สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำบทสรุปสถานการณ์การสูบบุหรี่ เนื่องในวัดงดสูบบุหรี่โลก (31 พฤษภาคม) ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่สำหรับในปีนี้ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์ คือ บุหรี่ : ยิ่งสูบ ยิ่งจน (Tobacco and Poverty) บทความนี้ได้นำเสนอให้เห็นแนวโน้มสถานการณ์การสูบบุหรี่ของประชากรไทย ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. แนวโน้มของประชากรที่สูบบุหรี่
ผลการสำรวจเกี่ยวกับการสูบบุหร่ของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2519 ถึงปี 2544 แสดงให้เห็นว่า อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง ในปี 2519 มีผู้สูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 30.1 และได้ลดลงเหลือร้อยละ 20.6 ในปี 2544 โดยอัตราการสูบบุหรี่ลดลงทั้งชายและหญิง
2. ลักษณะของผู้สูบบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่
การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร พ.ศ. 2544 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่มีจำนวน 12.0 ล้านคนหรือร้อยละ 25.5 โดยเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน 10.6 ล้านคนหรือร้อยละ 22.5 และเป็นผู้ที่สูบบุหรี่นานๆ ครั้ง 1.4 ล้านคนหรือร้อยละ 3.0
เนื่องจากผู้ใช้ข้อมูลมีความสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรในเชิงลึก (Indepth Study) ดังนั้น ในปี 2546 สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ที่ตอบสัมภาษณ์ด้วยตนเอง ซึ่งผลจากการสำรวจ พบว่า ผู้ที่ตอบสัมภาษณ์ด้วยตนเองอายุ 15 ปีขึ้นไป เมื่อประมาณเป็นจำนวนประชากร 33.9 ล้านคนนั้น เป็นผู้สูบบุหรี่ประมาณ 7.7 ล้านคนหรือร้อยละ 22.8 สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน 6.4 ล้านคนหรือร้อยละ 18.8 และสูบบุหรี่นานๆ ครั้ง 1.3 ล้านคนหรือร้อยละ 4.0
กลุ่มวัยทำงานอายุ 25-59 ปี มีสัดส่วนของการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น คือ มีร้อยละ 21.3 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 18.2 และกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีร้อยละ 10.9
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษามีสัดส่วนของการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงที่สุด คือ มีประมาณร้อยละ 2.0 และผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา มีร้อยละ 19.7
สำหรับอาชีพ พบว่า ผู้ที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องจักรและงานด้านการประกอบ มีสัดส่วนของการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงกว่าอาชีพอื่น คือ มีร้อยละ 28.2 และผู้ประกอบอาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ (ขายของข้างถนน ขายสินค้าแบบเคาะประตูบ้าน คนงานรับจ้างทั่วไป ยาม เป็นต้น) มีร้อยละ 27.1
ผู้ที่ตอบสัมภาษณ์ด้วยตนเองอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่เป็นประจำ เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุเฉลี่ย 18.2 ปี ชายเริ่มสูบเร็วกว่าหญิง โดยชายเริ่มสูบเมื่ออายุ 18.0 ปี และหญิงเมื่ออายุ 21.0 ปี
จำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน เฉลี่ยสูบวันละ 10.8 มวน ชายสูบวันละ 10.9 มวน และหญิงสูบวันละ 8.6 มวน
การสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา พบว่า จำนวนและอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง แต่กลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงเนื่องจากมีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น กลุ่มที่อยู่ในวัยทำงานอายุ 25-59 ปี มีการสูบบุหรี่เป็นประจำมากกว่ากลุ่มอายุอื่น และหญิงเริ่มสูบบุหรี่เร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน
ด้วยมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทยได้ผลดีในระดับหนึ่ง การรณรงค์ให้ได้ผลดีนั้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญ คือ จะต้องปลูกฝังให้ทุกคนตระหนักว่า บุหรี่เป็นสิ่งที่ให้โทษต้องหาทางป้องกันไม่ให้ทดลองสูบบุหรี่ โดยเฉพาะเยาวชนสร้างค่านิยมให้รู้สึกว่า บุหรี่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เข้มงวด การบังคับใช้กฎหมาย เพิ่มเขตปลอดบุหรี่ให้มากขึ้น ส่งเสริมให้เยาวชนมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เป็นต้น
