ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดยังไม่ส่งผลกระทบต่อการไหลเข้าออกของไทย ผู้ช่วยผู้ว่าการ สาย
ตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของ ธ.กลาง
สรอ. (เฟด) อีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 1.75 ว่า ยังไม่สร้างผลกระทบต่อการไหลออกของเงินตราต่าง
ประเทศ แม้ว่าขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน) ของไทยจะ
อยู่ในระดับต่ำกว่า คือ ร้อยละ 1.5 แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเกิดขึ้นเพียง 1 วัน จึงยังคงต้อง
ติดตามการไหลเข้าออกของเงินต่อไป อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดไม่ได้สร้างความตื่นตระหนก
ให้กับตลาดการเงิน เพราะเป็นไปตามความคาดหมายของตลาด และการปรับขึ้นดอกเบี้ยน่าจะทำให้ค่าเงิน
บาทอ่อนลง แต่ขณะนี้ค่าเงินบาทกลับแข็งค่าขึ้น เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร
ระยะยาวของ สรอ.ก็ปรับตัวลดลงด้วย เพราะความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สรอ.ลดน้อยลง รวม
ทั้งค่าเงินยูโรก็แข็งค่าขึ้นด้วย (ไทยรัฐ, ข่าวสด, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.และ ธ. แห่ง ส.ป.ป.ลาวร่วมหารือพัฒนาระบบการเงินและการชำระเงินระหว่างกัน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับ ธ.แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ธ.แห่ง ส.ป.ป.
ลาว) จัดงานสัมมนาเรื่อง “ความร่วมมือทางการเงินเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่าง ส.ป.ป.
ลาว-ไทย” ในระหว่างวันที่ 23-25 ก.ย.นี้ ที่แขวงหลวงพระบาง ส.ป.ป.ลาว ทั้งนี้ การสัมมนาครั้งนี้เป็น
การแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบการเงินและการชำระเงิน
ระหว่างไทยและ ส.ป.ป.ลาว ซึ่งในการสัมมนานั้น ผู้ร่วมสัมมนาจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนว
ทางและความร่วมมือทางการเงิน เพื่อเป็นการองรับการค้าและการลงทุนของไทยและ ส.ป.ป.ลาวในอนาคต
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. การนำเข้าของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยถึงการ
ส่งออกในเดือน ส.ค.47 ว่า มีมูลค่า 8,285.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นการส่งออกที่มีมูลค่าเกิน 8,000
ล้านดอลลาร์ สรอ. ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.7 ส่วนการนำเข้า
มีมูลค่าถึง 8,501.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 35.4 สูงสุดเป็น
ประวัติการณ์ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกหมวดตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการส่งออก รวมทั้งราคาน้ำมัน
ในตลาดโลก ทั้งนี้ การนำเข้าในเดือน ส.ค.จากการนำเข้าน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าเดือน
ส.ค.47 จำนวน 216 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ส่วนดุลการค้าในช่วง 8 เดือน มี
มูลค่าเกินดุลทั้งสิ้น 492.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 85.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (
ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์)
4. เอดีบีปรับลดจีดีพีไทยในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 6.4 รอยเตอร์ เปิดเผยว่า ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย
(เอดีบี) ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้ลงเหลือเพียงร้อยละ 6.4
จากเดิมที่ระดับร้อยละ 7.2 หลังจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยชะลอตัวลงในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
อย่างไรก็ตาม เอดีบีเชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยจะสามารถฟื้นตัวขึ้นในปีหน้าและจะขยายตัวถึงร้อยละ 6.6 ในปี
48 หลังจากมีอัตราการขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 6.6 ในไตรมาสแรกของปีนี้ และร้อยละ 6.3 ในไตรมาส
2 ปี 47 และจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาส 4 ปี 46 โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มชะลอ
ตัวลงนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก รวมทั้งภาวะอากาศแห้งแล้วที่มีระยะเวลานาน รวมทั้งราคา
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ เอดีบียังคาดว่า อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของไทยจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 ใน
ปีนี้ และจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2.6 ในปีหน้า อย่างไรก็ตาม ภาวะเกินดุลการค้าของไทยอาจกลายมา
เป็นการขาดดุลในปีนี้หรือปีหน้า เนื่องจากปริมาณการนำเข้าขยายตัวรวดเร็วกว่าการส่งออก (กรุงเทพธุรกิจ)
5. นักลงทุนทั่วโลกเห็นว่าไทยมีอนาคตด้านการลงทุนจากต่างประเทศเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ผู้
อำนวยการบริหารสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์กรมหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ การลง
ทุนของโลกได้เคลื่อนย้ายไปสู่ภาคบริการเป็นส่วนใหญ่ โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 60 ของปริมาณเงินทุนโดย
ตรงของโลก ทั้งนี้ การลงทุนโดยตรงในภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนใหญ่ของทั้งโลกลดลง ยกเว้นภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
รวมถึงไทยด้วย จากที่เคยมีเงินลงทุนโดยตรง 1,100 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มเป็น 1,800 ล้านดอลลาร์
สรอ.นอกจากนี้ อังค์ถัดยังได้สอบถามความเห็นบริษัทลงทุนต่าง ๆ ทั่วโลก สรุปได้ว่า ในปีนี้และปีหน้าประเทศ
ไทยมีอนาคตด้านการลงทุนจากต่างประเทศสดใสมาก โดยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจาก สรอ. จีน และอินเดีย
