1. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และประชาชนผู้บริโภค รัฐบาล (พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี) จึงได้ตรึงราคา/กำหนดระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ โดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินการ ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ซื้อมาสูงกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด/ตรึงราคาไว้ รัฐบาลก็จะนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจ่ายชดเชย/จ่ายแทนให้แก่ผู้ค้า และไม่ให้มีการขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเกินกว่าราคาที่ตรึงไว้ แต่ถ้าหากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมันที่รัฐบาลกำหนดไว้ ประชาชนก็ยังต้องซื้อน้ำมันตามราคาน้ำมันที่รัฐบาลกำหนด โดยรัฐก็จะนำเงินส่วนต่างเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อชดเชยส่วนที่ต้องจ่ายทดแทนไป ในการนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการ การตรึงราคา/กำหนดระดับราคาน้ำมันขึ้น เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการ การตรึงราคาน้ำมันของรัฐบาล และแนวทางการประหยัดพลังงาน รวมทั้งข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการตรึงราคาน้ำมันและการกำหนดระดับราคาน้ำมันสูงสุด เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการวางแผน ตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ต่อไป
2. คุ้มรวม
ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ
3. ระเบียบวิธีการสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบ Stratified Three - Stage Sampling โดยมีภาคเป็นสตราตัม ซึ่งมีทั้งสิ้น 5 สตราตัม คือ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง (ยกเว้น กทม.) ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ โดยมีชุมรุมอาคาร (ในเขตเทศบาล) และหมู่บ้าน (นอกเขตเทศบาล)เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ครัวเรือนส่วนบุคคลเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง และสมาชิกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง
ให้ใช้ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่างของโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในเดือนมิถุนายน 2547 ถ้าจังหวัดใดมีจำนวน BLK / หมู่บ้านตัวอย่าง ที่กำหนดให้มากกว่าจำนวน BLK / หมู่บ้านตัวอย่าง ของเดือน มิถุนายน ให้ใช้ BLK / หมู่บ้านตัวอย่าง ของเดือน กรกฎาคม เพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่กำหนดให้
ภาค รวม ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1. กรุงเทพมหานคร 108 108 -
2. กลาง 126 44 82
3. เหนือ 114 24 90
4. ตะวันออกเฉียงเหนือ 132 24 108
5. ใต้ 100 24 76
รวมทั่วประเทศ 580 224 356
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง
ให้ทำการสุ่มครัวเรือนตัวอย่างให้กระจายไปในพื้นที่การปฏิบัติงาน โดยเลือกครัวเรือนตัวอย่าง 10 ครัวเรือนต่อ 1 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่าง ซึ่งจะได้จำนวนครัวเรือนตัวอย่างทั่วประเทศทั้งสิ้น 5,800 ครัวเรือน
ภาค รวม ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1. กรุงเทพมหานคร 1,080 1,080 -
2. กลาง 1,260 440 820
3. เหนือ 1,140 240 900
4. ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,320 240 1,080
5. ใต้ 1,000 240 760
รวมทั่วประเทศ 5,800 2,240 3,560
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม
ในแต่ละครัวเรือนตัวอย่าง ได้ทำการเลือกสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน เพื่อทำการสัมภาษณ์ ได้จำนวนหน่วยตัวอย่างทั้งสิ้น 5,800 คน
4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไปทำการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน โดยให้กระจายตามเพศ อายุ และสถานภาพการทำงาน
ปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 11 มิถุนายน 2547
5. การเสนอผล
เสนอผลสำรวจในระดับภาค และทั่วประเทศ ในรูปของร้อยละ
6. สรุปผลการสำรวจ
