กรุงเทพ--23 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ แถลงการณ์ร่วมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเบลเยียม ในโอกาสการหารือทวิภาคี นอกรอบการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 นครนิวยอร์ก วันที่ 21 กันยายน 2547
1. ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย และ ฯพณฯ นายคาเรล เดอ กุช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม พบหารือทวิภาคี นอกรอบการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 ที่นครนิวยอร์ก ในวันที่ 21 กันยายน 2547
2. ในระหว่างการหารือ ทั้งสองฝ่ายย้ำถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นมิตรระหว่างกัน ที่ ยาวนาน 135 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปี 2547 เป็นวาระครบ 100 ปีของการเปิดสถานเอกอัครราชทูต เบลเยียมในประเทศไทย การหารือครั้งนี้ช่วยเพิ่มพูนปฏิสัมพันธ์ที่มีพลวัต และสร้างเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและเบลเยียมในอนาคต ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทยและเบลเยียม และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสดำเนินการให้แล้วเสร็จ ในอนาคตอันใกล้
ประเด็นทวิภาคี
3. เพื่อเพิ่มพูนการติดต่อที่ใกล้ชิดและความเข้าใจระหว่างกันในทุกระดับ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมการติดต่อสัมพันธ์ระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล โดย
- การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือรัฐมนตรีอื่นๆ อย่างน้อยปีละครั้ง หากไม่มีการเยือน รัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการทุกขั้นตอนที่เป็นไปได้เพื่อที่จะพบหารือกันนอกรอบการประชุมระหว่างประเทศหรือการประชุมระดับพหุภาคี
- การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ
- การจัดการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูง เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทวิภาคี รวมทั้งประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
- การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเจ้าหน้าที่ ในระดับปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือที่ใกล้ชิด
4. ทั้งสองฝ่ายยืนยันพันธกรณีในการส่งเสริมการค้าสองทาง และการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ และเพิ่มพูนการติดต่อสัมพันธ์ทางธุรกิจ ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร ความตกลงระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเบลเยียม ว่าด้วยการส่งเสริมและ คุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทนระหว่างไทยกับสหภาพเบลโก-ลักเซมเบิร์ก เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547
5. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในสาขาวัฒนธรรม การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อวกาศ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีในระยะยาว และส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเป็นไปได้และวิธีการที่จะดำเนินความร่วมมือดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย — เบลเยียม
6. ทั้งสองฝ่ายรับทราบด้วยความพอใจต่อระดับของการแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลทางบวกต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนต่อประชาชน ทั้งสองฝ่ายแสดงความปรารถนาว่าจะสามารถจัดให้มีเที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศ เพื่อเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยน ดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมให้สถาบันที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวและการฝึกอบรม ด้านการท่องเที่ยวติดต่อสัมพันธ์กันมากขึ้น เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของความร่วมมือนี้รวมทั้งในระดับ ภูมิภาคด้วย
7. ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือทางการศาลและการตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายพิจารณาแล้วว่าเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น อาทิ การต่อต้าน การก่อการร้าย การลักลอบค้ามนุษย์ การลักลอบค้ายาเสพติด การฟอกเงิน และการปลอมแปลงเอกสารสำแดงตน ความร่วมมือนี้สามารถที่จะส่งเสริมได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย อาทิ การจัดทำ ตราสารทางกฎหมายที่เหมาะสม การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศโดยผ่านช่องทางที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายของแต่ละฝ่าย การประชุมและการเยือนของผู้เชี่ยวชาญเมื่อมีความจำเป็น และการจัดการฝึกอบรมและ ข้อสนเทศเกี่ยวกับเรื่องที่มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ ทางการเบลเยียมพร้อมที่จะให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับความ ร่วมมือของตำรวจยุโรป (ยูโรโพล) กระบวนการของการตรวจลงตราเช็งเก้น และระบบการควบคุม ฯลฯ ในระดับเทคนิครัฐบาลทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงความร่วมมือที่ดียิ่งระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ ในกรุงเทพฯ โดยผ่านทางเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงาน เป็นอาทิ
