1. ความเป็นมา
ตามที่รัฐบาลนำโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการประกาศสงคราม ขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติดตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2546 ซึ่งผลการดำเนินการทำให้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดได้ลดลงเป็นอย่างมากและได้ประกาศชัยชนะต่อยาเสพติด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 อย่างไรก็ตามเพื่อให้ทุกชุมชน/หมู่บ้านเป็นพื้นที่เข้มแข็งสามารถเอาชนะปัญหายาเสพติดได้อย่างยั่งยืน และมีการเฝ้าระวังอย่างจริงจังไม่ให้ยาเสพติดกลับมาแพร่ระบาดได้อีก รัฐบาลจึงได้ประกาศนโยบาย "ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด" ในห้วง 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม ถึง 5 มิถุนายน 2547 ขึ้น ซึ่งในการนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อเป็นการติดตาม และประเมินผลปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด โดยได้ดำเนินการสำรวจ 2 ครั้ง คือ การสำรวจก่อนและหลัง ซึ่งการสำรวจก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ได้ดำเนินการในเดือนมีนาคม 2547 และครั้งนี้เป็นการสำรวจหลังจากดำเนินงานตามประกาศปฏิบัติการฯ มาครบ 90 วัน ในเดือนมิถุนายน 2547 อนึ่ง ในช่วงประกาศสงครามกับยาเสพติด (31 ม.ค. - 3 ธ.ค. 46) สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจมาแล้ว 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2546 และครั้งที่ 3 เดือนพฤศจิกายน 2546
2. วัตถุประสงค์
เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดก่อนและหลังปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ผู้เสพ/ผู้ติด ผู้ค้า ผู้ผลิต การเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชน และการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดิน ตลอดจนความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของรัฐ รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตาม ประเมินผล และวางแผนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติด ต่อไป
3. คุ้มรวม
ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ
4. ระเบียบวิธีการสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจก่อนและหลังปฏิบัติการฯ เป็นแบบ Stratified Three - Stage Sampling โดยมีภาคเป็นสตราตัม ซึ่งมีทั้งสิ้น 5 สตราตัม คือ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง (ยกเว้น กทม.) ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ โดยมีชุมรุมอาคาร (ในเขตเทศบาล) และหมู่บ้าน (นอกเขตเทศบาล) เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ครัวเรือนส่วนบุคคลเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง และสมาชิกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง
ในแต่ละภาค ทำการเลือกชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่างอย่างอิสระต่อกัน โดยใช้ความน่าจะเป็นในการเลือกเป็นปฏิภาคกับจำนวนครัวเรือนของชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านนั้นๆ ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 580 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน จากทั้งสิ้น 109,966 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน กระจายไปตามภาค และเขตการปกครอง เป็นดังนี้
ภาค รวม ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1. กรุงเทพมหานคร 108 108 -
2. กลาง (ยกเว้น กทม.) 126 44 82
3. เหนือ 114 24 90
4. ตะวันออกเฉียงเหนือ 132 24 108
5. ใต้ 100 24 76
รวมทั่วราชอาณาจักร 580 224 356
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง
ในขั้นนี้เป็นการเลือกครัวเรือนตัวอย่างที่มีสมาชิกอายุ 18 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีการสุ่ม โดยกำหนดให้เลือก 10 ครัวเรือนตัวอย่าง ต่อชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน จำแนกตามภาค และเขตการปกครอง เป็นดังนี้
ภาค รวม ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1. กรุงเทพมหานคร 1,080 1,080 -
2. กลาง (ยกเว้น กทม.) 1,260 440 820
3. เหนือ 1,140 240 900
4. ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,320 240 1,080
5. ใต้ 1,000 240 760
รวมทั่วราชอาณาจักร 5,800 2,240 3,560
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม
ในแต่ละครัวเรือนตัวอย่าง ได้ทำการเลือกสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน เพื่อทำการสัมภาษณ์ โดยการสำรวจก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ใช้จำนวนหน่วยตัวอย่างครั้งละ 5,800 คน
5. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไปทำการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน โดยให้กระจายตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพการทำงาน โดยมีคาบการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 19 - 26 มีนาคม 2547 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเริ่มปฏิบัติการฯ
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2547 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังปฏิบัติการฯ
6. การเสนอผล
เสนอผลการสำรวจในระดับภาค และทั่วประเทศ ในรูปของร้อยละ
7. คำอธิบาย
7.1 การสำรวจในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่อ้างอิง
- ก่อนประกาศสงครามกับยาเสพติด หมายถึง การสำรวจข้อมูลความคิดเห็นของประชาชน
ก่อนที่รัฐบาลจะดำเนินการประกาศสงครามขั้นแตกหัก เพื่อเอาชนะยาเสพติด (ก่อน 1 กุมภาพันธ์ 2546)
ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 (4 - 18 กุมภาพันธ์ 2546)
- หลังประกาศสงครามกับยาเสพติด หมายถึง การสำรวจข้อมูลความคิดเห็นของประชาชน
หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการประกาศสงครามขั้นแตกหัก เพื่อเอาชนะยาเสพติด ในช่วงเวลา
3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2546 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติได้
ดำเนินการสำรวจในเดือนพฤษภาคม 2546 (28 เมษายน - 7 พฤษภาคม 2546)
- ก่อนวันประกาศชัยชนะต่อยาเสพติด หมายถึง การสำรวจข้อมูลความคิดเห็นของประชาชน
ก่อนประกาศชัยชนะต่อยาเสพติด ในวันที่ 3 ธันวาคม 2546 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติได้
ดำเนินการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2546 (5 - 15 พฤศจิกายน 2546)
- ก่อนปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด หมายถึง การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ก่อนที่รัฐบาลจะดำเนินการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม
2547 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจในเดือนมีนาคม 2547 (19 -- 26 มีนาคม 2547)
- หลังปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด หมายถึง การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการตามประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด
ครบเวลา 90 วัน ระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ถึง 5 มิถุนายน 2547 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติได้
ดำเนินการสำรวจหลังสิ้นสุดปฏิบัติการดังกล่าวในเดือนมิถุนายน 2547 (3 -- 9 มิถุนายน 2547)
7.2 ผู้ประสานพลังแผ่นดิน หมายถึง ประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มผู้นำชุมชน ครู ผู้นำศาสนา
เครือข่ายประสานพลังแผ่นดินด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีจำนวนประมาณ 25 คน
ต่อชุมชน/หมู่บ้าน ทำหน้าที่ในการประสานงานกับทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของ
