แท็ก
ยาเสพติด
1. วัตถุประสงค์
เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดก่อนและหลังปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ผู้เสพ/ผู้ติด ผู้ค้า ผู้ผลิต การเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชน และการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดิน ตลอดจนความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของรัฐ รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตาม ประเมินผล และวางแผนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติด ต่อไป
2. คุ้มรวม ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ
3. ระเบียบวิธีการสำรวจและการเก็บรวบรวมข้อมูล
ระเบียบวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Three - Stage Sampling มีประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่างของการสำรวจก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ครั้งละ 5,800 คน และใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน และคาบการเก็บรวบรวมข้อมูล
ครั้งที่ 1 ก่อนปฏิบัติการฯ ระหว่างวันที่ 19-26 มี.ค.47
ครั้งที่ 2 ก่อนปฏิบัติการฯ ระหว่างวันที่ 3-9 มิ.ย.47
4. การเสนอภาค เสนอผลการสำรวจในระดับภาค และประเทศ ในรูปของร้อยละ
5. สรุปผลการสำรวจ
5.1 การแพร่ระบาดของยาเสพติด
การแพร่ระบาดของยาเสพติดในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 ประชาชนร้อยละ 63.3 เห็นว่าลดลง ส่วนผู้ที่เห็นว่าเท่าเดิม/ควบคุมได้ ร้อยละ 19.7 กลับมาแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.7 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.3
5.2 สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชน
ผลการสำรวจหลังปฏิบัติการฯ พบว่า สัดส่วนของประชาชนที่ระบุว่าปัจจุบันมีปัญหาระดับมาก ปานกลาง และน้อย รวมแล้วลดลง เมื่อเทียบกับผลการสำรวจที่ผ่านมา คือ หลังประกาศสงครามฯ (พ.ค.46) ร้อยละ 42.6 ก่อนวันประกาศชัยชนะฯ (พ.ย.46) ร้อยละ 16.6 ก่อนปฏิบัติการฯ (มี.ค.47) ร้อยละ 11.5 และหลังปฏิบัติการฯ (มิ.ย.47) ร้อยละ 10.8 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า กทม.ภาคกลาง ลดลง โดยเฉพาะกทม. มีสัดส่วนที่ลดลงมาก คือ จากร้อยละ 22.4 เป็นร้อยละ 13.1 ส่วนภาคใต้กลับเพิ่มขึ้น และมีสัดส่วนที่เป็นปัญหาสูง คือจากร้อยละ 20.2 เป็นร้อยละ 24.0 สำหรับภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 8.1 เป็นร้อยละ 8.5 และจากร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 4.2 ตามลำดับ
5.3 ปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
ผลการสำรวจทั้งในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่ามีปัญหาผู้เสพฯ อยู่ในระดับเบาบาง - น้อย ประมาณร้อยละ 70 ระดับปานกลาง - มาก ประมาณร้อยละ 13
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชาชนระบุว่ามีปัญหาในระดับปานกลาง - มาก ลดลง คือ ร้อยละ 14.8 และ 8.1 ก่อนปฏิบัติการฯ ลดลงเหลือร้อยละ 12.3 และ 6.3 หลังปฏิบัติการฯ ส่วนภาคใต้ ภาคเหนือ และ กทม. มีปัญหาเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 4
5.4 ปัญหาด้านผู้ค้า และผู้ผลิตยาเสพติด
ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนระบุว่า มีปัญหาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิบัติการฯ คือ ปัญหาผู้ค้ายาเสพติด อยู่ในระดับปานกลาง - มาก จากร้อยละ 8.4 เป็นร้อยละ 10.8 สำหรับผู้ผลิตยาเสพติดนั้น ประชาชนระบุว่ามีปัญหาในระดับปานกลาง - มา จากร้อยละ 5.4 เป็นร้อยละ 6.7
5.5 ความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติด
ผลการสำรวจทั้งในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.3 ระบุว่าหาซื้อยาเสพติดไม่ได้
5.6 ความมั่นใจในความปลอดภัยต่อการแจ้งเบาะแส
จากการสำรวจหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนมีความมั่นใจในความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ลดลงมาก ร้อยละ 62.0 ก่อนปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 58.3 หลังปฏิบัติการฯ
5.7 การทราบ ความพึงพอใจต่อการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดินและการเข้าร่วมกิจกรรม
ผลการสำรวจทั้งในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนประมาณร้อยละ 60 ระบุว่าทราบว่ามีผู้ประสานพลังแผ่นดินในชุมชน และมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ประสานพลังแผ่นดิน ประมาณร้อยละ 59 ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมการเป็นพลังของแผ่นดิน ก่อนปฏิบัติการฯ มีประชาชนระบุว่าเข้าร่วมร้อยละ 52.3 และหลังปฏิบัติการฯ ร้อยละ 47.8
5.8 ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน
หลังปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครบ 90 วัน ประชาชนในทุกภาค ส่วนใหญ่ ร้อยละ 97.2 ระบุว่าพอใจต่อผลการดำเนินงานมีเพียงร้อยละ 0.9 ที่ระบุว่าไม่พอใจ และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 1.9
5.9 ข้อเสนอแนะ