6.1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการ การตรึงราคาน้ำมันของรัฐบาล
ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการ การตรึงราคาน้ำมันของรัฐบาลที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ประชาชนในทุกภาคมีความเห็นไม่แตกต่างกัน คือ โดยรวมแล้วประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.3 เห็นด้วยกับมาตรการนี้และร้อยละ 14.7 ไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้รถส่วนบุคคล เห็นด้วยกับมาตรการนี้ ร้อยละ 85.8 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ14.2 ส่วนผู้ใช้รถสาธารณะเห็นด้วย ร้อยละ 83.1 และไม่เห็นด้วย ร้อยละ 16.9
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภาคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวไม่แตกต่างกัน คือ ประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่เห็นด้วยเกินกว่า ร้อยละ 81 โดยภาคเหนือมีผู้ระบุว่าเห็นด้วยในสัดส่วนที่สูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 88.9 รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ87.3 ภาคกลาง ร้อยละ 83.5 ภาคใต้ ร้อยละ 82.3 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 81.9
สำหรับประชาชนที่ระบุว่าเห็นด้วยกับมาตรการ การตรึงราคาน้ำมันของรัฐบาล ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเห็นด้วยเพราะมาตรการดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 45.1 ถ้าปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามตลาดโลก จะทำให้น้ำมันมีราคาแพงขึ้น ร้อยละ 42.4 และเห็นว่าจะทำให้ราคาน้ำมันมีมาตรฐานเดียวกันในประเทศ ร้อยละ 4.4 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 8.1
เมื่อพิจารณาเหตุผลของผู้ที่ระบุว่าเห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวเป็นรายภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นการช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 53.1 กรุงเทพมหานครและภาคเหนือ ระบุว่าถ้าปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามตลาดโลก จะทำให้น้ำมันมีราคาแพงขึ้นในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน คือประมาณร้อยละ 47 และภาคกลาง ระบุว่า จะทำให้ราคาน้ำมันมีมาตรฐานเดียวกัน ร้อยละ 5.8
ส่วนผู้ไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวให้เหตุผลว่า การใช้มาตรการ การตรึงราคาน้ำมันไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าถูกลง/ราคาสินค้ายังคงแพงอยู่ ทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระหนี้จากการตรึงราคาน้ำมัน ไม่อยากให้ตรึงราคาน้ำมันแต่ควรปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดโลก และควรให้ประชาชนเป็นผู้ตระหนักถึงความสำคัญในการประหยัดน้ำมัน
6.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการตรึงราคาน้ำมัน
ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลกยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลมีความจำเป็นต้องตรึงราคา/กำหนดเพดานระดับราคาน้ำมันใหม่ ประชาชนโดยรวมในทุกภาค ระบุว่า ต้องการที่จะให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลต่อไป แต่กำหนดเพดานระดับราคาใหม่ ร้อยละ 76.7 ต้องการให้ปรับเปลี่ยนแผนใหม่ ร้อยละ 11.8 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 11.5 โดยในกลุ่มผู้ที่ต้องการให้ปรับเปลี่ยนแผนใหม่นั้นได้ระบุว่า รัฐบาลควรปล่อยให้ราคาน้ำมันขายปลีกลอยตัวตามกลไกของตลาด ร้อยละ 6.7 และให้ตรึงราคาเฉพาะน้ำมันดีเซลแต่ไม่ต้องตรึงราคาน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 5.1
เมื่อพิจารณาแนวทางการตรึงราคาน้ำมันเป็นรายภาค พบว่า ภาคเหนือมีผู้ระบุว่าให้ตรึงราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล แต่กำหนดเพดานระดับราคาใหม่ในสัดส่วนที่สูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 81.8รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 77.5 ภาคใต้ ร้อยละ 76.5 ภาคกลาง ร้อยละ 74.3และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 71.7 ส่วนความต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนแผนใหม่นั้น กรุงเทพมหานครมีผู้ระบุความต้องการดังกล่าวในสัดส่วนสูงกว่าทุกภาค ร้อยละ 16.6 รองลงมาเป็นภาคกลาง ร้อยละ 13.0 ภาคใต้ร้อยละ 12.7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 10.3 และภาคเหนือ ร้อยละ 9.3
