1.บทนำ
เนื่องจากปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทย มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดธุรกิจเกี่ยวกับร้านอินเทอร์เน็ตเพื่อบริการให้เช่าเวลาเล่นอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลสถิติของผู้ประกอบการ ลักษณะทั่วไปของร้าน การให้บริการระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ที่ร้านมีไว้บริการลูกค้า รวมถึงปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการเพื่อรัฐบาลจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน กำหนดนโยบายและมาตรการ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการส่งเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวม ข้อมูลจากร้านอินเทอร์เน็ตทุกจังหวัดทั่วประเทศ จากนั้นรวบรวมแบบสอบถามส่งให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อทำการประมวลผลและนำเสนอข้อมูล
2. สรุปผลการสำรวจ
2.1 ข้อมูลทั่วไปของร้านอินเทอร์เน็ต
ผลการสำรวจข้อมูลร้านอินเทอร์เน็ต พ.ศ. 2547 ที่มีคนทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเขตเทศบาลทั่วประเทศ จำนวน 2,283 แห่ง พบว่า มีร้านอินเทอร์เน็ตกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ดังนี้ ภาคเหนือ และภาคกลาง มีสัดส่วนของร้านอินเทอร์เน็ตใกล้เคียงกัน ประมาณร้อยละ 22.8 และ 22.6 ตามลำดับ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนร้านอินเทอร์เน็ต ประมาณร้อยละ 18.4 และ 17.2 ตามลำดับ สำหรับกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีจำนวนร้านอินเทอร์เน็ต ประมาณร้อยละ 11.1 และ 7.9 ตามลำดับ
พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ ที่ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลา 1-2 ปี มีสัดส่วนมากที่สุด ประมาณร้อยละ 34.1 รองลงมาคือ ร้านที่ดำเนินธุรกิจต่ำกว่า 1 ปี และ 2 - 3 ปี ประมาณร้อยละ 23.5 และ 22.0 ตามลำดับ สำหรับร้านอินเทอร์เน็ตที่ดำเนินธุรกิจมากกว่า 5 ปี มีเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 3.3
สำหรับลักษณะกระจกหน้าร้านของร้านอินเทอร์เน็ต พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.7) เป็นกระจกใส ร้านที่มีกระจกเป็นสีชา และไม่มีกระจก มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12.2 และ 11.8 ตามลำดับ
ข้อมูลอายุของเจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 45.0) เจ้าของร้านมีอายุระหว่าง 20-30 ปี รองลงมา คือร้านที่มีเจ้าของอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 30.6) สำหรับร้านที่มีเจ้าของอายุต่ำกว่า 20 ปี มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยคือ ต่ำกว่า ร้อยละ 1.0
เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของเจ้าของร้าน พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 53.0) เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมาคือ ร้านที่เจ้าของมีการศึกษาระดับอนุปริญญา และมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณร้อยละ 15.0 และ 14.4 ตามลำดับ สำหรับเจ้าของร้านที่มีการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีนั้น มีไม่เกินร้อยละ 5.0
2.2 การให้บริการของร้านอินเทอร์เน็ต
2.2.1 เวลาเปิด-ปิดบริการ
การให้บริการของร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94.5) มีการบริการเปิด-ปิด เป็นเวลา ส่วนร้านอินเทอร์เน็ตที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงนั้น มีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 4.0
สำหรับเวลาการปิดบริการของร้านนั้น พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตปิดการให้บริการระหว่างเวลา 20.00 - 22.00 น. ในสัดส่วนที่สูงที่สุด ประมาณร้อยละ 66.0 รองลงมา คือร้านอินเทอร์เน็ตที่ปิดให้บริการระหว่างเวลา 22.01 - 24.00 น. ประมาณร้อยละ 16.9 สำหรับร้านอินเทอร์ที่ปิดให้บริการหลังเวลา 2.00 น. มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 1.0