ตามลำดับ อันสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวในการเปิดเสรีขององค์การการค้าโลก (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอังกฤษมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป รายงานจากลอนดอน เมื่อ
วันที่ 22 ก.ย. 47 คณะกรรมาธิการนโยบายการเงินของอังกฤษมีมติเป็นเอกฉันท์9 — 0 เสียงในการประชุม
เมื่อวันที่ 8 — 9 ก.ย. ที่ผ่านมาให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 4.75 ต่อไป แต่นักวิเคราะห์
กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในเดือนพ.ย.นี้ นอกจาก
นั้นรายงานการประชุมที่เผยแพร่ออกมายังส่งผลให้ค่าเงินปอนด์และอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าพุ่งสูงขึ้นอีกเนื่องจาก
บรรดาผู้ค้าเงินให้ความสนใจกับการที่ธ.กลางอังกฤษกล่าวเตือนว่าราคาบ้านควรจะลดลงอย่างรวดเร็ว รวม
ทั้งนักวิเคราะห์ยังเห็นว่าธ.กลางจะยังไม่ยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด เนื่องจากยังมีข้อโต้แย้ง
ของนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงที่ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจอังกฤษสูงกว่าแนวโน้มที่คาดไว้ ในขณะที่ค่าเงิน
ปอนด์ยังลดต่ำลง จึงเชื่อว่าจะเป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอังกฤษในปัจจุบันสูงสุด
แล้ว จึงมีการคาดการณ์กันว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 อีกครั้งหนึ่งในเดือนพ.ย. นี้
(รอยเตอร์)
2. เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าเหนือความคาดหมายที่ระดับ 12.6 พัน ล.ยูโรในเดือน
ก.ค.47 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 22 ก.ย.47 The European Union statistics office
(Eurostat) เปิดเผยว่า ดุลการค้าของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ค.47 เกินดุลที่ระดับ 12.6 พัน ล.
ยูโร สูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเกินดุลที่ระดับ 9.3 พัน ล.ยูโร ส่งผลให้ยอด
เกินดุลการค้าในช่วง 7 เดือนแรกของปีมีจำนวน 55.5 พัน ล.ยูโร เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกิน
ดุลการค้าเพียง 33.8 พัน ล.ยูโร โดยยอดการส่งออก(ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล)เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่การ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการส่งออกเป็น
ปัจจัยสนับสนุนการเกินดุลการค้า แม้ว่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.จะแข็งค่าขึ้นถึงประมาณร้อยละ
9 นับตั้งแต่เดือน ก.ค.46 ก็ตาม นอกจากนี้ สมาชิกของ European Central Bank Governing
Council ซึ่งทำหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินของเขตเศรษฐกิจยุโรป ก็ได้เคยกล่าวไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า
การส่งออกยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรป (รอยเตอร์)
3. การลงทุนระหว่างประเทศฟื้นตัวขึ้นในปี 47 หลังจากชะลอตัวมาเป็นเวลา 3 ปี รายงานจาก
เจนีวาเมื่อ 22 ก.ย.47 The United Nations (UN) เปิดเผยใน Annual World Investment
Report ว่า การลงทุนระหว่างประเทศในปี 47 ฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปี
โดย การควบรวมกิจการ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศในช่วงครึ่งแรก
ของปี 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี ประกอบกับ การสร้างผลกำไรของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นและราคาหลัก
ทรัพย์ในตลาดโลกที่สูงขึ้น ล้วนบ่งชี้ถึงภาพการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนระหว่างประเทศ หลังจากที่เคยลดลง
ร้อยละ 18, ร้อยละ 17 และร้อยละ 41 ในปี 46, 45 และ 44 ตามลำดับ นอกจากนี้ จากการสำรวจ
ความคิดเห็นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศชั้นนำและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนระหว่างประเทศจำนวน
85 คน พบว่า ร้อยละ 75-80 ของผู้ถูกสำรวจมองในแง่ดีเกี่ยวกับการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนระหว่าง
ประเทศ โดยแนวโน้มการลงทุนมีความเป็นไปได้ที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในบางส่วนของภูมิภาคเอเชียโดย
เฉพาะ จีนและอินเดีย ภูมิภาคแปซิฟิก รวมถึงยุโรปตอนกลางและตะวันออกโดยเฉพาะโปแลนด์ นอกจากนี้ ผล
การสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ผู้ถูกสำรวจมองในแง่ดีเกี่ยวกับการลงทุนใน สรอ.และญี่ปุ่นมากกว่าการลงทุนใน
ยุโรปตะวันตก (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้จับตามองภาวะเงินเฟ้อและความเสี่ยงจากการใช้จ่ายผู้บริโภค รายงาน
จากโซล เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 47 ธ.กลางเกาหลีใต้จะดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผล
กระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศของเกาหลีใต้ที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชีย โดย
ไม่มีการระบุรายละเอียดของมาตรการ ขณะที่นักลงทุนคาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจจะชะลอออกไปอีก
ความเห็นดังกล่าวเนื่องจากการที่ Asian Development Bank - ADB ประกาศปรับลดประมาณการณ์การ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปีนี้และปีหน้าลงจากประมาณการเดิม นอกจากนั้นกลุ่มธุรกิจชั้นนำของ
เกาหลีใต้กล่าวว่าภาวะถดถอยได้มาสู่เกาหลีใต้ เนื่องจากส่งออกชะลอตัวและไม่มีสัญญานใดๆของการฟื้นตัวใน
การใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 ก.ย. 47 22 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.284 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0896/41.3898 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 663.51/22.19 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.13 35.89 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47