1. บทนำ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากรครั้งแรกในปี 2538 โดยผนวกข้อถามเข้ากับแบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในรอบที่ 1 (กุมภาพันธ์) ตามความต้องการใช้ข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ได้ดำเนินการในปี 2542 รอบที่ 1 (กุมภาพันธ์) และรอบที่ 3 (สิงหาคม) ครั้งที่ 3 ดำเนินการในปี 2544 ไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.) สำหรับตลอดแผนพัฒนาฯ 9 (2545-2549) จะดำเนินการสำรวจปีละ 1 ครั้ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคมของทุกปี เพื่อให้มีข้อมูลที่ต่อเนื่องประกอบการวางแผนและการจัดทำนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยผนวกข้อถามเข้ากับแบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ดังนั้นคำนิยามด้านแรงงานจึงเหมือนกับโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร
2. สรุปผลการสำรวจ
2.1 ความต้องการพัฒนาขีดความสามารถและหลักสูตรที่ต้องการได้รับการพัฒนา
ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ. 2547 (ตารางที่ 1) พบว่า จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปมีประมาณ 49.0 ล้านคน เป็นชายจำนวน 24.3 ล้านคน หญิง 24.7 ล้านคน ในจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมดนี้มีผู้ต้องการพัฒนาฯ จำนวน 9.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.0 ของประชากร เป็นชายจำนวน 5.0 ล้านคน หญิง 4.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 50.9 และ 49.1 ของจำนวนผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ
2.1.1 ลักษณะของผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ
1) โครงสร้างอายุและเพศ
ผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ 9.8 ล้านคนเป็นผู้ชาย 5.0 ล้านคน เป็นผู้หญิง 4.8ล้านคน นั้น พบว่าผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ ร้อยละ 65.3 อยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาวหรือช่วงแรกของการทำงาน (อายุ 15-34 ปี) และผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ มีจำนวนน้อยลงตามลำดับ เมื่อมีอายุมากขึ้น
เมื่อพิจารณาอัตราส่วนเพศ ซึ่งหมายถึงประชากรชายที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถต่อหญิงที่ต้องการพัฒนาฯ 100 คน พบว่าอัตราส่วนเพศโดยรวมมีค่าเป็น 103.5 แสดงว่าจำนวนผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ ชายสูงกว่าหญิงและเมื่อเปรียบเทียบอัตราความต้องการพัฒนาฯ ระหว่างชายและหญิงในแต่ละกลุ่มอายุ (อัตราร้อยละของจำนวนผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ ในแต่ละเพศและกลุ่มอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดของเพศและกลุ่มอายุนั้นๆ) พบว่ากลุ่มอายุ 15-24, และ 35-44 ปี สัดส่วนของชายที่ต้องการพัฒนาฯต่ำกว่าหญิงเล็กน้อย ส่วนกลุ่มอายุ 25-34 ปี และตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไปสัดส่วนของชายที่ต้องการพัฒนาฯสูงกว่าหญิง
2) เขตที่อยู่อาศัย
ผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถจำนวน 9.8 ล้านคนเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล 2.2ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 23.0 และอยู่นอกเขตเทศบาลจำนวน 7.6 ล้านคน หรือร้อยละ 77.0 เมื่อพิจารณาตามภาคต่างๆ พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนผู้ต้องการพัฒนาฯ สูงสุดคือ 4.8 ล้านคน หรือร้อยละ 49.3 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครคิดเป็นร้อยละ 21.6, 11.9, 11.8 และ 5.4 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงอัตราของผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ ต่อผู้ที่อยู่อาศัยในแต่ละภาคพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราสูงที่สุดคือร้อยละ 30.7 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ23.5 ภาคใต้ ร้อยละ 19.1 ภาคกลาง ร้อยละ 10.1 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 8.0