8. การเจรจาเรื่องสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญาและสนธิสัญญาโอนตัวผู้กระทำผิด และความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา สำเร็จลงด้วยดี รัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายหวังว่าจะมีการลงนามในสนธิสัญญาทั้งสองฉบับในเวลาอันสมควร
9. ทั้งสองฝ่ายแสดงเจตนารมณ์ที่จะทบทวนและปรับปรุงสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงกันเมื่อปี 2480 อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยอยู่ระหว่างการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929)โดยคำนึงถึงการพัฒนาการในปัจจุบันของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงน่าที่จะทบทวนสนธิสัญญาดังกล่าวหลังจากพระราชบัญญัติที่แก้ไขแล้วมีผลบังคับใช้ประเด็นสหภาพยุโรปและภูมิภาคเอเชีย
10. ฝ่ายไทยตระหนักถึงการบูรณาการที่ดำเนินอยู่ทั้งในการกำหนดนโยบายต่างประเทศและภายในประเทศของยุโรป อีกทั้งตระหนักถึงบทบาทสำคัญของเบลเยียมในกิจการยุโรป ในฐานะที่เป็นสมาชิกก่อตั้งและผู้ส่งเสริมอย่างแข็งขันต่อการบูรณาการที่มากยิ่งขึ้น ในฐานะประเทศเจ้าภาพของสถาบันต่างๆ ของยุโรป และผู้ที่สนับสนุนความคิดริเริ่มเพื่อความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างสหภาพยุโรปกับสมาชิกอื่นๆ ของประชาคมระหว่างประเทศ ฝ่ายไทยยินดีต่อการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป โดยตระหนักถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโอกาสของยุโรปที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไทยและเบลเยียมให้คำมั่นว่าการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปเป็นโอกาสสำหรับการขยายการค้าและการลงทุน รวมทั้งด้านสังคม การติดต่อสัมพันธ์ระดับประชาชนต่อประชาชน และความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างสองภูมิภาค
11. ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อเอกสารของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องความเป็นหุ้นส่วนใหม่กับ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรับทราบว่า พลวัตด้านการเมือง เศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ ระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียนนั้น จำเป็นต้องกระตุ้นความเป็นหุ้นส่วนที่มีมาเป็นเวลานาน ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันกระชับความร่วมมือระหว่างภูมิภาคภายใต้กรอบความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป และการประชุมเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ทั้งสองเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันต่อไปเพื่อความสำเร็จของการประชุมเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 5 ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงฮานอย ในเดือนตุลาคม 2547 ภายใต้หัวข้อ “Further Revitalizing and Substantiating the Asia-Europe Partnership”
12. เบลเยียมแสดงความยินดีต่อไทยที่มีบทบาทแข็งขันในการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยที่มีโอกาสด้านการค้าและการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มมากขึ้น เบลเยียมตระหนักว่า ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และเป็นประตูสำคัญของภาคเอกชนเบลเยียมในการเข้ามามีบทบาทด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค
13. เบลเยียมยินดีต่อความพยายามของไทยในการส่งเสริมความไพบูลย์ โดยการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสำรวจความร่วมมือด้านเทคนิคและการเงินที่เป็นไปได้ ในบริบทของยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี — เจ้าพระยา — แม่โขง เพื่อช่วยลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกใหม่และสมาชิกดั้งเดิมของอาเซียน
14. เบลเยียมยินดีต่อความพยายามของไทย (อาทิ กระบวนการกรุงเทพฯ) เพื่อนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในพม่า และสนับสนุนไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านให้ดำเนินความพยายามในเรื่องนี้ต่อไป บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทวิภาคี และร่วมมือกับอาเซียน ประเทศ เอเชียอื่นๆ รวมทั้งสหประชาชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เบลเยียมเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือกับไทย อย่างเต็มที่ ทั้งในบริบทของความสัมพันธ์ทวิภาคี และในกรอบสหภาพยุโรป โดยคำนึงถึงท่าทีร่วมของ สหภาพยุโรปในเรื่องนี้
