กรุงเทพ--23 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 ที่โรงแรม Millennium Plaza นครนิวยอร์ก นาย Karel De Gutch รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสที่เดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 ทั้งสองฝ่ายร่วมหารือข้อราชการเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งการกระชับความร่วมมือระหว่างไทยและเบลเยียม โดยเบลเยียมเสนอการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย —เบลเยียม (Joint Plan of Action for Thai — Belgian Cooperation) เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในทุกสาขา อาทิ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อวกาศ พลังงาน สิ่งแวดล้อม ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสดำเนินการเจรจาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมฯ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
ภายหลังการหารือ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการเพิ่มพูนความร่วมมือ และเพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย — เบลเยียมบรรลุผลสำเร็จ โดยแถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทวิภาคี สนับสนุนการจัดตั้งกลไกการหารือทาง การเมือง เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างน้อยปีละครั้ง ในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือ รัฐมนตรี อื่นๆ หากไม่มีการเยือน รัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายจะพบหารือกันนอกรอบการประชุมระหว่างประเทศ
2. ความร่วมมือภูมิภาค ไทยและเบลเยียมต่างชื่นชมบทบาทที่โดดเด่นของกันและกันในการเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาค เบลเยียมเห็นว่า ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและเป็นประตูของภาคเอกชนเบลเยียมในภูมิภาค เบลเยียมยินดีเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เบลเยียมชื่นชมความพยายามของไทย (อาทิ กระบวนการกรุงเทพฯ) เพื่อนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในพม่า และสนับสนุนไทยในเรื่องนี้ รวมทั้งชื่นชมบทบาทนำของไทยในความร่วมมือเอเชีย (ACD)
3. ความสัมพันธ์พหุภาคี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นทั้งในกรอบสหประชาชาติ และการเจรจาการค้าพหุภาคีในกรอบองค์การการค้าโลก รวมทั้งเห็นพ้องที่จะศึกษาความเป็นไปได้ที่จะมีความร่วมมือไตรภาคี เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและมนุษยธรรมแก่ประเทศที่สาม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 ที่โรงแรม Millennium Plaza นครนิวยอร์ก นาย Karel De Gutch รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสที่เดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 ทั้งสองฝ่ายร่วมหารือข้อราชการเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งการกระชับความร่วมมือระหว่างไทยและเบลเยียม โดยเบลเยียมเสนอการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย —เบลเยียม (Joint Plan of Action for Thai — Belgian Cooperation) เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในทุกสาขา อาทิ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อวกาศ พลังงาน สิ่งแวดล้อม ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสดำเนินการเจรจาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมฯ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
ภายหลังการหารือ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการเพิ่มพูนความร่วมมือ และเพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย — เบลเยียมบรรลุผลสำเร็จ โดยแถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทวิภาคี สนับสนุนการจัดตั้งกลไกการหารือทาง การเมือง เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างน้อยปีละครั้ง ในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือ รัฐมนตรี อื่นๆ หากไม่มีการเยือน รัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายจะพบหารือกันนอกรอบการประชุมระหว่างประเทศ
2. ความร่วมมือภูมิภาค ไทยและเบลเยียมต่างชื่นชมบทบาทที่โดดเด่นของกันและกันในการเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาค เบลเยียมเห็นว่า ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและเป็นประตูของภาคเอกชนเบลเยียมในภูมิภาค เบลเยียมยินดีเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เบลเยียมชื่นชมความพยายามของไทย (อาทิ กระบวนการกรุงเทพฯ) เพื่อนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในพม่า และสนับสนุนไทยในเรื่องนี้ รวมทั้งชื่นชมบทบาทนำของไทยในความร่วมมือเอเชีย (ACD)
3. ความสัมพันธ์พหุภาคี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นทั้งในกรอบสหประชาชาติ และการเจรจาการค้าพหุภาคีในกรอบองค์การการค้าโลก รวมทั้งเห็นพ้องที่จะศึกษาความเป็นไปได้ที่จะมีความร่วมมือไตรภาคี เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและมนุษยธรรมแก่ประเทศที่สาม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-