‘อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ พร้อมลง ส.ส. เขต แล้วแต่มติพรรค หากพรรคเห็นด้วยก็ไม่ขัดข้อง ระบุถ้า ทรท. ได้เสียงข้างมากก็เป็นมารยาทและสมควรแล้วที่จะได้จัดตั้งรัฐบาล พร้อมยืนยัน ปชป. จะไม่เสียมารยาทจับมือกับพรรคอื่นๆเพื่อเป็นรัฐบาล
กรณีพรรคมหาชน ระบุว่าจะรวม 3 พรรคคือพรรคมหาชน ประชาธิปัตย์และชาติไทยตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคไทยรักไทยนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่คิดจะจับมือกับใคร แต่จะเสนอจุดยืนและทางเลือกสำหรับประชาชนในการเลือกตั้ง ‘ผมขอยืนยันว่าในความคิดของพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าทรท.ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง พรรคทรท. ควรจะได้จัดตั้งรัฐบาล ถือเป็นมารยาททางการเมือง จะมาบอกว่ามีความพยายามที่จะไปจับมือ กับพรรคชาติไทย พรรคประชาธิปัตย์ และแอบไปชวน ส.ส.ทรท.จัดตั้งรัฐบาล ประชาธิปัตย์ไม่ทำ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่า มีบางคนบอกว่าสมัยที่นายกฯ ชวน เป็นนายกฯ ครั้งที่ 2 ก็มีปรากฏการณ์งูเห่า ตนขอชี้แจงว่า ครั้งนั้นไม่มีพรรคใดมีเสียงข้างมากในสภา หมายความว่าพรรคที่ใหญ่ที่สุดก็มี 125 เสียง ก็มีการลงคะแนนกันในสภาว่าเสียงข้างมากจะสนับสนุนใคร แต่ถ้าเพิ่งเลือกตั้งเข้ามาแล้วพรรค ทรท. ได้ 260 เสียง ก็ต้องให้ ทรท.เป็นรัฐบาล ‘ขอยืนยันว่าจุดยืนของประชาธิปัตย์เป็นเช่นนี้ครับ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เมื่อวาน(21 ก.ย.)ก็มีการพูดกันในที่ประชุม ส.ส. และเห็นตรงกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้นขอเรียนผ่านไปยังพรรคมหาชน ถ้ายังมีความคิดนี้อยู่ก็บอกว่า ท่านคิดได้ แต่พรรคประชาธิปัตย์ คงไม่ทำอย่างนั้น เมื่อถามว่าในทางกลับกันหากทรท.ได้ไม่ถึง 250 เสียง ประชาธิปัตย์จะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนั้นเป็นคนละเรื่อง ในอดีตที่ผ่านมาจะเห็นว่าสมัยปี 2538 หรือ 2539 ก็ดี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคอันดับสอง เราก็จะประกาศท่าทีว่าเราต้องให้โอกาสพรรคการเมืองอันดับหนึ่ง จัดตั้งรัฐบาลก่อน และที่สำคัญคือ หากจะชวนเราไปร่วมรัฐบาลด้วยก็คงจะไม่รับ เพราะต้องการให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่อย่างน้อยหนึ่งพรรคเป็นฝ่ายค้าน เพราะหากพรรคใหญ่ๆเป็นรัฐบาลหมด และให้พรรคเล็กๆเป็นฝ่ายค้าน เหลือเพียง 10-20 เสียง อย่างนั้นคงไม่เป็นประโยชน์ ‘คุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ต้องมีทั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และฝ่ายค้านที่คอยตรวจสอบ ไม่ใช่ว่ามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่ไม่มีฝ่ายตรวจสอบ’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ส่วนแนวความคิดของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะให้แกนนำพรรคลงสมัคร ส.ส.เขต กทม. ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และยุทธศาสตร์ของพรรค ข้อดีของการที่จะให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง คือ 1. ส.ส.เขตเลือกตั้ง ซึ่งเผชิญความกดดันหลายอย่างก็จะมีความรู้สึกว่าคนของพรรคที่อยู่บัญชีรายชื่อพร้อมจะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา ซึ่งเป็นขวัญกำลังใจขึ้นมา 2. การเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อตลอดไป ถ้าคิดว่าตัวเองมีความเหมาะสมในการที่จะลงไปเป็นส.