คุณถาม : กลุ่ม EAC คืออะไร
EXIM ตอบ : "EAC(Eas African Community)" หรือ "กลุ่มประชาคมแอฟฟริกาตะวันออก" ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ เคนยา ยูกันดา และแทนซาเนีย โดยทั้ง 3 ประเทศนี้ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของทวีฟแอฟริกา กลุ่ม EAC จัดตั้งขึ้นในปี 2542 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือไปสู่การจัดตั้งตลาดเดียวในอนาคต ซึ่งความร่วมมือในด้านต่างๆ ของกลุ่ม EAC มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2543
ความร่วมมือสำคัญครั้งล่าสุดของกลุ่ม EAC คือ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันขึ้นเป็นสหภาพศุลกากร(Customs Union) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 ที่ผ่านมา ภายใต้สหภาพศุลกากรนี้ทั้ง 3 ประเทศจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าระหว่างกันที่อัตรา 0% และจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าโดยทั่วไปจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน โดยภาษีที่เรียกเก็บจะมี 3 อัตรา คือ 0% 10% และ 25% ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวจำนวนหลายรายการ อาทิ สินค้าเกษตรและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด ฯลฯ ที่จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงกว่า 25% ตามตาราง
ปัจจุบันกลุ่ม EAC มีประชากรรวมกันประมาณ 96 ล้านคน และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศรวมกันสูงถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ตลาดนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ส่งออกและนักลงทุน ประกอบกับการมีศักยภาพในฐานะที่เป็นประตูเชื่อมโยงการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของทวีปแอฟริกาเนื่องจากสามารถขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือ Mombasa ในเคนยาและท่าเรือ Dar-es-Salam ของแทนซาเนีย ผ่านไปยังยูกันดาโดยทางรถไฟหรือถนน ก่อนขนส่งต่อไปยังประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา อาทิ บุรุนดี รวันดา และแซมเบีย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้รับสิทธิพิเศษในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ภายใต้ข้อตกลง Africa Growth and Opportunity Act(AGOA) โดยการไม่กำหนดโควตานำเข้าและยกเว้นภาษีนำเข้าให้แก่สินค้าราว 6,400 รายการ จาก 37 ประเทศในทวีปแอฟริกา ดังนั้น การเชื่อมความสัมพันธ์ทางการค้ากับกลุ่ม EAC นอกจากจะเป็นโอกาสอันดีที่จะช่วยให้สามารถขยายตลาดการค้าในทวีปแอฟริกาได้เพิ่มขึ้นแล้วยังช่วยให้ขยายตลาดการค้าไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นแล้วยังช่วยให้ขยายตลาดการค้าไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
ศูนย์บริการผู้ส่งออก SMSs
สร้างโอกาสแห่งความสำเร็จบนเส้นทางการค้าระหว่างประเทศให้กับผู้ส่งออกรายย่อยรายกลางที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ธุรกิจส่งออกด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำและจัดอบรมความรู้ด้านธุรกิจส่งออกตลอดจนให้บริการทางการเงินแบบครบวงจร สนใจติดต่อ ศูนย์บริการผู้ส่งออก SMSs ชั้นล็อบบี้ ธสน.สำนักงานใหญ่ โทร. 0 2271 3700 ต่อ 2871-8--จบ--
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2548--
-พห-
EXIM ตอบ : "EAC(Eas African Community)" หรือ "กลุ่มประชาคมแอฟฟริกาตะวันออก" ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ เคนยา ยูกันดา และแทนซาเนีย โดยทั้ง 3 ประเทศนี้ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของทวีฟแอฟริกา กลุ่ม EAC จัดตั้งขึ้นในปี 2542 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือไปสู่การจัดตั้งตลาดเดียวในอนาคต ซึ่งความร่วมมือในด้านต่างๆ ของกลุ่ม EAC มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2543
ความร่วมมือสำคัญครั้งล่าสุดของกลุ่ม EAC คือ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันขึ้นเป็นสหภาพศุลกากร(Customs Union) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 ที่ผ่านมา ภายใต้สหภาพศุลกากรนี้ทั้ง 3 ประเทศจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าระหว่างกันที่อัตรา 0% และจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าโดยทั่วไปจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน โดยภาษีที่เรียกเก็บจะมี 3 อัตรา คือ 0% 10% และ 25% ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวจำนวนหลายรายการ อาทิ สินค้าเกษตรและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด ฯลฯ ที่จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงกว่า 25% ตามตาราง
ปัจจุบันกลุ่ม EAC มีประชากรรวมกันประมาณ 96 ล้านคน และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศรวมกันสูงถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ตลาดนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ส่งออกและนักลงทุน ประกอบกับการมีศักยภาพในฐานะที่เป็นประตูเชื่อมโยงการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของทวีปแอฟริกาเนื่องจากสามารถขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือ Mombasa ในเคนยาและท่าเรือ Dar-es-Salam ของแทนซาเนีย ผ่านไปยังยูกันดาโดยทางรถไฟหรือถนน ก่อนขนส่งต่อไปยังประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา อาทิ บุรุนดี รวันดา และแซมเบีย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้รับสิทธิพิเศษในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ภายใต้ข้อตกลง Africa Growth and Opportunity Act(AGOA) โดยการไม่กำหนดโควตานำเข้าและยกเว้นภาษีนำเข้าให้แก่สินค้าราว 6,400 รายการ จาก 37 ประเทศในทวีปแอฟริกา ดังนั้น การเชื่อมความสัมพันธ์ทางการค้ากับกลุ่ม EAC นอกจากจะเป็นโอกาสอันดีที่จะช่วยให้สามารถขยายตลาดการค้าในทวีปแอฟริกาได้เพิ่มขึ้นแล้วยังช่วยให้ขยายตลาดการค้าไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นแล้วยังช่วยให้ขยายตลาดการค้าไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
ศูนย์บริการผู้ส่งออก SMSs
สร้างโอกาสแห่งความสำเร็จบนเส้นทางการค้าระหว่างประเทศให้กับผู้ส่งออกรายย่อยรายกลางที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ธุรกิจส่งออกด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำและจัดอบรมความรู้ด้านธุรกิจส่งออกตลอดจนให้บริการทางการเงินแบบครบวงจร สนใจติดต่อ ศูนย์บริการผู้ส่งออก SMSs ชั้นล็อบบี้ ธสน.สำนักงานใหญ่ โทร. 0 2271 3700 ต่อ 2871-8--จบ--
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2548--
-พห-