แท็ก
วันสงกรานต์
แม้สถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชากรไทยในช่วงวันสงกรานต์ที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวันในปี 2547 จะลดลงกว่าปี 2546 ที่มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 668 คน และบาดเจ็บกว่า 44,000 คน ขณะที่ผู้เสียชีวิตในปี 2547 ลดลงเหลือ 654 คน และบาดเจ็บประมาณ 37,000 คน แต่ก็นับว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการเมาแล้วขับ การขับรถเร็ว และการไม่รักษากฎจราจร สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะครั้งล่าสุดในปี 2546 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความปลอดภัย
ปัจจัยที่นับว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างมากกับความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะต่างๆ ของประชากรไทย มีดังนี้
1. การใช้เข็มขัดนิรภัย
ผลการสำรวจพบว่ามีประมาณร้อยละ 24.0 ของประชากรที่ขับหรือโดยสารรถยนต์ตอนหน้า (42.6 ล้านคน) ใช้เข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ขณะที่กว่า 1 ใน 3 ไม่ใช้เข็มขัดนิรภัยเลย ทั้งนี้ชายและหญิงมีสัดส่วนการใช้เข็มขัดนิรภัยไม่แตกต่างกันมากนัก คือร้อยละ 24.9 สำหรับชาย และร้อยละ 23.1 สำหรับหญิง แต่หญิงกลับมีสัดส่วนการไม่ใช้เข็มขัดนิรภัยเลยสูงกว่าชาย คือร้อยละ 35.2 และชายร้อยละ 30.7
2. การสวมหมวกกันน๊อค
รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุมากที่สุด ซึ่งผลจากการสำรวจพบว่ากว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั้งสิ้นเป็นผู้ที่ขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ และในจำนวนนี้เป็นผู้ที่สวมหมวกกันน๊อคทุกครั้งเพียงร้อยละ 16.3 เท่านั้น ขณะที่กว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน๊อคเลย (ร้อยละ 33.4) โดยหญิงมีสัดส่วนที่ไม่สวมหมวกกันน๊อคสูงกว่าชาย คือร้อยละ 36.0 ขณะที่ชายไม่สวมหมวกกันน๊อคมีประมาณร้อยละ 30.8
สำหรับกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปีที่ขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์เป็นกลุ่มที่ไม่เคยสวมหมวกกันน๊อคเลยสูงสุด คือ ร้อยละ 65.8 ของกลุ่มอายุเดียวกัน รองลงมาคือกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 57.3 และกลุ่มอายุ 40-59 ร้อยละ 25.8 สำหรับในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี และกลุ่มอายุ 25-39 ปีซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ พบว่าไม่เคยสวมหมวกกันน๊อคขณะขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ร้อยละ 18.6 และร้อยละ 17.6 ตามลำดับ
3. การขับรถภายหลังดื่มสุรา
การขับขี่ยานพาหนะภายหลังการดื่มสุราหรือของมึนเมานับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางการจราจร แม้จะมีกฎหมายห้ามมิให้ผู้ที่ดื่มสุราหรือของมึนเมาจนมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าที่กำหนดขับรถแล้วก็ตาม จากการสำรวจพบว่า มีผู้ที่เคยขับรถขณะมึนเมาสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงถึง 4.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 48.5 ของผู้ที่ขับรถยนต์หรือขี่รถจักรยานยนต์ โดยประมาณ 1 ใน 10 ดื่มสุราทุกครั้งที่ขับขี่ ทั้งนี้ชายขับรถขณะมึนเมาทุกครั้งสูงกว่าหญิงอย่างเห็นได้ชัด คือสูงถึงร้อยละ 10.2 ขณะที่หญิงมีเพียงร้อยละ 6.4 เท่านั้น
ข้อเสนอแนะ
แม้จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในปี 2547 จะลดลงจากปีก่อนๆ แต่ยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน และให้ทุกคนรู้จักหน้าที่ของตนว่าเมื่อจะขับรถต้องไม่เมา ไม่ประมาท เพราะเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อันก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนเสี่ยงต่อความพิการและทุพพลภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างภาระให้กับครอบครัว และนับว่าเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศอีกด้วย
