ในสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างมาก ส่งผลให้ประเทศที่เจริญแล้ว ยิ่งก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนามีมากขึ้นตามลำดับ ประเทศไทยอยู่ในระหว่างการปรับตัวเพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีมาเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้สามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันได้ในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge based economy) แม้ว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้เป็นข้อจำกัดในการพัฒนาในเรื่องนี้ แต่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นอย่างมาก ดังได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545 - 2549
สำนักงานสถิติแห่งชาติในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ได้จัดทำการสำรวจข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2547 เพื่อให้รัฐบาลในฐานะเป็นผู้ดูแล และกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่ครบถ้วน ทันสมัย สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสภาวะเศรษฐกิจพื้นฐานในประเทศ การสำรวจข้อมูลเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2547 มีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานประกอบการและครัวเรือน สำหรับด้านสถานประกอบการนั้น มีการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน และขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดการใช้ไอซีทีในการประกอบกิจการ
สำหรับข้อมูลที่นำเสนอในเอกสารนี้ เป็นข้อมูลของสถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ประกอบธุรกิจการ ค้าส่ง การค้าปลีก การบริการ การผลิต การก่อสร้าง การขนส่งทางบกและตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลของปริมณฑล สรุปได้ดังนี้
1) จำนวนสถานประกอบการ
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการในปี 2547 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 79,179 แห่ง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 83.5) ดำเนินกิจการเกี่ยวกับธุรกิจการค้าและบริการ รองลงมาประกอบการผลิต ร้อยละ 14.2 ส่วนการประกอบกิจการ ก่อสร้าง และการขนส่งทางบกและตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว มี สัดส่วนเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.3 และ 1.0 ตามลำดับ
2) ขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน)
ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.4) เป็นสถานประกอบการขนาดย่อมที่มีคนทำงาน 1 - 50 คน ส่วนสถานประกอบการขนาดกลางที่มีคนทำงาน 51 - 200 คน และสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.8 และ 0.8 ของจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้นของภาค่
3) การมีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานประกอบการนั้น พบว่า มีการใช้ร้อยละ 19.0 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 17.2 ขนาดกลาง ร้อยละ 86.7 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 90.7
- การใช้อินเทอร์เน็ต มีการใช้ร้อยละ 8.6 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 7.2 ขนาดกลาง ร้อยละ 55.8 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 63.9
- การมีเว็บไซต์ในการดำเนินกิจการ มีการใช้ร้อยละ 0.8 โดย สถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 0.5 ขนาดกลาง ร้อยละ 11.3 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 18.4
- การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้ร้อยละ 1.3 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 0.9 ขนาดกลาง ร้อยละ 15.8 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 21.5
- การรับคำสั่งซื้อสินค้าทางเว็บไซต์ มีการใช้ร้อยละ 0.3 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 0.1 ขนาดกลาง ร้อยละ 4.2 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 7.8
- การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการดำเนินกิจการ มีการใช้ร้อยละ 22.8 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 22.5 ขนาดกลาง ร้อยละ 29.7 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 35.1
- การใช้โทรศัพท์พื้นฐานในการดำเนินกิจการ มีการใช้ร้อยละ 53.1 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 52.5 ขนาดกลาง ร้อยละ 79.0 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 79.4
- การใช้โทรสารในการดำเนินกิจการ มีการใช้ร้อยละ 8.0 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 6.8 ขนาดกลาง ร้อยละ 52.9 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 60.3
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
สำนักงานสถิติแห่งชาติในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ได้จัดทำการสำรวจข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2547 เพื่อให้รัฐบาลในฐานะเป็นผู้ดูแล และกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่ครบถ้วน ทันสมัย สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสภาวะเศรษฐกิจพื้นฐานในประเทศ การสำรวจข้อมูลเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2547 มีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานประกอบการและครัวเรือน สำหรับด้านสถานประกอบการนั้น มีการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน และขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดการใช้ไอซีทีในการประกอบกิจการ
สำหรับข้อมูลที่นำเสนอในเอกสารนี้ เป็นข้อมูลของสถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ประกอบธุรกิจการ ค้าส่ง การค้าปลีก การบริการ การผลิต การก่อสร้าง การขนส่งทางบกและตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลของปริมณฑล สรุปได้ดังนี้
1) จำนวนสถานประกอบการ
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการในปี 2547 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 79,179 แห่ง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 83.5) ดำเนินกิจการเกี่ยวกับธุรกิจการค้าและบริการ รองลงมาประกอบการผลิต ร้อยละ 14.2 ส่วนการประกอบกิจการ ก่อสร้าง และการขนส่งทางบกและตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว มี สัดส่วนเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.3 และ 1.0 ตามลำดับ
2) ขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน)
ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.4) เป็นสถานประกอบการขนาดย่อมที่มีคนทำงาน 1 - 50 คน ส่วนสถานประกอบการขนาดกลางที่มีคนทำงาน 51 - 200 คน และสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.8 และ 0.8 ของจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้นของภาค่
3) การมีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานประกอบการนั้น พบว่า มีการใช้ร้อยละ 19.0 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 17.2 ขนาดกลาง ร้อยละ 86.7 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 90.7
- การใช้อินเทอร์เน็ต มีการใช้ร้อยละ 8.6 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 7.2 ขนาดกลาง ร้อยละ 55.8 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 63.9
- การมีเว็บไซต์ในการดำเนินกิจการ มีการใช้ร้อยละ 0.8 โดย สถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 0.5 ขนาดกลาง ร้อยละ 11.3 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 18.4
- การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้ร้อยละ 1.3 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 0.9 ขนาดกลาง ร้อยละ 15.8 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 21.5
- การรับคำสั่งซื้อสินค้าทางเว็บไซต์ มีการใช้ร้อยละ 0.3 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 0.1 ขนาดกลาง ร้อยละ 4.2 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 7.8
- การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการดำเนินกิจการ มีการใช้ร้อยละ 22.8 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 22.5 ขนาดกลาง ร้อยละ 29.7 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 35.1
- การใช้โทรศัพท์พื้นฐานในการดำเนินกิจการ มีการใช้ร้อยละ 53.1 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 52.5 ขนาดกลาง ร้อยละ 79.0 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 79.4
- การใช้โทรสารในการดำเนินกิจการ มีการใช้ร้อยละ 8.0 โดยสถานประกอบการขนาดย่อม มีการใช้ร้อยละ 6.8 ขนาดกลาง ร้อยละ 52.9 และขนาดใหญ่ ร้อยละ 60.3
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-