ชุมชน/หมู่บ้าน และเชื่อมโยงเครือข่ายกับหมู่บ้านอื่น
7.3 ยาเสพติด ในการสำรวจครั้งนี้ ไม่นับรวมสุรา บุหรี่ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
7.4 ผู้เสพ/ผู้ติด ที่ได้รับการบำบัดรักษาแล้ว หรืออยู่ระหว่างการบำบัดรักษา ถือว่าไม่อยู่ในข่ายที่มีปัญหา
เรื่องยาเสพติด
7.5 ภาคกลาง จะไม่รวมกรุงเทพมหานคร
8. สรุปผลการสำรวจ
8.1 การทราบเกี่ยวกับ "ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด"
ตามที่รัฐบาลได้ประกาศ "ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด" เป็นเวลา 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม - 5 มิถุนายน 2547 เพื่อเป็นการกวาดล้างไม่ให้ยาเสพติดกลับมาแพร่ระบาดนั้น ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า โดยรวมแล้วประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภาครับทราบเกี่ยวกับปฏิบัติการดังกล่าว ในสัดส่วนที่สูง โดยผลการสำรวจก่อนปฏิบัติการฯโดยรวม มีประชาชนระบุว่าทราบ ร้อยละ 75.4 และหลังปฏิบัติการฯประชาชนส่วนใหญ่ยังติดตามข่าวสาร โดยระบุว่าทราบเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 82.3 สำหรับประเภทสื่อที่ทำให้ทราบหลังปฏิบัติการฯ นั้น ประชาชนโดยรวมระบุว่า ทราบจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 75.2 รองลงมาได้แก่ วิทยุ ร้อยละ 31.6 หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 26.7 หอกระจายข่าวในชุมชน ร้อยละ 21.5 และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 16.8 เป็นต้น
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค หลังปฏิบัติการฯ พบว่า ทุกภาคประชาชนระบุว่าทราบ เพิ่มขึ้น โดยภาคเหนือ มีประชาชนระบุว่าทราบสูงสุด คือ ร้อยละ 85.1 รองลงมา ภาคใต้ ร้อยละ 84.4 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 84.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 81.1 และภาคกลาง ร้อยละ 79.6
8.2 การแพร่ระบาดของยาเสพติด
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนโดยรวมส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.3 ระบุว่าการแพร่ระบาดของยาเสพติดในปัจจุบันลดน้อยลง เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 และผู้ที่ระบุว่าเท่าเดิม/ควบคุมได้ไม่มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น มีร้อยละ 19.7 ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีการกลับมาแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น มีร้อยละ 4.7 และอีกร้อยละ 12.3 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ระบุว่ายาเสพติดมีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น นั้น พบว่า ในเขตกรุงเทพมหานคร และภาคใต้ มีสัดส่วนของประชาชนที่ระบุว่ามีการกลับมาแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น สูงกว่าภาคอื่นๆ คือ ร้อยละ 9.0 และ 8.1 ตามลำดับ ส่วนในภาคอื่นๆ มีไม่ถึงร้อยละ 5 คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 4.5 ภาคกลาง ร้อยละ 3.8 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 2.6
8.3 สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชน
ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ พบว่า โดยรวมแล้วสัดส่วนของประชาชนที่เห็นว่าในชุมชนยังมีปัญหายาเสพติดในระดับมาก ปานกลาง และน้อย รวมร้อยละ 10.8 (คืออยู่ในระดับมาก ปานกลาง และน้อย ร้อยละ 0.4 2.6 และ 7.8 ตามลำดับ) และเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในช่วงก่อนวันประกาศชัยชนะต่อยาเสพติด (3 ธันวาคม 2546) และก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ โดยรวมกลุ่มที่มีระดับปัญหามาก ปานกลาง และน้อย พบว่าลดลงมาเป็นลำดับ คือ ก่อนประกาศชัยชนะฯ ร้อยละ 16.6 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ ร้อยละ 11.5 และลดลงเหลือร้อยละ 10.8 ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติด พบว่า ในภาคใต้สถานการณ์ปัญหายาเสพติด (โดยรวมกลุ่มที่มีปัญหามาก ปานกลาง และน้อย) ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ มีเพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 24.0 ในขณะที่ช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ มีอยู่ประมาณ ร้อยละ 20.2 และภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ไม่มากนัก คือ ช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ร้อยละ 8.1 เป็นร้อยละ 8.5 หลังปฏิบัติการฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 3.6 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 4.2 หลังปฏิบัติการฯ ส่วนกรุงเทพมหานคร และภาคกลาง ลดลง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ลดลงมาก คือ จากร้อยละ 22.4 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 13.1 หลังปฏิบัติการฯ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสุดปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดแล้ว ในการสำรวจครั้งหลังนี้ได้สอบถามประชาชนถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในช่วงก่อนที่รัฐบาลประกาศปฏิบัติการฯ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 และสถานการณ์ในปัจจุบันหลังปฏิบัติการฯ 90 วันแล้ว เพื่อเป็นการประเมินสถานการณ์ของชุมชนเดียวกันทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ นั้น พบว่า โดยรวมแล้วลดลง คือ เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินฯ ประชาชนระบุว่าไม่มีปัญหา ร้อยละ 48.4 มีปัญหาปานกลาง - มาก ร้อยละ 14.0 น้อย ร้อยละ 12.6 และเบาบาง ร้อยละ 13.4 ส่วนในปัจจุบัน ประชาชนระบุว่าไม่มีปัญหา สูงถึงร้อยละ 64.5 มีปัญหาระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 3.0 น้อย ร้อยละ 7.8 และเบาบาง ร้อยละ 10.9
อนึ่ง เมื่อพิจารณาในกลุ่มที่ระบุว่ายังมีปัญหายาเสพติดในช่วงก่อนที่รัฐบาลประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 นั้น พบว่า ถ้าเดิมปัญหาอยู่ในระดับมาก และปัจจุบัน ปัญหาอยู่ในระดับปานกลางลงมาจนถึงไม่มีปัญหา แสดงว่าปัญหาได้ลดลง แต่ถ้าปัญหายังอยู่ในระดับมากอีก แสดงว่าปัญหายังมีอยู่เท่าเดิม และในกรณีอื่นก็พิจารณาเช่นเดียวกัน ซึ่งผลการเปรียบเทียบในลักษณะดังกล่าว จะเห็นว่าข้อมูลส่วนที่อยู่เหนือเส้นทแยงจะเป็นสัดส่วนที่ระบุว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันลดลงเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ซึ่งเดิมในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ มีปัญหา ร้อยละ 40.7 และในปัจจุบันปัญหาได้ลดลงเหลือร้อยละ 24.5 ส่วนข้อมูลใต้เส้นทแยงจะเป็นสัดส่วนที่ระบุว่าปัญหายาเสพติดไม่ได้ลดลง คือ เท่าเดิม หรือกลับมามีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีอยู่ร้อยละ 12.6 (รวมกลุ่มที่ไม่ระบุ) นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มที่ระบุว่าไม่มีปัญหายาเสพติดในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ร้อยละ 48.4 และไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ ร้อยละ 10.9 นั้น แต่ในปัจจุบันได้กลับมามีปัญหาอยู่ในระดับเบาบาง-ปานกลาง ร้อยละ 1.3
8.3.1 ปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