6.3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับราคาน้ำมันขายปลีกที่เหมาะสม
ราคาน้ำมันเบนซิน 91 ประชาชน ร้อยละ 37.3 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า - 15.99 บาท รองลงมา ร้อยละ 26.7 18.6 และ 17.4 เห็นว่าราคาที่ควรจะเป็น คือ 17.00 -- 17.99 บาท 18.00 บาทขึ้นไป และ16.00 -- 16.99 บาท ตามลำดับ หรือเมื่อพิจารณาวิเคราะห์ราคาค่าเฉลี่ย พบว่า ค่าเฉลี่ยมัธยฐาน ซึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ครึ่งหนึ่งเห็นว่า ราคาน้ำมันเบนซิน 91 ควรอยู่ประมาณลิตรละ 16.79 บาท
ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ประชาชน ร้อยละ 27.8 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ 18.00 -- 18.99 บาทรองลงมา ร้อยละ 25.4 17.2 15.9 และ 13.7 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า - 15.99 บาท 17.00 -- 17.99 บาท19.00 บาทขึ้นไป และ 16.00 - 16.99 บาท ตามลำดับ หรือเมื่อพิจารณาวิเคราะห์ราคาค่าเฉลี่ย พบว่า ค่าเฉลี่ยมัธยฐาน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ครึ่งหนึ่งเห็นว่า ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ควรอยู่ประมาณลิตรละ 17.59 บาท
ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ประชาชน ร้อยละ 30.4 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ 15.00-15.99 บาทรองลงมา ร้อยละ 21.8 18.3 17.7 และ 11.8 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า -- 12.99 บาท 14.00 -14.99 บาท16.00 บาทขึ้นไป และ 13.00 - 13.99 บาท ตามลำดับ หรือเมื่อพิจารณาวิเคราะห์ราคาค่าเฉลี่ย พบว่าค่าเฉลี่ยมัธยฐาน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ครึ่งหนึ่งเห็นว่า ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ควรอยู่ประมาณลิตรละ 14.69 บาท
6.4 การประหยัดพลังงานในครัวเรือนและผลกระทบที่มีต่อครัวเรือน
ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในครัวเรือน ในภาวะที่ปัจจุบันราคาน้ำมันได้สูงขึ้นประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่ร้อยละ 82.3 ระบุว่า มีการประหยัดพลังงานในครัวเรือน และร้อยละ 17.7 ระบุว่าไม่มีการประหยัดพลังงาน ทั้งนี้ผู้ใช้รถส่วนบุคคล ระบุว่ามีการประหยัดพลังงานในครัวเรือน ร้อยละ 83.1 และระบุว่าไม่มีการประหยัดพลังงาน ร้อยละ 16.9
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคกลาง มีสัดส่วนของผู้ที่ระบุว่ามีการประหยัดพลังงานในครัวเรือนสูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 85.5 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ 85.1 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 84.7 ภาคใต้ร้อยละ 80.5 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 78.1
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อครัวเรือน ถ้ารัฐบาลปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก ประชาชนโดยรวมในทุกภาคระบุว่า ได้รับผลกระทบในเรื่องรายจ่ายสินค้าอุปโภค/บริโภคสูงขึ้น ร้อยละ 67.3 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้น ร้อยละ 29.5 รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ร้อยละ 21.8 และทำให้เงินออมลดลง ร้อยละ 1.9
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ทุกภาคระบุว่าครัวเรือนได้รับผลกระทบในเรื่องรายจ่ายสินค้าอุปโภค/บริโภคสูงขึ้นในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง กล่าวคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 71.4 กรุงเทพมหานคร และภาคกลาง ประมาณร้อยละ 66 ภาคเหนือ และ ภาคใต้ ประมาณร้อยละ 64 สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้นนั้น ภาคใต้ มีผู้ระบุ ร้อยละ 33.7 และภาคเหนือ ระบุว่ารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ร้อยละ 29.9 นอกจากนี้ทุกภาคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่ทำให้เงินออมลดลงไม่แตกต่างกัน โดยมีผู้ระบุเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 2