เมื่อพิจารณาการให้บริการของร้านอินเทอร์เน็ตเป็นรายภาค พบว่า ในแต่ละภาคร้านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 85.0) มีการบริการเปิด-ปิดเป็นเวลา ส่วนร้านที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง นั้น พบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนสูงสุด ประมาณร้อยละ 9.5 รองลงมาคือ ปริมณฑล ประมาณร้อยละ 7.7 สำหรับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สัดส่วนของร้านอินเทอร์เน็ตที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง ต่ำสุดเพียงร้อยละ 1.5
สำหรับเวลาการปิดบริการของร้านอินเทอร์เน็ตในแต่ละภาคพบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตทุกภาคส่วนใหญ่ (มากกว่า ร้อยละ 49.0) ปิดการให้บริการหลังเวลา 24.00 นั้นทุกภาคมี สัดส่วนไม่เกินร้อยละ 5.0 ในขณะที่ร้านฯในปริมณฑลมีสัดส่วนของร้านที่ปิดหลังเวลา 24.00 น. มากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 11.4
2.2.2 การให้บริการภายในร้าน
ข้อมูลการให้บริการของร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มีบริการเกมส์ On line และเกมส์ On lan ในสัดส่วนที่สูง ประมาณร้อยละ 70.1 และ 59.1 ตามลำดับ รองลงมา คือ รับ Print งาน ประมาณร้อยละ 51.6 สำหรับร้านที่ให้บริการรับพิมพ์งาน/ทำนามบัตร และรับ Scan ภาพ มีประมาณร้อยละ 35.2 และ 30.9 ตามลำดับ
2.2.3 การอนุญาตให้สูบบุหรี่ / สิ่งเสพติด และ การดื่มสุรา / ของมึนเมาภายในร้าน
เมื่อพิจารณาการอนุญาตให้ลูกค้าสูบบุหรี่หรือสิ่งเสพ ติดและดื่มสุราหรือของมึนเมาภายในร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พบว่า ร้านอนุญาตให้สูบบุหรี่หรือสิ่งเสพติด ประมาณร้อยละ 4.4 และอนุญาตให้ดื่มสุราหรือของมึนเมา ประมาณร้อยละ 2.9 โดยมีป้ายห้ามการสูบบุหรี่หรือสิ่งเสพติด และป้ายห้ามดื่มสุราของมึนเมาที่ชัดเจน กล่าวคือ มีป้ายห้ามการสูบบุหรี่ฯ ประมาณร้อยละ 52.4 และมีป้ายห้ามดื่มสุราฯ ประมาณร้อยละ 32.1
2.2.4 ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และการจดทะเบียนพาณิชย์
ร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.9) มีการจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับการมีลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นพบว่า มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ประมาณร้อยละ 60.7 ร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศส่วนมากใช้ระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial-up modem ในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 75.4 รองลงมา เป็นการเชื่อมต่อแบบ Adsl ร้อยละ 14.0 สำหรับร้านที่มีระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Leasline นั้น มีเพียงร้อยละ 5.3 เมื่อพิจารณาการจดทะเบียนพาณิชย์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ของร้านอินเทอร์เน็ตในแต่ละภาค พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตในทุกภาค มีการจดทะเบียนพาณิชย์มากกว่า ร้อยละ 59.0 เมื่อพิจารณาการมีลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ของร้านอินเทอร์เน็ตในแต่ละภาค พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตในทุกภาคมีการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ในสัดส่วนที่สูงมากกว่าร้อยละ 54.0
ในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตของร้านอินเทอร์เน็ตนั้น พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตในกรุงเทพมหานคร มีการเชื่อมต่อแบบ Adsl ในสัดส่วนสูงที่สุด ประมาณร้อยละ 57.7 สำหรับร้านอินเทอร์เน็ตในภาคอื่นๆ ส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 63.0) ใช้ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial-up modem
2.3 การรู้จักโครงการ Good Net
พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ รู้จัก โครงการ Good Net ประมาณร้อยละ 44.9 โดยรู้จักโครงการ Good Net จากอินเทอร์เน็ต มากกว่าร้อยละ 50.0 รองลงมา คือรู้จักโครงการฯ จากโทรทัศน์ประมาณร้อยละ 24.4
ร้านอินเทอร์เน็ตในแต่ละภาคที่รู้จักโครงการ Good Net มีมากกว่าร้อยละ 33.0 โดยรู้จักโครงการ Good Net จากอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 50.0)
2.4 ปัญหาและอุปสรรค
จากการสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของร้าน อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
1. มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนสูง เช่น ค่าลิข สิทธิ์ซอฟต์แวร์ เกมส์ ค่าบริการ ISP เป็นต้น
2. ปัญหาระบบการเชื่อมต่อมีความเร็วช้า ต่อยาก และเครือข่ายผู้ให้บริการระบบไม่ครอบคลุมพื้นที่ในภูมิภาค
3.ไม่ทราบรายละเอียดและขั้นตอนเกี่ยวกับการจดทะเบียนต่างๆ การขออนุญาตเปิดกิจการค่อนข้างยุ่งยาก และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านเทคโนโลยียังน้อยเกินไป
4. ปัญหาการแข่งขันด้านอัตราค่าบริการของร้าน อินเทอร์เน็ต
5. ร้านขาดคุณสมบัติเข้าโครงการ Good Net เนื่องจากมีการกำหนดคุณสมบัติมากเกินไป
6. ปัญหาอื่น ๆ เช่น ลูกค้าแอบติดตั้งซอฟต์แวร์อื่นในเครื่องฯ ถูกมองว่าร้านเป็นแหล่งมั่วสุมทำให้รายได้ลดลง ไฟฟ้าดับบ่อย เป็นต้น
2.5 ข้อเสนอแนะ
สำหรับข้อเสนอแนะของร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ มีดังนี้
1. ต้องการให้ปรับปรุงคู่สายโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต เพิ่มระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้มีหลายระบบ
2.เสนอให้มีการจัดโซนนิ่งร้านอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการให้บริการอินเทอร์เน็ตและเกมส์ออนไลน์ควรให้มีการบริการแยกจากกัน และการกำหนดเวลาเปิด-ปิดบริการ
3. ควรมีการจำกัดอายุผู้ใช้บริการโดยเฉพาะเยาวชน ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
4. รัฐควรส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
5. ต้องการให้มีโปรแกรมฟรีแวร์สำหรับร้านอินเทอร์เน็ต
6. ต้องการให้มีการจัดตั้งชมรมอินเทอร์เน็ตในชุมชน
7. ควรมีมาตรการป้องกันลูกค้าหรือผู้ที่ชอบลักลอบนำ ซอฟต์แวร์อื่นมาติดตั้งในเครื่องฯ ที่ทางร้านไม่ทราบ โดยอยากให้ มีกฎหมายคุ้มครอง
8. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เช่น จัดโครงการประกวดซอฟต์แวร์ กำหนดให้มีโปรแกรมสื่อการเรียนการสอนไว้บริการในร้าน จัด ให้มีการอบรมผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
เนื่องจากปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทย มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดธุรกิจเกี่ยวกับร้านอินเทอร์เน็ตเพื่อบริการให้เช่าเวลาเล่นอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลสถิติของผู้ประกอบการ ลักษณะทั่วไปของร้าน การให้บริการระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ที่ร้านมีไว้บริการลูกค้า รวมถึงปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการเพื่อรัฐบาลจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน กำหนดนโยบายและมาตรการ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการส่งเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวม ข้อมูลจากร้านอินเทอร์เน็ตทุกจังหวัดทั่วประเทศ จากนั้นรวบรวมแบบสอบถามส่งให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อทำการประมวลผลและนำเสนอข้อมูล
2. สรุปผลการสำรวจ
2.1 ข้อมูลทั่วไปของร้านอินเทอร์เน็ต
ผลการสำรวจข้อมูลร้านอินเทอร์เน็ต พ.ศ. 2547 ที่มีคนทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเขตเทศบาลทั่วประเทศ จำนวน 2,283 แห่ง พบว่า มีร้านอินเทอร์เน็ตกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ดังนี้ ภาคเหนือ และภาคกลาง มีสัดส่วนของร้านอินเทอร์เน็ตใกล้เคียงกัน ประมาณร้อยละ 22.8 และ 22.6 ตามลำดับ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนร้านอินเทอร์เน็ต ประมาณร้อยละ 18.4 และ 17.2 ตามลำดับ สำหรับกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีจำนวนร้านอินเทอร์เน็ต ประมาณร้อยละ 11.1 และ 7.9 ตามลำดับ
พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ ที่ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลา 1-2 ปี มีสัดส่วนมากที่สุด ประมาณร้อยละ 34.1 รองลงมาคือ ร้านที่ดำเนินธุรกิจต่ำกว่า 1 ปี และ 2 - 3 ปี ประมาณร้อยละ 23.5 และ 22.0 ตามลำดับ สำหรับร้านอินเทอร์เน็ตที่ดำเนินธุรกิจมากกว่า 5 ปี มีเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 3.3