จากการสอบถามประชาชนเกี่ยวกับปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในชุมชน ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าในชุมชนยังคงมีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดอยู่ในระดับเบาบาง - น้อย ที่สามารถควบคุมได้ ประมาณร้อยละ 70 ในขณะที่มีผู้ระบุว่าในชุมชนมีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มากนั้นลดลง คือ โดยรวมจากร้อยละ 13.2 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ลดลงเหลือร้อยละ 12.7 หลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ระบุว่า มีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น คือ ร้อยละ 19.9 รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ ร้อยละ 18.8 และภาคกลาง ร้อยละ 12.3 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ไม่เกินร้อยละ 7 และเมื่อเทียบกับช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ลดลงเล็กน้อย ส่วนภาคใต้ ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานคร กลับมีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น คือ ภาคใต้ จากร้อยละ 14.9 เป็นร้อยละ 18.8 ภาคเหนือ จากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 5.1 และกรุงเทพมหานคร จากร้อยละ 19.5 เป็นร้อยละ 19.9
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบผลการสำรวจก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนโดยรวมระบุว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดได้กลับไปใช้ยาเสพติดอีก เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 8.0 เป็นร้อยละ 8.2 และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า มีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดกลับไปใช้ยาเสพติดอีก เพิ่มขึ้นในเกือบทุกภาค ประมาณร้อยละ 0.8 - 2.6 โดยเฉพาะภาคเหนือ มีผู้เสพ/ผู้ติดฯ เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 7.1 เป็นร้อยละ 9.7 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนกรุงเทพมหานคร มีผู้เสพ/ผู้ติดฯ ลดลง คือจากร้อยละ 17.7 ลดลงเป็นร้อยละ 10.4
8.3.2 ปัญหาด้านผู้ค้า และผู้ผลิตยาเสพติด ค้ายาเสพติด
ผลการสำรวจเกี่ยวกับปัญหาผู้ค้ายาเสพติดในช่วงหลังปฏิบัติการฯ โดยรวมแล้วประชาชนระบุว่าในชุมชนยังมีผู้ค้ายาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 10.8 ระดับน้อย ร้อยละ 20.0 ระดับเบาบาง ร้อยละ 26.4 และเมื่อเทียบกับช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ประชาชนระบุว่าในชุมชนมีผู้ค้ายาเสพติดในระดับปานกลาง - มาก เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 8.4 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 10.8 หลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ระบุว่าชุมชนมีปัญหาผู้ค้ายาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ในสัดส่วนที่สูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 14.6 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ร้อยละ 14.0 ภาคใต้ ร้อยละ 12.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 7.1 และภาคเหนือ ร้อยละ 3.1 และเมื่อเทียบกับผลการสำรวจก่อนประกาศปฏิบัติการฯ โดยรวมแล้วในทุกภาคประชาชนระบุว่าชุมชน ยังมีปัญหาผู้ค้ายาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคกลาง เพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 7.7 เป็นร้อยละ 14.0 ในขณะที่ภาคอื่นๆ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่เกินร้อยละ 2.5
สำหรับปัญหาด้านผู้ผลิตยาเสพติดในชุมชนนั้น ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนโดยรวมระบุว่า ในชุมชนมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 6.7 ระดับน้อย ร้อยละ 8.9 ระดับเบาบางร้อยละ 7.9 และเมื่อเทียบกับช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ในชุมชนยังมีปัญหาผู้ผลิตยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 5.4 เป็นร้อยละ 6.7
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ในชุมชนมีปัญหาผู้ผลิตยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก นั้น มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง คือ ในเกือบทุกภาคชุมชนยังมีปัญหา เพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 1.8 - 2.9 โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร มีปัญหาเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 6.6 เป็นร้อยละ 9.5 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 5.5 ในขณะที่ภาคใต้ ภาคกลาง มีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนภาคเหนือ มีปัญหาลดลงจากเดิมร้อยละ 2.8 เป็นร้อยละ 2.4
8.3.3 การมีแหล่งมั่วสุมยาเสพติดในชุมชน
จากการสอบถามเกี่ยวกับการมีแหล่งมั่วสุม ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่าในชุมชนมีแหล่งมั่วสุมหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยกว่าช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ คือร้อยละ 12.5 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 13.1 หลังปฏิบัติการฯ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ในชุมชนมีแหล่งมั่วสุมฯ ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงในทุกภาค โดยมีภาคกลาง และภาคใต้ เพิ่มขึ้นมาก จากร้อยละ 15.7 และร้อยละ 16.6 เป็นร้อยละ 18.2 และ 18.7 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ มีแหล่งมั่วสุมฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากร้อยละ 5.8 และร้อยละ 9.4 เป็นร้อยละ 7.0 และ 10.0 ตามลำดับ ส่วนกรุงเทพมหานคร ประชาชนระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมฯ ลดลงจากร้อยละ 23.8 เป็นร้อยละ 17.9
8.3.4 ความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติด
เมื่อสอบถามถึงความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติดในชุมชน ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่า หาซื้อไม่ได้ในสัดส่วนเท่ากัน คือ ร้อยละ 54.3 ในขณะที่การหาซื้อยาก ได้ลดลงจากร้อยละ 19.2 ในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เหลือร้อยละ 14.0 ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ส่วนผู้ที่ระบุว่าหาซื้อได้ง่ายนั้น เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9 ในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 1.4 ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ มีประชาชนระบุว่า ในชุมชนหาซื้อยาเสพติดได้ง่าย ในแต่ละภาคมีไม่ถึงร้อยละ 4 คือ กรุงเทพมหานคร ภาคใต้ และ ภาคกลาง มีร้อยละ 3.5 2.5 และ 1.7 ตามลำดับ ส่วนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเพียงร้อยละ 0.6 และ 0.2 เท่านั้น เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหาซื้อยาเสพติดได้ง่าย มีสัดส่วนเท่าเดิม ในขณะที่ภาคอื่น ๆ หาซื้อยาเสพติดได้ง่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 1.1
8.3.5 การมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน
จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ประชาชนโดยรวมส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 93 ระบุว่า ในชุมชนไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และมีเพียงประมาณร้อยละ 7 ที่ระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ผลการสำรวจหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ภาคใต้ มีผู้ระบุว่าในชุมชนมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในสัดส่วนสูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 12.1 รองลงมาได้แก่ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 10.3 ภาคกลาง ร้อยละ 8.9 ภาคเหนือ ร้อยละ 5.5 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลาง มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 2 ในขณะที่กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนลดลง จากร้อยละ 14.8 เป็นร้อยละ 10.3 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 3.1