6.5 การส่งเสริมให้รถที่ใช้น้ำมันเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV)
ถ้ารัฐบาลจะส่งเสริมให้รถที่ใช้น้ำมันเบนซิน/น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติ(NGV) ประชาชนโดยรวมในทุกภาค ระบุว่า เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ร้อยละ 52.8 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ32.7 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 14.5 เมื่อสอบถามผู้ใช้รถส่วนบุคคล พบว่า มีผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 52.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 35.1 ไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 12.2 ส่วนผู้ใช้รถสาธารณะ พบว่า มีผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ53.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 21.4 ไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 25.0
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า กรุงเทพมหานคร เห็นด้วย ร้อยละ 57.2 รองลงมา ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นด้วย ร้อยละ 56.8 และ 51.6 ส่วนภาคกลางและภาคใต้ มีผู้เห็นด้วยในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน คือ ประมาณร้อยละ 50
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลจะส่งเสริมให้รถที่ใช้น้ำมันเบนซิน/น้ำมันดีเซลหมุนเร็วเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าเนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพของก๊าซ NGV ร้อยละ 38.5 ไม่มั่นใจในปัญหาที่จะเกิดกับเครื่องยนต์ ร้อยละ 31.1 สถานีให้บริการยังมีน้อยไม่แพร่หลาย ร้อยละ 19.1 และค่าติดตั้งอุปกรณ์การใช้ก๊าซ NGV มีราคาสูง ร้อยละ 11.3
6.6 แนวทางการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานที่รัฐบาลควรนำมาใช้นั้นประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่า รัฐบาลควรมีการรณรงค์/ประชาสัมพันธ์การประหยัดน้ำมัน ร้อยละ 70.3การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด ร้อยละ 44.3 สนับสนุนให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน ร้อยละ 42.9 จำกัดความเร็วของรถยนต์ ร้อยละ 30.1 รณรงค์ให้ใช้รถจักรยาน ร้อยละ 25.4 สนับสนุนการใช้น้ำมันสกัดจากสารธรรมชาติ/ก๊าซ NGV ร้อยละ 23.8 และควรกำหนดเวลาเปิด-ปิดสถานีบริการน้ำมัน ร้อยละ 18.6
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภาคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรณรงค์/ประชาสัมพันธ์การประหยัดน้ำมันในสัดส่วนค่อนข้างสูง ประมาณร้อยละ 60 -- 76 ภาคเหนือ ระบุว่าควรมีการการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด ร้อยละ 46.2 กรุงเทพมหานคร ระบุว่าควรมีการสนับสนุนให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน ร้อยละ 59.0 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ มีผู้ระบุว่าควรจำกัดความเร็วของรถยนต์ และควรรณรงค์ให้ประชาชนใช้รถจักรยาน ในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันประมาณร้อยละ 34 นอกจากนี้ภาคเหนือระบุว่าควรสนับสนุนการใช้น้ำมันสกัดจากสารธรรมชาติ/ก๊าซ NGV ร้อยละ 29.6 และภาคใต้ ระบุว่าควรกำหนดเวลาเปิด-ปิดสถานีบริการน้ำมัน ร้อยละ 22.9
6.7 ข้อเสนอแนะ
สำหรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการประหยัดน้ำมัน มีผู้แสดงความคิดเห็นร้อยละ 40.0 โดยให้ข้อคิดเห็น ดังนี้ รัฐบาลควรควบคุมราคาน้ำมันให้เหมาะสม ร้อยละ 23.9 รณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทน เช่น ก๊าซ NGV พลังงานแสงอาทิตย์ ร้อยละ 16.7 ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค/บริโภค ร้อยละ 5.3 และอื่นๆ ได้แก่ ควรมีมาตรการ การเปิด-ปิดสถานบันเทิง และควรปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดโลก
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และประชาชนผู้บริโภค รัฐบาล (พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี) จึงได้ตรึงราคา/กำหนดระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ โดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินการ ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ซื้อมาสูงกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด/ตรึงราคาไว้ รัฐบาลก็จะนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจ่ายชดเชย/จ่ายแทนให้แก่ผู้ค้า และไม่ให้มีการขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเกินกว่าราคาที่ตรึงไว้ แต่ถ้าหากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมันที่รัฐบาลกำหนดไว้ ประชาชนก็ยังต้องซื้อน้ำมันตามราคาน้ำมันที่รัฐบาลกำหนด โดยรัฐก็จะนำเงินส่วนต่างเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อชดเชยส่วนที่ต้องจ่ายทดแทนไป ในการนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการ การตรึงราคา/กำหนดระดับราคาน้ำมันขึ้น เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการ การตรึงราคาน้ำมันของรัฐบาล และแนวทางการประหยัดพลังงาน รวมทั้งข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการตรึงราคาน้ำมันและการกำหนดระดับราคาน้ำมันสูงสุด เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการวางแผน ตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ต่อไป
2. คุ้มรวม
ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ
3. ระเบียบวิธีการสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบ Stratified Three - Stage Sampling โดยมีภาคเป็นสตราตัม ซึ่งมีทั้งสิ้น 5 สตราตัม คือ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง (ยกเว้น กทม.) ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ โดยมีชุมรุมอาคาร (ในเขตเทศบาล) และหมู่บ้าน (นอกเขตเทศบาล)เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ครัวเรือนส่วนบุคคลเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง และสมาชิกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง
ให้ใช้ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่างของโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในเดือนมิถุนายน 2547 ถ้าจังหวัดใดมีจำนวน BLK / หมู่บ้านตัวอย่าง ที่กำหนดให้มากกว่าจำนวน BLK / หมู่บ้านตัวอย่าง ของเดือน มิถุนายน ให้ใช้ BLK / หมู่บ้านตัวอย่าง ของเดือน กรกฎาคม เพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่กำหนดให้
ภาค รวม ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1. กรุงเทพมหานคร 108 108 -
2. กลาง 126 44 82
3. เหนือ 114 24 90
4. ตะวันออกเฉียงเหนือ 132 24 108
5. ใต้ 100 24 76
รวมทั่วประเทศ 580 224 356
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง
ให้ทำการสุ่มครัวเรือนตัวอย่างให้กระจายไปในพื้นที่การปฏิบัติงาน โดยเลือกครัวเรือนตัวอย่าง 10 ครัวเรือนต่อ 1 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่าง ซึ่งจะได้จำนวนครัวเรือนตัวอย่างทั่วประเทศทั้งสิ้น 5,800 ครัวเรือน
ภาค รวม ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1. กรุงเทพมหานคร 1,080 1,080 -
2. กลาง 1,260 440 820
3. เหนือ 1,140 240 900
4. ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,320 240 1,080
5. ใต้ 1,000 240 760
รวมทั่วประเทศ 5,800 2,240 3,560
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม
ในแต่ละครัวเรือนตัวอย่าง ได้ทำการเลือกสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน เพื่อทำการสัมภาษณ์ ได้จำนวนหน่วยตัวอย่างทั้งสิ้น 5,800 คน
4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไปทำการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 คน โดยให้กระจายตามเพศ อายุ และสถานภาพการทำงาน
ปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 11 มิถุนายน 2547
5. การเสนอผล
เสนอผลสำรวจในระดับภาค และทั่วประเทศ ในรูปของร้อยละ
6. สรุปผลการสำรวจ
