1. บทนำ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับการมีการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สำรวจครั้งที่ 2 พ.ศ. 2546 สำหรับการสำรวจครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ใช้ชื่อโครงการสำรวจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ครัวเรือน) โดยผนวกแบบสอบถามถามกับโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 1 (มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม) พ.ศ. 2547
2. สรุปผลการสำรวจ
2.1 จำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
การสำรวจครั้งนี้ จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 58.62 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 12.54 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.4 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 6.97 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.9 เมื่อพิจารณาตามภาคแล้ว กรุงเทพมหานครซึ่งมีประชากร 7.52 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 37.4 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 26.6 ภาคกลางมีประชากร 13.53 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 20.6 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.2 ภาคเหนือมีประชากร 10.60 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 21.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากร 19.33 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 16.3 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 7.7 ภาคใต้มีประชากร 7.64 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 20.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 9.9
2.2 อายุของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีอัตราของการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุดคิดเป็นร้อยละ 49.2 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 6-14 ปี ร้อยละ 29.4 และกลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 18.1 ส่วนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีอัตราของผู้ใช้สูงสุดเช่นเดียวกันคือ ร้อยละ 32.1 รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 12.2 กลุ่มอายุ 35-49 ปี และกลุ่มอายุ 6-14 ปี มีอัตราใกล็เคียงกันคือ ร้อยละ 7.4 และ ร้อยละ 7.2
2.3 ระดับการศึกษาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
สำหรับระดับการศึกษาของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนั้น พบว่า ผู้ที่มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีอัตราการใช้คอมพิวเตอร์สูงที่สุดคือ ร้อยละ 79.6 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 59.8 รองลงมาคือระดับอนุปริญญาใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 53.7 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 32.0 และมัธยมศึกษาตอนปลายใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 42.8 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 30.5
2.4 อาชีพที่สำคัญของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
เมื่อสอบถามผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปที่ทำงานในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์ ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ต ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาในแต่ละหมวดอาชีพ พบว่า ผู้ทำงานด้านวิชาชีพด้านต่างๆ มีอัตราการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุดคือ ร้อยละ 84.9 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 59.0 รองลงมาคืออาชีพเสมียน ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 66.3 ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 42.3 และงานด้านวิชาชีพช่างเทคนิคสาขาต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 61.9 ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 41.9
2.5 แหล่งที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
จากการสำรวจ พบว่า แหล่งที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้ที่สถานศึกษา ร้อยละ 48.5 รองลงมาคือที่บ้าน ร้อยละ 24.3 และที่ทำงาน ร้อยละ 21.7 สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้ที่สถานศึกษาเช่นเดียวกันคือ ร้อยละ 31.4 รองลงมาใช้จากที่บ้านและที่ทำงาน มีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 24.9 และ 22.9 ตามลำดับ ส่วนร้านอินเทอร์เน็ตเป็น อีกแหล่งที่มีผู้ไปใช้บริการคือ ร้อยละ 19.0
เมื่อพิจารณาแหล่งที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตตามกลุ่มอายุ พบว่า ผู้มีอายุตั้งแต่ 6-14 และ 15-24 ปี ใช้คอมพิวเตอร์จากสถานศึกษามีสัดส่วนเกือบเท่ากันคือ ร้อยละ 69.0 และ 68.3 ตามลำดับ ส่วนผู้มีอายุ 25 ปีขึ้นไป จะใช้จากที่ทำงานสูงสุด ร้อยละ 53-58 สำหรับแหล่งที่ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า กลุ่มอายุ 6-14 ปี ใช้จากสถานศึกษาและ ที่บ้านใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 41.2 และ 39.7 ตามลำดับ ส่วนผู้มีอายุ 15-24 ปีใช้จากสถานศึกษา ร้อยละ 47.7 และผู้มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ใช้จากที่ทำงานร้อยละ 47-58 สำหรับผู้ใช้บริการจากร้านอินเทอร์เน็ต พบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี ไปใช้บริการมากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 26.7
2.6 การมีเครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศในครัวเรือน
ในการสำรวจครั้งนี้ได้สอบถามหัวหน้าครัวเรือน ถึงจำนวนเครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ในครัวเรือน ซึ่งได้แก่ จำนวนเครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือน ผลการสำรวจพบว่า จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 16.65 ล้านครัวเรือน มีจำนวนเครื่องโทรสาร 2.88 แสนเครื่อง (1.7 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน) เครื่องคอมพิวเตอร์ 1.95 ล้านเครื่อง (11.7 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน) และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือน 9.55 แสนครัวเรือน (5.7 ต่อ 100 ครัวเรือน) โดยกรุงเทพมหานครจะมีจำนวนเครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มากที่สุด ส่วนภาคอื่นๆ พบว่า มีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น
2.7 การมีโทรศัพท์มือถือ
การสำรวจครั้งนี้ได้สอบถามประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 58.62 ล้านคน พบว่า เป็นผู้มีโทรศัพท์มือถือ (ไม่รวมเครื่อง PCT) 16.55 ล้านคน (ร้อยละ 28.2 ) กรุงเทพมหานครมีจำนวนมากทีสุดคือ ร้อยละ 47.8 รองลงมา ภาคกลาง ร้อยละ 34.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 25.7 ภาคใต้ ร้อยละ 24.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 19.0 และเมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่า ในเขตเทศบาลจำนวนผู้มีโทรศัพท์มือถือมากกว่านอกเขตเทศบาล
