กรุงเทพ--23 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปล) แถลงการณ์ร่วมโดย รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการของ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2547
1. พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ได้เดินทางเยือน สาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2547 นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเห็นว่าการเยือนสาธารณรัฐ อิตาลีครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรอันยาวนานมากกว่า 136 ปี และนำศักยภาพของทั้งสองประเทศมาส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
2. ผู้นำรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลีและผู้นำรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้หารือกันถึงลู่ทางและวิธีการเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดฉันมิตรระหว่างประเทศทั้งสอง และมุ่งสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในเชิงรุก ทั้งในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี ภูมิภาค และความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการขยายการติดต่อระหว่างกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และเพิ่มความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ในทุกระดับ ผู้นำทั้งสองได้ตกลงที่จะส่งเสริมการติดต่อระหว่างกันในระดับรัฐบาล โดยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา และเจ้าหน้าที่ระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ
ความร่วมมือพหุภาคี
3. ทั้งสองฝ่ายย้ำถึงพันธะที่มีต่อระบบพหุภาคีในกิจการระหว่างประเทศและย้ำถึงความสำคัญขององค์การสหประชาชาติในการเป็นองค์การหลักในการดูแลประเด็นปัญหาระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นภายในกรอบองค์การสหประชาชาติ ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้ายระหว่างประเทศ การแพร่กระจายของอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง ปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และปัญหาความท้าทายต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ในบริบทดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายเน้นความจำเป็นในการสนับสนุนบทบาทขององค์การสหประชาชาติในการป้องกันความขัดแย้งและการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะประสานงานในเรื่องพัฒนาการของการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการปฏิรูปใดๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อสรุปที่ได้จากการเห็นชอบร่วมกันของประเทศสมาชิกตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติและเกิดจากแรงผลักดันที่ต้องการจะเพิ่มความทัดเทียมของแต่ละภูมิภาคในการมีตัวแทนและการเพิ่มประสิทธิผลของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
4. ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันในเรื่องการมีส่วนร่วมของประเทศทั้งสองในอิรัก ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนอำนาจการปกครองจากคณะผู้บริหารชั่วคราวของกองกำลังพันธมิตรสู่รัฐบาลเฉพาะกาลของอิรักเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 และเห็นชอบว่าองค์การสหประชาชาติควรมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูบูรณะและสร้างเสถียรภาพทางการเมืองในอิรัก ไทยชื่นชมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของอิตาลีเพื่อรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพในอิรัก ผู้นำรัฐบาลทั้งสองได้ยืนยันพันธะที่จะให้ความช่วยเหลือต่อการฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถาน อิตาลีชื่นชมบทบาทของไทยในการช่วยเหลืออัฟกานิสถานตามโครงการปลูกพืชเพื่อการทดแทนยาเสพติดและโครงการฝึกอบรมต่างๆ ไทยชื่นชมบทบาทของอิตาลีในหลายๆ ด้านของกระบวนการฟื้นฟูบูรณะ โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิรูประบบงานยุติธรรม
ความร่วมมือระดับภูมิภาค
5. อิตาลีชื่นชมบทบาทนำของไทยในการเสริมสร้างการหารือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างประเทศในเอเชียเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย และอิตาลีได้รับทราบด้วยความสนใจต่อข้อริเริ่มของรัฐบาลไทยในแนวคิดการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในกรอบความร่วมมือเอเชีย
6. ผู้นำรัฐบาลทั้งสองเชื่อมั่นว่า กระบวนการการประชุมเอเชีย-ยุโรป ยังคงเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญระหว่างเอเชียและยุโรป และเห็นชอบร่วมกันว่า การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางในประเด็นต่างๆ จะมีส่วนในการขยายความเข้าใจระหว่างกันและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในทั้งสองภูมิภาค ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนความพยายามในการขยายความร่วมมือระหว่างกันต่อไปในบริบทของการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดมากขึ้นภายใต้การประชุมเอเชีย-ยุโรป
7. ทั้งสองฝ่ายยืนยันพันธะในการเสริมสร้างและรักษาพัฒนาการที่คืบหน้าไปของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำความตั้งใจจริงที่จะกระชับความร่วมมืออย่างลึกซึ้งและกว้างขวางยิ่งขึ้น และเน้นความสำคัญของปฏิสัมพันธ์ในกรอบอาเซียน-สหภาพยุโรป ว่าเป็นหลักสำคัญสำหรับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าข้อริเริ่มทางการค้าระหว่างภูมิภาคอาเซียนและสหภาพยุโรป (TREATI) เป็นพื้นฐานอันจำเป็น และเป็นตัวกระตุ้นที่ดีสำหรับการพัฒนาการต่อไปในอนาคตของการจัดการด้านการค้าระหว่างสองภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อโครงการชี้วัดระดับภูมิภาค 2548-2549 ที่มุ่งขยายและเสริมสร้างความร่วมมืออาเซียน-สหภาพยุโรปในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน
8. ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายอิตาลีทราบเกี่ยวกับสถานะล่าสุดของข้อริเริ่มของไทยเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากข้อริเริ่มดังกล่าว นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายอิตาลีทราบเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งคมนาคม ดังนั้น ฝ่ายไทยจึงได้เชิญฝ่ายอิตาลีให้เข้ามาสำรวจลู่ทางและใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าว โดยการเป็นหุ้นส่วนกับประเทศไทย
9. โดยคำนึงถึงความสำคัญของพม่าต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งสองฝ่ายแสดงความหวังว่ารัฐบาลพม่าจะก้าวไปในทิศทางของการเสริมสร้างประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติ ในการนี้ ไทยชื่นชมบทบาทอันสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของอิตาลีในการประชุมกระบวนการกรุงเทพฯ ครั้งที่ 1 ในประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2546
ความร่วมมือทวิภาคี
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
10. โดยยืนยันถึงพันธกิจในการส่งเสริมการค้าสองทางและการลงทุน ผู้นำรัฐบาลทั้งสองเห็นพ้องกันที่จะให้การสนับสนุนปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนระหว่างสองประเทศ ในการนี้ ผู้นำรัฐบาลทั้งสองยืนยันที่จะสนับสนุนการเจรจาความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี
11. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายจะให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่ภาคเอกชนในการทำธุรกรรมและปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนให้เพิ่มปฏิสัมพันธ์ภายใต้กรอบการดำเนินงานที่มีอยู่ เช่น หอการค้าไทย-อิตาลี ให้มากขึ้น และให้มีการติดต่อกันมากยิ่งขึ้นระหว่างสมาคมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย เช่น สมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (Confindustria) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และระหว่างสหภาพทางเศรษฐกิจและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอกชน ในการนี้ ฝ่ายไทยเสนอให้มีการจัดการประชุมทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนชั้นนำของทั้งสองฝ่ายเพื่อแสวงหาลู่ทางความเป็นไปได้ของการเป็นหุ้นส่วนไทย-อิตาลีเพื่อส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตของอิตาลีในไทย และผ่านไทยสู่อนุภูมิภาคต่างๆ ในเอเชีย
12. ทั้งสองฝ่ายแสดงความสนใจที่จะกระชับความร่วมมือให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ซึ่งได้มีการลงนามระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมั่นใจว่าบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกระตุ้นการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจและเปิดโอกาสสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยและอิตาลีในการแลกเปลี่ยนความรู้และร่วมกันสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมข้ามชาติเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น ในสาขาแฟชั่น
ความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษา
13. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเพิ่มพูนปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลีในระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งนี้
14. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการและการฝึกอบรมในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการท่องเที่ยว การออกแบบแฟชั่น อาหาร วิศวกรรมยานยนต์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อิตาลียินดีต้อนรับนักเรียนไทย 69 คน ที่ได้รับทุนรัฐบาลตามโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ที่มาศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี ฝ่ายอิตาลีรับทราบถึงโครงการการพัฒนาอาหารไทย และกิจกรรมด้านสุขภาพแผนไทยในอิตาลี และตกลงที่จะตรวจสอบผลกระทบที่อาจจะเกิดจากกฎระเบียบภายในของอิตาลี
ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
15. ไทยและอิตาลีซึ่งต่างก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ตกลงที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันในสาขาการท่องเที่ยว เช่น ในด้านการบริหารและการจัดการด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยว และความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน
ความร่วมมือทางศาลและตำรวจ
16. ทั้งสองฝ่ายยืนยันถึงความสำคัญของความร่วมมือทางศาลและตำรวจ โดยเฉพาะการทำงานประสานกับประเทศอื่นๆ ในการควบคุมการแพร่กระจายของยาเสพติด การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย การค้ามนุษย์ การฟอกเงิน และการปลอมแปลงเอกสาร ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันในเรื่องดังกล่าว ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนการเจรจาจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญาระหว่างไทยและอิตาลีที่กำลังดำเนินอยู่
สรุป
17. นายกรัฐมนตรีไทยได้แสดงความขอบคุณในการต้อนรับอย่างอบอุ่นของรัฐบาลอิตาลี ซึ่งทำให้การเดินทางเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้เต็มไปด้วยความทรงจำที่ยากจะลืมเลือน และบรรลุผลสำเร็จด้วยดี นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอิตาลีได้ตอบรับในหลักการต่อคำเชิญของนายกรัฐมนตรีไทยที่จะเยือนประเทศไทยในโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายเห็นเหมาะสม
กรุงโรม, 22 กันยายน 2547
