สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างใหม่ และต่อเติมหรือดัดแปลง ในพื้นที่ที่อยู่ในเขตควบคุมอาคารตามพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของทุกจังหวัด ข้อมูลสถิติการก่อสร้างในปี 2546 ที่น่าสนใจสามารถสรุปได้ดังนี้
1. จำนวนผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างใหม่ต่อเติมหรือดัดแปลงทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 203,458 รายเป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่จำนวน 200,591 ราย และเป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการต่อเติมหรือดัดแปลงสิ่งก่อสร้าง จำนวน 2,867 ราย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างใหม่ และต่อเติมหรือดัดแปลง จำนวนมากที่สุดคือ 48,801 ราย (ร้อยละ 24.0) และ 951 ราย (ร้อยละ 33.2) ตามลำดับ ส่วนที่ภาคใต้มีจำนวนผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างใหม่ และต่อเติมหรือดัดแปลงน้อยที่สุด คือ 24,030 ราย (ร้อยละ 11.8) และ 195ราย (ร้อยละ 6.8) ตามลำดับ
2. สิ่งก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ทั่วประเทศมีจำนวน 248,464 หลัง คิดเป็นพื้นที่รวม 56.1 ล้านตารางเมตร ภาคกลางมีจำนวนอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง สูงกว่าภาคอื่น ๆ คือ 49,874 หลัง หรือคิดเป็นพื้นที่รวม 9.4 ล้านตารางเมตร ส่วนในภาคเหนือมีจำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างน้อยที่สุด คือ 30,638 หลัง คิดเป็นพื้นที่รวม 6.6 ล้านตารางเมตร
3. สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน ประเภท รั้ว/กำแพง ถนน สะพาน เขื่อน/คันดิน ทางระบายน้ำ ฯลฯ มีจำนวนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง 24,526 แห่ง คิดเป็นความยาวรวม 2.3 ล้านเมตร กรุงเทพมหานคร มีจำนวนสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างสูงสุดถึง 8,311 แห่ง คิดเป็นความยาวรวม 816,989 เมตร ส่วนภาคใต้มีจำนวนสิ่งก่อสร้าง และมีความยาวที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างน้อยที่สุด คือ 293 แห่ง และยาว 72,942 เมตร
4. สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนประเภทอื่น เช่น สระว่ายน้ำ ปั๊มน้ำมัน ท่าเรือ สนามกีฬา ลานจอดรถ ป้ายโฆษณา ฯลฯ มีการอนุมัติให้ก่อสร้างจำนวน 2,823 แห่ง คิดเป็นพื้นที่รวม 1.2 ล้านตารางเมตร โดยที่เขตปริมณฑล มีจำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้างประเภทดังกล่าวสูงที่สุดประมาณ 914 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ก่อสร้างรวม 279,592 ตารางเมตร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้างน้อยที่สุดประมาณ 235 แห่ง คิดเป็น พื้นที่ก่อสร้างรวม 117,587 ตารางเมตร
5. สิ่งก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือน อาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ส่วนใหญ่เป็นอาคารโรงเรือนเพื่ออยู่อาศัย โดยมีพื้นที่ 37.4 ล้านตารางเมตร หรือร้อยละ 66.8 ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนทั้งสิ้น ส่วนอาคารโรงเรือนที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ มีพื้นที่ 9.1 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16.3 เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีพื้นที่ 4.1 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7.3 พื้นที่ก่อสร้างที่เป็นโรงแรมและภัตตาคาร 861,106 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.5 และเป็นการก่อสร้างอื่น ๆ เช่น อาคารคอนโดมิเนียม อาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุขเพื่อการเกษตร เพื่อการขนส่ง เพื่อการบันเทิง และอื่น ๆ จำนวน 4.5 ล้านตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.16. สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น ส่วนใหญ่เป็นท่อ/ทางระบายน้ำซึ่งมีความยาวรวม 1,097,308 เมตร คิดเป็นร้อยละ 47.0 เป็นการก่อสร้างถนน 811,916 เมตร คิดเป็นร้อยละ 34.8 และเป็นประเภทรั้ว/กำแพง 346,490 เมตร หรือร้อยละ 14.9 สำหรับลานจอดรถได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างคิดเป็นพื้นที่ 659,603 ตารางเมตร หรือร้อยละ 55.3 ป้ายโฆษณาจำนวน 200,922 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 16.9
อนึ่ง ข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างนี้ เป็นข้อมูลที่ได้จากรายงานการอนุมัติให้ก่อสร้าง ซึ่งในขณะที่รายงานอาจยังไม่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างจริงก็ได้ สำหรับรายละเอียดของข้อมูลเป็นรายเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นรายจังหวัด ประเภทและลักษณะของการก่อสร้าง ชนิดของอาคาร รวมทั้งข้อมูลที่รวบรวมได้จากองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ไม่อยู่ในเขตควบคุมอาคารตามพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 สามารถศึกษาได้จาก รายงานการประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ. 2546
