1. วัตถุประสงค์
เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย เกี่ยวกับการมีเงินออม เงินลงทุน การชำระหนี้คืน การฟื้นฟูอาชีพ ความเห็นต่อผลการดำเนินงานต่าง ๆ ของโครงการ และความสำเร็จของโครงการฯ เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลโครงการฯ ต่อไป
2. คุ้มรวม
การสำรวจครั้งนี้ คุ้มรวมของการสำรวจ คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ (ยกเว้น ในเขตเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และกรุงเทพมหานคร)
3. ระเบียบวิธีการสำรวจและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การสำรวจใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Three-Stage Sampling โดยมีประชาชนอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เป็นตัวอย่าง กระจายในทุกจังหวัด ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 9,000 คน และในการเก็บ รวบรวมข้อมูลได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสัมภาษณ์ ระหว่างวันที่ 16 - 26 เมษายน 2547
4. การเสนอผล
เสนอผลการสำรวจทั่วประเทศ และระดับภาคในรูปของร้อยละ
5. สรุปผลการสำรวจที่สำคัญ
5.1 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการฯ
5.1.1 การมีเงินออม และการชำระหนี้คืน ธ.ก.ส. ภาวะความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และรายได้
ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.2 ระบุว่ามีเงินออม และร้อยละ 34.8 ระบุว่าไม่มีเงินออม ทั้งนี้ผู้ที่มีเงินออม ระบุว่ามีเงินพอเพียงในการนำไปใช้ลงทุนในการประกอบอาชีพหรือปรับปรุง/พัฒนาฟื้นฟูอาชีพ ร้อยละ 31.0 ไม่พอเพียง ร้อยละ 33.9 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 0.3
สำหรับเรื่องการชำระหนี้คืน ธ.ก.ส. หลังจากสิ้นสุดโครงการฯ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.7 ระบุว่าสามารถชำระหนี้คืนได้ ร้อยละ 16.3 ระบุว่าไม่สามารถชำระหนี้คืนได้
หลังสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยนั้น ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยรวม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.5 เห็นว่าสภาพครัวเรือนสามารถฟื้นตัว มีภาวะความมั่นคงในการประกอบอาชีพมากขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ส่วนผู้ที่เห็นว่าเท่าเดิม ร้อยละ 30.8 และแย่ลง ร้อยละ 2.7
สำหรับเรื่องรายได้ของครัวเรือน พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ เห็นว่าครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น/ดีขึ้น ร้อยละ 61.7 เท่าเดิม ร้อยละ 34.5 และน้อยลง ร้อยละ 3.8
5.1.2 การฟื้นฟูอาชีพหลังการเข้าร่วมโครงการฯ
ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยรวมในทุกภาค ร้อยละ 51.6 ระบุว่าไม่ได้เข้าร่วมการฟื้นฟูอาชีพหลังการเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 48.4 ระบุว่าได้เข้าร่วมการฟื้นฟูอาชีพ โดยผู้ที่เข้าร่วมระบุว่าช่วยให้ครัวเรือนมีการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพได้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.8 ส่วนผู้ที่ระบุว่าช่วยได้มาก ร้อยละ 19.9 น้อย ร้อยละ 17.8 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 0.5
5.2 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ
5.2.1 ผลกระทบของโครงการฯ ต่อเกษตรกรในเรื่องต่าง ๆ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยว่ามีผลกระทบหรือสามารถช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องต่าง ๆ ได้มากน้อยเพียงใด หลังโครงการสิ้นสุดลง
การบรรเทาภาระหนี้สินของเกษตรกร ทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่มีความเห็นไม่แตกต่างกัน โดยรวมแล้ว ระบุว่าได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 86.6 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 9.0
การช่วยเหลือเกษตรกรให้มีเวลาพักฟื้นและพัฒนา/ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ประชาชนผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ มีความเห็นไปแนวทางเดียวกัน คือ ได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 76.0 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 16.3 การฟื้นตัวในการประกอบอาชีพ/ชีวิตความเป็นอยู่ พบว่า ประชาชนผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ ของทุกภาคมีความเห็นไม่แตกต่างกัน คือ ได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 82.7 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 12.