6.1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการ การตรึงราคาน้ำมันของรัฐบาล
ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการ การตรึงราคาน้ำมันของรัฐบาลที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ประชาชนในทุกภาคมีความเห็นไม่แตกต่างกัน คือ โดยรวมแล้วประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.3 เห็นด้วยกับมาตรการนี้และร้อยละ 14.7 ไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้รถส่วนบุคคล เห็นด้วยกับมาตรการนี้ ร้อยละ 85.8 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ14.2 ส่วนผู้ใช้รถสาธารณะเห็นด้วย ร้อยละ 83.1 และไม่เห็นด้วย ร้อยละ 16.9
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภาคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวไม่แตกต่างกัน คือ ประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่เห็นด้วยเกินกว่า ร้อยละ 81 โดยภาคเหนือมีผู้ระบุว่าเห็นด้วยในสัดส่วนที่สูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 88.9 รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ87.3 ภาคกลาง ร้อยละ 83.5 ภาคใต้ ร้อยละ 82.3 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 81.9
สำหรับประชาชนที่ระบุว่าเห็นด้วยกับมาตรการ การตรึงราคาน้ำมันของรัฐบาล ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเห็นด้วยเพราะมาตรการดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 45.1 ถ้าปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามตลาดโลก จะทำให้น้ำมันมีราคาแพงขึ้น ร้อยละ 42.4 และเห็นว่าจะทำให้ราคาน้ำมันมีมาตรฐานเดียวกันในประเทศ ร้อยละ 4.4 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 8.1
เมื่อพิจารณาเหตุผลของผู้ที่ระบุว่าเห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวเป็นรายภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นการช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 53.1 กรุงเทพมหานครและภาคเหนือ ระบุว่าถ้าปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามตลาดโลก จะทำให้น้ำมันมีราคาแพงขึ้นในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน คือประมาณร้อยละ 47 และภาคกลาง ระบุว่า จะทำให้ราคาน้ำมันมีมาตรฐานเดียวกัน ร้อยละ 5.8
ส่วนผู้ไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวให้เหตุผลว่า การใช้มาตรการ การตรึงราคาน้ำมันไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าถูกลง/ราคาสินค้ายังคงแพงอยู่ ทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระหนี้จากการตรึงราคาน้ำมัน ไม่อยากให้ตรึงราคาน้ำมันแต่ควรปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดโลก และควรให้ประชาชนเป็นผู้ตระหนักถึงความสำคัญในการประหยัดน้ำมัน
6.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการตรึงราคาน้ำมัน
ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลกยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลมีความจำเป็นต้องตรึงราคา/กำหนดเพดานระดับราคาน้ำมันใหม่ ประชาชนโดยรวมในทุกภาค ระบุว่า ต้องการที่จะให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลต่อไป แต่กำหนดเพดานระดับราคาใหม่ ร้อยละ 76.7 ต้องการให้ปรับเปลี่ยนแผนใหม่ ร้อยละ 11.8 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 11.5 โดยในกลุ่มผู้ที่ต้องการให้ปรับเปลี่ยนแผนใหม่นั้นได้ระบุว่า รัฐบาลควรปล่อยให้ราคาน้ำมันขายปลีกลอยตัวตามกลไกของตลาด ร้อยละ 6.7 และให้ตรึงราคาเฉพาะน้ำมันดีเซลแต่ไม่ต้องตรึงราคาน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 5.1
เมื่อพิจารณาแนวทางการตรึงราคาน้ำมันเป็นรายภาค พบว่า ภาคเหนือมีผู้ระบุว่าให้ตรึงราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล แต่กำหนดเพดานระดับราคาใหม่ในสัดส่วนที่สูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 81.8รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 77.5 ภาคใต้ ร้อยละ 76.5 ภาคกลาง ร้อยละ 74.3และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 71.7 ส่วนความต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนแผนใหม่นั้น กรุงเทพมหานครมีผู้ระบุความต้องการดังกล่าวในสัดส่วนสูงกว่าทุกภาค ร้อยละ 16.6 รองลงมาเป็นภาคกลาง ร้อยละ 13.0 ภาคใต้ร้อยละ 12.7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 10.3 และภาคเหนือ ร้อยละ 9.3
