บทนำ
สถานการณ์ประชากรที่กำลังได้รับความสนใจในสังคมโลกปัจจุบัน คงจะหนีไม่พ้นเรื่องโครงสร้างประชากรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" (Aging Society)
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำบทความนี้ขึ้นเนื่องใน "วันประชากรโลก" ซึ่งตรงกับวันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามสถานการณ์ประชากรโลก และแนวโน้มสถานการณ์ของประชากรไทย
ประชากรโลก ประชากรไทย
ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 6,070.6 ล้านคนในปี 2543 เป็น 7,851.4 ล้านคนในอีก 25 ปีข้างหน้าคือ ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันจาก 62.2 ล้านคนในปี 2543 เป็น 72.3 ล้านคนในปี 2568 จะเห็นได้ว่า โครงสร้างของประชากรโลกและประชากรไทยมีการ เปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกัน โดยที่ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 15.0 ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 30.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 24.2 ในปี 2568 แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างของประชากรก ำลังเปลี่ยนจากโครงสร้างประชากรวัยเด็กในอดีตเป็นประชากรวัยสูงอายุ หรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นเป็นภาพรวมของประชากรโลก แต่ถ้าพิจารณาในแต่ละภูมิภาคของโลก เพื่อให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคใดของโลก พบว่า ยุโรปเป็นภูมิภาค ที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" มากที่สุดในโลก ยุโรปมีสัดส่วนของประชากร
วัยเด็กน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 16 และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุมากที่สุดร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมดในยุโรป ในขณะที่แอฟริกามีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กสูงถึงร้อยละ 42 และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุเพียงร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดในแอฟริกา
ประเทศที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก 4 ประเทศ คือ อิตาลี ญี่ปุ่น กรีซ เยอรมันนี และสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเหล่านี้มีลักษณะทางประชากรที่สำคัญ เช่น อัตราเกิดต่อประชากรพันคนค่อนข้างต่ำ และมีอัตราตายต่อประชากรพันคนต่ำเช่นกัน แต่มีอายุขัยเฉลี่ยค่อนข้างสูง ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเซียที่มีสัดส่วนของผู้สูง อายุมากที่สุดในโลกเท่ากับประเทศอิตาลีในยุโรป (ร้อยละ 25) และที่น่าสนใจคือ คนญี่ปุ่นเป็นคนมีอายุขัยเฉลี่ยหรือมีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลกด้วย (82 ปี) ในขณะที่แอฟริกายังเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนประชากรวัยเด็กมากเกือบร้อยละ 42 ของประชากรทั้งหมดในภูมิภาค มีอัตราเจริญพันธุ์รวมและอัตราตายต่อประชากรพันคนสูงมาก (4.9 และ 15 ตามลำดับ) และประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยที่ต่ำมากเพียง 49 ปีเท่านั้น
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังมีโครงสร้างประช ากรที่มีประชากรวัยสูงอายุอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบในระดับโลก ส่วนในระดับภูมิภาคเอเซีย พบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนของประชากรสูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง
แต่ถ้าพิจารณาปัจจัยภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นอัตราเจริญพันธุ์รวมของหญิง 1 คน ก็เป็นอัตราที่ต่ำกว่าระดับทดแทน (1.7 คน) โดยมีแนวโน้มลดลงจากอดีตและคาดว่าน่าจะลดลงอีกในอนาคต การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดนในปัจจุบันกำลังเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทุกๆ ด้าน สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้คนไทยมีอัตราตายที่มีแนวโน้มต่ำลง และมีอายุยืนยาวขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญท ี่ทำให้โครงสร้างของประชากรไทยมีการเปลี่ยนแปลงอ ย่างต่อเนื่องเข้าสู่ "สังคมสูงอายุ"
อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สถานการณ์ดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับนานาประเทศในโลก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาค ยุโรป การวางแผนและการกำหนดนโยบายต่างๆ จะให้ความสำคัญกับประชากรกลุ่มผู้สูงอายุนี้มาก แม้กระทั่งการเลือกตั้งยังต้องมีนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุเป็นประเด็นสำคัญในการหาเสียงด้วย เช่นเดียวกับประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุ มากขึ้นเป็นลำดับ มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุขึ้นเป็ นนโยบายระดับชาติในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ใช้คุ้มครองผู้สูงอายุโดยตรงคือ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2547นี้ และในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุและพัฒนาความรู้เพื่อแก้ปัญหา และปรับปรุงนโยบายในการดูแลประชากร ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นประกอบกับการพัฒนาที่เน้นคุณภาพ ของคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา น่าจะทำให้สังคมไทยในอนาคตเป็น "สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ" และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้
สรุป
ประชากรโลกและประชากรไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรที่คล้ายคลึงกัน ประชากรวัยเด็กมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โครงสร้างของประชากรโลกเปลี่ยนเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" (Aging Society) ยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนของประชากรสูงอายุมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศอิตาลี กรีซ เยอรมันนี สวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเหล่านี้ มีอัตราเจริญพันธุ์รวมต่ำกว่าระดับทดแทน มีอัตราตายของประชากรค่อนข้างต่ำ แต่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในขณะที่แอฟริกาเป็นภูมิภาคที่มีโครงสร้างของประชากรวัยเด็กมากกว่าประชากรวัยสูงอายุ มีอัตราเจริญพันธุ์รวมและอัตราตายของประชากรค่อนข้างสูง ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยต่ำ
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" กำลังได้รับความสนใจจากนานาประเทศ การศึกษาวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุมีมากขึ้น รวมทั้งประเทศไทยที่ได้กำหนดนโยบายระดับชาติ และมีพระราชบัญ ญัติผู้สูงอายุที่ใช้คุ้มครองประชากรกลุ่มนี้โดยตรงควบคู่ไปกั การพัฒนาที่มีเน้นคุณภาพของคนเ ็นศูนย์กลางของการพัฒนา น่าจะทำให้สังคมไทยในอนาคตเป็น "สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ"
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
สถานการณ์ประชากรที่กำลังได้รับความสนใจในสังคมโลกปัจจุบัน คงจะหนีไม่พ้นเรื่องโครงสร้างประชากรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" (Aging Society)
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำบทความนี้ขึ้นเนื่องใน "วันประชากรโลก" ซึ่งตรงกับวันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามสถานการณ์ประชากรโลก และแนวโน้มสถานการณ์ของประชากรไทย
ประชากรโลก ประชากรไทย
ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 6,070.6 ล้านคนในปี 2543 เป็น 7,851.4 ล้านคนในอีก 25 ปีข้างหน้าคือ ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันจาก 62.2 ล้านคนในปี 2543 เป็น 72.3 ล้านคนในปี 2568 จะเห็นได้ว่า โครงสร้างของประชากรโลกและประชากรไทยมีการ เปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกัน โดยที่ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 15.0 ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 30.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 24.2 ในปี 2568 แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างของประชากรก ำลังเปลี่ยนจากโครงสร้างประชากรวัยเด็กในอดีตเป็นประชากรวัยสูงอายุ หรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นเป็นภาพรวมของประชากรโลก แต่ถ้าพิจารณาในแต่ละภูมิภาคของโลก เพื่อให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคใดของโลก พบว่า ยุโรปเป็นภูมิภาค ที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" มากที่สุดในโลก ยุโรปมีสัดส่วนของประชากร
วัยเด็กน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 16 และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุมากที่สุดร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมดในยุโรป ในขณะที่แอฟริกามีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กสูงถึงร้อยละ 42 และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุเพียงร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดในแอฟริกา
ประเทศที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก 4 ประเทศ คือ อิตาลี ญี่ปุ่น กรีซ เยอรมันนี และสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเหล่านี้มีลักษณะทางประชากรที่สำคัญ เช่น อัตราเกิดต่อประชากรพันคนค่อนข้างต่ำ และมีอัตราตายต่อประชากรพันคนต่ำเช่นกัน แต่มีอายุขัยเฉลี่ยค่อนข้างสูง ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเซียที่มีสัดส่วนของผู้สูง อายุมากที่สุดในโลกเท่ากับประเทศอิตาลีในยุโรป (ร้อยละ 25) และที่น่าสนใจคือ คนญี่ปุ่นเป็นคนมีอายุขัยเฉลี่ยหรือมีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลกด้วย (82 ปี) ในขณะที่แอฟริกายังเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนประชากรวัยเด็กมากเกือบร้อยละ 42 ของประชากรทั้งหมดในภูมิภาค มีอัตราเจริญพันธุ์รวมและอัตราตายต่อประชากรพันคนสูงมาก (4.9 และ 15 ตามลำดับ) และประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยที่ต่ำมากเพียง 49 ปีเท่านั้น
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังมีโครงสร้างประช ากรที่มีประชากรวัยสูงอายุอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบในระดับโลก ส่วนในระดับภูมิภาคเอเซีย พบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนของประชากรสูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง
แต่ถ้าพิจารณาปัจจัยภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นอัตราเจริญพันธุ์รวมของหญิง 1 คน ก็เป็นอัตราที่ต่ำกว่าระดับทดแทน (1.7 คน) โดยมีแนวโน้มลดลงจากอดีตและคาดว่าน่าจะลดลงอีกในอนาคต การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดนในปัจจุบันกำลังเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทุกๆ ด้าน สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้คนไทยมีอัตราตายที่มีแนวโน้มต่ำลง และมีอายุยืนยาวขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญท ี่ทำให้โครงสร้างของประชากรไทยมีการเปลี่ยนแปลงอ ย่างต่อเนื่องเข้าสู่ "สังคมสูงอายุ"
อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สถานการณ์ดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับนานาประเทศในโลก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาค ยุโรป การวางแผนและการกำหนดนโยบายต่างๆ จะให้ความสำคัญกับประชากรกลุ่มผู้สูงอายุนี้มาก แม้กระทั่งการเลือกตั้งยังต้องมีนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุเป็นประเด็นสำคัญในการหาเสียงด้วย เช่นเดียวกับประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุ มากขึ้นเป็นลำดับ มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุขึ้นเป็ นนโยบายระดับชาติในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ใช้คุ้มครองผู้สูงอายุโดยตรงคือ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2547นี้ และในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุและพัฒนาความรู้เพื่อแก้ปัญหา และปรับปรุงนโยบายในการดูแลประชากร ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นประกอบกับการพัฒนาที่เน้นคุณภาพ ของคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา น่าจะทำให้สังคมไทยในอนาคตเป็น "สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ" และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้
สรุป
ประชากรโลกและประชากรไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรที่คล้ายคลึงกัน ประชากรวัยเด็กมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โครงสร้างของประชากรโลกเปลี่ยนเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" (Aging Society) ยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนของประชากรสูงอายุมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศอิตาลี กรีซ เยอรมันนี สวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเหล่านี้ มีอัตราเจริญพันธุ์รวมต่ำกว่าระดับทดแทน มีอัตราตายของประชากรค่อนข้างต่ำ แต่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในขณะที่แอฟริกาเป็นภูมิภาคที่มีโครงสร้างของประชากรวัยเด็กมากกว่าประชากรวัยสูงอายุ มีอัตราเจริญพันธุ์รวมและอัตราตายของประชากรค่อนข้างสูง ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยต่ำ
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" กำลังได้รับความสนใจจากนานาประเทศ การศึกษาวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุมีมากขึ้น รวมทั้งประเทศไทยที่ได้กำหนดนโยบายระดับชาติ และมีพระราชบัญ ญัติผู้สูงอายุที่ใช้คุ้มครองประชากรกลุ่มนี้โดยตรงควบคู่ไปกั การพัฒนาที่มีเน้นคุณภาพของคนเ ็นศูนย์กลางของการพัฒนา น่าจะทำให้สังคมไทยในอนาคตเป็น "สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ"
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-