แท็ก
ธปท.
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. คาดว่าเศรษฐกิจในปี 47 จะเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในการบรรยายเรื่อง “นโยบายเศรษฐกิจการเงินที่สนับสนุนการพัฒนาการค้าระหว่าง
ประเทศ” ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 47 ยังมีความแข็งแกร่ง และเชื่อว่าเศรษฐกิจไทย
โดยรวมทั้งปีจะเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2-3 แต่ก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
เพราะตามรายงานของเจ้าหน้าที่ IMF มองว่าแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะทรงตัวในระดับเฉลี่ยไม่ต่ำ
กว่า 40 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ต่อเนื่องไปอีก 8 ปี ซึ่งกว่าที่ระดับราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงมาอยู่ใน
ระดับที่เหมาะสมก็ต้องใช้เวลา ด้านนโยบายของรัฐบาลคาดว่าหลังการเลือกตั้งใหญ่ในเดือน ก.พ.48 น่าจะ
เริ่มมีการปล่อยให้ราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลปรับขึ้นได้ แต่ ธปท. มองว่าเศรษฐกิจในปีหน้ายังเป็นขาขึ้น คาดว่า
จะมีอัตราการเติบโตไม่กว่าร้อยละ 6 แม้ปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง
อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5-4 สำหรับการพิจารณาปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ย ธปท. ต้องพิจารณาจากสภาพของตลาดโลก แต่จะพยายามดูแลให้กระทบต่อการใช้จ่ายในครัว
เรือนให้น้อยที่สุด รวมทั้งดูแลไม่ไห้กระทบถึงปัญหาเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินด้วย โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ครม. อนุมัติงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 51 แห่ง ในปี งปม.48 จำนวน 3.1 แสนล้านบาท นายต่อพงษ์
ไชยสาส์น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ
51 แห่ง ประจำปี งปม.48 ตามที่สภาพัฒน์เสนอ คิดเป็นวงเงินดำเนินการ 315,485 ล้านบาท และ
เบิกจ่าย 248,921 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของจีดีพี ทั้งนี้ วงเงินเบิกจ่ายลงทุน 248,921 ล้านบาท มี
การนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างประเทศ 77,044 ล้านบาท และจะทำให้ฐานะดุลภาครัฐวิสาหกิจโดย
รวมขาดดุล 78,905 ล้านบาท หรือขาดดุลร้อยละ 1.1 ของจีดีพี ซึ่งในปี 48 คาดว่ารัฐวิสาหกิจ 51 แห่ง จะ
มีรายได้รวม 1,082,184 ล้านบาท รายจ่ายรวม 998,956 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 83,228 ล้านบาท จะ
สามารถจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนได้ 169,647 ล้านบาท นอกจากนี้ ครม. เห็นควรให้ รมต. ต้นสังกัด
ของรัฐวิสาหกิจเร่งกำกับดูแลให้รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ทำการปรับปรุงประมาณการกำไรสุทธิในปี งปม.48 เพิ่มอีก
ร้อยละ 10 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน สำหรับแนวโน้มการดำเนินงานใน
ช่วงปี 49-51 ประมาณว่าจะมีการเบิกจ่ายงบลงทุนทั้งสิ้น 957,985 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 319,328 ล้าน
บาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับการผลิต การบริการ การปฏิบัติของพนักงานให้มี
ประสิทธิภาพ ด้วยการจัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน ทดแทนของเดิม หรือลงทุนเพื่อการซ่อมแซม
และบำรุงรักษา สำหรับผลประกอบการคาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 284,388 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 94,796 ล้าน
บาท (โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. ขอให้ผู้ประกอบการพิจารณาความเสี่ยงด้านสังคมในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ปัจจุบันการให้สินเชื่ออุปโภคบริโภคมีการขยายตัว
สูงขึ้น และผู้ประกอบการพยายามที่จะใช้สิ่งของล่อใจในการดึงดูดลูกค้าให้มาสมัครใช้สินเชื่อของตัวเอง
จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้ลูกค้าที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมในตัวลูกค้าเอง และ
ก่อให้เกิดปัญหาเอ็นพีแอล ธปท. จึงอยากให้ผู้ประกอบการพิจารณาความเสี่ยงทางด้านสังคมในการปล่อย
สินเชื่อมากขึ้น ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามดูแลการปล่อยสินเชื่ออุปโภคบริโภคอย่างใกล้ชิด หากพบว่าไม่มีคุณภาพ
และก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ธปท. อาจจะออกเกณฑ์การกำกับที่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคม เช่น อายุ
ขั้นต่ำของผู้สมัคร หรือการกำหนดประเภทและจำนวน และกลยุทธ์ในการดึงดูดลูกค้าของผู้ประกอบการให้
ลูกค้ามาสมัครบัตรของตนเอง(ไทยรัฐ)
4. ทีดีอาร์ไอเสนอแนะให้เปิดเสรีภาคบริการคู่กับภาคการค้า นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผอ.