มาตรการต่างๆ เหล่านี้ น่าจะมีผลทำให้จำนวนผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้วลดลงและเป็นการป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้นด้วย
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-
1. แนวโน้มของประชากรที่สูบบุหรี่
ผลการสำรวจเกี่ยวกับการสูบบุหร่ของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2519 ถึงปี 2544 แสดงให้เห็นว่า อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง ในปี 2519 มีผู้สูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 30.1 และได้ลดลงเหลือร้อยละ 20.6 ในปี 2544 โดยอัตราการสูบบุหรี่ลดลงทั้งชายและหญิง
2. ลักษณะของผู้สูบบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่
การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร พ.ศ. 2544 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่มีจำนวน 12.0 ล้านคนหรือร้อยละ 25.5 โดยเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน 10.6 ล้านคนหรือร้อยละ 22.5 และเป็นผู้ที่สูบบุหรี่นานๆ ครั้ง 1.4 ล้านคนหรือร้อยละ 3.0
เนื่องจากผู้ใช้ข้อมูลมีความสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรในเชิงลึก (Indepth Study) ดังนั้น ในปี 2546 สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ที่ตอบสัมภาษณ์ด้วยตนเอง ซึ่งผลจากการสำรวจ พบว่า ผู้ที่ตอบสัมภาษณ์ด้วยตนเองอายุ 15 ปีขึ้นไป เมื่อประมาณเป็นจำนวนประชากร 33.9 ล้านคนนั้น เป็นผู้สูบบุหรี่ประมาณ 7.7 ล้านคนหรือร้อยละ 22.8 สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน 6.4 ล้านคนหรือร้อยละ 18.8 และสูบบุหรี่นานๆ ครั้ง 1.3 ล้านคนหรือร้อยละ 4.0
กลุ่มวัยทำงานอายุ 25-59 ปี มีสัดส่วนของการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น คือ มีร้อยละ 21.3 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 18.2 และกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีร้อยละ 10.9
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษามีสัดส่วนของการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงที่สุด คือ มีประมาณร้อยละ 2.0 และผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา มีร้อยละ 19.7
สำหรับอาชีพ พบว่า ผู้ที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องจักรและงานด้านการประกอบ มีสัดส่วนของการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงกว่าอาชีพอื่น คือ มีร้อยละ 28.2 และผู้ประกอบอาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ (ขายของข้างถนน ขายสินค้าแบบเคาะประตูบ้าน คนงานรับจ้างทั่วไป ยาม เป็นต้น) มีร้อยละ 27.1
ผู้ที่ตอบสัมภาษณ์ด้วยตนเองอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่เป็นประจำ เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุเฉลี่ย 18.2 ปี ชายเริ่มสูบเร็วกว่าหญิง โดยชายเริ่มสูบเมื่ออายุ 18.0 ปี และหญิงเมื่ออายุ 21.0 ปี
จำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน เฉลี่ยสูบวันละ 10.8 มวน ชายสูบวันละ 10.9 มวน และหญิงสูบวันละ 8.6 มวน
การสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา พบว่า จำนวนและอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง แต่กลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงเนื่องจากมีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น กลุ่มที่อยู่ในวัยทำงานอายุ 25-59 ปี มีการสูบบุหรี่เป็นประจำมากกว่ากลุ่มอายุอื่น และหญิงเริ่มสูบบุหรี่เร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน
ด้วยมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทยได้ผลดีในระดับหนึ่ง การรณรงค์ให้ได้ผลดีนั้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญ คือ จะต้องปลูกฝังให้ทุกคนตระหนักว่า บุหรี่เป็นสิ่งที่ให้โทษต้องหาทางป้องกันไม่ให้ทดลองสูบบุหรี่ โดยเฉพาะเยาวชนสร้างค่านิยมให้รู้สึกว่า บุหรี่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เข้มงวด การบังคับใช้กฎหมาย เพิ่มเขตปลอดบุหรี่ให้มากขึ้น ส่งเสริมให้เยาวชนมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เป็นต้น
มาตรการต่างๆ เหล่านี้ น่าจะมีผลทำให้จำนวนผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้วลดลงและเป็นการป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้นด้วย
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
-กภ-