8.3.6 ความมั่นใจในความปลอดภัยต่อการแจ้งเบาะแส
ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ไม่แตกต่างกันมาก คือ ผลการสำรวจหลังปฏิบัติการฯพบว่า โดยรวมแล้วประชาชนระบุว่ามีความมั่นใจในความปลอดภัยต่อการแจ้งเบาะแส/ให้ข่าว/ให้ความร่วมมือ กับทางราชการเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 23.4 ระดับปานกลาง ร้อยละ 34.9 ระดับน้อย ร้อยละ 17.5 และอีกร้อยละ 24.2 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ และเมื่อเทียบกับช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ประชาชนระบุว่ามีความมั่นใจในความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง - มาก คือ จากร้อยละ 62.0 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 58.3 หลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนมากกว่าครึ่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง ระบุว่ามั่นใจในความปลอดภัย ในระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 69.0 60.3 และ 56.6 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร มีร้อยละ 49.6 และ 40.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ในแต่ละภาคประชาชนมีความมั่นใจในความปลอดภัย ในระดับปานกลาง - มาก ลดลงประมาณ ร้อยละ 3-6 ยกเว้น ภาคใต้ ประชาชนมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 43.0 เป็นร้อยละ 49.6
8.4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นพลังของแผ่นดิน
8.4.1 การทราบและความพึงพอใจต่อการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดิน
จากการสอบถามเกี่ยวกับการทราบว่าในชุมชนมีผู้ประสานพลังแผ่นดินหรือไม่ นั้น ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า โดยรวมแล้วประชาชนประมาณร้อยละ 60 ทราบว่าในชุมชนมีผู้ประสาน พลังแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ สำหรับผู้ที่ระบุว่าทราบ นั้น มีความพึงพอใจต่อการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดินในการติดตาม รณรงค์ ควบคุม ป้องกัน หรือเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 54.7 ระดับน้อย ร้อยละ 4.1 มีเพียงร้อยละ 1.1 ที่ระบุว่าไม่พอใจ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าครึ่งหนึ่ง ทราบว่าชุมชนมีผู้ประสานพลังแผ่นดิน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้ที่ระบุว่าทราบสูงที่สุด คือ ร้อยละ 71.8 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 68.3 ภาคกลาง ร้อยละ 57.2 ภาคใต้ ร้อยละ 54.1 ส่วนกรุงเทพมหานคร มีผู้ที่ระบุว่าทราบเพียงร้อยละ 30.6 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มผู้ที่ทราบ นั้น ทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของผู้ประสานพลังแผ่นดินอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ประมาณร้อยละ 55 และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคกลาง จากร้อยละ 53.6 เหลือร้อยละ 51.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 71.4 เหลือร้อยละ 68.9 และภาคเหนือมีความพึงพอใจลดลงเล็กน้อย ส่วนกรุงเทพมหานคร และภาคใต้ มีผู้ระบุว่ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น คือ จากร้อยละ 20.5 และ 41.4 เพิ่มเป็นร้อยละ 25.4 และ 45.9
8.4.2 การเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชน
เมื่อสอบถามถึงการเข้าร่วมกิจกรรมการเป็นพลังของแผ่นดินในการต่อต้านยาเสพติดหรือการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติด นั้น ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ โดยรวมแล้ว มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวไม่ถึงครึ่ง คือ ร้อยละ 47.8 ซึ่งลดลงจากช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ คือ ร้อยละ 52.3 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ระบุว่าไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมพลังของแผ่นดินในการต่อต้านยาเสพติด ในสัดส่วนที่สูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 85.2 รองลงมา คือ ภาคกลาง ร้อยละ 60.1 ภาคใต้ ร้อยละ 51.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 41.5 และภาคเหนือ ร้อยละ 37.9 และเมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ประชาชนไม่เข้าร่วมกิจกรรมฯ มากขึ้น คือ ภาคกลาง จากร้อยละ 51.3 เป็นร้อยละ 60.1 กรุงเทพมหานคร จากร้อยละ 78.3 เป็นร้อยละ 85.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากร้อยละ 35.3 เป็นร้อยละ 41.5 ในขณะที่ภาคเหนือ และภาคใต้ มีประชาชนระบุว่า ไม่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ลดลงเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 2
8.5 ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน
จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของรัฐบาลในการป้องกัน/แก้ไข/ควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติด ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ 90 วันประชาชนส่วนใหญ่โดยรวม ร้อยละ 97.2 มีความพึงพอใจ ส่วนผู้ที่ไม่พอใจ มีเพียงร้อยละ 0.9 เท่านั้น และเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ประชาชนโดยรวมมีความพึงพอใจในสัดส่วนที่ลดลงเล็กน้อย คือ จากร้อยละ 97.8 เป็นร้อยละ 97.2
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของรัฐบาล ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น ๆ คือ ร้อยละ 99.2 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 99.0 ภาคกลาง ร้อยละ 96.3 ภาคใต้ ร้อยละ 96.1 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 92.0 และเมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ประชาชนในแต่ละภาคมีความพึงพอใจลดลงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 0.5 -- 2.5
นอกจากนั้น เมื่อสอบถามถึงผลการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในด้านต่างๆ พบว่า ผลการสำรวจในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติการฯ โดยรวมแล้วในทุกภาค ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานในทุกด้านในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน คือ ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนพอใจต่อผลการดำเนินงานเกินกว่าร้อยละ 95 ขึ้นไป คือ การรณรงค์/สร้างจิตสำนึก/สร้างพลังประชาชนเพื่อป้องกัน
การแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 97.7 การป้องกัน/ควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ร้อยละ 97.5 การปราบปราม ทำลายขบวนการค้ายาเสพติด ร้อยละ 97.4 การเข้มงวดกับการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การลงโทษและยึดทรัพย์ของผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติดอย่างเด็ดขาด ร้อยละ 95.7 ส่วนการส่งเสริม ฟื้นฟูอาชีพให้กับผู้ค้า ผู้ผลิต ผู้เสพ/ผู้ติด ที่ผ่านการบำบัด และการสกัดกั้น/ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดตามแนวชายแดน มีผู้ระบุว่าพอใจ ร้อยละ 93.6 และ 93.4 ตามลำดับ
8.6 ข้อเสนอแนะ
สำหรับข้อเสนอแนะ มีประชาชนเพียงร้อยละ 36.5 ได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางที่ทำให้ชุมชนปลอดจากการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่สำคัญ ดังนี้ การปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ร้อยละ 22.9 การจัดกิจกรรม/ส่งเสริมอาชีพในชุมชน ร้อยละ 17.1 การใช้กฎหมายลงโทษอย่างเด็ดขาด ร้อยละ 4.2 การดูแลความปลอดภัยและเพิ่มรางวัลนำจับแก่ผู้แจ้งเบาะแส ร้อยละ 4.0 และการรณรงค์/สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 2.3
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