มีประชาชนเพียงร้อยละ 36.5 ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ ควรปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง (ร้อยละ 22.9) ควรจัดกิจกรรม/ส่งเสริมอาชีพในชุมชน (ร้อยละ 17.1) และอื่นๆ ได้แก่ การใช้กฎหมายลงโทษอย่างเด็ดขาด การดูแลความปลอดภัยและเพิ่มรางวัลนำจับแก่ผู้แจ้งเบาะแส และการรณรงค์/สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดก่อนและหลังปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ผู้เสพ/ผู้ติด ผู้ค้า ผู้ผลิต การเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชน และการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดิน ตลอดจนความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของรัฐ รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตาม ประเมินผล และวางแผนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติด ต่อไป
2. คุ้มรวม ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ
3. ระเบียบวิธีการสำรวจและการเก็บรวบรวมข้อมูล
ระเบียบวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Three - Stage Sampling มีประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่างของการสำรวจก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ครั้งละ 5,800 คน และใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน และคาบการเก็บรวบรวมข้อมูล
ครั้งที่ 1 ก่อนปฏิบัติการฯ ระหว่างวันที่ 19-26 มี.ค.47
ครั้งที่ 2 ก่อนปฏิบัติการฯ ระหว่างวันที่ 3-9 มิ.ย.47
4. การเสนอภาค เสนอผลการสำรวจในระดับภาค และประเทศ ในรูปของร้อยละ
5. สรุปผลการสำรวจ
5.1 การแพร่ระบาดของยาเสพติด
การแพร่ระบาดของยาเสพติดในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 ประชาชนร้อยละ 63.3 เห็นว่าลดลง ส่วนผู้ที่เห็นว่าเท่าเดิม/ควบคุมได้ ร้อยละ 19.7 กลับมาแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.7 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.3
5.2 สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชน
ผลการสำรวจหลังปฏิบัติการฯ พบว่า สัดส่วนของประชาชนที่ระบุว่าปัจจุบันมีปัญหาระดับมาก ปานกลาง และน้อย รวมแล้วลดลง เมื่อเทียบกับผลการสำรวจที่ผ่านมา คือ หลังประกาศสงครามฯ (พ.ค.46) ร้อยละ 42.6 ก่อนวันประกาศชัยชนะฯ (พ.ย.46) ร้อยละ 16.6 ก่อนปฏิบัติการฯ (มี.ค.47) ร้อยละ 11.5 และหลังปฏิบัติการฯ (มิ.ย.47) ร้อยละ 10.8 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า กทม.ภาคกลาง ลดลง โดยเฉพาะกทม. มีสัดส่วนที่ลดลงมาก คือ จากร้อยละ 22.4 เป็นร้อยละ 13.1 ส่วนภาคใต้กลับเพิ่มขึ้น และมีสัดส่วนที่เป็นปัญหาสูง คือจากร้อยละ 20.2 เป็นร้อยละ 24.0 สำหรับภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 8.1 เป็นร้อยละ 8.5 และจากร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 4.2 ตามลำดับ
5.3 ปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
ผลการสำรวจทั้งในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่ามีปัญหาผู้เสพฯ อยู่ในระดับเบาบาง - น้อย ประมาณร้อยละ 70 ระดับปานกลาง - มาก ประมาณร้อยละ 13
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชาชนระบุว่ามีปัญหาในระดับปานกลาง - มาก ลดลง คือ ร้อยละ 14.8 และ 8.1 ก่อนปฏิบัติการฯ ลดลงเหลือร้อยละ 12.3 และ 6.3 หลังปฏิบัติการฯ ส่วนภาคใต้ ภาคเหนือ และ กทม. มีปัญหาเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 4
5.4 ปัญหาด้านผู้ค้า และผู้ผลิตยาเสพติด
ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนระบุว่า มีปัญหาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิบัติการฯ คือ ปัญหาผู้ค้ายาเสพติด อยู่ในระดับปานกลาง - มาก จากร้อยละ 8.4 เป็นร้อยละ 10.8 สำหรับผู้ผลิตยาเสพติดนั้น ประชาชนระบุว่ามีปัญหาในระดับปานกลาง - มา จากร้อยละ 5.4 เป็นร้อยละ 6.7
5.5 ความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติด
ผลการสำรวจทั้งในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.3 ระบุว่าหาซื้อยาเสพติดไม่ได้
5.6 ความมั่นใจในความปลอดภัยต่อการแจ้งเบาะแส
จากการสำรวจหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนมีความมั่นใจในความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ลดลงมาก ร้อยละ 62.0 ก่อนปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 58.3 หลังปฏิบัติการฯ
5.7 การทราบ ความพึงพอใจต่อการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดินและการเข้าร่วมกิจกรรม
ผลการสำรวจทั้งในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนประมาณร้อยละ 60 ระบุว่าทราบว่ามีผู้ประสานพลังแผ่นดินในชุมชน และมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ประสานพลังแผ่นดิน ประมาณร้อยละ 59 ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมการเป็นพลังของแผ่นดิน ก่อนปฏิบัติการฯ มีประชาชนระบุว่าเข้าร่วมร้อยละ 52.3 และหลังปฏิบัติการฯ ร้อยละ 47.8
5.8 ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน
หลังปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครบ 90 วัน ประชาชนในทุกภาค ส่วนใหญ่ ร้อยละ 97.2 ระบุว่าพอใจต่อผลการดำเนินงานมีเพียงร้อยละ 0.9 ที่ระบุว่าไม่พอใจ และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 1.9
5.9 ข้อเสนอแนะ
มีประชาชนเพียงร้อยละ 36.5 ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ ควรปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง (ร้อยละ 22.9) ควรจัดกิจกรรม/ส่งเสริมอาชีพในชุมชน (ร้อยละ 17.1) และอื่นๆ ได้แก่ การใช้กฎหมายลงโทษอย่างเด็ดขาด การดูแลความปลอดภัยและเพิ่มรางวัลนำจับแก่ผู้แจ้งเบาะแส และการรณรงค์/สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-