15. เบลเยียมยินดีต่อข้อตัดสินใจของอาเซียนที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ภายในปี 2563(ค.ศ.2020) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความไพบูลย์ในภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายแสดงความมุ่งมั่น ที่จะขยายความสัมพันธ์สหภาพยุโรปกับอาเซียน ฝ่ายเบลเยียมยินดีต่อความพยายามของอาเซียนที่จะกระชับความร่วมมือ โดยสนับสนุนการดำเนินการตามสนธิสัญญาว่าด้วย เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการที่อาเซียนเรียกร้องรัฐที่สะสมอาวุธนิวเคลียร์ ให้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด และร่วมมือกับอาเซียนในเรื่องนี้ ฝ่ายเบลเยียมยินดีต่อการเข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และปากีสถาน ทั้งสองฝ่ายยืนยันความสำคัญของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ในฐานะที่เป็นเวทีหารือที่สำคัญ เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งเป็นเวทีสำคัญในการสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงบทบาทของอาเซียน ในการเป็นแรงขับเคลื่อนการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก และยินดีต่อการมีส่วนร่วมสหภาพยุโรปในการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งสองฝ่ายสนับสนุน ความก้าวหน้าของกระบวนการการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน เอเชีย-แปซิฟิก ที่มุ่งไปสู่การทูตเชิงป้องกัน
16. ทั้งสองฝ่ายยืนยันพันธกรณีในการรักษาไว้ซึ่งแรงผลักดันไปข้างหน้าในความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป และย้ำความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อนำไปสู่ การหารืออาเซียน-สหภาพยุโรปในเชิงลึก ในฐานะเสาหลักสำคัญสำหรับการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายยินดีกับผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 14 ที่กรุงบรัสเซลส์ เมื่อเดือนมกราคม 2546 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธกรณีร่วมกันต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค การต่อสู้การก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติและการกระชับความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างสองภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายรับทราบว่า ข้อริเริ่มด้านการค้าระดับภูมิภาคระหว่าง สหภาพยุโรป — อาเซียน (TREATI) เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาการการค้าระหว่างภูมิภาคในอนาคต เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะพัฒนาวาระให้มีความสมดุลและครอบคลุมรอบด้านมากขึ้น เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายสนับสนุน Regional Indicative Programme (RIP) ปี 2548-2549 ซึ่งมุ่งที่จะเพิ่มพูนและกระชับ ความร่วมมืออาเซียนและสหภาพยุโรปในสาขาที่เห็นพ้องต้องกัน
17. เบลเยียมชื่นชมบทบาทนำของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือเอเชีย ตามความร่วมมือ เอเชีย และยินดีต่อความคืบหน้าภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย ในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียโดยมีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชีย รัฐบาลของทั้งสองประเทศสนับสนุนความพยายามที่จะสำรวจความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างตลาดพันธบัตรยูโรและตลาดพันธบัตรเอเชียในบริบทของ อาเซม
ประเด็นพหุภาคีและประเด็นระดับโลก
18. ทั้งสองฝ่ายยืนยันในพันธกรณีต่อหลักพหุภาคีนิยมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันให้ใกล้ชิดมากขึ้นในสหประชาชาติเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ข้ามชาติ การก่อการร้ายสากล การแพร่กระจายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ทุ่นระเบิด และความท้าทายอื่นๆ ต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสำรวจความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับสหประชาชาติ หน่วยงานด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอื่นๆ ภายใต้หลักการความรับผิดชอบร่วมกัน นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อความพยายามที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในการปฏิรูปและปรับปรุงประสิทธิภาพของสหประชาชาติ