สในเขตเลือกตั้ง พร้อมที่จะรับใช้พี่น้องประชาชน และคุณสมบัติของบุคคลนั้นก็อยู่ในเกณฑ์ของผู้สมัครที่มีคุณภาพ ก็เป็นเรื่องที่ดีที่จะเสนอตัวรับใช้พี่น้องประชาชน 3. การที่ส.ส.บัญชีรายชื่อมีความพร้อมที่จะไปลงเขตเลือกตั้ง ก็จะทำช่วยให้พรรคดึงคนใหม่เข้ามาอยู่ในระบบบัญชีรายชื่อได้ ‘อาจจะมีนักวิชาการ ข้าราชการ นักธุรกิจ นักเคลื่อนไหว หลายคนอยากจะเข้าสู่ถนนการเมือง ซึ่งอาจจะไม่ถนัดในการลงเขตเลือกตั้ง เมื่อมาอยู่บัญชีรายชื่อของพรรค หากเป็นอันดับ 40-50 กว่า เขาก็ไม่มั่นใจ ถ้าสมมุติว่า ส.สบัญชีรายชื่อ ที่ลงเขตเลือกตั้งได้ ไปลงเขตเลือกตั้งซัก 10 คน ก็จะเป็นประโยชน์ในการดึงคนใหม่เข้ามา’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ต่อข้อถามว่านี่เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ประชาธิปัตย์ คิดว่าน่าจะให้ส.ส.ที่อยู่ในระดับผู้ใหญ่ลง ส.ส.เขต ถ้าอย่างนั้นหากได้เป็นรัฐบาลก็ต้องลาออกไปเป็นรัฐมนตรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ต้องประเมินกันตามความเป็นจริง ว่าโอกาสที่คิดว่าเราจะเป็นรัฐบาลมีมากน้อยแค่ไหน หรือคนที่ลงสมัครแบบเขตเลือกตั้งติดใจหรือไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีหรืออะไร เมื่อถามว่าพร้อมหรือไม่ หากจะต้องลงเขตอีกครั้งหนึ่ง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการหารือภายในอยู่ ยังไม่มีข้อยุติ มติพรรคจะเป็นตัวกำหนดได้ส่วนหนึ่ง ส่วนตัวแล้วไม่ขัดข้องหากพรรคจะให้ลงเขตเลือกตั้ง ‘ท่านอดีตนายกฯชวน ท่านก็ไม่ขัดข้อง แต่จะลงเขตเลือกตั้งใดต้องดูความเหมาะสม เพราะฉะนั้นจึงขอยืนยันว่าคงไม่มีการไปพูดว่า ใครที่มีชื่อเสียงไปลงที่ไหนก็ได้ ไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องดูด้วยว่าความเหมาะสมที่คนนั้นๆจะเป็น ส.ส.ในเขตเลือกตั้งมีมากน้อยแค่ไหน’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
กรณีพรรคมหาชน ระบุว่าจะรวม 3 พรรคคือพรรคมหาชน ประชาธิปัตย์และชาติไทยตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคไทยรักไทยนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่คิดจะจับมือกับใคร แต่จะเสนอจุดยืนและทางเลือกสำหรับประชาชนในการเลือกตั้ง ‘ผมขอยืนยันว่าในความคิดของพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าทรท.ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง พรรคทรท. ควรจะได้จัดตั้งรัฐบาล ถือเป็นมารยาททางการเมือง จะมาบอกว่ามีความพยายามที่จะไปจับมือ กับพรรคชาติไทย พรรคประชาธิปัตย์ และแอบไปชวน ส.ส.ทรท.จัดตั้งรัฐบาล ประชาธิปัตย์ไม่ทำ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่า มีบางคนบอกว่าสมัยที่นายกฯ ชวน เป็นนายกฯ ครั้งที่ 2 ก็มีปรากฏการณ์งูเห่า ตนขอชี้แจงว่า ครั้งนั้นไม่มีพรรคใดมีเสียงข้างมากในสภา หมายความว่าพรรคที่ใหญ่ที่สุดก็มี 125 เสียง ก็มีการลงคะแนนกันในสภาว่าเสียงข้างมากจะสนับสนุนใคร แต่ถ้าเพิ่งเลือกตั้งเข้ามาแล้วพรรค ทรท. ได้ 260 เสียง ก็ต้องให้ ทรท.เป็นรัฐบาล ‘ขอยืนยันว่าจุดยืนของประชาธิปัตย์เป็นเช่นนี้ครับ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เมื่อวาน(21 ก.ย.)ก็มีการพูดกันในที่ประชุม ส.ส. และเห็นตรงกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้นขอเรียนผ่านไปยังพรรคมหาชน ถ้ายังมีความคิดนี้อยู่ก็บอกว่า ท่านคิดได้ แต่พรรคประชาธิปัตย์ คงไม่ทำอย่างนั้น เมื่อถามว่าในทางกลับกันหากทรท.