ดังนั้นการแก้ปัญหาด้านการจราจรควรต้องทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ด้วยการร่วมมือกันของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป โดยภาครัฐควบคุมและเสริมสร้างวินัยการจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างจริงจัง และเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักในความปลอดภัยทางถนนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความปลอดภัย
ปัจจัยที่นับว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างมากกับความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะต่างๆ ของประชากรไทย มีดังนี้
1. การใช้เข็มขัดนิรภัย
ผลการสำรวจพบว่ามีประมาณร้อยละ 24.0 ของประชากรที่ขับหรือโดยสารรถยนต์ตอนหน้า (42.6 ล้านคน) ใช้เข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ขณะที่กว่า 1 ใน 3 ไม่ใช้เข็มขัดนิรภัยเลย ทั้งนี้ชายและหญิงมีสัดส่วนการใช้เข็มขัดนิรภัยไม่แตกต่างกันมากนัก คือร้อยละ 24.9 สำหรับชาย และร้อยละ 23.1 สำหรับหญิง แต่หญิงกลับมีสัดส่วนการไม่ใช้เข็มขัดนิรภัยเลยสูงกว่าชาย คือร้อยละ 35.2 และชายร้อยละ 30.7
2. การสวมหมวกกันน๊อค
รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุมากที่สุด ซึ่งผลจากการสำรวจพบว่ากว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั้งสิ้นเป็นผู้ที่ขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ และในจำนวนนี้เป็นผู้ที่สวมหมวกกันน๊อคทุกครั้งเพียงร้อยละ 16.3 เท่านั้น ขณะที่กว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน๊อคเลย (ร้อยละ 33.4) โดยหญิงมีสัดส่วนที่ไม่สวมหมวกกันน๊อคสูงกว่าชาย คือร้อยละ 36.0 ขณะที่ชายไม่สวมหมวกกันน๊อคมีประมาณร้อยละ 30.8
สำหรับกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปีที่ขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์เป็นกลุ่มที่ไม่เคยสวมหมวกกันน๊อคเลยสูงสุด คือ ร้อยละ 65.8 ของกลุ่มอายุเดียวกัน รองลงมาคือกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 57.3 และกลุ่มอายุ 40-59 ร้อยละ 25.8 สำหรับในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี และกลุ่มอายุ 25-39 ปีซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ พบว่าไม่เคยสวมหมวกกันน๊อคขณะขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ร้อยละ 18.6 และร้อยละ 17.6 ตามลำดับ
3. การขับรถภายหลังดื่มสุรา
การขับขี่ยานพาหนะภายหลังการดื่มสุราหรือของมึนเมานับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางการจราจร แม้จะมีกฎหมายห้ามมิให้ผู้ที่ดื่มสุราหรือของมึนเมาจนมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าที่กำหนดขับรถแล้วก็ตาม จากการสำรวจพบว่า มีผู้ที่เคยขับรถขณะมึนเมาสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงถึง 4.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 48.5 ของผู้ที่ขับรถยนต์หรือขี่รถจักรยานยนต์ โดยประมาณ 1 ใน 10 ดื่มสุราทุกครั้งที่ขับขี่ ทั้งนี้ชายขับรถขณะมึนเมาทุกครั้งสูงกว่าหญิงอย่างเห็นได้ชัด คือสูงถึงร้อยละ 10.2 ขณะที่หญิงมีเพียงร้อยละ 6.4 เท่านั้น
ข้อเสนอแนะ
แม้จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในปี 2547 จะลดลงจากปีก่อนๆ แต่ยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน และให้ทุกคนรู้จักหน้าที่ของตนว่าเมื่อจะขับรถต้องไม่เมา ไม่ประมาท เพราะเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อันก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนเสี่ยงต่อความพิการและทุพพลภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างภาระให้กับครอบครัว และนับว่าเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศอีกด้วย
ดังนั้นการแก้ปัญหาด้านการจราจรควรต้องทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ด้วยการร่วมมือกันของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป โดยภาครัฐควบคุมและเสริมสร้างวินัยการจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างจริงจัง และเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักในความปลอดภัยทางถนนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-