สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นการจัดทำครั้งที่ 8 ครั้งแรกได้จัดทำในปี 2532 และครั้งสุดท้ายในปี 2544 โดยจัดทำต่อเนื่องทุก 2 ปี เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายของรัฐเกี่ยวกับเงินเดือน และค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ โดยสอบถามเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด ก.พ. ระดับ 1 - 10 ทั่วประเทศ ประมาณ 12,095 ราย จากการสำรวจสรุปผลได้ดังนี้
1. ลักษณะที่สำคัญของข้าราชการ
ในปี 2547 จำนวนข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ 1 - 10 ทั่วประเทศ มีประมาณ 3. 8 แสนคน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง ( ร้อยละ 50.6 ) เป็นข้าราชการระดับ 3 - 5 รองลงมาคือ ระดับ 6 - 8 ร้อยละ 45.7 ระดับ 1-2 ร้อยละ 2.8 และข้าราชการระดับ 9 - 10 มีเพียงร้อยละ 0.9 โดยพบว่าข้าราชการดังกล่าวมีอายุเฉลี่ย 39.9 ปี และมีอายุราชการเฉลี่ย 15.6 ปี มีจำนวนสมาชิกเฉลี่ยครอบครัวละ 3.1 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ทำงานมีรายได้ 1.5 คน นอกจากนี้ พบว่า ครอบครัวข้าราชการยังมีผู้ที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู เฉลี่ยครอบครัวละ 2.1 คน
เมื่อพิจารณารายได้และค่าใช้จ่าย (ไม่รวม ค่าใช้จ่ายเพื่อการสะสมทุนและเงินออม) ของข้าราชการระดับ 1 - 10 ทั่วประเทศ พบว่า ครอบครัวข้าราชการมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 85.4 ของรายได้ทั้งสิ้น มีครอบครัวข้าราชการระดับ 1-2 เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย กล่าวคือ มีการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ถึงร้อยละ 13.6 ในขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 9-10 มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้ต่ำกว่าระดับอื่น คือร้อยละ 67.7
เมื่อพิจารณาหนี้สินของครอบครัวข้าราชการ พบว่า ข้าราชการร้อยละ 81.6 มีหนี้สิน มีจำนวนเงินที่เป็นหนี้ทั้งสิ้น 152,515 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 492,253 บาทต่อครอบครัวที่เป็นหนี้ โดยพบว่า ข้าราชการระดับ 3-5 มีสัดส่วนของผู้ที่เป็นหนี้มากที่สุด (ร้อยละ 83.2) รองลงมาคือ ระดับ 6-8 (ร้อยละ 81.0) ระดับ 1-2 (ร้อยละ 75.1) และระดับ 9-10 (ร้อยละ 41.6) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจำนวนเงินที่เป็นหนี้ พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น กล่าวคือ จาก 143,695 บาทต่อครอบครัวที่เป็นหนี้ ในข้าราชการระดับ 1 - 2 เป็น 1,197,444 บาทต่อครอบครัวที่เป็นหนี้ ในข้าราชการระดับ 9 -10
2. รายได้ของครอบครัวข้าราชการ
ในปี 2547 ครอบครัวข้าราชการระดับ 1 - 10 ทั่วประเทศ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 29,231 บาท โดยครอบครัวข้าราชการระดับ 1-2 มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 9,176 บาท ในขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 9 - 10 มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 94,262 บาท หรือประมาณ 10 เท่าของรายได้ของครอบครัวข้าราชการระดับ 1 - 2 เมื่อพิจารณาตามประเภทของรายได้ พบว่า รายได้ส่วนใหญ่ของครอบครัวข้าราชการ (ร้อยละ 78.7) มาจากเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ และเงินประจำตำแหน่ง โดยได้รับ สวัสดิการ (เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ายาและค่ารักษาพยาบาล และค่าเล่าเรียน เป็นต้น) และค่าเบี้ยประชุม/ค่าล่วงเวลาอีกร้อยละ 4.5 และ 1.4 ตามลำดับ สำหรับรายได้จากการประกอบอาชีพอื่นมีน้อยมาก กล่าวคือ มีรายได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 7.7 และจากการให้เช่าทรัพย์สิน ร้อยละ 1.3 ตามลำดับ และนอกจากนี้ ยังมีรายได้จากแหล่งอื่น ๆ อีกไม่มากนัก เช่น ดอกเบี้ย (ร้อยละ 2.8) และเงินโบนัส/ค่าทิป (ร้อยละ 2.4) เป็นต้น
3. ค่าใช้จ่ายของครอบครัวข้าราชการ