19. ทั้งสองประเทศชื่นชมซึ่งกันและกันต่อการมีส่วนร่วมอย่างสำคัญต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ไทยชื่นชมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของเบลเยียมต่อการรักษาสันติภาพ ภายใต้กรอบสหประชาชาติ รวมทั้งปฏิบัติการระหว่างประเทศอื่นๆ ภายใต้อาณัติของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และบทบาทนำของเบลเยียมในการส่งเสริมข้อริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และประเด็นด้านมนุษยธรรมอื่นๆ เบลเยียมยกย่อง ความสำเร็จของไทยในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทของไทยในการเป็นประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 และพันธกรณีที่แน่วแน่ในการดำเนินการเพื่อนำไปสู่ความเป็นสากล และการดำเนินการตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล นอกจากนั้น เบลเยียมชื่นชมการมีส่วนร่วมของไทยในการรักษาสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในติมอร์-เลสเต และเซียร์ราลีโอน
20. ทั้งสองฝ่ายเน้นถึงความจำเป็นที่สหประชาชาติจะมีบทบาทหลักในการฟื้นฟูบูรณะและการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองในอิรัก และยินดีต่อการถ่ายโอนอำนาจจากคณะผู้บริหารชั่วคราวของกองกำลังพันธมิตรให้แก่รัฐบาลเฉพาะกาลของอิรัก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547
21. ทั้งสองฝ่ายเน้นถึงความสำคัญของการค้าเสรีและเป็นธรรมในทุกระดับ รวมทั้งระบบการค้าพหุภาคี และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยืนยันพันธกรณีเพื่อให้การเจรจาการค้าพหุภาคี รอบโดฮาสิ้นสุดลงอย่างประสบความสำเร็จและในเวลาที่เหมาะสม
22. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสำรวจในการมีความร่วมมือลักษณะไตรภาคี ตามความเหมาะสม เพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและมนุษยธรรมแก่ประเทศที่สาม ตามลำดับ ความสำคัญที่กำหนดโดยทั้งสองประเทศในเรื่องนี้
23. ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย เชิญ ฯพณฯ นายคาเรล เดอ กุช เยือนประเทศไทย และ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศเบลเยียม เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยเยือนเบลเยียม ในวันที่ทั้งสองฝ่ายสะดวก
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย คาเรล เดอ กุช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แห่งราชอาณาจักรไทย แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ แถลงการณ์ร่วมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเบลเยียม ในโอกาสการหารือทวิภาคี นอกรอบการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 นครนิวยอร์ก วันที่ 21 กันยายน 2547
1. ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย และ ฯพณฯ นายคาเรล เดอ กุช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม พบหารือทวิภาคี นอกรอบการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 ที่นครนิวยอร์ก ในวันที่ 21 กันยายน 2547
2. ในระหว่างการหารือ ทั้งสองฝ่ายย้ำถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นมิตรระหว่างกัน ที่ ยาวนาน 135 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปี 2547 เป็นวาระครบ 100 ปีของการเปิดสถานเอกอัครราชทูต เบลเยียมในประเทศไทย การหารือครั้งนี้ช่วยเพิ่มพูนปฏิสัมพันธ์ที่มีพลวัต และสร้างเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและเบลเยียมในอนาคต ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทยและเบลเยียม และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสดำเนินการให้แล้วเสร็จ ในอนาคตอันใกล้
ประเด็นทวิภาคี
3. เพื่อเพิ่มพูนการติดต่อที่ใกล้ชิดและความเข้าใจระหว่างกันในทุกระดับ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมการติดต่อสัมพันธ์ระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล โดย
- การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือรัฐมนตรีอื่นๆ อย่างน้อยปีละครั้ง หากไม่มีการเยือน รัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการทุกขั้นตอนที่เป็นไปได้เพื่อที่จะพบหารือกันนอกรอบการประชุมระหว่างประเทศหรือการประชุมระดับพหุภาคี
- การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ
- การจัดการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูง เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทวิภาคี รวมทั้งประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
- การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเจ้าหน้าที่ ในระดับปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือที่ใกล้ชิด
