สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชากร ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดยได้ผนวกข้อถามกับแบบสำรวจอนามัยและสวัสดิการ การสำรวจครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนเมษายน 2547 โดยสัมภาษณ์ประชากรอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไปที่เป็นสมาชิกในครัวเรือนตัวอย่างเรื่องเกี่ยวกับการออกกำลังกายในระหว่าง 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรที่ออกกำลังกาย ลักษณะทางประชากร และพฤติกรรมการออกกำลังกายซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เห็นภาพการดูแลเสริมสร้างสุขภาพของประชากร
การออกกำลังกายของประชากร
ผลการสำรวจ พบว่า ในจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ 53.7 ล้านคน มีผู้ออกกำลังกายประมาณ 15.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 29.1 ของจำนวนประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น
สัดส่วนของผู้ออกกำลังกายที่เป็นชายสูงกว่าหญิง กล่าวคือ ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นชายมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55.9 ของจำนวนผู้ที่ออกกำลังกายทั้งหมด ในขณะที่หญิงมีสัดส่วนร้อยละ 44.1
นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 38.4 ผู้ออกกำลังกายอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 61.6 อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล
อัตราการออกกำลังกายของชายหญิง
เมื่อพิจารณาอัตราการออกกำลังกายของชายและหญิง พบว่า ในจำนวนประชากรชายที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป (26.6 ล้านคน) มีผู้ออกกำลังกาย (8.7 ล้านคน) คิดเป็นอัตราร้อยละ 32.8 ในขณะที่อัตราการออกกำลังกายของหญิง คิดเป็นร้อยละ 25.4
อัตราการออกกำลังกายตามเขตการปกครอง
หากเปรียบเทียบอัตราการออกกำลังกายระหว่างประชากรที่อาศัยอยู่ ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จะเห็นว่าอัตราการออกกำลังกายของประชากร ในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 33.4 เทียบกับร้อยละ 26.9)
ประเภทของการออกกำลังกาย
จากผลการสำรวจ พบว่า ประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไปที่ออกกำลังกาย ประมาณ 15.6 ล้านคน ส่วนใหญ่นิยมออกกำลังกาย โดยการเล่นกีฬา รองลงมาคือ วิ่ง เต้นแอโรบิค เดิน และอื่น ๆ เช่น รำไม้พลอง ไทเก๊ก จี้กง โยคะ ฟิตเนส เป็นต้น
ความถี่ในการออกกำลังกายต่อสัปดาห์
ผู้ที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่ออกกำลังกายประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ รองลงมาประมาณ 6-7 วันต่อสัปดาห์ น้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอมีเพียงเล็กน้อย
เหตุผลที่ออกกำลังกาย
ร้อยละ 70.7 ของผู้ที่ออกกำลังกายทั้งหมดออกกำลังกายเพราะต้องการให้ร่างกายแข็งแรง อีกเกือบร้อยละ 30 ออกกำลังกายด้วยเหตุผลเพราะ เพื่อนชวน มีปัญหาสุขภาพ คลายเครียด ลดน้ำหนัก และอื่น ๆ
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
การออกกำลังกายของประชากร
ผลการสำรวจ พบว่า ในจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ 53.7 ล้านคน มีผู้ออกกำลังกายประมาณ 15.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 29.1 ของจำนวนประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น
สัดส่วนของผู้ออกกำลังกายที่เป็นชายสูงกว่าหญิง กล่าวคือ ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นชายมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55.9 ของจำนวนผู้ที่ออกกำลังกายทั้งหมด ในขณะที่หญิงมีสัดส่วนร้อยละ 44.1
นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 38.4 ผู้ออกกำลังกายอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 61.6 อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล
อัตราการออกกำลังกายของชายหญิง
เมื่อพิจารณาอัตราการออกกำลังกายของชายและหญิง พบว่า ในจำนวนประชากรชายที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป (26.6 ล้านคน) มีผู้ออกกำลังกาย (8.7 ล้านคน) คิดเป็นอัตราร้อยละ 32.8 ในขณะที่อัตราการออกกำลังกายของหญิง คิดเป็นร้อยละ 25.4
อัตราการออกกำลังกายตามเขตการปกครอง
หากเปรียบเทียบอัตราการออกกำลังกายระหว่างประชากรที่อาศัยอยู่ ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จะเห็นว่าอัตราการออกกำลังกายของประชากร ในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 33.4 เทียบกับร้อยละ 26.9)
ประเภทของการออกกำลังกาย
จากผลการสำรวจ พบว่า ประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไปที่ออกกำลังกาย ประมาณ 15.6 ล้านคน ส่วนใหญ่นิยมออกกำลังกาย โดยการเล่นกีฬา รองลงมาคือ วิ่ง เต้นแอโรบิค เดิน และอื่น ๆ เช่น รำไม้พลอง ไทเก๊ก จี้กง โยคะ ฟิตเนส เป็นต้น
ความถี่ในการออกกำลังกายต่อสัปดาห์
ผู้ที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่ออกกำลังกายประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ รองลงมาประมาณ 6-7 วันต่อสัปดาห์ น้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอมีเพียงเล็กน้อย
เหตุผลที่ออกกำลังกาย
ร้อยละ 70.7 ของผู้ที่ออกกำลังกายทั้งหมดออกกำลังกายเพราะต้องการให้ร่างกายแข็งแรง อีกเกือบร้อยละ 30 ออกกำลังกายด้วยเหตุผลเพราะ เพื่อนชวน มีปัญหาสุขภาพ คลายเครียด ลดน้ำหนัก และอื่น ๆ
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-