ครอบครัวข้าราชการระดับ 1-10 ทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 24,970 บาท (ไม่รวม ค่าใช้จ่ายเพื่อการสะสมทุนและเงินออม เช่น ค่าผ่อนชำระบ้านและ/หรือที่ดิน ค่าเบี้ยประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์ เป็นต้น) เมื่อพิจารณาตามประเภทของค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 23.6 เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมา ได้แก่ ค่าซื้อยานพาหนะ เครื่องเรือนและเครื่องใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ( ร้อยละ 17.8 ) สำหรับค่าที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและการเดินทาง และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (ได้แก่ ค่าของใช้และบริการส่วนบุคคล ค่าภาษี ดอกเบี้ยเงินกู้ ฯลฯ) มีการใช้จ่ายในสัดส่วนที่เท่ากัน คือร้อยละ 11.1 นอกจากนี้ ครอบครัวข้าราชการ ยังใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา การบันเทิงและการอ่าน ค่ายาและค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ 9.9 4.4 และ 3.4 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มระดับตำแหน่ง พบว่า ค่าใช้จ่ายของครอบครัวข้าราชการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น และมีข้อสังเกตว่า ครอบครัวข้าราชการระดับ 1-2 มีสัดส่วนค่าอาหารและเครื่องดื่มสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.1 ของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ในขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 9-10 มีสัดส่วนดังกล่าวต่ำที่สุด คือ ร้อยละ 18.0 และในทางกลับกัน พบว่า ครอบครัวข้าราชการระดับ 9 -10 มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสูงสุด ( ร้อยละ 15.1 ) ขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 1-2 มีสัดส่วนต่ำสุด (ร้อยละ 6.6 ) สำหรับค่าซื้อยานพาหนะ เครื่องเรือนและเครื่องใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะสูงมากในระดับ 3-5 และระดับ 6-8 คือร้อยละ 19.3 และ 16.9 ตามลำดับ
4. รายจ่ายเพื่อการสะสมทุนและเงินออม
นอกจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ครอบครัวของข้าราชการยังมีรายจ่ายเพื่อการสะสมทุนและเงินออมเฉลี่ย 4,541 บาท / ครอบครัว ซึ่งในจำนวนนี้ เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47 ) เป็นค่าผ่อนชำระบ้านและที่ดิน โดยมีสัดส่วนค่อนข้างสูงในครอบครัวข้าราชการระดับ 3 - 8 ในขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 9-10 มีสัดส่วนของเงินออมประเภทต่าง ๆ และค่าซื้อหุ้น / หลักทรัพย์ ซื้อพันธบัตร สูงถึงร้อยละ 51
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
1. ลักษณะที่สำคัญของข้าราชการ
ในปี 2547 จำนวนข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ 1 - 10 ทั่วประเทศ มีประมาณ 3. 8 แสนคน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง ( ร้อยละ 50.6 ) เป็นข้าราชการระดับ 3 - 5 รองลงมาคือ ระดับ 6 - 8 ร้อยละ 45.7 ระดับ 1-2 ร้อยละ 2.8 และข้าราชการระดับ 9 - 10 มีเพียงร้อยละ 0.9 โดยพบว่าข้าราชการดังกล่าวมีอายุเฉลี่ย 39.9 ปี และมีอายุราชการเฉลี่ย 15.6 ปี มีจำนวนสมาชิกเฉลี่ยครอบครัวละ 3.1 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ทำงานมีรายได้ 1.5 คน นอกจากนี้ พบว่า ครอบครัวข้าราชการยังมีผู้ที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู เฉลี่ยครอบครัวละ 2.1 คน
เมื่อพิจารณารายได้และค่าใช้จ่าย (ไม่รวม ค่าใช้จ่ายเพื่อการสะสมทุนและเงินออม) ของข้าราชการระดับ 1 - 10 ทั่วประเทศ พบว่า ครอบครัวข้าราชการมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 85.4 ของรายได้ทั้งสิ้น มีครอบครัวข้าราชการระดับ 1-2 เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย กล่าวคือ มีการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ถึงร้อยละ 13.6 ในขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 9-10 มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้ต่ำกว่าระดับอื่น คือร้อยละ 67.7
เมื่อพิจารณาหนี้สินของครอบครัวข้าราชการ พบว่า ข้าราชการร้อยละ 81.6 มีหนี้สิน มีจำนวนเงินที่เป็นหนี้ทั้งสิ้น 152,515 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 492,253 บาทต่อครอบครัวที่เป็นหนี้ โดยพบว่า ข้าราชการระดับ 3-5 มีสัดส่วนของผู้ที่เป็นหนี้มากที่สุด (ร้อยละ 83.2) รองลงมาคือ ระดับ 6-8 (ร้อยละ 81.0) ระดับ 1-2 (ร้อยละ 75.1) และระดับ 9-10 (ร้อยละ 41.6) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจำนวนเงินที่เป็นหนี้ พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น กล่าวคือ จาก 143,695 บาทต่อครอบครัวที่เป็นหนี้ ในข้าราชการระดับ 1 - 2 เป็น 1,197,444 บาทต่อครอบครัวที่เป็นหนี้ ในข้าราชการระดับ 9 -10