6.3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับราคาน้ำมันขายปลีกที่เหมาะสม
ราคาน้ำมันเบนซิน 91 ประชาชน ร้อยละ 37.3 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า - 15.99 บาท รองลงมา ร้อยละ 26.7 18.6 และ 17.4 เห็นว่าราคาที่ควรจะเป็น คือ 17.00 -- 17.99 บาท 18.00 บาทขึ้นไป และ16.00 -- 16.99 บาท ตามลำดับ หรือเมื่อพิจารณาวิเคราะห์ราคาค่าเฉลี่ย พบว่า ค่าเฉลี่ยมัธยฐาน ซึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ครึ่งหนึ่งเห็นว่า ราคาน้ำมันเบนซิน 91 ควรอยู่ประมาณลิตรละ 16.79 บาท
ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ประชาชน ร้อยละ 27.8 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ 18.00 -- 18.99 บาทรองลงมา ร้อยละ 25.4 17.2 15.9 และ 13.7 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า - 15.99 บาท 17.00 -- 17.99 บาท19.00 บาทขึ้นไป และ 16.00 - 16.99 บาท ตามลำดับ หรือเมื่อพิจารณาวิเคราะห์ราคาค่าเฉลี่ย พบว่า ค่าเฉลี่ยมัธยฐาน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ครึ่งหนึ่งเห็นว่า ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ควรอยู่ประมาณลิตรละ 17.59 บาท
ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ประชาชน ร้อยละ 30.4 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ 15.00-15.99 บาทรองลงมา ร้อยละ 21.8 18.3 17.7 และ 11.8 เห็นว่าราคาที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า -- 12.99 บาท 14.00 -14.99 บาท16.00 บาทขึ้นไป และ 13.00 - 13.99 บาท ตามลำดับ หรือเมื่อพิจารณาวิเคราะห์ราคาค่าเฉลี่ย พบว่าค่าเฉลี่ยมัธยฐาน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ครึ่งหนึ่งเห็นว่า ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ควรอยู่ประมาณลิตรละ 14.69 บาท
6.4 การประหยัดพลังงานในครัวเรือนและผลกระทบที่มีต่อครัวเรือน
ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในครัวเรือน ในภาวะที่ปัจจุบันราคาน้ำมันได้สูงขึ้นประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่ร้อยละ 82.3 ระบุว่า มีการประหยัดพลังงานในครัวเรือน และร้อยละ 17.7 ระบุว่าไม่มีการประหยัดพลังงาน ทั้งนี้ผู้ใช้รถส่วนบุคคล ระบุว่ามีการประหยัดพลังงานในครัวเรือน ร้อยละ 83.1 และระบุว่าไม่มีการประหยัดพลังงาน ร้อยละ 16.9
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคกลาง มีสัดส่วนของผู้ที่ระบุว่ามีการประหยัดพลังงานในครัวเรือนสูงกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 85.5 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ 85.1 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 84.7 ภาคใต้ร้อยละ 80.5 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 78.1
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อครัวเรือน ถ้ารัฐบาลปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก ประชาชนโดยรวมในทุกภาคระบุว่า ได้รับผลกระทบในเรื่องรายจ่ายสินค้าอุปโภค/บริโภคสูงขึ้น ร้อยละ 67.3 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้น ร้อยละ 29.5 รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ร้อยละ 21.8 และทำให้เงินออมลดลง ร้อยละ 1.9
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ทุกภาคระบุว่าครัวเรือนได้รับผลกระทบในเรื่องรายจ่ายสินค้าอุปโภค/บริโภคสูงขึ้นในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง กล่าวคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 71.4 กรุงเทพมหานคร และภาคกลาง ประมาณร้อยละ 66 ภาคเหนือ และ ภาคใต้ ประมาณร้อยละ 64 สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้นนั้น ภาคใต้ มีผู้ระบุ ร้อยละ 33.7 และภาคเหนือ ระบุว่ารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ร้อยละ 29.9 นอกจากนี้ทุกภาคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่ทำให้เงินออมลดลงไม่แตกต่างกัน โดยมีผู้ระบุเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 2