3) ระดับการศึกษาที่สำเร็จ
ผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ พบว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด จำนวน 3.7 ล้านคน หรือร้อยละ 38.0 รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา 2.8 ล้านคน หรือร้อยละ 28.0 ต่ำกว่าประถมศึกษา 2.2 ล้านคนหรือร้อยละ 22.5 และระดับอุดมศึกษา 9.4 แสนคน หรือร้อยละ 9.5 ที่เหลือเป็นผู้ไม่มีการศึกษา
เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถต่อจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในแต่ละระดับการศึกษาที่สำเร็จ พบว่า ระดับประถมศึกษา มีอัตราความต้องการพัฒนาฯ มากที่สุด รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา การศึกษาอื่นๆ อุดมศึกษา ต่ำกว่าประถมศึกษา และไม่มีการศึกษา โดยคิดเป็นอัตราร้อยละ 27.5, 26.7, 22.0, 18.6, 12.8 และ 6.7 ตามลำดับ
4) โครงสร้างกำลังแรงงาน
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถจำนวน 9.8 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 7.3 ล้านคน หรือร้อยละ 74.9 และเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 2.5 ล้านคน หรือร้อยละ 25.1 สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถที่อยู่ในกำลังแรงงาน 7.3 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ที่มีงานทำ 6.7 ล้านคน ผู้ว่างงาน 6.1 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 9.2 หมื่นคน เมื่อพิจารณาอัตราความต้องการพัฒนาฯ ในแต่ละกลุ่มพบว่า กลุ่มผู้ว่างงานมีความต้องการพัฒนาฯ มากที่สุดคือ ประมาณร้อยละ 60.6 ของผู้ว่างงานทั้งหมด ผู้ที่รอฤดูกาลร้อยละ 24.3 ผู้มีงานทำร้อยละ 19.9 ส่วนผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานที่ต้องการพัฒนาฯ จำนวน 2.5 ล้านคน ส่วนใหญ่คือนักเรียน/นักศึกษา 1.4 ล้านคน รองลงมาคือแม่บ้าน 8.1 แสนคน และเมื่อพิจารณาอัตราความต้องการพัฒนาฯ ของกลุ่มผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่านักเรียน/นักศึกษามีความต้องการพัฒนาฯ มากกว่ากลุ่มอื่น คือประมาณร้อยละ 29.2 ของนักเรียน/นักศึกษาทั้งหมด รองลงมาคือกลุ่มแม่บ้าน ร้อยละ 18.3 ที่ต้องการพัฒนาฯ
2.1.2 หลักสูตรที่ต้องการได้รับการพัฒนา
จากการสำรวจพบว่า หลักสูตรที่มีผู้สนใจเข้ารับการพัฒนาขีดความสามารถจำนวนมาก 4 ลำดับแรก คือ ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 28.3 คหกรรม ร้อยละ 27.8 คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 16.6 และเกษตรกรรม ร้อยละ 15.7
หลักสูตรที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถของเพศชายและหญิง มีความแตกต่างกันโดยชายต้องการพัฒนาในหลักสูตรช่างอุตสาหกรรมสูงสุด ร้อยละ 54.0 รองลงมาคือหลักสูตรเกี่ยวกับเกษตรกรรมฯ ร้อยละ 21.1 และคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 12.6 ในขณะที่หญิงต้องการพัฒนาในหลักสูตรคหกรรมสูงสุด ร้อยละ 51.9 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 20.7 และหลักสูตรด้านเกษตรกรรมฯร้อยละ 10.1 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาหลักสูตรที่ต้องการพัฒนาของกลุ่มประชากรตามสถานภาพแรงงาน พบว่าใน กลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน ผู้มีงานทำต้องการพัฒนาใน 3 หลักสูตรหลักๆ คือ หลักสูตรช่างอุตสาหกรรมร้อยละ 32.3 หลักสูตรคหกรรม ร้อยละ 26.6 และหลักสูตรเกษตรกรรมฯ ร้อยละ 20.6 ผู้ว่างงานสนใจใน 2 หลักสูตรหลัก ได้แก่ ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 43.8 และคหกรรม ร้อยละ 28.9 และผู้รอฤดูกาลสนใจใน 4 หลักสูตรหลัก คือ คหกรรม ร้อยละ 38.9 ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 23.5 เกษตรกรรมฯ ร้อยละ 19.9 และศิลปหัตถกรรม ร้อยละ 17.4
สำหรับกลุ่มผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่กำลังเรียนหนังสือและทำงานบ้าน พบว่า มีความต้องพัฒนาในหลักสูตรคอมพิวเตอร์สูงสุด ร้อยละ 37.9 รองลงมาคือหลักสูตรคหกรรม ร้อยละ 30.3 และช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 13.8
2.2 ลักษณะงานที่ต้องการทำและความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ผู้ว่างงานต้องการ
ในการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากรนั้น ได้สอบถามผู้ว่างงานเกี่ยวกับประเภทของงานที่ต้องการทำ และเรื่องที่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือ ซึ่งได้ผลสรุปดังนี้
2.2.1 ประเภทของงานที่ผู้ว่างงานต้องการทำ
ในจำนวนผู้ว่างงานที่ตอบคำถามว่า ต้องการทำงานประเภทใด ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8.6 แสนคน (ผู้ว่างงานทั้งหมด 1.0 ล้านคน) พบว่า ต้องการทำงานด้านช่างเครื่องยนต์มากที่สุด ร้อยละ 16.4 รองลงมาคือ งานก่อสร้าง ร้อยละ 12.5 งานด้านการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ งานเสมียนหรือพนักงาน และ งานตัดเย็บเสื้อผ้ามีจำนวนเท่ากันคือ ร้อยละ 10.2
เมื่อพิจารณาประเภทของงาน 5 ลำดับแรกที่ผู้ว่างงานต้องการทำมากที่สุดตามเพศ พบว่าชายต้องการทำงานประเภทช่างเครื่องยนต์สูงสุด รองลงมาคือ งานก่อสร้าง งานด้านช่างไฟฟ้า/อิเล็คทรอนิกส์ งานด้านเกษตร และงานเสมียน ตามลำดับ ส่วนหญิงต้องการทำงานเกี่ยวกับงานตัดเย็บเสื้อผ้า งานเสมียนหรือพนักงาน งานด้านการเกษตร ช่างเสิรมสวย/ตัดผม งานด้านการค้า และงานเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ และเมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่าในเขตเทศบาล งาน 5 อันดับแรก ได้แก่งานเสมียนหรือพนักงาน งานช่างเครื่องยนต์ งานก่อสร้าง งานด้านการค้า และงานบริการ ส่วนนอกเขตเทศบาล ได้แก่ งานช่างเครื่องยนต์ งานก่อสร้าง งานด้านการเกษตร งานตัดเย็บเสื้อผ้า และงานช่างไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์
ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าประเภทของงาน มีความสัมพันธ์กับเพศ งานใดที่เหมาะสมกับเพศชาย สัดส่วนของผู้ชายที่ทำงานประเภทนั้นจะสูงกว่าหญิงชัดเจน และในทำนองเดียวกันงานที่เหมาะสมกับเพศหญิง สัดส่วนของผู้หญิงที่ต้องการทำงานประเภทนั้น จะสูงกว่าชายมากเช่นกัน ดังนี้ ช่างเครื่องยนต์ (ชายร้อยละ 28.8 หญิงร้อยละ 0.9) งานก่อสร้าง (ชายร้อยละ 20.0 หญิงร้อยละ 3.2) ช่างไฟฟ้า (ชายร้อยละ 14.5 หญิงร้อยละ 1.0) ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า (ชายร้อยละ 1.0 หญิงร้อยละ 22.6) งานเสมียน (ชายร้อยละ 4.9 หญิงร้อยละ 17.9) ช่างเสริมสวย (ชายร้อยละ 0.2 หญิงร้อยละ 9.2)
นอกจากนี้ พบว่าเขตที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์กับประเภทของงานที่ต้องการทำเช่นกัน เช่นงานด้านเกษตร ผู้อยู่ในเขตเทศบาลต้องการทำร้อยละ 5.8 เทียบกับผู้อยู่นอกเขตเทศบาลต้องการทำร้อยละ 12.2 งานเสมียน ในเขตเทศบาลร้อยละ 16.8 เทียบกับนอกเขตเทศบาลร้อยละ 8.9 งานบริการในเขตเทศบาลร้อยละ 8.6 เทียบกับนอกเขตเทศบาลร้อยละ 2.2 เป็นต้น
