กรุงเทพ--23 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวเปิดการสัมมนาของ นายเตช บุนนาค ประธานคณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา ในการสัมมนามัคคุเทศก์และนักเขียนไทย ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา วันที่ 20 กันยายน 2547
ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ
ท่านนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ท่านนายกสมาคมมัคคุเทศก์
ท่านอุปนายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
การทูตภาคประชาชน (Public Diplomacy) เป็นมิติหนึ่งของการทูตซึ่งมีความสำคัญยิ่ง โดยเป็นการนำกิจกรรมของภาคประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวัฒนธรรมมาเป็นฟันเฟือง ในกลไกดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในระดับประชาชนใน การต่างประเทศ
ในส่วนของไทยและกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดติดกัน แต่กลับมีความเหินห่าง ขาดความรู้จักและเข้าใจกันอย่างถ่องแท้ จนก่อให้เกิดความระแวงแคลงใจกระทั่งลุกลามไปถึง เหตุการณ์เผาสถานเอกอัครราชทูตไทย รวมทั้งบริษัทห้างร้านของคนไทยในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2546 แม้ว่ากรณีดังกล่าวอาจจะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากปัจจัยหลายประการ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงมูลเหตุสำคัญประการหนึ่ง นั่นคือการขาดความเข้าใจที่ดีต่อกันของประชาชนทั้งสองชาติ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะพยายามปรับปรุงและส่งเสริมความสัมพันธ์ภาคประชาชน เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาทำนองนั้นขึ้นอีก ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชนให้ดีขึ้น และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ตั้งคณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชาขึ้น เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ซึ่งได้มีการประชุมร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ที่กรุงพนมเปญและเสียมราฐ ระหว่างวันที่ 18-21 พฤษภาคม 2547 จนบรรลุความตกลงใน การจัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา (Thailand-Cambodia Joint Commission on Promotion of Cultural Cooperation) โดยมีภารกิจหลักในการส่งเสริมความร่วมมือ ด้านวัฒนธรรมด้วยโครงการต่าง ๆ ซึ่งเน้นประโยชน์แก่ประชาชนรวมทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องบนพื้นฐานของวัฒนธรรมที่มีอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อขจัดความระแวงแคลงใจ และมีบทบาทร่วมกันในการเสริมสร้างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นภูมิภาคแห่งมิตรภาพสันติสุข และความเจริญรุ่งเรืองตามปฏิญญาอาเซียนและปฏิญญาอัยวดี- แม่โขง-เจ้าพระยา ซึ่งไทยและกัมพูชาเป็นสมาชิกร่วมกัน
ในการประชุมร่วมกับฝ่ายกัมพูชาเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นควรให้จัดตั้งคณะทำงานด้านต่าง ๆ คือการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ การศึกษาและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และการจัดทำเอกสารคู่มือการท่องเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์ ซึ่งผมเห็นว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ของกันและกันรวมทั้งการเดินทางท่องเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถานด้วยความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้อง และการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายด้วยความรู้สึกชื่นชมยกย่องซึ่งกันและกันเป็น หนทางหนึ่งของการทำความรู้จักกันฉันมิตร
นับจากการประชุมร่วมด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา ได้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศทั้งสองหลายกิจกรรม ทั้งที่ได้ดำเนินการภายใต้คณะกรรมาธิการสมาคมฯ ดำเนินการโดยกระทรวงการต่างประเทศหรือสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ รวมทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ
1. โครงการเชิญผู้สื่อข่าวกัมพูชาเยือนไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่างวันที่ 9-15 มิถุนายน 2547 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-13 กันยายน 2547 จัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญกับกระทรวงการต่างประเทศ
2. การพบปะระหว่างสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคและสมาคมนักเขียนของไทยกับกัมพูชาระหว่างวันที่ 6-9 สิงหาคม 2547 จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
3. การประชุมร่วมระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทยกับสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งกัมพูชา ซึ่งเริ่มจัดตั้งแต่ปลายปี 2546 โดยจัดสลับกันในไทยและกัมพูชาทุกเดือนรวมแล้ว 11 ครั้ง
4. การจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ความงามของศิลปะเขมรอันมีอิทธิพลต่อศิลปะการแสดงไทยและการแสดงนาฏศิลป์โขนเขมร ระหว่างวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2547 จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงการต่างประเทศ