สำหรับลักษณะกระจกหน้าร้านของร้านอินเทอร์เน็ต พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.7) เป็นกระจกใส ร้านที่มีกระจกเป็นสีชา และไม่มีกระจก มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12.2 และ 11.8 ตามลำดับ
ข้อมูลอายุของเจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 45.0) เจ้าของร้านมีอายุระหว่าง 20-30 ปี รองลงมา คือร้านที่มีเจ้าของอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 30.6) สำหรับร้านที่มีเจ้าของอายุต่ำกว่า 20 ปี มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยคือ ต่ำกว่า ร้อยละ 1.0
เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของเจ้าของร้าน พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 53.0) เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมาคือ ร้านที่เจ้าของมีการศึกษาระดับอนุปริญญา และมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณร้อยละ 15.0 และ 14.4 ตามลำดับ สำหรับเจ้าของร้านที่มีการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีนั้น มีไม่เกินร้อยละ 5.0
2.2 การให้บริการของร้านอินเทอร์เน็ต
2.2.1 เวลาเปิด-ปิดบริการ
การให้บริการของร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94.5) มีการบริการเปิด-ปิด เป็นเวลา ส่วนร้านอินเทอร์เน็ตที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงนั้น มีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 4.0
สำหรับเวลาการปิดบริการของร้านนั้น พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตปิดการให้บริการระหว่างเวลา 20.00 - 22.00 น. ในสัดส่วนที่สูงที่สุด ประมาณร้อยละ 66.0 รองลงมา คือร้านอินเทอร์เน็ตที่ปิดให้บริการระหว่างเวลา 22.01 - 24.00 น. ประมาณร้อยละ 16.9 สำหรับร้านอินเทอร์ที่ปิดให้บริการหลังเวลา 2.00 น. มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 1.0
เมื่อพิจารณาการให้บริการของร้านอินเทอร์เน็ตเป็นรายภาค พบว่า ในแต่ละภาคร้านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 85.0) มีการบริการเปิด-ปิดเป็นเวลา ส่วนร้านที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง นั้น พบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนสูงสุด ประมาณร้อยละ 9.5 รองลงมาคือ ปริมณฑล ประมาณร้อยละ 7.7 สำหรับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สัดส่วนของร้านอินเทอร์เน็ตที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง ต่ำสุดเพียงร้อยละ 1.5
สำหรับเวลาการปิดบริการของร้านอินเทอร์เน็ตในแต่ละภาคพบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตทุกภาคส่วนใหญ่ (มากกว่า ร้อยละ 49.0) ปิดการให้บริการหลังเวลา 24.00 นั้นทุกภาคมี สัดส่วนไม่เกินร้อยละ 5.0 ในขณะที่ร้านฯในปริมณฑลมีสัดส่วนของร้านที่ปิดหลังเวลา 24.00 น. มากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 11.4
2.2.2 การให้บริการภายในร้าน
ข้อมูลการให้บริการของร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มีบริการเกมส์ On line และเกมส์ On lan ในสัดส่วนที่สูง ประมาณร้อยละ 70.1 และ 59.1 ตามลำดับ รองลงมา คือ รับ Print งาน ประมาณร้อยละ 51.6 สำหรับร้านที่ให้บริการรับพิมพ์งาน/ทำนามบัตร และรับ Scan ภาพ มีประมาณร้อยละ 35.2 และ 30.9 ตามลำดับ
2.2.3 การอนุญาตให้สูบบุหรี่ / สิ่งเสพติด และ การดื่มสุรา / ของมึนเมาภายในร้าน
เมื่อพิจารณาการอนุญาตให้ลูกค้าสูบบุหรี่หรือสิ่งเสพ ติดและดื่มสุราหรือของมึนเมาภายในร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พบว่า ร้านอนุญาตให้สูบบุหรี่หรือสิ่งเสพติด ประมาณร้อยละ 4.4 และอนุญาตให้ดื่มสุราหรือของมึนเมา ประมาณร้อยละ 2.9 โดยมีป้ายห้ามการสูบบุหรี่หรือสิ่งเสพติด และป้ายห้ามดื่มสุราของมึนเมาที่ชัดเจน กล่าวคือ มีป้ายห้ามการสูบบุหรี่ฯ ประมาณร้อยละ 52.4 และมีป้ายห้ามดื่มสุราฯ ประมาณร้อยละ 32.1
2.2.4 ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และการจดทะเบียนพาณิชย์