ตามที่รัฐบาลนำโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการประกาศสงคราม ขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติดตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2546 ซึ่งผลการดำเนินการทำให้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดได้ลดลงเป็นอย่างมากและได้ประกาศชัยชนะต่อยาเสพติด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 อย่างไรก็ตามเพื่อให้ทุกชุมชน/หมู่บ้านเป็นพื้นที่เข้มแข็งสามารถเอาชนะปัญหายาเสพติดได้อย่างยั่งยืน และมีการเฝ้าระวังอย่างจริงจังไม่ให้ยาเสพติดกลับมาแพร่ระบาดได้อีก รัฐบาลจึงได้ประกาศนโยบาย "ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด" ในห้วง 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม ถึง 5 มิถุนายน 2547 ขึ้น ซึ่งในการนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อเป็นการติดตาม และประเมินผลปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด โดยได้ดำเนินการสำรวจ 2 ครั้ง คือ การสำรวจก่อนและหลัง ซึ่งการสำรวจก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ได้ดำเนินการในเดือนมีนาคม 2547 และครั้งนี้เป็นการสำรวจหลังจากดำเนินงานตามประกาศปฏิบัติการฯ มาครบ 90 วัน ในเดือนมิถุนายน 2547 อนึ่ง ในช่วงประกาศสงครามกับยาเสพติด (31 ม.ค. - 3 ธ.ค. 46) สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจมาแล้ว 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2546 และครั้งที่ 3 เดือนพฤศจิกายน 2546
2. วัตถุประสงค์
เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดก่อนและหลังปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ผู้เสพ/ผู้ติด ผู้ค้า ผู้ผลิต การเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชน และการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดิน ตลอดจนความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของรัฐ รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตาม ประเมินผล และวางแผนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติด ต่อไป
3. คุ้มรวม
ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ
4. ระเบียบวิธีการสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจก่อนและหลังปฏิบัติการฯ เป็นแบบ Stratified Three - Stage Sampling โดยมีภาคเป็นสตราตัม ซึ่งมีทั้งสิ้น 5 สตราตัม คือ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง (ยกเว้น กทม.) ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ โดยมีชุมรุมอาคาร (ในเขตเทศบาล) และหมู่บ้าน (นอกเขตเทศบาล) เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ครัวเรือนส่วนบุคคลเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง และสมาชิกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง
ในแต่ละภาค ทำการเลือกชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่างอย่างอิสระต่อกัน โดยใช้ความน่าจะเป็นในการเลือกเป็นปฏิภาคกับจำนวนครัวเรือนของชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านนั้นๆ ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 580 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน จากทั้งสิ้น 109,966 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน กระจายไปตามภาค และเขตการปกครอง เป็นดังนี้
ภาค รวม ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1. กรุงเทพมหานคร 108 108 -
2. กลาง (ยกเว้น กทม.) 126 44 82
3. เหนือ 114 24 90
4. ตะวันออกเฉียงเหนือ 132 24 108
5. ใต้ 100 24 76
รวมทั่วราชอาณาจักร 580 224 356
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง
ในขั้นนี้เป็นการเลือกครัวเรือนตัวอย่างที่มีสมาชิกอายุ 18 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีการสุ่ม โดยกำหนดให้เลือก 10 ครัวเรือนตัวอย่าง ต่อชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน จำแนกตามภาค และเขตการปกครอง เป็นดังนี้
ภาค รวม ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1. กรุงเทพมหานคร 1,080 1,080 -
2. กลาง (ยกเว้น กทม.) 1,260 440 820
3. เหนือ 1,140 240 900
4. ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,320 240 1,080
5. ใต้ 1,000 240 760
รวมทั่วราชอาณาจักร 5,800 2,240 3,560
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม
ในแต่ละครัวเรือนตัวอย่าง ได้ทำการเลือกสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน เพื่อทำการสัมภาษณ์ โดยการสำรวจก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ใช้จำนวนหน่วยตัวอย่างครั้งละ 5,800 คน
5. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไปทำการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน โดยให้กระจายตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพการทำงาน โดยมีคาบการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 19 - 26 มีนาคม 2547 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเริ่มปฏิบัติการฯ
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2547 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังปฏิบัติการฯ
6. การเสนอผล
เสนอผลการสำรวจในระดับภาค และทั่วประเทศ ในรูปของร้อยละ
7. คำอธิบาย
7.1 การสำรวจในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่อ้างอิง
- ก่อนประกาศสงครามกับยาเสพติด หมายถึง การสำรวจข้อมูลความคิดเห็นของประชาชน
ก่อนที่รัฐบาลจะดำเนินการประกาศสงครามขั้นแตกหัก เพื่อเอาชนะยาเสพติด (ก่อน 1 กุมภาพันธ์ 2546)
ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 (4 - 18 กุมภาพันธ์ 2546)
- หลังประกาศสงครามกับยาเสพติด หมายถึง การสำรวจข้อมูลความคิดเห็นของประชาชน
หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการประกาศสงครามขั้นแตกหัก เพื่อเอาชนะยาเสพติด ในช่วงเวลา
3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2546 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติได้
ดำเนินการสำรวจในเดือนพฤษภาคม 2546 (28 เมษายน - 7 พฤษภาคม 2546)
- ก่อนวันประกาศชัยชนะต่อยาเสพติด หมายถึง การสำรวจข้อมูลความคิดเห็นของประชาชน
ก่อนประกาศชัยชนะต่อยาเสพติด ในวันที่ 3 ธันวาคม 2546 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติได้
ดำเนินการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2546 (5 - 15 พฤศจิกายน 2546)
- ก่อนปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด หมายถึง การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ก่อนที่รัฐบาลจะดำเนินการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม
2547 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจในเดือนมีนาคม 2547 (19 -- 26 มีนาคม 2547)
- หลังปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด หมายถึง การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการตามประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด
ครบเวลา 90 วัน ระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ถึง 5 มิถุนายน 2547 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติได้
ดำเนินการสำรวจหลังสิ้นสุดปฏิบัติการดังกล่าวในเดือนมิถุนายน 2547 (3 -- 9 มิถุนายน 2547)
7.2 ผู้ประสานพลังแผ่นดิน หมายถึง ประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มผู้นำชุมชน ครู ผู้นำศาสนา
เครือข่ายประสานพลังแผ่นดินด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีจำนวนประมาณ 25 คน
ต่อชุมชน/หมู่บ้าน ทำหน้าที่ในการประสานงานกับทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของ
ชุมชน/หมู่บ้าน และเชื่อมโยงเครือข่ายกับหมู่บ้านอื่น
7.3 ยาเสพติด ในการสำรวจครั้งนี้ ไม่นับรวมสุรา บุหรี่ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
7.4 ผู้เสพ/ผู้ติด ที่ได้รับการบำบัดรักษาแล้ว หรืออยู่ระหว่างการบำบัดรักษา ถือว่าไม่อยู่ในข่ายที่มีปัญหา
เรื่องยาเสพติด
7.5 ภาคกลาง จะไม่รวมกรุงเทพมหานคร
8. สรุปผลการสำรวจ
8.1 การทราบเกี่ยวกับ "ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด"
ตามที่รัฐบาลได้ประกาศ "ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด" เป็นเวลา 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม - 5 มิถุนายน 2547 เพื่อเป็นการกวาดล้างไม่ให้ยาเสพติดกลับมาแพร่ระบาดนั้น ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า โดยรวมแล้วประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภาครับทราบเกี่ยวกับปฏิบัติการดังกล่าว ในสัดส่วนที่สูง โดยผลการสำรวจก่อนปฏิบัติการฯโดยรวม มีประชาชนระบุว่าทราบ ร้อยละ 75.4 และหลังปฏิบัติการฯประชาชนส่วนใหญ่ยังติดตามข่าวสาร โดยระบุว่าทราบเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 82.3 สำหรับประเภทสื่อที่ทำให้ทราบหลังปฏิบัติการฯ นั้น ประชาชนโดยรวมระบุว่า ทราบจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 75.2 รองลงมาได้แก่ วิทยุ ร้อยละ 31.6 หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 26.7 หอกระจายข่าวในชุมชน ร้อยละ 21.5 และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 16.8 เป็นต้น
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค หลังปฏิบัติการฯ พบว่า ทุกภาคประชาชนระบุว่าทราบ เพิ่มขึ้น โดยภาคเหนือ มีประชาชนระบุว่าทราบสูงสุด คือ ร้อยละ 85.1 รองลงมา ภาคใต้ ร้อยละ 84.4 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 84.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 81.1 และภาคกลาง ร้อยละ 79.6
8.2 การแพร่ระบาดของยาเสพติด
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนโดยรวมส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.3 ระบุว่าการแพร่ระบาดของยาเสพติดในปัจจุบันลดน้อยลง เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 และผู้ที่ระบุว่าเท่าเดิม/ควบคุมได้ไม่มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น มีร้อยละ 19.7 ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีการกลับมาแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น มีร้อยละ 4.7 และอีกร้อยละ 12.3 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ระบุว่ายาเสพติดมีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น นั้น พบว่า ในเขตกรุงเทพมหานคร และภาคใต้ มีสัดส่วนของประชาชนที่ระบุว่ามีการกลับมาแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น สูงกว่าภาคอื่นๆ คือ ร้อยละ 9.0 และ 8.1 ตามลำดับ ส่วนในภาคอื่นๆ มีไม่ถึงร้อยละ 5 คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 4.5 ภาคกลาง ร้อยละ 3.8 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 2.6
8.3 สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชน
ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ พบว่า โดยรวมแล้วสัดส่วนของประชาชนที่เห็นว่าในชุมชนยังมีปัญหายาเสพติดในระดับมาก ปานกลาง และน้อย รวมร้อยละ 10.8 (คืออยู่ในระดับมาก ปานกลาง และน้อย ร้อยละ 0.4 2.6 และ 7.8 ตามลำดับ) และเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในช่วงก่อนวันประกาศชัยชนะต่อยาเสพติด (3 ธันวาคม 2546) และก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ โดยรวมกลุ่มที่มีระดับปัญหามาก ปานกลาง และน้อย พบว่าลดลงมาเป็นลำดับ คือ ก่อนประกาศชัยชนะฯ ร้อยละ 16.6 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ ร้อยละ 11.5 และลดลงเหลือร้อยละ 10.8 ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติด พบว่า ในภาคใต้สถานการณ์ปัญหายาเสพติด (โดยรวมกลุ่มที่มีปัญหามาก ปานกลาง และน้อย) ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ มีเพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 24.0 ในขณะที่ช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ มีอยู่ประมาณ ร้อยละ 20.2 และภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ไม่มากนัก คือ ช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ร้อยละ 8.1 เป็นร้อยละ 8.5 หลังปฏิบัติการฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 3.6 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 4.2 หลังปฏิบัติการฯ ส่วนกรุงเทพมหานคร และภาคกลาง ลดลง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ลดลงมาก คือ จากร้อยละ 22.4 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 13.1 หลังปฏิบัติการฯ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสุดปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดแล้ว ในการสำรวจครั้งหลังนี้ได้สอบถามประชาชนถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในช่วงก่อนที่รัฐบาลประกาศปฏิบัติการฯ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 และสถานการณ์ในปัจจุบันหลังปฏิบัติการฯ 90 วันแล้ว เพื่อเป็นการประเมินสถานการณ์ของชุมชนเดียวกันทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ นั้น พบว่า โดยรวมแล้วลดลง คือ เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินฯ ประชาชนระบุว่าไม่มีปัญหา ร้อยละ 48.4 มีปัญหาปานกลาง - มาก ร้อยละ 14.0 น้อย ร้อยละ 12.6 และเบาบาง ร้อยละ 13.4 ส่วนในปัจจุบัน ประชาชนระบุว่าไม่มีปัญหา สูงถึงร้อยละ 64.5 มีปัญหาระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 3.0 น้อย ร้อยละ 7.8 และเบาบาง ร้อยละ 10.9
อนึ่ง เมื่อพิจารณาในกลุ่มที่ระบุว่ายังมีปัญหายาเสพติดในช่วงก่อนที่รัฐบาลประกาศปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 นั้น พบว่า ถ้าเดิมปัญหาอยู่ในระดับมาก และปัจจุบัน ปัญหาอยู่ในระดับปานกลางลงมาจนถึงไม่มีปัญหา แสดงว่าปัญหาได้ลดลง แต่ถ้าปัญหายังอยู่ในระดับมากอีก แสดงว่าปัญหายังมีอยู่เท่าเดิม และในกรณีอื่นก็พิจารณาเช่นเดียวกัน ซึ่งผลการเปรียบเทียบในลักษณะดังกล่าว จะเห็นว่าข้อมูลส่วนที่อยู่เหนือเส้นทแยงจะเป็นสัดส่วนที่ระบุว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันลดลงเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ซึ่งเดิมในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ มีปัญหา ร้อยละ 40.7 และในปัจจุบันปัญหาได้ลดลงเหลือร้อยละ 24.5 ส่วนข้อมูลใต้เส้นทแยงจะเป็นสัดส่วนที่ระบุว่าปัญหายาเสพติดไม่ได้ลดลง คือ เท่าเดิม หรือกลับมามีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีอยู่ร้อยละ 12.6 (รวมกลุ่มที่ไม่ระบุ) นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มที่ระบุว่าไม่มีปัญหายาเสพติดในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ร้อยละ 48.4 และไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ ร้อยละ 10.9 นั้น แต่ในปัจจุบันได้กลับมามีปัญหาอยู่ในระดับเบาบาง-ปานกลาง ร้อยละ 1.3
8.3.1 ปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