2.2.2 ความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ผู้ว่างงานต้องการ
ผู้ว่างงานจำนวน 1.0 ล้านคน มีผู้ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ 8.3 แสนคนหรือร้อยละ 82.6 และเมื่อถามว่าต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง โดยให้ระบุเรื่องที่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือเพียงคำตอบเดียว พบว่าส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือใน 2 เรื่องคือ ร้อยละ 74.6 ต้องการให้รัฐหางานให้ทำ และร้อยละ 10.6 ต้องการให้รัฐช่วยเหลือในเรื่องทุนสำหรับประกอบอาชีพอิสระ สำหรับความต้องการให้ช่วยเหลือในเรื่องอื่นๆ มีไม่ถึงร้อยละ 10 ได้แก่การพัฒนาฝีมือแรงงาน ร้อยละ 7.2 ให้การสนับสนุนอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 3.8 เงินช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตร และในเรื่องอื่นๆ ร้อยละ 2.5 ให้ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน ร้อยละ 1.3
ถ้าพิจารณาตามเพศ พบว่า ผู้ว่างงานชายต้องการให้รัฐช่วยหางานให้ทำสูงถึง ร้อยละ 76.4 ของผู้ว่างงานชายที่ระบุเรื่องที่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือ และร้อยละ 8.0 ต้องการให้รัฐช่วยเหลือในเรื่องทุนประกอบอาชีพอิสระในขณะที่หญิงต้องการให้รัฐหางานให้ทำ ร้อยละ 72.4 และหาทุนให้ประกอบอาชีพอิสระร้อยละ 13.6
ถ้าพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่า ผู้ว่างงานที่อยู่ในเขตเทศบาลต้องการให้รัฐหางานให้ทำ ร้อยละ 81.1 ของผู้ว่างงานในเขตเทศบาลที่ระบุความต้องการ และร้อยละ 10.3 ต้องการทุนประกอบอาชีพอิสระ สำหรับผู้ว่างงานที่อยู่นอกเขตเทศบาล ต้องการให้รัฐหางานให้ทำร้อยละ 72.8 และร้อยละ 10.6 ต้องการทุนประกอบอาชีพอิสระ
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากรครั้งแรกในปี 2538 โดยผนวกข้อถามเข้ากับแบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในรอบที่ 1 (กุมภาพันธ์) ตามความต้องการใช้ข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ได้ดำเนินการในปี 2542 รอบที่ 1 (กุมภาพันธ์) และรอบที่ 3 (สิงหาคม) ครั้งที่ 3 ดำเนินการในปี 2544 ไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.) สำหรับตลอดแผนพัฒนาฯ 9 (2545-2549) จะดำเนินการสำรวจปีละ 1 ครั้ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคมของทุกปี เพื่อให้มีข้อมูลที่ต่อเนื่องประกอบการวางแผนและการจัดทำนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยผนวกข้อถามเข้ากับแบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ดังนั้นคำนิยามด้านแรงงานจึงเหมือนกับโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร
2. สรุปผลการสำรวจ
2.1 ความต้องการพัฒนาขีดความสามารถและหลักสูตรที่ต้องการได้รับการพัฒนา
ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ. 2547 (ตารางที่ 1) พบว่า จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปมีประมาณ 49.0 ล้านคน เป็นชายจำนวน 24.3 ล้านคน หญิง 24.7 ล้านคน ในจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมดนี้มีผู้ต้องการพัฒนาฯ จำนวน 9.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.0 ของประชากร เป็นชายจำนวน 5.0 ล้านคน หญิง 4.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 50.9 และ 49.1 ของจำนวนผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ
2.1.1 ลักษณะของผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ
1) โครงสร้างอายุและเพศ
ผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ 9.8 ล้านคนเป็นผู้ชาย 5.0 ล้านคน เป็นผู้หญิง 4.8ล้านคน นั้น พบว่าผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ ร้อยละ 65.3 อยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาวหรือช่วงแรกของการทำงาน (อายุ 15-34 ปี) และผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ มีจำนวนน้อยลงตามลำดับ เมื่อมีอายุมากขึ้น
เมื่อพิจารณาอัตราส่วนเพศ ซึ่งหมายถึงประชากรชายที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถต่อหญิงที่ต้องการพัฒนาฯ 100 คน พบว่าอัตราส่วนเพศโดยรวมมีค่าเป็น 103.5 แสดงว่าจำนวนผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ ชายสูงกว่าหญิงและเมื่อเปรียบเทียบอัตราความต้องการพัฒนาฯ ระหว่างชายและหญิงในแต่ละกลุ่มอายุ (อัตราร้อยละของจำนวนผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ ในแต่ละเพศและกลุ่มอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดของเพศและกลุ่มอายุนั้นๆ) พบว่ากลุ่มอายุ 15-24, และ 35-44 ปี สัดส่วนของชายที่ต้องการพัฒนาฯต่ำกว่าหญิงเล็กน้อย ส่วนกลุ่มอายุ 25-34 ปี และตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไปสัดส่วนของชายที่ต้องการพัฒนาฯสูงกว่าหญิง
2) เขตที่อยู่อาศัย
ผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถจำนวน 9.8 ล้านคนเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล 2.2ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 23.0 และอยู่นอกเขตเทศบาลจำนวน 7.6 ล้านคน หรือร้อยละ 77.0 เมื่อพิจารณาตามภาคต่างๆ พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนผู้ต้องการพัฒนาฯ สูงสุดคือ 4.8 ล้านคน หรือร้อยละ 49.3 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครคิดเป็นร้อยละ 21.6, 11.9, 11.8 และ 5.4 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงอัตราของผู้ที่ต้องการพัฒนาฯ ต่อผู้ที่อยู่อาศัยในแต่ละภาคพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราสูงที่สุดคือร้อยละ 30.7 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ23.5 ภาคใต้ ร้อยละ 19.1 ภาคกลาง ร้อยละ 10.1 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 8.0
3) ระดับการศึกษาที่สำเร็จ
ผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ พบว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด จำนวน 3.7 ล้านคน หรือร้อยละ 38.0 รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา 2.8 ล้านคน หรือร้อยละ 28.0 ต่ำกว่าประถมศึกษา 2.2 ล้านคนหรือร้อยละ 22.5 และระดับอุดมศึกษา 9.4 แสนคน หรือร้อยละ 9.5 ที่เหลือเป็นผู้ไม่มีการศึกษา
เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถต่อจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในแต่ละระดับการศึกษาที่สำเร็จ พบว่า ระดับประถมศึกษา มีอัตราความต้องการพัฒนาฯ มากที่สุด รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา การศึกษาอื่นๆ อุดมศึกษา ต่ำกว่าประถมศึกษา และไม่มีการศึกษา โดยคิดเป็นอัตราร้อยละ 27.5, 26.7, 22.0, 18.6, 12.8 และ 6.7 ตามลำดับ
4) โครงสร้างกำลังแรงงาน