5.2.2 การควรขยายเวลาของโครงการฯ
สำหรับเรื่องการขยายเวลาของโครงการพักชำระหนี้และ ลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย พบว่า ประชาชนผู้เข้าร่วมและ ผู้ไม่เข้าร่วมโครงการฯ เห็นว่าควรขยายเวลาต่อไป ร้อยละ 95.3 และร้อยละ 83.3 ตามลำดับ
5.2.3 ความสำเร็จของโครงการฯ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการฯ พบว่า ประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่เห็นว่าการดำเนินงานของโครงการฯ นี้ ประสบผลสำเร็จในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 86.8 ประสบผลสำเร็จน้อยและไม่ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 4.3 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ
5.2.4 ข้อเสนอแนะ
สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการฯ มีผู้ที่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 38.9 โดยได้ให้ความคิดเห็นที่สำคัญดังนี้ ควรขยายเวลาการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ ร้อยละ 29.2 หาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 10.1 สร้างงานให้ผู้ว่างงานและส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 4.1 จัดหาแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ร้อยละ 2.9 ประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 2.1 เป็นต้น
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย เกี่ยวกับการมีเงินออม เงินลงทุน การชำระหนี้คืน การฟื้นฟูอาชีพ ความเห็นต่อผลการดำเนินงานต่าง ๆ ของโครงการ และความสำเร็จของโครงการฯ เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลโครงการฯ ต่อไป
2. คุ้มรวม
การสำรวจครั้งนี้ คุ้มรวมของการสำรวจ คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ (ยกเว้น ในเขตเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และกรุงเทพมหานคร)
3. ระเบียบวิธีการสำรวจและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การสำรวจใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Three-Stage Sampling โดยมีประชาชนอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เป็นตัวอย่าง กระจายในทุกจังหวัด ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 9,000 คน และในการเก็บ รวบรวมข้อมูลได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสัมภาษณ์ ระหว่างวันที่ 16 - 26 เมษายน 2547
4. การเสนอผล
เสนอผลการสำรวจทั่วประเทศ และระดับภาคในรูปของร้อยละ
5. สรุปผลการสำรวจที่สำคัญ
5.1 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการฯ
5.1.1 การมีเงินออม และการชำระหนี้คืน ธ.ก.ส. ภาวะความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และรายได้
ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.2 ระบุว่ามีเงินออม และร้อยละ 34.8 ระบุว่าไม่มีเงินออม ทั้งนี้ผู้ที่มีเงินออม ระบุว่ามีเงินพอเพียงในการนำไปใช้ลงทุนในการประกอบอาชีพหรือปรับปรุง/พัฒนาฟื้นฟูอาชีพ ร้อยละ 31.0 ไม่พอเพียง ร้อยละ 33.9 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 0.3
สำหรับเรื่องการชำระหนี้คืน ธ.ก.ส. หลังจากสิ้นสุดโครงการฯ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.7 ระบุว่าสามารถชำระหนี้คืนได้ ร้อยละ 16.3 ระบุว่าไม่สามารถชำระหนี้คืนได้
หลังสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยนั้น ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยรวม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.5 เห็นว่าสภาพครัวเรือนสามารถฟื้นตัว มีภาวะความมั่นคงในการประกอบอาชีพมากขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ส่วนผู้ที่เห็นว่าเท่าเดิม ร้อยละ 30.8 และแย่ลง ร้อยละ 2.7
สำหรับเรื่องรายได้ของครัวเรือน พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ เห็นว่าครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น/ดีขึ้น ร้อยละ 61.7 เท่าเดิม ร้อยละ 34.5 และน้อยลง ร้อยละ 3.8
5.1.2 การฟื้นฟูอาชีพหลังการเข้าร่วมโครงการฯ
ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยรวมในทุกภาค ร้อยละ 51.6 ระบุว่าไม่ได้เข้าร่วมการฟื้นฟูอาชีพหลังการเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 48.4 ระบุว่าได้เข้าร่วมการฟื้นฟูอาชีพ โดยผู้ที่เข้าร่วมระบุว่าช่วยให้ครัวเรือนมีการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพได้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.8 ส่วนผู้ที่ระบุว่าช่วยได้มาก ร้อยละ 19.9 น้อย ร้อยละ 17.8 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 0.5
5.2 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ
5.2.1 ผลกระทบของโครงการฯ ต่อเกษตรกรในเรื่องต่าง ๆ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยว่ามีผลกระทบหรือสามารถช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องต่าง ๆ ได้มากน้อยเพียงใด หลังโครงการสิ้นสุดลง
การบรรเทาภาระหนี้สินของเกษตรกร ทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่มีความเห็นไม่แตกต่างกัน โดยรวมแล้ว ระบุว่าได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 86.6 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 9.0
การช่วยเหลือเกษตรกรให้มีเวลาพักฟื้นและพัฒนา/ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ประชาชนผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ มีความเห็นไปแนวทางเดียวกัน คือ ได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 76.0 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 16.3 การฟื้นตัวในการประกอบอาชีพ/ชีวิตความเป็นอยู่ พบว่า ประชาชนผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ ของทุกภาคมีความเห็นไม่แตกต่างกัน คือ ได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 82.7 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 12.
5.2.2 การควรขยายเวลาของโครงการฯ
สำหรับเรื่องการขยายเวลาของโครงการพักชำระหนี้และ ลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย พบว่า ประชาชนผู้เข้าร่วมและ ผู้ไม่เข้าร่วมโครงการฯ เห็นว่าควรขยายเวลาต่อไป ร้อยละ 95.3 และร้อยละ 83.3 ตามลำดับ
5.2.3 ความสำเร็จของโครงการฯ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการฯ พบว่า ประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่เห็นว่าการดำเนินงานของโครงการฯ นี้ ประสบผลสำเร็จในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 86.8 ประสบผลสำเร็จน้อยและไม่ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 4.3 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ
5.2.4 ข้อเสนอแนะ
สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการฯ มีผู้ที่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 38.9 โดยได้ให้ความคิดเห็นที่สำคัญดังนี้ ควรขยายเวลาการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ ร้อยละ 29.2 หาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 10.1 สร้างงานให้ผู้ว่างงานและส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 4.1 จัดหาแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ร้อยละ 2.9 ประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 2.1 เป็นต้น
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-