2. รายได้ของครอบครัวข้าราชการ
ในปี 2547 ครอบครัวข้าราชการระดับ 1 - 10 ทั่วประเทศ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 29,231 บาท โดยครอบครัวข้าราชการระดับ 1-2 มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 9,176 บาท ในขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 9 - 10 มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 94,262 บาท หรือประมาณ 10 เท่าของรายได้ของครอบครัวข้าราชการระดับ 1 - 2 เมื่อพิจารณาตามประเภทของรายได้ พบว่า รายได้ส่วนใหญ่ของครอบครัวข้าราชการ (ร้อยละ 78.7) มาจากเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ และเงินประจำตำแหน่ง โดยได้รับ สวัสดิการ (เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ายาและค่ารักษาพยาบาล และค่าเล่าเรียน เป็นต้น) และค่าเบี้ยประชุม/ค่าล่วงเวลาอีกร้อยละ 4.5 และ 1.4 ตามลำดับ สำหรับรายได้จากการประกอบอาชีพอื่นมีน้อยมาก กล่าวคือ มีรายได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 7.7 และจากการให้เช่าทรัพย์สิน ร้อยละ 1.3 ตามลำดับ และนอกจากนี้ ยังมีรายได้จากแหล่งอื่น ๆ อีกไม่มากนัก เช่น ดอกเบี้ย (ร้อยละ 2.8) และเงินโบนัส/ค่าทิป (ร้อยละ 2.4) เป็นต้น
3. ค่าใช้จ่ายของครอบครัวข้าราชการ
ครอบครัวข้าราชการระดับ 1-10 ทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 24,970 บาท (ไม่รวม ค่าใช้จ่ายเพื่อการสะสมทุนและเงินออม เช่น ค่าผ่อนชำระบ้านและ/หรือที่ดิน ค่าเบี้ยประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์ เป็นต้น) เมื่อพิจารณาตามประเภทของค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 23.6 เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมา ได้แก่ ค่าซื้อยานพาหนะ เครื่องเรือนและเครื่องใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ( ร้อยละ 17.8 ) สำหรับค่าที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและการเดินทาง และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (ได้แก่ ค่าของใช้และบริการส่วนบุคคล ค่าภาษี ดอกเบี้ยเงินกู้ ฯลฯ) มีการใช้จ่ายในสัดส่วนที่เท่ากัน คือร้อยละ 11.1 นอกจากนี้ ครอบครัวข้าราชการ ยังใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา การบันเทิงและการอ่าน ค่ายาและค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ 9.9 4.4 และ 3.4 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มระดับตำแหน่ง พบว่า ค่าใช้จ่ายของครอบครัวข้าราชการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น และมีข้อสังเกตว่า ครอบครัวข้าราชการระดับ 1-2 มีสัดส่วนค่าอาหารและเครื่องดื่มสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.1 ของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ในขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 9-10 มีสัดส่วนดังกล่าวต่ำที่สุด คือ ร้อยละ 18.0 และในทางกลับกัน พบว่า ครอบครัวข้าราชการระดับ 9 -10 มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสูงสุด ( ร้อยละ 15.1 ) ขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 1-2 มีสัดส่วนต่ำสุด (ร้อยละ 6.6 ) สำหรับค่าซื้อยานพาหนะ เครื่องเรือนและเครื่องใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะสูงมากในระดับ 3-5 และระดับ 6-8 คือร้อยละ 19.3 และ 16.9 ตามลำดับ
4. รายจ่ายเพื่อการสะสมทุนและเงินออม
นอกจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ครอบครัวของข้าราชการยังมีรายจ่ายเพื่อการสะสมทุนและเงินออมเฉลี่ย 4,541 บาท / ครอบครัว ซึ่งในจำนวนนี้ เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47 ) เป็นค่าผ่อนชำระบ้านและที่ดิน โดยมีสัดส่วนค่อนข้างสูงในครอบครัวข้าราชการระดับ 3 - 8 ในขณะที่ครอบครัวข้าราชการระดับ 9-10 มีสัดส่วนของเงินออมประเภทต่าง ๆ และค่าซื้อหุ้น / หลักทรัพย์ ซื้อพันธบัตร สูงถึงร้อยละ 51
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-