ฝ่ายวิจัยมูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยในงานสัมมนาระดมความเห็น
เรื่องการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีสาขาบริการว่า รัฐบาลไม่ควรแยกการเจรจาเปิดเสรีภาคบริการ
ออกจากการเปิดเสรีภาคการค้า ไม่เช่นนั้นจะทำให้กลไกตลาดเกิดความบิดเบือนและส่งผลให้ขีดความสามารถใน
การแข่งขันของไทยลดลง และกระทบไปยังภาพรวมเศรษฐกิจที่ส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับธุรกิจบริการมากกว่าสินค้า
นอกจากนี้ จากการที่ผู้ประกอบการในประเทศมีต้นทุนการผลิตที่สูงอาจเป็นอุปสรรคการเป็นดีทรอยของเอเชียได้
ทั้งนี้ เห็นว่ารัฐบาลควรที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อลดต้นทุนให้กับภาคธุรกิจบริการไทย โดย
เฉพาะที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เช่น การประปา การไฟฟ้า การโทรคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร เพื่อ
รองรับการเปิดเสรี ซึ่งการเปิดเสรีก็ควรทำในทุกสาขา ไม่ควรสงวนสาขาใดสาขาหนึ่งไว้ เพราะการเปิดเสรี
ภาคบริการจะทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจของไทยต่ำลง โดยจากการศึกษาพบว่าหากรัฐบาลเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจ
ไฟฟ้าได้ร้อยละ 10 จะทำให้จีดีดีไทยโตขึ้นร้อยละ 0.33 หากเพิ่มประสิทธิภาพการธนาคารขึ้นร้อยละ 10 จีดีพี
โตขึ้นร้อยละ 0.25 และหากเพิ่มประสิทธิภาพสาขาโทรคมนาคมขนส่งอีกร้อยละ 10 จีดีพีจะโตขึ้นร้อยละ 0.17
ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับภาพรวมเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรเปิดเวทีให้กลุ่มผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมใน
การรับฟังความเห็นและเสนอแนะในการเปิดเสรีภาคบริการด้วย เพราะที่ผ่านมารัฐบาลจะรับฟังเฉพาะภาค
อุตสาหกรรมเท่านั้น (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. OECD คาดว่าการสูงขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อไม่มาก รายงานจากปารีส
เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 47 องค์การเพื่อการร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา — OECD เปิดเผยว่าการสูงขึ้นของ
ระดับราคาน้ำมันจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อพื้นฐานและค่าจ้างแรงงานในประเทศที่มีเศรษฐกิจสำคัญของโลกไม่
มาก ทั้งนี้ OECD ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสรอ.ในปี 47 เป็นระดับร้อยละ 4.3
จากคาดการณ์เดิมที่ระดับร้อยละ 4.7 ขณะที่ได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนเป็น
ร้อยละ 2.0 จากที่เคยคาดการณ์เดิมที่ระดับร้อยละ 1.6 ส่วนญี่ปุ่นนั้น OECD ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 4.4 จากคาด
การณ์เดิมร้อยละ 3.0 นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าการที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทำให้ธ.กลางหลายแห่ง
รวมทั้งธ.กลาง สรอ.เริ่มจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เว้นแต่ธ.