5. การเชิญนาฏศิลป์พื้นบ้านกัมพูชาเข้าร่วมมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติครั้งที่ 18 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 25-31 กรกฎาคม 2547 จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
6. โครงการ The Role of Media in Enhancing Bilateral Relationship : Exchange Program Between Thailand and Cambodian Journalists โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งกัมพูชา ระหว่างวันที่ 16-22 สิงหาคม 2547
7. โครงการเชิญเจ้าหน้าที่ด้านศิลปวัฒนธรรมและช่างฝีมือกัมพูชามาศึกษาดูงานในไทยจัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญและกรมศิลปากร ระหว่างวันที่ 22-28 สิงหาคม 2547
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศก็จะจัดสัมมนานักจัดรายการวิทยุชายแดนไทย-กัมพูชาระหว่างวันที่ 30 กันยายน — 2 ตุลาคม 2547 ที่จังหวัดบุรีรัมย์อีกด้วย ดังนั้น ท่านจะเห็นได้ว่าเพียงระยะเวลา 4-5 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนระหว่างไทย-กัมพูชาจำนวนมากอย่างกว้างขวางในหลาย ๆ สาขา
การสัมมนามัคคุเทศก์และนักเขียน ณ เมืองเสียมราฐ ในวันนี้เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งในการส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา ตามแนวทางการทูตวัฒนธรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม คตินิยม และประวัติศาสตร์กัมพูชา แก่มัคคุเทศก์และนักเขียนไทย ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเข้าใจอันดีแก่ประชาชน โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยวและนักอ่านชาวไทย โดยการสัมมนาครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากวิทยากรซึ่งมีความรู้และเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกัมพูชาหลายท่าน และนอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถกแถลงปัญหาต่าง ๆ ในวันนี้แล้ว ในวันพรุ่งนี้ก็จะมีการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวอันเป็นมรดกโลก อีกด้วย ซึ่งแม้บางท่านอาจจะเคยได้มาชมสถานที่เหล่านี้แล้ว แต่สำหรับบางท่านที่อาจจะยังไม่เคยมาเมืองเสียมราฐท่านก็จะได้ชมโบราณสถานอันสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีมาก
ผมหวังว่าทุกท่านที่เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์ อย่างสูงและนำสิ่งที่ท่านได้รับจากการสัมมนาและการทัศนศึกษาไปถ่ายทอดต่อสมาชิกผู้ซึ่งมีวิชาชีพมัคคุเทศก์ที่นำคณะนักท่องเที่ยวไทยมากัมพูชา รวมทั้งนักอ่านชาวไทย และทำหน้าที่เป็นผู้แทน สันถวไมตรีในการสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและการทูตภาคประชาชนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
คำกล่าวเปิดการสัมมนาของ นายเตช บุนนาค ประธานคณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา ในการสัมมนามัคคุเทศก์และนักเขียนไทย ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา วันที่ 20 กันยายน 2547
ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ
ท่านนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ท่านนายกสมาคมมัคคุเทศก์
ท่านอุปนายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
การทูตภาคประชาชน (Public Diplomacy) เป็นมิติหนึ่งของการทูตซึ่งมีความสำคัญยิ่ง โดยเป็นการนำกิจกรรมของภาคประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวัฒนธรรมมาเป็นฟันเฟือง ในกลไกดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในระดับประชาชนใน การต่างประเทศ
ในส่วนของไทยและกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดติดกัน แต่กลับมีความเหินห่าง ขาดความรู้จักและเข้าใจกันอย่างถ่องแท้ จนก่อให้เกิดความระแวงแคลงใจกระทั่งลุกลามไปถึง เหตุการณ์เผาสถานเอกอัครราชทูตไทย รวมทั้งบริษัทห้างร้านของคนไทยในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2546 แม้ว่ากรณีดังกล่าวอาจจะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากปัจจัยหลายประการ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงมูลเหตุสำคัญประการหนึ่ง นั่นคือการขาดความเข้าใจที่ดีต่อกันของประชาชนทั้งสองชาติ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะพยายามปรับปรุงและส่งเสริมความสัมพันธ์ภาคประชาชน เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาทำนองนั้นขึ้นอีก ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชนให้ดีขึ้น และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ตั้งคณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชาขึ้น เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ซึ่งได้มีการประชุมร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ที่กรุงพนมเปญและเสียมราฐ ระหว่างวันที่ 18-21 พฤษภาคม 2547 จนบรรลุความตกลงใน การจัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา (Thailand-Cambodia Joint Commission on Promotion of Cultural Cooperation) โดยมีภารกิจหลักในการส่งเสริมความร่วมมือ ด้านวัฒนธรรมด้วยโครงการต่าง ๆ ซึ่งเน้นประโยชน์แก่ประชาชนรวมทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องบนพื้นฐานของวัฒนธรรมที่มีอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อขจัดความระแวงแคลงใจ และมีบทบาทร่วมกันในการเสริมสร้างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นภูมิภาคแห่งมิตรภาพสันติสุข และความเจริญรุ่งเรืองตามปฏิญญาอาเซียนและปฏิญญาอัยวดี- แม่โขง-เจ้าพระยา ซึ่งไทยและกัมพูชาเป็นสมาชิกร่วมกัน