4. ทั้งสองฝ่ายยืนยันพันธกรณีในการส่งเสริมการค้าสองทาง และการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ และเพิ่มพูนการติดต่อสัมพันธ์ทางธุรกิจ ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร ความตกลงระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเบลเยียม ว่าด้วยการส่งเสริมและ คุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทนระหว่างไทยกับสหภาพเบลโก-ลักเซมเบิร์ก เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547
5. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในสาขาวัฒนธรรม การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อวกาศ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีในระยะยาว และส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเป็นไปได้และวิธีการที่จะดำเนินความร่วมมือดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย — เบลเยียม
6. ทั้งสองฝ่ายรับทราบด้วยความพอใจต่อระดับของการแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลทางบวกต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนต่อประชาชน ทั้งสองฝ่ายแสดงความปรารถนาว่าจะสามารถจัดให้มีเที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศ เพื่อเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยน ดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมให้สถาบันที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวและการฝึกอบรม ด้านการท่องเที่ยวติดต่อสัมพันธ์กันมากขึ้น เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของความร่วมมือนี้รวมทั้งในระดับ ภูมิภาคด้วย
7. ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือทางการศาลและการตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายพิจารณาแล้วว่าเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น อาทิ การต่อต้าน การก่อการร้าย การลักลอบค้ามนุษย์ การลักลอบค้ายาเสพติด การฟอกเงิน และการปลอมแปลงเอกสารสำแดงตน ความร่วมมือนี้สามารถที่จะส่งเสริมได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย อาทิ การจัดทำ ตราสารทางกฎหมายที่เหมาะสม การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศโดยผ่านช่องทางที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายของแต่ละฝ่าย การประชุมและการเยือนของผู้เชี่ยวชาญเมื่อมีความจำเป็น และการจัดการฝึกอบรมและ ข้อสนเทศเกี่ยวกับเรื่องที่มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ ทางการเบลเยียมพร้อมที่จะให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับความ ร่วมมือของตำรวจยุโรป (ยูโรโพล) กระบวนการของการตรวจลงตราเช็งเก้น และระบบการควบคุม ฯลฯ ในระดับเทคนิครัฐบาลทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงความร่วมมือที่ดียิ่งระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ ในกรุงเทพฯ โดยผ่านทางเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงาน เป็นอาทิ
8. การเจรจาเรื่องสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญาและสนธิสัญญาโอนตัวผู้กระทำผิด และความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา สำเร็จลงด้วยดี รัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายหวังว่าจะมีการลงนามในสนธิสัญญาทั้งสองฉบับในเวลาอันสมควร
9. ทั้งสองฝ่ายแสดงเจตนารมณ์ที่จะทบทวนและปรับปรุงสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงกันเมื่อปี 2480 อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยอยู่ระหว่างการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929)โดยคำนึงถึงการพัฒนาการในปัจจุบันของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงน่าที่จะทบทวนสนธิสัญญาดังกล่าวหลังจากพระราชบัญญัติที่แก้ไขแล้วมีผลบังคับใช้ประเด็นสหภาพยุโรปและภูมิภาคเอเชีย
10. ฝ่ายไทยตระหนักถึงการบูรณาการที่ดำเนินอยู่ทั้งในการกำหนดนโยบายต่างประเทศและภายในประเทศของยุโรป อีกทั้งตระหนักถึงบทบาทสำคัญของเบลเยียมในกิจการยุโรป ในฐานะที่เป็นสมาชิกก่อตั้งและผู้ส่งเสริมอย่างแข็งขันต่อการบูรณาการที่มากยิ่งขึ้น ในฐานะประเทศเจ้าภาพของสถาบันต่างๆ ของยุโรป และผู้ที่สนับสนุนความคิดริเริ่มเพื่อความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างสหภาพยุโรปกับสมาชิกอื่นๆ ของประชาคมระหว่างประเทศ ฝ่ายไทยยินดีต่อการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป โดยตระหนักถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโอกาสของยุโรปที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไทยและเบลเยียมให้คำมั่นว่าการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปเป็นโอกาสสำหรับการขยายการค้าและการลงทุน รวมทั้งด้านสังคม การติดต่อสัมพันธ์ระดับประชาชนต่อประชาชน และความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างสองภูมิภาค
11. ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อเอกสารของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องความเป็นหุ้นส่วนใหม่กับ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรับทราบว่า พลวัตด้านการเมือง เศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ ระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียนนั้น จำเป็นต้องกระตุ้นความเป็นหุ้นส่วนที่มีมาเป็นเวลานาน ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันกระชับความร่วมมือระหว่างภูมิภาคภายใต้กรอบความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป และการประชุมเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ทั้งสองเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันต่อไปเพื่อความสำเร็จของการประชุมเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 5 ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงฮานอย ในเดือนตุลาคม 2547 ภายใต้หัวข้อ “Further Revitalizing and Substantiating the Asia-Europe Partnership”
12. เบลเยียมแสดงความยินดีต่อไทยที่มีบทบาทแข็งขันในการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยที่มีโอกาสด้านการค้าและการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มมากขึ้น เบลเยียมตระหนักว่า ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และเป็นประตูสำคัญของภาคเอกชนเบลเยียมในการเข้ามามีบทบาทด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค
13. เบลเยียมยินดีต่อความพยายามของไทยในการส่งเสริมความไพบูลย์ โดยการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสำรวจความร่วมมือด้านเทคนิคและการเงินที่เป็นไปได้ ในบริบทของยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี — เจ้าพระยา — แม่โขง เพื่อช่วยลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกใหม่และสมาชิกดั้งเดิมของอาเซียน
14. เบลเยียมยินดีต่อความพยายามของไทย (อาทิ กระบวนการกรุงเทพฯ) เพื่อนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในพม่า และสนับสนุนไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านให้ดำเนินความพยายามในเรื่องนี้ต่อไป บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทวิภาคี และร่วมมือกับอาเซียน ประเทศ เอเชียอื่นๆ รวมทั้งสหประชาชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เบลเยียมเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือกับไทย อย่างเต็มที่ ทั้งในบริบทของความสัมพันธ์ทวิภาคี และในกรอบสหภาพยุโรป โดยคำนึงถึงท่าทีร่วมของ สหภาพยุโรปในเรื่องนี้
15. เบลเยียมยินดีต่อข้อตัดสินใจของอาเซียนที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ภายในปี 2563(ค.ศ.2020) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความไพบูลย์ในภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายแสดงความมุ่งมั่น ที่จะขยายความสัมพันธ์สหภาพยุโรปกับอาเซียน ฝ่ายเบลเยียมยินดีต่อความพยายามของอาเซียนที่จะกระชับความร่วมมือ โดยสนับสนุนการดำเนินการตามสนธิสัญญาว่าด้วย เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการที่อาเซียนเรียกร้องรัฐที่สะสมอาวุธนิวเคลียร์ ให้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด และร่วมมือกับอาเซียนในเรื่องนี้ ฝ่ายเบลเยียมยินดีต่อการเข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และปากีสถาน ทั้งสองฝ่ายยืนยันความสำคัญของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ในฐานะที่เป็นเวทีหารือที่สำคัญ เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งเป็นเวทีสำคัญในการสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงบทบาทของอาเซียน ในการเป็นแรงขับเคลื่อนการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก และยินดีต่อการมีส่วนร่วมสหภาพยุโรปในการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งสองฝ่ายสนับสนุน ความก้าวหน้าของกระบวนการการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน เอเชีย-แปซิฟิก ที่มุ่งไปสู่การทูตเชิงป้องกัน