6.5 การส่งเสริมให้รถที่ใช้น้ำมันเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV)
ถ้ารัฐบาลจะส่งเสริมให้รถที่ใช้น้ำมันเบนซิน/น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติ(NGV) ประชาชนโดยรวมในทุกภาค ระบุว่า เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ร้อยละ 52.8 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ32.7 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 14.5 เมื่อสอบถามผู้ใช้รถส่วนบุคคล พบว่า มีผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 52.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 35.1 ไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 12.2 ส่วนผู้ใช้รถสาธารณะ พบว่า มีผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ53.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 21.4 ไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 25.0
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า กรุงเทพมหานคร เห็นด้วย ร้อยละ 57.2 รองลงมา ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นด้วย ร้อยละ 56.8 และ 51.6 ส่วนภาคกลางและภาคใต้ มีผู้เห็นด้วยในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน คือ ประมาณร้อยละ 50
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลจะส่งเสริมให้รถที่ใช้น้ำมันเบนซิน/น้ำมันดีเซลหมุนเร็วเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าเนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพของก๊าซ NGV ร้อยละ 38.5 ไม่มั่นใจในปัญหาที่จะเกิดกับเครื่องยนต์ ร้อยละ 31.1 สถานีให้บริการยังมีน้อยไม่แพร่หลาย ร้อยละ 19.1 และค่าติดตั้งอุปกรณ์การใช้ก๊าซ NGV มีราคาสูง ร้อยละ 11.3
6.6 แนวทางการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานที่รัฐบาลควรนำมาใช้นั้นประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่า รัฐบาลควรมีการรณรงค์/ประชาสัมพันธ์การประหยัดน้ำมัน ร้อยละ 70.3การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด ร้อยละ 44.3 สนับสนุนให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน ร้อยละ 42.9 จำกัดความเร็วของรถยนต์ ร้อยละ 30.1 รณรงค์ให้ใช้รถจักรยาน ร้อยละ 25.4 สนับสนุนการใช้น้ำมันสกัดจากสารธรรมชาติ/ก๊าซ NGV ร้อยละ 23.8 และควรกำหนดเวลาเปิด-ปิดสถานีบริการน้ำมัน ร้อยละ 18.6
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภาคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรณรงค์/ประชาสัมพันธ์การประหยัดน้ำมันในสัดส่วนค่อนข้างสูง ประมาณร้อยละ 60 -- 76 ภาคเหนือ ระบุว่าควรมีการการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด ร้อยละ 46.2 กรุงเทพมหานคร ระบุว่าควรมีการสนับสนุนให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน ร้อยละ 59.0 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ มีผู้ระบุว่าควรจำกัดความเร็วของรถยนต์ และควรรณรงค์ให้ประชาชนใช้รถจักรยาน ในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันประมาณร้อยละ 34 นอกจากนี้ภาคเหนือระบุว่าควรสนับสนุนการใช้น้ำมันสกัดจากสารธรรมชาติ/ก๊าซ NGV ร้อยละ 29.6 และภาคใต้ ระบุว่าควรกำหนดเวลาเปิด-ปิดสถานีบริการน้ำมัน ร้อยละ 22.9
6.7 ข้อเสนอแนะ
สำหรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการประหยัดน้ำมัน มีผู้แสดงความคิดเห็นร้อยละ 40.0 โดยให้ข้อคิดเห็น ดังนี้ รัฐบาลควรควบคุมราคาน้ำมันให้เหมาะสม ร้อยละ 23.9 รณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทน เช่น ก๊าซ NGV พลังงานแสงอาทิตย์ ร้อยละ 16.7 ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค/บริโภค ร้อยละ 5.3 และอื่นๆ ได้แก่ ควรมีมาตรการ การเปิด-ปิดสถานบันเทิง และควรปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดโลก
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-