ในการประชุมร่วมกับฝ่ายกัมพูชาเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นควรให้จัดตั้งคณะทำงานด้านต่าง ๆ คือการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ การศึกษาและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และการจัดทำเอกสารคู่มือการท่องเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์ ซึ่งผมเห็นว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ของกันและกันรวมทั้งการเดินทางท่องเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถานด้วยความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้อง และการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายด้วยความรู้สึกชื่นชมยกย่องซึ่งกันและกันเป็น หนทางหนึ่งของการทำความรู้จักกันฉันมิตร
นับจากการประชุมร่วมด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา ได้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศทั้งสองหลายกิจกรรม ทั้งที่ได้ดำเนินการภายใต้คณะกรรมาธิการสมาคมฯ ดำเนินการโดยกระทรวงการต่างประเทศหรือสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ รวมทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ
1. โครงการเชิญผู้สื่อข่าวกัมพูชาเยือนไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่างวันที่ 9-15 มิถุนายน 2547 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-13 กันยายน 2547 จัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญกับกระทรวงการต่างประเทศ
2. การพบปะระหว่างสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคและสมาคมนักเขียนของไทยกับกัมพูชาระหว่างวันที่ 6-9 สิงหาคม 2547 จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
3. การประชุมร่วมระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทยกับสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งกัมพูชา ซึ่งเริ่มจัดตั้งแต่ปลายปี 2546 โดยจัดสลับกันในไทยและกัมพูชาทุกเดือนรวมแล้ว 11 ครั้ง
4. การจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ความงามของศิลปะเขมรอันมีอิทธิพลต่อศิลปะการแสดงไทยและการแสดงนาฏศิลป์โขนเขมร ระหว่างวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2547 จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงการต่างประเทศ
5. การเชิญนาฏศิลป์พื้นบ้านกัมพูชาเข้าร่วมมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติครั้งที่ 18 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 25-31 กรกฎาคม 2547 จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
6. โครงการ The Role of Media in Enhancing Bilateral Relationship : Exchange Program Between Thailand and Cambodian Journalists โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งกัมพูชา ระหว่างวันที่ 16-22 สิงหาคม 2547
7. โครงการเชิญเจ้าหน้าที่ด้านศิลปวัฒนธรรมและช่างฝีมือกัมพูชามาศึกษาดูงานในไทยจัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญและกรมศิลปากร ระหว่างวันที่ 22-28 สิงหาคม 2547
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศก็จะจัดสัมมนานักจัดรายการวิทยุชายแดนไทย-กัมพูชาระหว่างวันที่ 30 กันยายน — 2 ตุลาคม 2547 ที่จังหวัดบุรีรัมย์อีกด้วย ดังนั้น ท่านจะเห็นได้ว่าเพียงระยะเวลา 4-5 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนระหว่างไทย-กัมพูชาจำนวนมากอย่างกว้างขวางในหลาย ๆ สาขา
การสัมมนามัคคุเทศก์และนักเขียน ณ เมืองเสียมราฐ ในวันนี้เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งในการส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา ตามแนวทางการทูตวัฒนธรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม คตินิยม และประวัติศาสตร์กัมพูชา แก่มัคคุเทศก์และนักเขียนไทย ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเข้าใจอันดีแก่ประชาชน โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยวและนักอ่านชาวไทย โดยการสัมมนาครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากวิทยากรซึ่งมีความรู้และเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกัมพูชาหลายท่าน และนอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถกแถลงปัญหาต่าง ๆ ในวันนี้แล้ว ในวันพรุ่งนี้ก็จะมีการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวอันเป็นมรดกโลก อีกด้วย ซึ่งแม้บางท่านอาจจะเคยได้มาชมสถานที่เหล่านี้แล้ว แต่สำหรับบางท่านที่อาจจะยังไม่เคยมาเมืองเสียมราฐท่านก็จะได้ชมโบราณสถานอันสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีมาก
ผมหวังว่าทุกท่านที่เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์ อย่างสูงและนำสิ่งที่ท่านได้รับจากการสัมมนาและการทัศนศึกษาไปถ่ายทอดต่อสมาชิกผู้ซึ่งมีวิชาชีพมัคคุเทศก์ที่นำคณะนักท่องเที่ยวไทยมากัมพูชา รวมทั้งนักอ่านชาวไทย และทำหน้าที่เป็นผู้แทน สันถวไมตรีในการสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและการทูตภาคประชาชนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-