จากการสอบถามประชาชนเกี่ยวกับปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในชุมชน ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าในชุมชนยังคงมีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดอยู่ในระดับเบาบาง - น้อย ที่สามารถควบคุมได้ ประมาณร้อยละ 70 ในขณะที่มีผู้ระบุว่าในชุมชนมีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มากนั้นลดลง คือ โดยรวมจากร้อยละ 13.2 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ลดลงเหลือร้อยละ 12.7 หลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ระบุว่า มีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น คือ ร้อยละ 19.9 รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ ร้อยละ 18.8 และภาคกลาง ร้อยละ 12.3 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ไม่เกินร้อยละ 7 และเมื่อเทียบกับช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ลดลงเล็กน้อย ส่วนภาคใต้ ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานคร กลับมีปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น คือ ภาคใต้ จากร้อยละ 14.9 เป็นร้อยละ 18.8 ภาคเหนือ จากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 5.1 และกรุงเทพมหานคร จากร้อยละ 19.5 เป็นร้อยละ 19.9
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบผลการสำรวจก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนโดยรวมระบุว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดได้กลับไปใช้ยาเสพติดอีก เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 8.0 เป็นร้อยละ 8.2 และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า มีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดกลับไปใช้ยาเสพติดอีก เพิ่มขึ้นในเกือบทุกภาค ประมาณร้อยละ 0.8 - 2.6 โดยเฉพาะภาคเหนือ มีผู้เสพ/ผู้ติดฯ เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 7.1 เป็นร้อยละ 9.7 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนกรุงเทพมหานคร มีผู้เสพ/ผู้ติดฯ ลดลง คือจากร้อยละ 17.7 ลดลงเป็นร้อยละ 10.4
8.3.2 ปัญหาด้านผู้ค้า และผู้ผลิตยาเสพติด ค้ายาเสพติด
ผลการสำรวจเกี่ยวกับปัญหาผู้ค้ายาเสพติดในช่วงหลังปฏิบัติการฯ โดยรวมแล้วประชาชนระบุว่าในชุมชนยังมีผู้ค้ายาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 10.8 ระดับน้อย ร้อยละ 20.0 ระดับเบาบาง ร้อยละ 26.4 และเมื่อเทียบกับช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ประชาชนระบุว่าในชุมชนมีผู้ค้ายาเสพติดในระดับปานกลาง - มาก เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 8.4 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 10.8 หลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ระบุว่าชุมชนมีปัญหาผู้ค้ายาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ในสัดส่วนที่สูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 14.6 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ร้อยละ 14.0 ภาคใต้ ร้อยละ 12.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 7.1 และภาคเหนือ ร้อยละ 3.1 และเมื่อเทียบกับผลการสำรวจก่อนประกาศปฏิบัติการฯ โดยรวมแล้วในทุกภาคประชาชนระบุว่าชุมชน ยังมีปัญหาผู้ค้ายาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคกลาง เพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 7.7 เป็นร้อยละ 14.0 ในขณะที่ภาคอื่นๆ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่เกินร้อยละ 2.5
สำหรับปัญหาด้านผู้ผลิตยาเสพติดในชุมชนนั้น ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนโดยรวมระบุว่า ในชุมชนมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 6.7 ระดับน้อย ร้อยละ 8.9 ระดับเบาบางร้อยละ 7.9 และเมื่อเทียบกับช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ในชุมชนยังมีปัญหาผู้ผลิตยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 5.4 เป็นร้อยละ 6.7
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ในชุมชนมีปัญหาผู้ผลิตยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง - มาก นั้น มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง คือ ในเกือบทุกภาคชุมชนยังมีปัญหา เพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 1.8 - 2.9 โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร มีปัญหาเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 6.6 เป็นร้อยละ 9.5 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 5.5 ในขณะที่ภาคใต้ ภาคกลาง มีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนภาคเหนือ มีปัญหาลดลงจากเดิมร้อยละ 2.8 เป็นร้อยละ 2.4
8.3.3 การมีแหล่งมั่วสุมยาเสพติดในชุมชน
จากการสอบถามเกี่ยวกับการมีแหล่งมั่วสุม ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่าในชุมชนมีแหล่งมั่วสุมหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยกว่าช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ คือร้อยละ 12.5 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 13.1 หลังปฏิบัติการฯ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ในชุมชนมีแหล่งมั่วสุมฯ ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงในทุกภาค โดยมีภาคกลาง และภาคใต้ เพิ่มขึ้นมาก จากร้อยละ 15.7 และร้อยละ 16.6 เป็นร้อยละ 18.2 และ 18.7 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ มีแหล่งมั่วสุมฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากร้อยละ 5.8 และร้อยละ 9.4 เป็นร้อยละ 7.0 และ 10.0 ตามลำดับ ส่วนกรุงเทพมหานคร ประชาชนระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมฯ ลดลงจากร้อยละ 23.8 เป็นร้อยละ 17.9
8.3.4 ความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติด
เมื่อสอบถามถึงความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติดในชุมชน ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่า หาซื้อไม่ได้ในสัดส่วนเท่ากัน คือ ร้อยละ 54.3 ในขณะที่การหาซื้อยาก ได้ลดลงจากร้อยละ 19.2 ในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เหลือร้อยละ 14.0 ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ส่วนผู้ที่ระบุว่าหาซื้อได้ง่ายนั้น เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9 ในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 1.4 ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ มีประชาชนระบุว่า ในชุมชนหาซื้อยาเสพติดได้ง่าย ในแต่ละภาคมีไม่ถึงร้อยละ 4 คือ กรุงเทพมหานคร ภาคใต้ และ ภาคกลาง มีร้อยละ 3.5 2.5 และ 1.7 ตามลำดับ ส่วนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเพียงร้อยละ 0.6 และ 0.2 เท่านั้น เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหาซื้อยาเสพติดได้ง่าย มีสัดส่วนเท่าเดิม ในขณะที่ภาคอื่น ๆ หาซื้อยาเสพติดได้ง่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 1.1
8.3.5 การมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน
จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ประชาชนโดยรวมส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 93 ระบุว่า ในชุมชนไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และมีเพียงประมาณร้อยละ 7 ที่ระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ผลการสำรวจหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ภาคใต้ มีผู้ระบุว่าในชุมชนมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในสัดส่วนสูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 12.1 รองลงมาได้แก่ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 10.3 ภาคกลาง ร้อยละ 8.9 ภาคเหนือ ร้อยละ 5.5 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลาง มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 2 ในขณะที่กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนลดลง จากร้อยละ 14.8 เป็นร้อยละ 10.3 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 3.1