16. ทั้งสองฝ่ายยืนยันพันธกรณีในการรักษาไว้ซึ่งแรงผลักดันไปข้างหน้าในความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป และย้ำความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อนำไปสู่ การหารืออาเซียน-สหภาพยุโรปในเชิงลึก ในฐานะเสาหลักสำคัญสำหรับการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายยินดีกับผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 14 ที่กรุงบรัสเซลส์ เมื่อเดือนมกราคม 2546 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธกรณีร่วมกันต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค การต่อสู้การก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติและการกระชับความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างสองภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายรับทราบว่า ข้อริเริ่มด้านการค้าระดับภูมิภาคระหว่าง สหภาพยุโรป — อาเซียน (TREATI) เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาการการค้าระหว่างภูมิภาคในอนาคต เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะพัฒนาวาระให้มีความสมดุลและครอบคลุมรอบด้านมากขึ้น เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายสนับสนุน Regional Indicative Programme (RIP) ปี 2548-2549 ซึ่งมุ่งที่จะเพิ่มพูนและกระชับ ความร่วมมืออาเซียนและสหภาพยุโรปในสาขาที่เห็นพ้องต้องกัน
17. เบลเยียมชื่นชมบทบาทนำของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือเอเชีย ตามความร่วมมือ เอเชีย และยินดีต่อความคืบหน้าภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย ในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียโดยมีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชีย รัฐบาลของทั้งสองประเทศสนับสนุนความพยายามที่จะสำรวจความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างตลาดพันธบัตรยูโรและตลาดพันธบัตรเอเชียในบริบทของ อาเซม
ประเด็นพหุภาคีและประเด็นระดับโลก
18. ทั้งสองฝ่ายยืนยันในพันธกรณีต่อหลักพหุภาคีนิยมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันให้ใกล้ชิดมากขึ้นในสหประชาชาติเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ข้ามชาติ การก่อการร้ายสากล การแพร่กระจายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ทุ่นระเบิด และความท้าทายอื่นๆ ต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสำรวจความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับสหประชาชาติ หน่วยงานด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอื่นๆ ภายใต้หลักการความรับผิดชอบร่วมกัน นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อความพยายามที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในการปฏิรูปและปรับปรุงประสิทธิภาพของสหประชาชาติ
19. ทั้งสองประเทศชื่นชมซึ่งกันและกันต่อการมีส่วนร่วมอย่างสำคัญต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ไทยชื่นชมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของเบลเยียมต่อการรักษาสันติภาพ ภายใต้กรอบสหประชาชาติ รวมทั้งปฏิบัติการระหว่างประเทศอื่นๆ ภายใต้อาณัติของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และบทบาทนำของเบลเยียมในการส่งเสริมข้อริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และประเด็นด้านมนุษยธรรมอื่นๆ เบลเยียมยกย่อง ความสำเร็จของไทยในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทของไทยในการเป็นประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 และพันธกรณีที่แน่วแน่ในการดำเนินการเพื่อนำไปสู่ความเป็นสากล และการดำเนินการตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล นอกจากนั้น เบลเยียมชื่นชมการมีส่วนร่วมของไทยในการรักษาสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในติมอร์-เลสเต และเซียร์ราลีโอน
20. ทั้งสองฝ่ายเน้นถึงความจำเป็นที่สหประชาชาติจะมีบทบาทหลักในการฟื้นฟูบูรณะและการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองในอิรัก และยินดีต่อการถ่ายโอนอำนาจจากคณะผู้บริหารชั่วคราวของกองกำลังพันธมิตรให้แก่รัฐบาลเฉพาะกาลของอิรัก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547
21. ทั้งสองฝ่ายเน้นถึงความสำคัญของการค้าเสรีและเป็นธรรมในทุกระดับ รวมทั้งระบบการค้าพหุภาคี และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยืนยันพันธกรณีเพื่อให้การเจรจาการค้าพหุภาคี รอบโดฮาสิ้นสุดลงอย่างประสบความสำเร็จและในเวลาที่เหมาะสม
22. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสำรวจในการมีความร่วมมือลักษณะไตรภาคี ตามความเหมาะสม เพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและมนุษยธรรมแก่ประเทศที่สาม ตามลำดับ ความสำคัญที่กำหนดโดยทั้งสองประเทศในเรื่องนี้
23. ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย เชิญ ฯพณฯ นายคาเรล เดอ กุช เยือนประเทศไทย และ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศเบลเยียม เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยเยือนเบลเยียม ในวันที่ทั้งสองฝ่ายสะดวก
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย คาเรล เดอ กุช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แห่งราชอาณาจักรไทย แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-