กลางอังกฤษเท่านั้นที่ได้มีนโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเพื่อป้องกันเงินเฟ้อก่อนประเทศอื่นๆปัจจุบันจึงยัง
คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านนโยบายดังกล่าว ส่วนประเทศญี่ปุ่นและยูโรโซนยังใช้นโยบายเฝ้าระวังเท่านั้น
(รอยเตอร์)
2. ธ.กลาง สรอ.ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 1.75 รายงานจากโตเกียว
เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 47 คณะกรรมการนโยบายการเงินสรอ.ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ส่งผลให้
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของสรอ.อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.75 การปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 ดังกล่าวเท่ากับที่ปรับเพิ่ม
ในเดือนมิ.ย. และเดือน ส.ค. นักวิเคราะห์จาก JPMorgan มีความเห็นว่า ธ.กลางสรอ. ได้ดำเนินการตาม
ที่คาดการณ์กันไว้คือการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งยืนยันว่า Fed จะยังคงใช้มาตรการการเงินอย่างเข้มงวดต่อไป
อย่างไรก็ตามในถ้อยแถลงของ Fed ยังกล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสรอ. ว่ามีทิศทางที่ดี เนื่องจากการขยายตัว
ของผลผลิตและภาวะตลาดแรงงานฟื้นตัว แต่ตั้งข้อสังเกตว่าเงินเฟ้อและคาดการณ์เงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงใน
เดือนหน้า นอกจากนั้นนักวิเคราะห์ยังคาดว่า Fed อาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหนึ่งในการ
ประชุมนโยบายการเงินคราวหน้าในวันที่ 10 พ.ย. นี้(รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือนส.ค. 47 ลดลงร้อยละ 26.0 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว รายงาน
จากโตเกียว เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 47 รมว.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. 47 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าที่ระดับ
576.14 พัน ล.เยน (5.25 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ระดับ 778.46 พัน ล.
เยน หรือลดลงร้อยละ 26.0 (ตัวเลขก่อนการปรับฤดูกาล) นอกจากนี้ตัวเลขการเกินดุลการค้าดังกล่าวยังต่ำ
กว่าค่ากลางจากผลการสำรวจของรอยเตอร์เมื่อเร็วๆนี้ว่า ในเดือนส.ค. ญี่ปุ่นจะเกินดุลการค้าจำนวน 800
พัน ล.เยน หรือเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือนดุลการค้าในเดือน
ส.ค. เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก.ค. ถึงร้อยละ 7.6 อยู่ที่ระดับ1,044.97 พัน ล. เยนจากระดับ 971.12
พัน ล. เยนเมื่อเดือนก.ค. (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) นับเป็นการเกินดุลที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ
มากกว่า 1 ปีเนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้นกระทบต่อการขยายตัวของการส่งออกและต้นทุนการนำเข้า
(รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคสิงคโปร์ในเดือนส.ค. อาจสูงขึ้นเล็กน้อย รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่
21 ก.ย. 47 ว่า จากผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค. 47
อาจปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจากที่ลดลงในเดือนก่อนหน้า (ก.ค.) สาเหตุจากราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้น
อันจะส่งผลให้ความกดดันในเรื่องอัตราเงินเฟ้อของประเทศยังคงมีอยู่ต่อไป ทั้งนี้โดยคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค
ของเดือน ส.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1จากเดือนก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปี สำหรับดัชนีราคาผู้
บริโภคเมื่อเทียบต่อเดือนของปีนี้นั้นเคยเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่เดือน มี.ค.- พ.ค.
และไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน มิ.ย. ก่อนที่จะกลับมาลดลงในเดือน ก.ค. อนึ่ง ตัวเลขที่เป็นทางการจะประกาศ
ในวันพฤหัสบดีที่ 23 ก.ย. นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ก.ย. 47 21 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.344 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1497/41.4472 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 660.92/22.19 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.89 35.61 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. คาดว่าเศรษฐกิจในปี 47 จะเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในการบรรยายเรื่อง “นโยบายเศรษฐกิจการเงินที่สนับสนุนการพัฒนาการค้าระหว่าง
ประเทศ” ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 47 ยังมีความแข็งแกร่ง และเชื่อว่าเศรษฐกิจไทย
โดยรวมทั้งปีจะเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2-3 แต่ก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
เพราะตามรายงานของเจ้าหน้าที่ IMF มองว่าแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะทรงตัวในระดับเฉลี่ยไม่ต่ำ
กว่า 40 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ต่อเนื่องไปอีก 8 ปี ซึ่งกว่าที่ระดับราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงมาอยู่ใน
ระดับที่เหมาะสมก็ต้องใช้เวลา ด้านนโยบายของรัฐบาลคาดว่าหลังการเลือกตั้งใหญ่ในเดือน ก.พ.48 น่าจะ
เริ่มมีการปล่อยให้ราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลปรับขึ้นได้ แต่ ธปท. มองว่าเศรษฐกิจในปีหน้ายังเป็นขาขึ้น คาดว่า
จะมีอัตราการเติบโตไม่กว่าร้อยละ 6 แม้ปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง
อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5-4 สำหรับการพิจารณาปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ย ธปท. ต้องพิจารณาจากสภาพของตลาดโลก แต่จะพยายามดูแลให้กระทบต่อการใช้จ่ายในครัว
เรือนให้น้อยที่สุด รวมทั้งดูแลไม่ไห้กระทบถึงปัญหาเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินด้วย โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ครม. อนุมัติงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 51 แห่ง ในปี งปม.48 จำนวน 3.1 แสนล้านบาท นายต่อพงษ์
ไชยสาส์น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ
51 แห่ง ประจำปี งปม.48 ตามที่สภาพัฒน์เสนอ คิดเป็นวงเงินดำเนินการ 315,485 ล้านบาท และ
เบิกจ่าย 248,921 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของจีดีพี ทั้งนี้ วงเงินเบิกจ่ายลงทุน 248,921 ล้านบาท มี
การนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างประเทศ 77,044 ล้านบาท และจะทำให้ฐานะดุลภาครัฐวิสาหกิจโดย
รวมขาดดุล 78,905 ล้านบาท หรือขาดดุลร้อยละ 1.1 ของจีดีพี ซึ่งในปี 48 คาดว่ารัฐวิสาหกิจ 51 แห่ง จะ
มีรายได้รวม 1,082,184 ล้านบาท รายจ่ายรวม 998,956 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 83,228 ล้านบาท จะ
สามารถจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนได้ 169,647 ล้านบาท นอกจากนี้ ครม. เห็นควรให้ รมต. ต้นสังกัด
ของรัฐวิสาหกิจเร่งกำกับดูแลให้รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ทำการปรับปรุงประมาณการกำไรสุทธิในปี งปม.48 เพิ่มอีก
ร้อยละ 10 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน สำหรับแนวโน้มการดำเนินงานใน
ช่วงปี 49-51 ประมาณว่าจะมีการเบิกจ่ายงบลงทุนทั้งสิ้น 957,985 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 319,328 ล้าน
บาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับการผลิต การบริการ การปฏิบัติของพนักงานให้มี
ประสิทธิภาพ ด้วยการจัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน ทดแทนของเดิม หรือลงทุนเพื่อการซ่อมแซม
และบำรุงรักษา สำหรับผลประกอบการคาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 284,388 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 94,796 ล้าน
บาท (โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. ขอให้ผู้ประกอบการพิจารณาความเสี่ยงด้านสังคมในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ปัจจุบันการให้สินเชื่ออุปโภคบริโภคมีการขยายตัว
สูงขึ้น และผู้ประกอบการพยายามที่จะใช้สิ่งของล่อใจในการดึงดูดลูกค้าให้มาสมัครใช้สินเชื่อของตัวเอง
จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้ลูกค้าที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมในตัวลูกค้าเอง และ
ก่อให้เกิดปัญหาเอ็นพีแอล ธปท. จึงอยากให้ผู้ประกอบการพิจารณาความเสี่ยงทางด้านสังคมในการปล่อย
สินเชื่อมากขึ้น ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามดูแลการปล่อยสินเชื่ออุปโภคบริโภคอย่างใกล้ชิด หากพบว่าไม่มีคุณภาพ
และก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ธปท. อาจจะออกเกณฑ์การกำกับที่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคม เช่น อายุ
ขั้นต่ำของผู้สมัคร หรือการกำหนดประเภทและจำนวน และกลยุทธ์ในการดึงดูดลูกค้าของผู้ประกอบการให้
ลูกค้ามาสมัครบัตรของตนเอง(ไทยรัฐ)
4. ทีดีอาร์ไอเสนอแนะให้เปิดเสรีภาคบริการคู่กับภาคการค้า นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผอ.