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถจำนวน 9.8 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 7.3 ล้านคน หรือร้อยละ 74.9 และเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 2.5 ล้านคน หรือร้อยละ 25.1 สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถที่อยู่ในกำลังแรงงาน 7.3 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ที่มีงานทำ 6.7 ล้านคน ผู้ว่างงาน 6.1 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 9.2 หมื่นคน เมื่อพิจารณาอัตราความต้องการพัฒนาฯ ในแต่ละกลุ่มพบว่า กลุ่มผู้ว่างงานมีความต้องการพัฒนาฯ มากที่สุดคือ ประมาณร้อยละ 60.6 ของผู้ว่างงานทั้งหมด ผู้ที่รอฤดูกาลร้อยละ 24.3 ผู้มีงานทำร้อยละ 19.9 ส่วนผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานที่ต้องการพัฒนาฯ จำนวน 2.5 ล้านคน ส่วนใหญ่คือนักเรียน/นักศึกษา 1.4 ล้านคน รองลงมาคือแม่บ้าน 8.1 แสนคน และเมื่อพิจารณาอัตราความต้องการพัฒนาฯ ของกลุ่มผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่านักเรียน/นักศึกษามีความต้องการพัฒนาฯ มากกว่ากลุ่มอื่น คือประมาณร้อยละ 29.2 ของนักเรียน/นักศึกษาทั้งหมด รองลงมาคือกลุ่มแม่บ้าน ร้อยละ 18.3 ที่ต้องการพัฒนาฯ
2.1.2 หลักสูตรที่ต้องการได้รับการพัฒนา
จากการสำรวจพบว่า หลักสูตรที่มีผู้สนใจเข้ารับการพัฒนาขีดความสามารถจำนวนมาก 4 ลำดับแรก คือ ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 28.3 คหกรรม ร้อยละ 27.8 คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 16.6 และเกษตรกรรม ร้อยละ 15.7
หลักสูตรที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถของเพศชายและหญิง มีความแตกต่างกันโดยชายต้องการพัฒนาในหลักสูตรช่างอุตสาหกรรมสูงสุด ร้อยละ 54.0 รองลงมาคือหลักสูตรเกี่ยวกับเกษตรกรรมฯ ร้อยละ 21.1 และคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 12.6 ในขณะที่หญิงต้องการพัฒนาในหลักสูตรคหกรรมสูงสุด ร้อยละ 51.9 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 20.7 และหลักสูตรด้านเกษตรกรรมฯร้อยละ 10.1 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาหลักสูตรที่ต้องการพัฒนาของกลุ่มประชากรตามสถานภาพแรงงาน พบว่าใน กลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน ผู้มีงานทำต้องการพัฒนาใน 3 หลักสูตรหลักๆ คือ หลักสูตรช่างอุตสาหกรรมร้อยละ 32.3 หลักสูตรคหกรรม ร้อยละ 26.6 และหลักสูตรเกษตรกรรมฯ ร้อยละ 20.6 ผู้ว่างงานสนใจใน 2 หลักสูตรหลัก ได้แก่ ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 43.8 และคหกรรม ร้อยละ 28.9 และผู้รอฤดูกาลสนใจใน 4 หลักสูตรหลัก คือ คหกรรม ร้อยละ 38.9 ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 23.5 เกษตรกรรมฯ ร้อยละ 19.9 และศิลปหัตถกรรม ร้อยละ 17.4
สำหรับกลุ่มผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่กำลังเรียนหนังสือและทำงานบ้าน พบว่า มีความต้องพัฒนาในหลักสูตรคอมพิวเตอร์สูงสุด ร้อยละ 37.9 รองลงมาคือหลักสูตรคหกรรม ร้อยละ 30.3 และช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 13.8
2.2 ลักษณะงานที่ต้องการทำและความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ผู้ว่างงานต้องการ
ในการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากรนั้น ได้สอบถามผู้ว่างงานเกี่ยวกับประเภทของงานที่ต้องการทำ และเรื่องที่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือ ซึ่งได้ผลสรุปดังนี้
2.2.1 ประเภทของงานที่ผู้ว่างงานต้องการทำ
ในจำนวนผู้ว่างงานที่ตอบคำถามว่า ต้องการทำงานประเภทใด ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8.6 แสนคน (ผู้ว่างงานทั้งหมด 1.0 ล้านคน) พบว่า ต้องการทำงานด้านช่างเครื่องยนต์มากที่สุด ร้อยละ 16.4 รองลงมาคือ งานก่อสร้าง ร้อยละ 12.5 งานด้านการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ งานเสมียนหรือพนักงาน และ งานตัดเย็บเสื้อผ้ามีจำนวนเท่ากันคือ ร้อยละ 10.2