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับการมีการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สำรวจครั้งที่ 2 พ.ศ. 2546 สำหรับการสำรวจครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ใช้ชื่อโครงการสำรวจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ครัวเรือน) โดยผนวกแบบสอบถามถามกับโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 1 (มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม) พ.ศ. 2547
2. สรุปผลการสำรวจ
2.1 จำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
การสำรวจครั้งนี้ จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 58.62 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 12.54 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.4 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 6.97 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.9 เมื่อพิจารณาตามภาคแล้ว กรุงเทพมหานครซึ่งมีประชากร 7.52 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 37.4 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 26.6 ภาคกลางมีประชากร 13.53 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 20.6 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.2 ภาคเหนือมีประชากร 10.60 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 21.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากร 19.33 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 16.3 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 7.7 ภาคใต้มีประชากร 7.64 ล้านคน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 20.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 9.9
2.2 อายุของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีอัตราของการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุดคิดเป็นร้อยละ 49.2 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 6-14 ปี ร้อยละ 29.4 และกลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 18.1 ส่วนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีอัตราของผู้ใช้สูงสุดเช่นเดียวกันคือ ร้อยละ 32.1 รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 12.2 กลุ่มอายุ 35-49 ปี และกลุ่มอายุ 6-14 ปี มีอัตราใกล็เคียงกันคือ ร้อยละ 7.4 และ ร้อยละ 7.2
2.3 ระดับการศึกษาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
สำหรับระดับการศึกษาของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนั้น พบว่า ผู้ที่มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีอัตราการใช้คอมพิวเตอร์สูงที่สุดคือ ร้อยละ 79.6 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 59.8 รองลงมาคือระดับอนุปริญญาใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 53.7 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 32.0 และมัธยมศึกษาตอนปลายใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 42.8 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 30.5
2.4 อาชีพที่สำคัญของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
เมื่อสอบถามผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปที่ทำงานในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์ ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ต ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาในแต่ละหมวดอาชีพ พบว่า ผู้ทำงานด้านวิชาชีพด้านต่างๆ มีอัตราการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุดคือ ร้อยละ 84.9 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 59.0 รองลงมาคืออาชีพเสมียน ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 66.3 ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 42.3 และงานด้านวิชาชีพช่างเทคนิคสาขาต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 61.9 ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 41.9
2.5 แหล่งที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
จากการสำรวจ พบว่า แหล่งที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้ที่สถานศึกษา ร้อยละ 48.5 รองลงมาคือที่บ้าน ร้อยละ 24.3 และที่ทำงาน ร้อยละ 21.7 สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้ที่สถานศึกษาเช่นเดียวกันคือ ร้อยละ 31.4 รองลงมาใช้จากที่บ้านและที่ทำงาน มีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 24.9 และ 22.9 ตามลำดับ ส่วนร้านอินเทอร์เน็ตเป็น อีกแหล่งที่มีผู้ไปใช้บริการคือ ร้อยละ 19.0
เมื่อพิจารณาแหล่งที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตตามกลุ่มอายุ พบว่า ผู้มีอายุตั้งแต่ 6-14 และ 15-24 ปี ใช้คอมพิวเตอร์จากสถานศึกษามีสัดส่วนเกือบเท่ากันคือ ร้อยละ 69.0 และ 68.3 ตามลำดับ ส่วนผู้มีอายุ 25 ปีขึ้นไป จะใช้จากที่ทำงานสูงสุด ร้อยละ 53-58 สำหรับแหล่งที่ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า กลุ่มอายุ 6-14 ปี ใช้จากสถานศึกษาและ ที่บ้านใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 41.2 และ 39.7 ตามลำดับ ส่วนผู้มีอายุ 15-24 ปีใช้จากสถานศึกษา ร้อยละ 47.7 และผู้มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ใช้จากที่ทำงานร้อยละ 47-58 สำหรับผู้ใช้บริการจากร้านอินเทอร์เน็ต พบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี ไปใช้บริการมากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 26.7
2.6 การมีเครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศในครัวเรือน
ในการสำรวจครั้งนี้ได้สอบถามหัวหน้าครัวเรือน ถึงจำนวนเครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ในครัวเรือน ซึ่งได้แก่ จำนวนเครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือน ผลการสำรวจพบว่า จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 16.65 ล้านครัวเรือน มีจำนวนเครื่องโทรสาร 2.88 แสนเครื่อง (1.7 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน) เครื่องคอมพิวเตอร์ 1.95 ล้านเครื่อง (11.7 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน) และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือน 9.55 แสนครัวเรือน (5.7 ต่อ 100 ครัวเรือน) โดยกรุงเทพมหานครจะมีจำนวนเครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มากที่สุด ส่วนภาคอื่นๆ พบว่า มีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น
2.7 การมีโทรศัพท์มือถือ
การสำรวจครั้งนี้ได้สอบถามประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 58.62 ล้านคน พบว่า เป็นผู้มีโทรศัพท์มือถือ (ไม่รวมเครื่อง PCT) 16.55 ล้านคน (ร้อยละ 28.2 ) กรุงเทพมหานครมีจำนวนมากทีสุดคือ ร้อยละ 47.8 รองลงมา ภาคกลาง ร้อยละ 34.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 25.7 ภาคใต้ ร้อยละ 24.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 19.0 และเมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่า ในเขตเทศบาลจำนวนผู้มีโทรศัพท์มือถือมากกว่านอกเขตเทศบาล
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-