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
(คำแปล) แถลงการณ์ร่วมโดย รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการของ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2547
1. พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ได้เดินทางเยือน สาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2547 นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเห็นว่าการเยือนสาธารณรัฐ อิตาลีครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรอันยาวนานมากกว่า 136 ปี และนำศักยภาพของทั้งสองประเทศมาส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
2. ผู้นำรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลีและผู้นำรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้หารือกันถึงลู่ทางและวิธีการเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดฉันมิตรระหว่างประเทศทั้งสอง และมุ่งสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในเชิงรุก ทั้งในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี ภูมิภาค และความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการขยายการติดต่อระหว่างกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และเพิ่มความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ในทุกระดับ ผู้นำทั้งสองได้ตกลงที่จะส่งเสริมการติดต่อระหว่างกันในระดับรัฐบาล โดยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา และเจ้าหน้าที่ระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ
ความร่วมมือพหุภาคี
3. ทั้งสองฝ่ายย้ำถึงพันธะที่มีต่อระบบพหุภาคีในกิจการระหว่างประเทศและย้ำถึงความสำคัญขององค์การสหประชาชาติในการเป็นองค์การหลักในการดูแลประเด็นปัญหาระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นภายในกรอบองค์การสหประชาชาติ ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้ายระหว่างประเทศ การแพร่กระจายของอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง ปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และปัญหาความท้าทายต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ในบริบทดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายเน้นความจำเป็นในการสนับสนุนบทบาทขององค์การสหประชาชาติในการป้องกันความขัดแย้งและการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะประสานงานในเรื่องพัฒนาการของการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการปฏิรูปใดๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อสรุปที่ได้จากการเห็นชอบร่วมกันของประเทศสมาชิกตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติและเกิดจากแรงผลักดันที่ต้องการจะเพิ่มความทัดเทียมของแต่ละภูมิภาคในการมีตัวแทนและการเพิ่มประสิทธิผลของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
4. ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันในเรื่องการมีส่วนร่วมของประเทศทั้งสองในอิรัก ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนอำนาจการปกครองจากคณะผู้บริหารชั่วคราวของกองกำลังพันธมิตรสู่รัฐบาลเฉพาะกาลของอิรักเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 และเห็นชอบว่าองค์การสหประชาชาติควรมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูบูรณะและสร้างเสถียรภาพทางการเมืองในอิรัก ไทยชื่นชมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของอิตาลีเพื่อรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพในอิรัก ผู้นำรัฐบาลทั้งสองได้ยืนยันพันธะที่จะให้ความช่วยเหลือต่อการฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถาน อิตาลีชื่นชมบทบาทของไทยในการช่วยเหลืออัฟกานิสถานตามโครงการปลูกพืชเพื่อการทดแทนยาเสพติดและโครงการฝึกอบรมต่างๆ ไทยชื่นชมบทบาทของอิตาลีในหลายๆ ด้านของกระบวนการฟื้นฟูบูรณะ โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิรูประบบงานยุติธรรม
ความร่วมมือระดับภูมิภาค
5. อิตาลีชื่นชมบทบาทนำของไทยในการเสริมสร้างการหารือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างประเทศในเอเชียเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย และอิตาลีได้รับทราบด้วยความสนใจต่อข้อริเริ่มของรัฐบาลไทยในแนวคิดการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในกรอบความร่วมมือเอเชีย
6. ผู้นำรัฐบาลทั้งสองเชื่อมั่นว่า กระบวนการการประชุมเอเชีย-ยุโรป ยังคงเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญระหว่างเอเชียและยุโรป และเห็นชอบร่วมกันว่า การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางในประเด็นต่างๆ จะมีส่วนในการขยายความเข้าใจระหว่างกันและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในทั้งสองภูมิภาค ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนความพยายามในการขยายความร่วมมือระหว่างกันต่อไปในบริบทของการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดมากขึ้นภายใต้การประชุมเอเชีย-ยุโรป
7. ทั้งสองฝ่ายยืนยันพันธะในการเสริมสร้างและรักษาพัฒนาการที่คืบหน้าไปของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำความตั้งใจจริงที่จะกระชับความร่วมมืออย่างลึกซึ้งและกว้างขวางยิ่งขึ้น และเน้นความสำคัญของปฏิสัมพันธ์ในกรอบอาเซียน-สหภาพยุโรป ว่าเป็นหลักสำคัญสำหรับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าข้อริเริ่มทางการค้าระหว่างภูมิภาคอาเซียนและสหภาพยุโรป (TREATI) เป็นพื้นฐานอันจำเป็น และเป็นตัวกระตุ้นที่ดีสำหรับการพัฒนาการต่อไปในอนาคตของการจัดการด้านการค้าระหว่างสองภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อโครงการชี้วัดระดับภูมิภาค 2548-2549 ที่มุ่งขยายและเสริมสร้างความร่วมมืออาเซียน-สหภาพยุโรปในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน
8. ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายอิตาลีทราบเกี่ยวกับสถานะล่าสุดของข้อริเริ่มของไทยเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากข้อริเริ่มดังกล่าว นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายอิตาลีทราบเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งคมนาคม ดังนั้น ฝ่ายไทยจึงได้เชิญฝ่ายอิตาลีให้เข้ามาสำรวจลู่ทางและใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าว โดยการเป็นหุ้นส่วนกับประเทศไทย
9. โดยคำนึงถึงความสำคัญของพม่าต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งสองฝ่ายแสดงความหวังว่ารัฐบาลพม่าจะก้าวไปในทิศทางของการเสริมสร้างประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติ ในการนี้ ไทยชื่นชมบทบาทอันสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของอิตาลีในการประชุมกระบวนการกรุงเทพฯ ครั้งที่ 1 ในประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2546
ความร่วมมือทวิภาคี
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
10. โดยยืนยันถึงพันธกิจในการส่งเสริมการค้าสองทางและการลงทุน ผู้นำรัฐบาลทั้งสองเห็นพ้องกันที่จะให้การสนับสนุนปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนระหว่างสองประเทศ ในการนี้ ผู้นำรัฐบาลทั้งสองยืนยันที่จะสนับสนุนการเจรจาความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี
11. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายจะให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่ภาคเอกชนในการทำธุรกรรมและปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนให้เพิ่มปฏิสัมพันธ์ภายใต้กรอบการดำเนินงานที่มีอยู่ เช่น หอการค้าไทย-อิตาลี ให้มากขึ้น และให้มีการติดต่อกันมากยิ่งขึ้นระหว่างสมาคมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย เช่น สมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (Confindustria) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และระหว่างสหภาพทางเศรษฐกิจและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอกชน ในการนี้ ฝ่ายไทยเสนอให้มีการจัดการประชุมทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนชั้นนำของทั้งสองฝ่ายเพื่อแสวงหาลู่ทางความเป็นไปได้ของการเป็นหุ้นส่วนไทย-อิตาลีเพื่อส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตของอิตาลีในไทย และผ่านไทยสู่อนุภูมิภาคต่างๆ ในเอเชีย
12. ทั้งสองฝ่ายแสดงความสนใจที่จะกระชับความร่วมมือให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ซึ่งได้มีการลงนามระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมั่นใจว่าบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกระตุ้นการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจและเปิดโอกาสสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยและอิตาลีในการแลกเปลี่ยนความรู้และร่วมกันสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมข้ามชาติเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น ในสาขาแฟชั่น
ความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษา
13. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเพิ่มพูนปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลีในระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งนี้
14. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการและการฝึกอบรมในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการท่องเที่ยว การออกแบบแฟชั่น อาหาร วิศวกรรมยานยนต์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อิตาลียินดีต้อนรับนักเรียนไทย 69 คน ที่ได้รับทุนรัฐบาลตามโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ที่มาศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี ฝ่ายอิตาลีรับทราบถึงโครงการการพัฒนาอาหารไทย และกิจกรรมด้านสุขภาพแผนไทยในอิตาลี และตกลงที่จะตรวจสอบผลกระทบที่อาจจะเกิดจากกฎระเบียบภายในของอิตาลี
ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
15. ไทยและอิตาลีซึ่งต่างก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ตกลงที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันในสาขาการท่องเที่ยว เช่น ในด้านการบริหารและการจัดการด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยว และความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน
ความร่วมมือทางศาลและตำรวจ
16. ทั้งสองฝ่ายยืนยันถึงความสำคัญของความร่วมมือทางศาลและตำรวจ โดยเฉพาะการทำงานประสานกับประเทศอื่นๆ ในการควบคุมการแพร่กระจายของยาเสพติด การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย การค้ามนุษย์ การฟอกเงิน และการปลอมแปลงเอกสาร ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันในเรื่องดังกล่าว ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนการเจรจาจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญาระหว่างไทยและอิตาลีที่กำลังดำเนินอยู่
สรุป
17. นายกรัฐมนตรีไทยได้แสดงความขอบคุณในการต้อนรับอย่างอบอุ่นของรัฐบาลอิตาลี ซึ่งทำให้การเดินทางเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้เต็มไปด้วยความทรงจำที่ยากจะลืมเลือน และบรรลุผลสำเร็จด้วยดี นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอิตาลีได้ตอบรับในหลักการต่อคำเชิญของนายกรัฐมนตรีไทยที่จะเยือนประเทศไทยในโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายเห็นเหมาะสม
กรุงโรม, 22 กันยายน 2547
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-