แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ประชาชาติ
ข้อมูล
บัญชี
1.ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลสิ่งก่อสร้างที่เอกชนได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือ ดัดแปลง ตามเทศบัญญัติควบคุมการก่อสร้างเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2509 เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำไปใช้ในการคำนวณบัญชีประชาชาติด้านการสะสมทุน และคำนวณมูลค่าการก่อสร้างรวมของทั้งประเทศ ต่อมาได้ขยายขอบข่ายโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งที่มีและไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อมูลที่เก็บรวบรวมนี้ นอกจากจะนำส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นรายเดือนแล้ว ยังนำมาประมวลผล วิเคราะห์ และจัดทำรายงานเสนอผลเพื่อเผยแพร่โดยนำเสนอข้อมูลรวม 4 ไตรมาส ในระดับจังหวัด ภาค ทั่วประเทศ อีกหนึ่งฉบับสำหรับข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง ไตรมาสที่ 1/2547 ที่นำเสนอในเอกสารนี้ เป็นข้อมูลเฉพาะท้องที่ในเขต เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เท่านั้น
2. สรุปผลการประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง
2.1 จำนวนผู้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง และพื้นที่ก่อสร้าง
ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2547 มีเอกชนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารและสิ่งก่อสร้างจำนวน 60,001 ราย เป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือน 52,174 ราย คิดเป็นพื้นที่ 13.56 ล้านตารางเมตร และได้รับอนุมัติให้ ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน 7,827 ราย โดยเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน ป้ายโฆษณา ฯลฯ คิดเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 229,707 ตารางเมตร และประเภท ทางระบายน้ำ ถนน รั้ว/กำแพง ฯลฯ คิดเป็นความยาวทั้งสิ้น 745,797 เมตร
สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างอาคารโรงเรือนนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 98.6) ได้รับอนุมัติให้ ก่อสร้างใหม่ คิดเป็นพื้นที่ 13.41 ล้านตารางเมตร และร้อยละ 1.4 ได้รับอนุมัติให้ต่อเติมหรือดัดแปลง ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ 0.15 ล้านตารางเมตรเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า จำนวนรายที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 แต่พื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติลดลงร้อยละ 9.2 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 พบว่า ทั้งจำนวนรายและพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.7 และ 21.3 ตามลำดับ
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า จำนวนรายที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 และพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่คิดเป็นพื้นที่ (เช่น ลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน และป้ายโฆษณา) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่คิดเป็นความยาว (เช่น ทางระบายน้ำ ถนน รั้วกำแพง) เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1 โดย พื้นที่ก่อสร้างลดลงร้อยละ 10.5 แต่ความยาวของสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.7
2.2 ประเภทของสิ่งก่อสร้าง
อาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างในไตรมาสที่หนึ่งนั้น ส่วนใหญ่เป็นอาคารโรงเรือน เพื่ออยู่อาศัย โดยมีพื้นที่รวม 9.64 ล้านตารางเมตร หรือร้อยละ 71.1 ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนทั้งสิ้น ส่วนอาคารโรงเรือนที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ มีพื้นที่รวม 1.97 ล้านตารางเมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 14.6 เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีพื้นที่รวม 1.16 ล้านตารางเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 8.6 (ตาราง 2)เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า อาคารโรงเรือนทุกประเภทมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุข ส่วนโรงแรมและภัตตาคารมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติลดลง ทั้งเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 สำหรับอาคารโรงเรือนเพื่ออยู่อาศัย เพื่อการพาณิชย์ เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงาน พบว่า มีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น ส่วนใหญ่เป็นท่อ/ทางระบายน้ำซึ่งมีความยาวรวม 306,035 เมตร หรือร้อยละ 41.0 เป็นถนนยาว 265,600 เมตร หรือร้อยละ 35.6 และเป็นประเภท รั้ว/กำแพงยาว 113,313 เมตรหรือร้อยละ 15.2 สำหรับลานจอดรถได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง คิดเป็นพื้นที่ 94,653 ตารางเมตร หรือร้อยละ 41.2 ประเภทปั๊มน้ำมันและลานจอดรถได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง คิดเป็นพื้นที่ 30,962 และ 30,058 ตารางเมตร หรือร้อยละ 13.5 และ 13.1 ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 พบว่า สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนมีความยาวของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่วนสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนที่เป็นพื้นที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 3.0) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่มีพื้นที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ลดลง (ร้อยละ 10.5) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลสิ่งก่อสร้างที่เอกชนได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือ ดัดแปลง ตามเทศบัญญัติควบคุมการก่อสร้างเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2509 เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำไปใช้ในการคำนวณบัญชีประชาชาติด้านการสะสมทุน และคำนวณมูลค่าการก่อสร้างรวมของทั้งประเทศ ต่อมาได้ขยายขอบข่ายโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งที่มีและไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อมูลที่เก็บรวบรวมนี้ นอกจากจะนำส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นรายเดือนแล้ว ยังนำมาประมวลผล วิเคราะห์ และจัดทำรายงานเสนอผลเพื่อเผยแพร่โดยนำเสนอข้อมูลรวม 4 ไตรมาส ในระดับจังหวัด ภาค ทั่วประเทศ อีกหนึ่งฉบับสำหรับข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง ไตรมาสที่ 1/2547 ที่นำเสนอในเอกสารนี้ เป็นข้อมูลเฉพาะท้องที่ในเขต เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เท่านั้น
2. สรุปผลการประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง
2.1 จำนวนผู้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง และพื้นที่ก่อสร้าง
ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2547 มีเอกชนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารและสิ่งก่อสร้างจำนวน 60,001 ราย เป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือน 52,174 ราย คิดเป็นพื้นที่ 13.56 ล้านตารางเมตร และได้รับอนุมัติให้ ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน 7,827 ราย โดยเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน ป้ายโฆษณา ฯลฯ คิดเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 229,707 ตารางเมตร และประเภท ทางระบายน้ำ ถนน รั้ว/กำแพง ฯลฯ คิดเป็นความยาวทั้งสิ้น 745,797 เมตร
สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างอาคารโรงเรือนนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 98.6) ได้รับอนุมัติให้ ก่อสร้างใหม่ คิดเป็นพื้นที่ 13.41 ล้านตารางเมตร และร้อยละ 1.4 ได้รับอนุมัติให้ต่อเติมหรือดัดแปลง ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ 0.15 ล้านตารางเมตรเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า จำนวนรายที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 แต่พื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติลดลงร้อยละ 9.2 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 พบว่า ทั้งจำนวนรายและพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.7 และ 21.3 ตามลำดับ
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า จำนวนรายที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 และพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่คิดเป็นพื้นที่ (เช่น ลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน และป้ายโฆษณา) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่คิดเป็นความยาว (เช่น ทางระบายน้ำ ถนน รั้วกำแพง) เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1 โดย พื้นที่ก่อสร้างลดลงร้อยละ 10.5 แต่ความยาวของสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.7
2.2 ประเภทของสิ่งก่อสร้าง
อาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างในไตรมาสที่หนึ่งนั้น ส่วนใหญ่เป็นอาคารโรงเรือน เพื่ออยู่อาศัย โดยมีพื้นที่รวม 9.64 ล้านตารางเมตร หรือร้อยละ 71.1 ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนทั้งสิ้น ส่วนอาคารโรงเรือนที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ มีพื้นที่รวม 1.97 ล้านตารางเมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 14.6 เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีพื้นที่รวม 1.16 ล้านตารางเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 8.6 (ตาราง 2)เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า อาคารโรงเรือนทุกประเภทมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุข ส่วนโรงแรมและภัตตาคารมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติลดลง ทั้งเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 สำหรับอาคารโรงเรือนเพื่ออยู่อาศัย เพื่อการพาณิชย์ เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงาน พบว่า มีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น ส่วนใหญ่เป็นท่อ/ทางระบายน้ำซึ่งมีความยาวรวม 306,035 เมตร หรือร้อยละ 41.0 เป็นถนนยาว 265,600 เมตร หรือร้อยละ 35.6 และเป็นประเภท รั้ว/กำแพงยาว 113,313 เมตรหรือร้อยละ 15.2 สำหรับลานจอดรถได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง คิดเป็นพื้นที่ 94,653 ตารางเมตร หรือร้อยละ 41.2 ประเภทปั๊มน้ำมันและลานจอดรถได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง คิดเป็นพื้นที่ 30,962 และ 30,058 ตารางเมตร หรือร้อยละ 13.5 และ 13.1 ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 พบว่า สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนมีความยาวของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่วนสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนที่เป็นพื้นที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 3.0) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่มีพื้นที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ลดลง (ร้อยละ 10.5) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-