แท็ก
ญี่ปุ่น
บรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญและมีบทบาทอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าอาหาร ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยจึงควรเร่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัด เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มโอกาสให้กับสินค้าอาหารไทยในตลาดญี่ปุ่น
ลักษณะของบรรจุภัณฑ์และกฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารในญี่ปุ่นที่ควรทราบมีดังนี้
- ลักษณะของบรรจุภัณฑ์และกฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารในญี่ปุ่นควรทรบมีดังนี้
- มีรูปแบบสะดุดตาและมีสีสดเข้ม โดยเฉพาะสี แดง ส้ม และเหลือง ซึ่งเป็นสีที่นิยมใช้กับบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารในญี่ปุ่น
- มีขนาดเล็กลง เช่น บรรจุภัณฑ์ของอาหารแปรรูปที่บรรจะกระป๋องควรมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 400 กรัมสำหรับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นควรมีการแบ่งเป็นถุงหรือซองขนาดเล็กเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้ตามต้องการ เนื่องจากปัจจุบันครอบครัวของชาวญี่ปุ่นมีขนาดเล็กลง
- สะดวกต่อการใช้ คือ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์อื่นช่วย ถือได้เหมาะมือ ใส่เตาอบไมโครเวฟได้ทันที สามารถปิดผนึกเพื่อเก็บรักาาอาหารที่เหลือได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ประเภท Zip-lock
- บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ย่อยสลายง่ายหรือวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมาก
- บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เน้นความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ อาทิ หยิบจับง่าย มีสัญลักษณ์ แสดงประเภทของสินค้าอย่างชัดเจน มีคำบรรยายสินค้าที่เข้าใจง่าย และตัวอักษรมีขนาดใหญ่ เป็นต้น
- กฏระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหาร มีดังนี้
- Food Sanitation Law กำหนดให้ผู้ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าอาหารต้องติดฉลากเพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ เป็นภาษาญี่ปุ่นและมองเห็นได้ชัดเจน อาทิ ชื่อสินค้า สัดส่วนของวัตถุดิบแต่ละชนิดที่ใช้ น้ำหนักสุทธิ วันหมดอายุ วิธีเก็บรักษา ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต รายละเอียดของเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทีได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม(Genetically Modified Organisms :GMOs) เป็นต้น นอกจานี้ ผู้ผลิตควรให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้บริโภค สารปรุงแต่งที่ใช้ วิธีการปรุงอาหาร และข้อควรระวังในการบริโภค เป็นต้น
- Containers and Packgaing Recycling Law กำหนดให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องนำบรรจุภัณฑ์หรือเศษเหลือทิ้งของบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณเศษเหลือทิ้ง อาทิ บรรจุภัณฑ์ประเภทขวดแก้ว ขวดพลาสติก PET บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ และบรรจุภัรฑ์กระดาษ เป็นต้น
นอกจากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าดังกล่าวแล้วผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยควรเน้นพัฒนาารออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีการติดตั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงความปลอดภัยของอาหารและสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่ระบบฟาร์มจนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค ปัจจุบันระบบดังกล่าวเริ่มใช้กันมากขึ้นในสินค้าอาหารที่ผลิตในญี่ปุ่นโดยเฉพาะสินค้าผักและเนื้อสัตว์ และมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้กับสินค้าอาหารชนิดอื่นๆด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-ดพ/พห-
ลักษณะของบรรจุภัณฑ์และกฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารในญี่ปุ่นที่ควรทราบมีดังนี้
- ลักษณะของบรรจุภัณฑ์และกฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารในญี่ปุ่นควรทรบมีดังนี้
- มีรูปแบบสะดุดตาและมีสีสดเข้ม โดยเฉพาะสี แดง ส้ม และเหลือง ซึ่งเป็นสีที่นิยมใช้กับบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารในญี่ปุ่น
- มีขนาดเล็กลง เช่น บรรจุภัณฑ์ของอาหารแปรรูปที่บรรจะกระป๋องควรมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 400 กรัมสำหรับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นควรมีการแบ่งเป็นถุงหรือซองขนาดเล็กเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้ตามต้องการ เนื่องจากปัจจุบันครอบครัวของชาวญี่ปุ่นมีขนาดเล็กลง
- สะดวกต่อการใช้ คือ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์อื่นช่วย ถือได้เหมาะมือ ใส่เตาอบไมโครเวฟได้ทันที สามารถปิดผนึกเพื่อเก็บรักาาอาหารที่เหลือได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ประเภท Zip-lock
- บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ย่อยสลายง่ายหรือวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมาก
- บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เน้นความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ อาทิ หยิบจับง่าย มีสัญลักษณ์ แสดงประเภทของสินค้าอย่างชัดเจน มีคำบรรยายสินค้าที่เข้าใจง่าย และตัวอักษรมีขนาดใหญ่ เป็นต้น
- กฏระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหาร มีดังนี้
- Food Sanitation Law กำหนดให้ผู้ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าอาหารต้องติดฉลากเพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ เป็นภาษาญี่ปุ่นและมองเห็นได้ชัดเจน อาทิ ชื่อสินค้า สัดส่วนของวัตถุดิบแต่ละชนิดที่ใช้ น้ำหนักสุทธิ วันหมดอายุ วิธีเก็บรักษา ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต รายละเอียดของเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทีได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม(Genetically Modified Organisms :GMOs) เป็นต้น นอกจานี้ ผู้ผลิตควรให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้บริโภค สารปรุงแต่งที่ใช้ วิธีการปรุงอาหาร และข้อควรระวังในการบริโภค เป็นต้น
- Containers and Packgaing Recycling Law กำหนดให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องนำบรรจุภัณฑ์หรือเศษเหลือทิ้งของบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณเศษเหลือทิ้ง อาทิ บรรจุภัณฑ์ประเภทขวดแก้ว ขวดพลาสติก PET บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ และบรรจุภัรฑ์กระดาษ เป็นต้น
นอกจากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าดังกล่าวแล้วผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยควรเน้นพัฒนาารออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีการติดตั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงความปลอดภัยของอาหารและสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่ระบบฟาร์มจนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค ปัจจุบันระบบดังกล่าวเริ่มใช้กันมากขึ้นในสินค้าอาหารที่ผลิตในญี่ปุ่นโดยเฉพาะสินค้าผักและเนื้อสัตว์ และมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้กับสินค้าอาหารชนิดอื่นๆด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-ดพ/พห-