ร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.9) มีการจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับการมีลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นพบว่า มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ประมาณร้อยละ 60.7 ร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศส่วนมากใช้ระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial-up modem ในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 75.4 รองลงมา เป็นการเชื่อมต่อแบบ Adsl ร้อยละ 14.0 สำหรับร้านที่มีระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Leasline นั้น มีเพียงร้อยละ 5.3 เมื่อพิจารณาการจดทะเบียนพาณิชย์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ของร้านอินเทอร์เน็ตในแต่ละภาค พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตในทุกภาค มีการจดทะเบียนพาณิชย์มากกว่า ร้อยละ 59.0 เมื่อพิจารณาการมีลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ของร้านอินเทอร์เน็ตในแต่ละภาค พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตในทุกภาคมีการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ในสัดส่วนที่สูงมากกว่าร้อยละ 54.0
ในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตของร้านอินเทอร์เน็ตนั้น พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตในกรุงเทพมหานคร มีการเชื่อมต่อแบบ Adsl ในสัดส่วนสูงที่สุด ประมาณร้อยละ 57.7 สำหรับร้านอินเทอร์เน็ตในภาคอื่นๆ ส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 63.0) ใช้ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial-up modem
2.3 การรู้จักโครงการ Good Net
พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ รู้จัก โครงการ Good Net ประมาณร้อยละ 44.9 โดยรู้จักโครงการ Good Net จากอินเทอร์เน็ต มากกว่าร้อยละ 50.0 รองลงมา คือรู้จักโครงการฯ จากโทรทัศน์ประมาณร้อยละ 24.4
ร้านอินเทอร์เน็ตในแต่ละภาคที่รู้จักโครงการ Good Net มีมากกว่าร้อยละ 33.0 โดยรู้จักโครงการ Good Net จากอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 50.0)
2.4 ปัญหาและอุปสรรค
จากการสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของร้าน อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
1. มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนสูง เช่น ค่าลิข สิทธิ์ซอฟต์แวร์ เกมส์ ค่าบริการ ISP เป็นต้น
2. ปัญหาระบบการเชื่อมต่อมีความเร็วช้า ต่อยาก และเครือข่ายผู้ให้บริการระบบไม่ครอบคลุมพื้นที่ในภูมิภาค
3.ไม่ทราบรายละเอียดและขั้นตอนเกี่ยวกับการจดทะเบียนต่างๆ การขออนุญาตเปิดกิจการค่อนข้างยุ่งยาก และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านเทคโนโลยียังน้อยเกินไป
4. ปัญหาการแข่งขันด้านอัตราค่าบริการของร้าน อินเทอร์เน็ต
5. ร้านขาดคุณสมบัติเข้าโครงการ Good Net เนื่องจากมีการกำหนดคุณสมบัติมากเกินไป
6. ปัญหาอื่น ๆ เช่น ลูกค้าแอบติดตั้งซอฟต์แวร์อื่นในเครื่องฯ ถูกมองว่าร้านเป็นแหล่งมั่วสุมทำให้รายได้ลดลง ไฟฟ้าดับบ่อย เป็นต้น
2.5 ข้อเสนอแนะ
สำหรับข้อเสนอแนะของร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ มีดังนี้
1. ต้องการให้ปรับปรุงคู่สายโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต เพิ่มระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้มีหลายระบบ
2.เสนอให้มีการจัดโซนนิ่งร้านอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการให้บริการอินเทอร์เน็ตและเกมส์ออนไลน์ควรให้มีการบริการแยกจากกัน และการกำหนดเวลาเปิด-ปิดบริการ
3. ควรมีการจำกัดอายุผู้ใช้บริการโดยเฉพาะเยาวชน ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
4. รัฐควรส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
5. ต้องการให้มีโปรแกรมฟรีแวร์สำหรับร้านอินเทอร์เน็ต
6. ต้องการให้มีการจัดตั้งชมรมอินเทอร์เน็ตในชุมชน
7. ควรมีมาตรการป้องกันลูกค้าหรือผู้ที่ชอบลักลอบนำ ซอฟต์แวร์อื่นมาติดตั้งในเครื่องฯ ที่ทางร้านไม่ทราบ โดยอยากให้ มีกฎหมายคุ้มครอง
8. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เช่น จัดโครงการประกวดซอฟต์แวร์ กำหนดให้มีโปรแกรมสื่อการเรียนการสอนไว้บริการในร้าน จัด ให้มีการอบรมผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-