ฝ่ายวิจัยมูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยในงานสัมมนาระดมความเห็น
เรื่องการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีสาขาบริการว่า รัฐบาลไม่ควรแยกการเจรจาเปิดเสรีภาคบริการ
ออกจากการเปิดเสรีภาคการค้า ไม่เช่นนั้นจะทำให้กลไกตลาดเกิดความบิดเบือนและส่งผลให้ขีดความสามารถใน
การแข่งขันของไทยลดลง และกระทบไปยังภาพรวมเศรษฐกิจที่ส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับธุรกิจบริการมากกว่าสินค้า
นอกจากนี้ จากการที่ผู้ประกอบการในประเทศมีต้นทุนการผลิตที่สูงอาจเป็นอุปสรรคการเป็นดีทรอยของเอเชียได้
ทั้งนี้ เห็นว่ารัฐบาลควรที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อลดต้นทุนให้กับภาคธุรกิจบริการไทย โดย
เฉพาะที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เช่น การประปา การไฟฟ้า การโทรคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร เพื่อ
รองรับการเปิดเสรี ซึ่งการเปิดเสรีก็ควรทำในทุกสาขา ไม่ควรสงวนสาขาใดสาขาหนึ่งไว้ เพราะการเปิดเสรี
ภาคบริการจะทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจของไทยต่ำลง โดยจากการศึกษาพบว่าหากรัฐบาลเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจ
ไฟฟ้าได้ร้อยละ 10 จะทำให้จีดีดีไทยโตขึ้นร้อยละ 0.33 หากเพิ่มประสิทธิภาพการธนาคารขึ้นร้อยละ 10 จีดีพี
โตขึ้นร้อยละ 0.25 และหากเพิ่มประสิทธิภาพสาขาโทรคมนาคมขนส่งอีกร้อยละ 10 จีดีพีจะโตขึ้นร้อยละ 0.17
ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับภาพรวมเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรเปิดเวทีให้กลุ่มผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมใน
การรับฟังความเห็นและเสนอแนะในการเปิดเสรีภาคบริการด้วย เพราะที่ผ่านมารัฐบาลจะรับฟังเฉพาะภาค
อุตสาหกรรมเท่านั้น (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. OECD คาดว่าการสูงขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อไม่มาก รายงานจากปารีส
เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 47 องค์การเพื่อการร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา — OECD เปิดเผยว่าการสูงขึ้นของ
ระดับราคาน้ำมันจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อพื้นฐานและค่าจ้างแรงงานในประเทศที่มีเศรษฐกิจสำคัญของโลกไม่
มาก ทั้งนี้ OECD ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสรอ.ในปี 47 เป็นระดับร้อยละ 4.3
จากคาดการณ์เดิมที่ระดับร้อยละ 4.7 ขณะที่ได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนเป็น
ร้อยละ 2.0 จากที่เคยคาดการณ์เดิมที่ระดับร้อยละ 1.6 ส่วนญี่ปุ่นนั้น OECD ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 4.4 จากคาด
การณ์เดิมร้อยละ 3.0 นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าการที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทำให้ธ.กลางหลายแห่ง
รวมทั้งธ.กลาง สรอ.เริ่มจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เว้นแต่ธ.