8.3.6 ความมั่นใจในความปลอดภัยต่อการแจ้งเบาะแส
ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ไม่แตกต่างกันมาก คือ ผลการสำรวจหลังปฏิบัติการฯพบว่า โดยรวมแล้วประชาชนระบุว่ามีความมั่นใจในความปลอดภัยต่อการแจ้งเบาะแส/ให้ข่าว/ให้ความร่วมมือ กับทางราชการเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 23.4 ระดับปานกลาง ร้อยละ 34.9 ระดับน้อย ร้อยละ 17.5 และอีกร้อยละ 24.2 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ และเมื่อเทียบกับช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ประชาชนระบุว่ามีความมั่นใจในความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง - มาก คือ จากร้อยละ 62.0 ก่อนประกาศปฏิบัติการฯ เป็นร้อยละ 58.3 หลังปฏิบัติการฯ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนมากกว่าครึ่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง ระบุว่ามั่นใจในความปลอดภัย ในระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 69.0 60.3 และ 56.6 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร มีร้อยละ 49.6 และ 40.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ในแต่ละภาคประชาชนมีความมั่นใจในความปลอดภัย ในระดับปานกลาง - มาก ลดลงประมาณ ร้อยละ 3-6 ยกเว้น ภาคใต้ ประชาชนมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 43.0 เป็นร้อยละ 49.6
8.4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นพลังของแผ่นดิน
8.4.1 การทราบและความพึงพอใจต่อการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดิน
จากการสอบถามเกี่ยวกับการทราบว่าในชุมชนมีผู้ประสานพลังแผ่นดินหรือไม่ นั้น ผลการสำรวจทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า โดยรวมแล้วประชาชนประมาณร้อยละ 60 ทราบว่าในชุมชนมีผู้ประสาน พลังแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ สำหรับผู้ที่ระบุว่าทราบ นั้น มีความพึงพอใจต่อการทำงานของผู้ประสานพลังแผ่นดินในการติดตาม รณรงค์ ควบคุม ป้องกัน หรือเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ร้อยละ 54.7 ระดับน้อย ร้อยละ 4.1 มีเพียงร้อยละ 1.1 ที่ระบุว่าไม่พอใจ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าครึ่งหนึ่ง ทราบว่าชุมชนมีผู้ประสานพลังแผ่นดิน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้ที่ระบุว่าทราบสูงที่สุด คือ ร้อยละ 71.8 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 68.3 ภาคกลาง ร้อยละ 57.2 ภาคใต้ ร้อยละ 54.1 ส่วนกรุงเทพมหานคร มีผู้ที่ระบุว่าทราบเพียงร้อยละ 30.6 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มผู้ที่ทราบ นั้น ทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของผู้ประสานพลังแผ่นดินอยู่ในระดับปานกลาง - มาก ประมาณร้อยละ 55 และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคกลาง จากร้อยละ 53.6 เหลือร้อยละ 51.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 71.4 เหลือร้อยละ 68.9 และภาคเหนือมีความพึงพอใจลดลงเล็กน้อย ส่วนกรุงเทพมหานคร และภาคใต้ มีผู้ระบุว่ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น คือ จากร้อยละ 20.5 และ 41.4 เพิ่มเป็นร้อยละ 25.4 และ 45.9
8.4.2 การเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชน
เมื่อสอบถามถึงการเข้าร่วมกิจกรรมการเป็นพลังของแผ่นดินในการต่อต้านยาเสพติดหรือการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติด นั้น ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ โดยรวมแล้ว มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวไม่ถึงครึ่ง คือ ร้อยละ 47.8 ซึ่งลดลงจากช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ คือ ร้อยละ 52.3 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ระบุว่าไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมพลังของแผ่นดินในการต่อต้านยาเสพติด ในสัดส่วนที่สูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 85.2 รองลงมา คือ ภาคกลาง ร้อยละ 60.1 ภาคใต้ ร้อยละ 51.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 41.5 และภาคเหนือ ร้อยละ 37.9 และเมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ พบว่า ประชาชนไม่เข้าร่วมกิจกรรมฯ มากขึ้น คือ ภาคกลาง จากร้อยละ 51.3 เป็นร้อยละ 60.1 กรุงเทพมหานคร จากร้อยละ 78.3 เป็นร้อยละ 85.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากร้อยละ 35.3 เป็นร้อยละ 41.5 ในขณะที่ภาคเหนือ และภาคใต้ มีประชาชนระบุว่า ไม่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ลดลงเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 2
8.5 ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน
จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของรัฐบาลในการป้องกัน/แก้ไข/ควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติด ผลการสำรวจในช่วงหลังปฏิบัติการฯ 90 วันประชาชนส่วนใหญ่โดยรวม ร้อยละ 97.2 มีความพึงพอใจ ส่วนผู้ที่ไม่พอใจ มีเพียงร้อยละ 0.9 เท่านั้น และเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในช่วงก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ประชาชนโดยรวมมีความพึงพอใจในสัดส่วนที่ลดลงเล็กน้อย คือ จากร้อยละ 97.8 เป็นร้อยละ 97.2
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของรัฐบาล ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น ๆ คือ ร้อยละ 99.2 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 99.0 ภาคกลาง ร้อยละ 96.3 ภาคใต้ ร้อยละ 96.1 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 92.0 และเมื่อเทียบกับก่อนประกาศปฏิบัติการฯ ประชาชนในแต่ละภาคมีความพึงพอใจลดลงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 0.5 -- 2.5
นอกจากนั้น เมื่อสอบถามถึงผลการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในด้านต่างๆ พบว่า ผลการสำรวจในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติการฯ โดยรวมแล้วในทุกภาค ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานในทุกด้านในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน คือ ในช่วงหลังปฏิบัติการฯ ประชาชนพอใจต่อผลการดำเนินงานเกินกว่าร้อยละ 95 ขึ้นไป คือ การรณรงค์/สร้างจิตสำนึก/สร้างพลังประชาชนเพื่อป้องกัน
การแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 97.7 การป้องกัน/ควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ร้อยละ 97.5 การปราบปราม ทำลายขบวนการค้ายาเสพติด ร้อยละ 97.4 การเข้มงวดกับการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การลงโทษและยึดทรัพย์ของผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติดอย่างเด็ดขาด ร้อยละ 95.7 ส่วนการส่งเสริม ฟื้นฟูอาชีพให้กับผู้ค้า ผู้ผลิต ผู้เสพ/ผู้ติด ที่ผ่านการบำบัด และการสกัดกั้น/ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดตามแนวชายแดน มีผู้ระบุว่าพอใจ ร้อยละ 93.6 และ 93.4 ตามลำดับ
8.6 ข้อเสนอแนะ
สำหรับข้อเสนอแนะ มีประชาชนเพียงร้อยละ 36.5 ได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางที่ทำให้ชุมชนปลอดจากการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่สำคัญ ดังนี้ การปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ร้อยละ 22.9 การจัดกิจกรรม/ส่งเสริมอาชีพในชุมชน ร้อยละ 17.1 การใช้กฎหมายลงโทษอย่างเด็ดขาด ร้อยละ 4.2 การดูแลความปลอดภัยและเพิ่มรางวัลนำจับแก่ผู้แจ้งเบาะแส ร้อยละ 4.0 และการรณรงค์/สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 2.3
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-