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
1. จำนวนผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างใหม่ต่อเติมหรือดัดแปลงทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 203,458 รายเป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่จำนวน 200,591 ราย และเป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการต่อเติมหรือดัดแปลงสิ่งก่อสร้าง จำนวน 2,867 ราย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างใหม่ และต่อเติมหรือดัดแปลง จำนวนมากที่สุดคือ 48,801 ราย (ร้อยละ 24.0) และ 951 ราย (ร้อยละ 33.2) ตามลำดับ ส่วนที่ภาคใต้มีจำนวนผู้ได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างใหม่ และต่อเติมหรือดัดแปลงน้อยที่สุด คือ 24,030 ราย (ร้อยละ 11.8) และ 195ราย (ร้อยละ 6.8) ตามลำดับ
2. สิ่งก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ทั่วประเทศมีจำนวน 248,464 หลัง คิดเป็นพื้นที่รวม 56.1 ล้านตารางเมตร ภาคกลางมีจำนวนอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง สูงกว่าภาคอื่น ๆ คือ 49,874 หลัง หรือคิดเป็นพื้นที่รวม 9.4 ล้านตารางเมตร ส่วนในภาคเหนือมีจำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างน้อยที่สุด คือ 30,638 หลัง คิดเป็นพื้นที่รวม 6.6 ล้านตารางเมตร
3. สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน ประเภท รั้ว/กำแพง ถนน สะพาน เขื่อน/คันดิน ทางระบายน้ำ ฯลฯ มีจำนวนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง 24,526 แห่ง คิดเป็นความยาวรวม 2.3 ล้านเมตร กรุงเทพมหานคร มีจำนวนสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างสูงสุดถึง 8,311 แห่ง คิดเป็นความยาวรวม 816,989 เมตร ส่วนภาคใต้มีจำนวนสิ่งก่อสร้าง และมีความยาวที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างน้อยที่สุด คือ 293 แห่ง และยาว 72,942 เมตร
4. สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนประเภทอื่น เช่น สระว่ายน้ำ ปั๊มน้ำมัน ท่าเรือ สนามกีฬา ลานจอดรถ ป้ายโฆษณา ฯลฯ มีการอนุมัติให้ก่อสร้างจำนวน 2,823 แห่ง คิดเป็นพื้นที่รวม 1.2 ล้านตารางเมตร โดยที่เขตปริมณฑล มีจำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้างประเภทดังกล่าวสูงที่สุดประมาณ 914 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ก่อสร้างรวม 279,592 ตารางเมตร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้างน้อยที่สุดประมาณ 235 แห่ง คิดเป็น พื้นที่ก่อสร้างรวม 117,587 ตารางเมตร
5. สิ่งก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือน อาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ส่วนใหญ่เป็นอาคารโรงเรือนเพื่ออยู่อาศัย โดยมีพื้นที่ 37.4 ล้านตารางเมตร หรือร้อยละ 66.8 ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนทั้งสิ้น ส่วนอาคารโรงเรือนที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ มีพื้นที่ 9.1 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16.3 เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีพื้นที่ 4.1 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7.3 พื้นที่ก่อสร้างที่เป็นโรงแรมและภัตตาคาร 861,106 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.5 และเป็นการก่อสร้างอื่น ๆ เช่น อาคารคอนโดมิเนียม อาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุขเพื่อการเกษตร เพื่อการขนส่ง เพื่อการบันเทิง และอื่น ๆ จำนวน 4.5 ล้านตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.16. สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น ส่วนใหญ่เป็นท่อ/ทางระบายน้ำซึ่งมีความยาวรวม 1,097,308 เมตร คิดเป็นร้อยละ 47.0 เป็นการก่อสร้างถนน 811,916 เมตร คิดเป็นร้อยละ 34.8 และเป็นประเภทรั้ว/กำแพง 346,490 เมตร หรือร้อยละ 14.9 สำหรับลานจอดรถได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างคิดเป็นพื้นที่ 659,603 ตารางเมตร หรือร้อยละ 55.3 ป้ายโฆษณาจำนวน 200,922 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 16.9
อนึ่ง ข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างนี้ เป็นข้อมูลที่ได้จากรายงานการอนุมัติให้ก่อสร้าง ซึ่งในขณะที่รายงานอาจยังไม่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างจริงก็ได้ สำหรับรายละเอียดของข้อมูลเป็นรายเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นรายจังหวัด ประเภทและลักษณะของการก่อสร้าง ชนิดของอาคาร รวมทั้งข้อมูลที่รวบรวมได้จากองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ไม่อยู่ในเขตควบคุมอาคารตามพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 สามารถศึกษาได้จาก รายงานการประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ. 2546
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-