กลางอังกฤษเท่านั้นที่ได้มีนโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเพื่อป้องกันเงินเฟ้อก่อนประเทศอื่นๆปัจจุบันจึงยัง
คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านนโยบายดังกล่าว ส่วนประเทศญี่ปุ่นและยูโรโซนยังใช้นโยบายเฝ้าระวังเท่านั้น
(รอยเตอร์)
2. ธ.กลาง สรอ.ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 1.75 รายงานจากโตเกียว
เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 47 คณะกรรมการนโยบายการเงินสรอ.ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ส่งผลให้
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของสรอ.อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.75 การปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 ดังกล่าวเท่ากับที่ปรับเพิ่ม
ในเดือนมิ.ย. และเดือน ส.ค. นักวิเคราะห์จาก JPMorgan มีความเห็นว่า ธ.กลางสรอ. ได้ดำเนินการตาม
ที่คาดการณ์กันไว้คือการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งยืนยันว่า Fed จะยังคงใช้มาตรการการเงินอย่างเข้มงวดต่อไป
อย่างไรก็ตามในถ้อยแถลงของ Fed ยังกล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสรอ. ว่ามีทิศทางที่ดี เนื่องจากการขยายตัว
ของผลผลิตและภาวะตลาดแรงงานฟื้นตัว แต่ตั้งข้อสังเกตว่าเงินเฟ้อและคาดการณ์เงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงใน
เดือนหน้า นอกจากนั้นนักวิเคราะห์ยังคาดว่า Fed อาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหนึ่งในการ
ประชุมนโยบายการเงินคราวหน้าในวันที่ 10 พ.ย. นี้(รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือนส.ค. 47 ลดลงร้อยละ 26.0 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว รายงาน
จากโตเกียว เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 47 รมว.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. 47 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าที่ระดับ
576.14 พัน ล.เยน (5.25 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ระดับ 778.46 พัน ล.
เยน หรือลดลงร้อยละ 26.0 (ตัวเลขก่อนการปรับฤดูกาล) นอกจากนี้ตัวเลขการเกินดุลการค้าดังกล่าวยังต่ำ
กว่าค่ากลางจากผลการสำรวจของรอยเตอร์เมื่อเร็วๆนี้ว่า ในเดือนส.ค. ญี่ปุ่นจะเกินดุลการค้าจำนวน 800
พัน ล.เยน หรือเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือนดุลการค้าในเดือน
ส.ค. เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก.ค. ถึงร้อยละ 7.6 อยู่ที่ระดับ1,044.97 พัน ล. เยนจากระดับ 971.12
พัน ล. เยนเมื่อเดือนก.ค. (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) นับเป็นการเกินดุลที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ
มากกว่า 1 ปีเนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้นกระทบต่อการขยายตัวของการส่งออกและต้นทุนการนำเข้า
(รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคสิงคโปร์ในเดือนส.ค. อาจสูงขึ้นเล็กน้อย รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่
21 ก.ย. 47 ว่า จากผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค. 47
อาจปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจากที่ลดลงในเดือนก่อนหน้า (ก.ค.) สาเหตุจากราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้น
อันจะส่งผลให้ความกดดันในเรื่องอัตราเงินเฟ้อของประเทศยังคงมีอยู่ต่อไป ทั้งนี้โดยคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค
ของเดือน ส.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1จากเดือนก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปี สำหรับดัชนีราคาผู้
บริโภคเมื่อเทียบต่อเดือนของปีนี้นั้นเคยเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่เดือน มี.ค.- พ.ค.
และไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน มิ.ย. ก่อนที่จะกลับมาลดลงในเดือน ก.ค. อนึ่ง ตัวเลขที่เป็นทางการจะประกาศ
ในวันพฤหัสบดีที่ 23 ก.ย. นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ก.ย. 47 21 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.344 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1497/41.4472 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 660.92/22.19 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.89 35.61 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-