26.0) สินค้า
ทั่วไป ห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 13.9 ) ขายปลีกอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบในร้านขาย เฉพาะอย่าง (ร้อยละ 11.0) ขายปลีก
อาการ เครื่องดื่ม ยาสูบเป็นสินค้าหลัก (ร้อยละ 9.7) และขายปลีกสินค้าอื่นๆ (ร้อยละ 1.4) สำหรับการขายปลีกสิ่งทอ เสื้อผ้า
รองเท้า เครื่องหนัง ขายปลีกเครื่องโลหะ สีทา กระจก และขายปลีกเครื่องใช้ในครัวเรือน มีมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง ประมาณ
ร้อยละ 17.0 11.9 และ 9.1 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า ธุรกิจขายปลีกมีมูลค่าสินค้า
คงเหลือลดลงในกิจการที่มีคนทำงาน 16 คนขึ้นไป (ไม่เกินร้อยละ 15.0) ยกเว้นกิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน ที่มีมูลค่าสินค้า
คงเหลือ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.1
ตาราง 3 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือของการขายปลีก ระหว่างไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2547
จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ
ขนาดของสถาน อาหาร อาหาร ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง
ประกอบการ เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป เครื่องดื่ม สิ่งทอ เครื่อง สินค้า
(จำนวน รวม ยาสูบ ห้างสรรพ ยาสูบ ยา เวชภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องใช้ โลหะ สีทา อื่นๆ
คนทำงาน) เป็นสินค้า สินค้า ในร้านขาย เครื่องสำอาง รองเท้า ใน กระจก
หลัก เฉพาะอย่าง เครื่องหนัง ครัวเรือน
รวม " 9.7 13.9 11.0 26.0 -17.0 -9.1 -11.9 1.4
1-15 คน 1.1 17.9 36.1 12.0 26.7 -17.6 -0.7 -11.9 0.1
16-25 คน - 28.4 47.3 18.1 3.6 4.7 -19.5 -35.0 2.8
14.8
26-30 คน - -63.9 28.5 21.1 10.7 -58.9 -7.3 -35.5 12.7
11.4
31-50 คน -6.7 22.2 25.1 -9.9 15.2 -11.9 -10.4 -1.8 -24.1
51-200 คน -3.9 -1.6 -12.0 1.5 28.6 4.9 -39.1 1.9 19.3
201 คนขึ้นไป -1.2 -4.8 -5.5 - 33.3 -25.0 -37.4 - 16.7
หมายเหตุ: ... ต่ำกว่าร้อยละ 0.1
4. การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือของการขายปลีก ระหว่างไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2547
ในไตรมาสที่ 2 มูลค่าสินค้าคงเหลือของธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ของปี 2546 ประมาณร้อยละ 16.3 โดย
เพิ่มขึ้นในธุรกิจค้าปลีกเกือบทุกประเภท ยกเว้นขายปลีกเครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลงประมาณร้อยละ 30.9
ธุรกิจที่มีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ได้แก่ ขายปลีกอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ ในร้านขายเฉพาะอย่าง ขายปลีก
สิ่งทอเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง และสินค้าอื่นๆ (ร้อยละ 53.2 44.3 และ 34.6 ตามลำดับ) สำหรับธุรกิจ ค้าปลีกประเภท
อื่นๆ นั้น มีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่เกินร้อยละ 13.0
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า กิจการที่มี คนทำงาน
1-30 คน มีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน มีมูลค่าสินค้า คงเหลือเพิ่มขึ้นใน
สัดส่วนที่สูงมากกว่าร้อยละ 50.0 ส่วนกิจการที่มีคนทำงาน 31 คนขึ้นไป กลับมีมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง (ตาราง 4)
ตาราง 4 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือของการขายปลีก ระหว่างไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2546
และ พ.ศ. 2547 จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ
ขนาดของสถาน อาหาร อาหาร ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง
ประกอบการ เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป เครื่องดื่ม สิ่งทอ เครื่อง สินค้า
(จำนวน รวม ยาสูบ ห้างสรรพ ยาสูบ ยา เวชภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องใช้ โลหะ สีทา อื่นๆ
คนทำงาน) เป็นสินค้า สินค้า ในร้านขาย เครื่องสำอาง รองเท้า ใน กระจก
หลัก เฉพาะอย่าง เครื่องหนัง ครัวเรือน
รวม 16.3 4.8 4.9 53.2 11.5 44.3 -30.9 12.5 34.6
1-15 คน 25.8 9.6 17.0 100.4 17.7 45.7 -23.7 25.5 39.9
16-25 คน 14.0 36.2 376.4 -50.6 -68.5 10.3 5.9 -9.7 28.3
26-30 คน 59.6 -35.4 -66.6 - 132.7 -77.0 242.4 -40.9 -14.7
31-50 คน -0.8 -26.8 -26.4 -26.2 -13.6 13.4 -40.1 22.6 27.0
51-200 คน - 16.7 -9.5 -92.4 -18.2 18.1 -35.8 -55.4 12.1
10.1
201 คนขึ้นไป - -5.0 -12.9 - -90.0 -62.5 -70.3 -30.4 7.8
15.0
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-