เมื่อพิจารณาประเภทของงาน 5 ลำดับแรกที่ผู้ว่างงานต้องการทำมากที่สุดตามเพศ พบว่าชายต้องการทำงานประเภทช่างเครื่องยนต์สูงสุด รองลงมาคือ งานก่อสร้าง งานด้านช่างไฟฟ้า/อิเล็คทรอนิกส์ งานด้านเกษตร และงานเสมียน ตามลำดับ ส่วนหญิงต้องการทำงานเกี่ยวกับงานตัดเย็บเสื้อผ้า งานเสมียนหรือพนักงาน งานด้านการเกษตร ช่างเสิรมสวย/ตัดผม งานด้านการค้า และงานเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ และเมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่าในเขตเทศบาล งาน 5 อันดับแรก ได้แก่งานเสมียนหรือพนักงาน งานช่างเครื่องยนต์ งานก่อสร้าง งานด้านการค้า และงานบริการ ส่วนนอกเขตเทศบาล ได้แก่ งานช่างเครื่องยนต์ งานก่อสร้าง งานด้านการเกษตร งานตัดเย็บเสื้อผ้า และงานช่างไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์
ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าประเภทของงาน มีความสัมพันธ์กับเพศ งานใดที่เหมาะสมกับเพศชาย สัดส่วนของผู้ชายที่ทำงานประเภทนั้นจะสูงกว่าหญิงชัดเจน และในทำนองเดียวกันงานที่เหมาะสมกับเพศหญิง สัดส่วนของผู้หญิงที่ต้องการทำงานประเภทนั้น จะสูงกว่าชายมากเช่นกัน ดังนี้ ช่างเครื่องยนต์ (ชายร้อยละ 28.8 หญิงร้อยละ 0.9) งานก่อสร้าง (ชายร้อยละ 20.0 หญิงร้อยละ 3.2) ช่างไฟฟ้า (ชายร้อยละ 14.5 หญิงร้อยละ 1.0) ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า (ชายร้อยละ 1.0 หญิงร้อยละ 22.6) งานเสมียน (ชายร้อยละ 4.9 หญิงร้อยละ 17.9) ช่างเสริมสวย (ชายร้อยละ 0.2 หญิงร้อยละ 9.2)
นอกจากนี้ พบว่าเขตที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์กับประเภทของงานที่ต้องการทำเช่นกัน เช่นงานด้านเกษตร ผู้อยู่ในเขตเทศบาลต้องการทำร้อยละ 5.8 เทียบกับผู้อยู่นอกเขตเทศบาลต้องการทำร้อยละ 12.2 งานเสมียน ในเขตเทศบาลร้อยละ 16.8 เทียบกับนอกเขตเทศบาลร้อยละ 8.9 งานบริการในเขตเทศบาลร้อยละ 8.6 เทียบกับนอกเขตเทศบาลร้อยละ 2.2 เป็นต้น
2.2.2 ความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ผู้ว่างงานต้องการ
ผู้ว่างงานจำนวน 1.0 ล้านคน มีผู้ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ 8.3 แสนคนหรือร้อยละ 82.6 และเมื่อถามว่าต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง โดยให้ระบุเรื่องที่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือเพียงคำตอบเดียว พบว่าส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือใน 2 เรื่องคือ ร้อยละ 74.6 ต้องการให้รัฐหางานให้ทำ และร้อยละ 10.6 ต้องการให้รัฐช่วยเหลือในเรื่องทุนสำหรับประกอบอาชีพอิสระ สำหรับความต้องการให้ช่วยเหลือในเรื่องอื่นๆ มีไม่ถึงร้อยละ 10 ได้แก่การพัฒนาฝีมือแรงงาน ร้อยละ 7.2 ให้การสนับสนุนอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 3.8 เงินช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตร และในเรื่องอื่นๆ ร้อยละ 2.5 ให้ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน ร้อยละ 1.3
ถ้าพิจารณาตามเพศ พบว่า ผู้ว่างงานชายต้องการให้รัฐช่วยหางานให้ทำสูงถึง ร้อยละ 76.4 ของผู้ว่างงานชายที่ระบุเรื่องที่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือ และร้อยละ 8.0 ต้องการให้รัฐช่วยเหลือในเรื่องทุนประกอบอาชีพอิสระในขณะที่หญิงต้องการให้รัฐหางานให้ทำ ร้อยละ 72.4 และหาทุนให้ประกอบอาชีพอิสระร้อยละ 13.6
ถ้าพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่า ผู้ว่างงานที่อยู่ในเขตเทศบาลต้องการให้รัฐหางานให้ทำ ร้อยละ 81.1 ของผู้ว่างงานในเขตเทศบาลที่ระบุความต้องการ และร้อยละ 10.3 ต้องการทุนประกอบอาชีพอิสระ สำหรับผู้ว่างงานที่อยู่นอกเขตเทศบาล ต้องการให้รัฐหางานให้ทำร้อยละ 72.8 และร้อยละ 10.6 ต้องการทุนประกอบอาชีพอิสระ
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-