ได้ไม่ถึง 250 เสียง ประชาธิปัตย์จะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนั้นเป็นคนละเรื่อง ในอดีตที่ผ่านมาจะเห็นว่าสมัยปี 2538 หรือ 2539 ก็ดี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคอันดับสอง เราก็จะประกาศท่าทีว่าเราต้องให้โอกาสพรรคการเมืองอันดับหนึ่ง จัดตั้งรัฐบาลก่อน และที่สำคัญคือ หากจะชวนเราไปร่วมรัฐบาลด้วยก็คงจะไม่รับ เพราะต้องการให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่อย่างน้อยหนึ่งพรรคเป็นฝ่ายค้าน เพราะหากพรรคใหญ่ๆเป็นรัฐบาลหมด และให้พรรคเล็กๆเป็นฝ่ายค้าน เหลือเพียง 10-20 เสียง อย่างนั้นคงไม่เป็นประโยชน์ ‘คุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ต้องมีทั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และฝ่ายค้านที่คอยตรวจสอบ ไม่ใช่ว่ามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่ไม่มีฝ่ายตรวจสอบ’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ส่วนแนวความคิดของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะให้แกนนำพรรคลงสมัคร ส.ส.เขต กทม. ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และยุทธศาสตร์ของพรรค ข้อดีของการที่จะให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง คือ 1. ส.ส.เขตเลือกตั้ง ซึ่งเผชิญความกดดันหลายอย่างก็จะมีความรู้สึกว่าคนของพรรคที่อยู่บัญชีรายชื่อพร้อมจะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา ซึ่งเป็นขวัญกำลังใจขึ้นมา 2. การเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อตลอดไป ถ้าคิดว่าตัวเองมีความเหมาะสมในการที่จะลงไปเป็นส.สในเขตเลือกตั้ง พร้อมที่จะรับใช้พี่น้องประชาชน และคุณสมบัติของบุคคลนั้นก็อยู่ในเกณฑ์ของผู้สมัครที่มีคุณภาพ ก็เป็นเรื่องที่ดีที่จะเสนอตัวรับใช้พี่น้องประชาชน 3. การที่ส.ส.บัญชีรายชื่อมีความพร้อมที่จะไปลงเขตเลือกตั้ง ก็จะทำช่วยให้พรรคดึงคนใหม่เข้ามาอยู่ในระบบบัญชีรายชื่อได้ ‘อาจจะมีนักวิชาการ ข้าราชการ นักธุรกิจ นักเคลื่อนไหว หลายคนอยากจะเข้าสู่ถนนการเมือง ซึ่งอาจจะไม่ถนัดในการลงเขตเลือกตั้ง เมื่อมาอยู่บัญชีรายชื่อของพรรค หากเป็นอันดับ 40-50 กว่า เขาก็ไม่มั่นใจ ถ้าสมมุติว่า ส.สบัญชีรายชื่อ ที่ลงเขตเลือกตั้งได้ ไปลงเขตเลือกตั้งซัก 10 คน ก็จะเป็นประโยชน์ในการดึงคนใหม่เข้ามา’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ต่อข้อถามว่านี่เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ประชาธิปัตย์ คิดว่าน่าจะให้ส.ส.ที่อยู่ในระดับผู้ใหญ่ลง ส.ส.เขต ถ้าอย่างนั้นหากได้เป็นรัฐบาลก็ต้องลาออกไปเป็นรัฐมนตรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ต้องประเมินกันตามความเป็นจริง ว่าโอกาสที่คิดว่าเราจะเป็นรัฐบาลมีมากน้อยแค่ไหน หรือคนที่ลงสมัครแบบเขตเลือกตั้งติดใจหรือไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีหรืออะไร เมื่อถามว่าพร้อมหรือไม่ หากจะต้องลงเขตอีกครั้งหนึ่ง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการหารือภายในอยู่ ยังไม่มีข้อยุติ มติพรรคจะเป็นตัวกำหนดได้ส่วนหนึ่ง ส่วนตัวแล้วไม่ขัดข้องหากพรรคจะให้ลงเขตเลือกตั้ง ‘ท่านอดีตนายกฯชวน ท่านก็ไม่ขัดข้อง แต่จะลงเขตเลือกตั้งใดต้องดูความเหมาะสม เพราะฉะนั้นจึงขอยืนยันว่าคงไม่มีการไปพูดว่า ใครที่มีชื่อเสียงไปลงที่ไหนก็ได้ ไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องดูด้วยว่าความเหมาะสมที่คนนั้นๆจะเป็น ส.ส.ในเขตเลือกตั้งมีมากน้อยแค่ไหน’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-