บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอ่างทอง พ.ศ. …. ซึ่ง
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติคนพิการ พ.ศ. …. ซึ่ง นายถาวร เสนเนียม กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและ
วิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
เสร็จแล้ว
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๗
และครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๗ ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน ประจำปี ๒๕๔๔ และประจำปี ๒๕๔๕
(๒) รายงานประจำปี ๒๕๔๕ ของสถาบันพระปกเกล้า
๔. เรื่อง การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ด้วยนายไชยยศ จิรเมธากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดอุดรธานี พรรคประชาธิปัตย์
ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๗
ดังนั้นสมาชิกภาพจึงสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๘) ปัจจุบันมีสมาชิกฯ
เหลือจำนวน ๔๕๓ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ (สมัยสามัญ
ทั่วไป) จำนวน ๑๐ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๖ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๗ วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๘ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๙ วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๐ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๑ วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๒ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๓ วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๔ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๕ วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๑๐ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๔)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๕)
๓. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๙)
๗. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
๘. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบ
วาระที่ ๔.๔)
๙. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
๑๐. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๑๑. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๖)
๑๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
๑๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๑)
๑๔. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
๑๕. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓)
๑๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
๑๗. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๙)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๔)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๕)
ที่ประชุมได้มีมติให้รวมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๔ และ ๒๕ พร้อมกันแต่ให้ลงมติรับหลักการ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒. นายนภดล มัณฑะจิตร
๓. นายนิพนธ์ ฮะกีมี ๔. นายชูชาติ อัศวโรจน์
๕. นางชลิดา พันธ์กระวี ๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๗. นางกรรณิกา ธรรมเกษร ๘. พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล
๙. นายอารักษ์ ไชยริปู ๑๐. นายกมล บันไดเพชร
๑๑. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๒. นายภาคิน สมมิตร
๑๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๔. นายจำนงค์ โพธิสาโร
๑๕. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๑๖. นายประเสริฐ บุญเรือง
๑๗. นายวิสันต์ เดชเสน ๑๘. นายสุวิชญ์ โยทองยศ
๑๙. นายเอกพร รักความสุข ๒๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๑. นายชูศักดิ์ ศิรินิล ๒๒. นายจำรัส เวียงสงค์
๒๓. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๒๔. พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ
๒๕. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ๒๖. นายเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน
๒๗. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ๒๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร
๒๙. นายเจือ ราชสีห์ ๓๐. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
๓๑. นายสุวโรช พะลัง ๓๒. นายเจริญ คันธวงศ์
๓๓. นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ๓๔. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๕. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ
ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา ทั้งนี้
ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยัง
คณะรัฐมนตรีด้วย
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา จึงถือว่า
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกยับยั้งไว้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (๓)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๒. นายวิชัย สามิตร
๓. นายไพศาล จันทรภักดี ๔. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
๕. นายประเสริฐ บุญเรือง ๖. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์
๗. นายภาคิน สมมิตร ๘. นายธนกร นันที
๙. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๑๐. นายตรีพล เจาะจิตต์
๑๑. นายวินัย เสนเนียม ๑๒. นายชัย ชิดชอบ
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๙)
๗. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วย
กับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา
พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๕๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑ ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ….
ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
(ไม่เห็นชอบด้วยกับร่างของคณะกรรมาธิการร่วมกัน) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
**********************************
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอ่างทอง พ.ศ. …. ซึ่ง
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติคนพิการ พ.ศ. …. ซึ่ง นายถาวร เสนเนียม กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและ
วิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
เสร็จแล้ว
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๗
และครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๗ ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน ประจำปี ๒๕๔๔ และประจำปี ๒๕๔๕
(๒) รายงานประจำปี ๒๕๔๕ ของสถาบันพระปกเกล้า
๔. เรื่อง การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ด้วยนายไชยยศ จิรเมธากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดอุดรธานี พรรคประชาธิปัตย์
ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๗
ดังนั้นสมาชิกภาพจึงสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๘) ปัจจุบันมีสมาชิกฯ
เหลือจำนวน ๔๕๓ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ (สมัยสามัญ
ทั่วไป) จำนวน ๑๐ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๖ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๗ วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๘ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๙ วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๐ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๑ วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๒ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๓ วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๔ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๕ วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๑๐ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๔)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๕)
๓. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๙)
๗. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
๘. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบ
วาระที่ ๔.๔)
๙. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
๑๐. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๑๑. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๖)
๑๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
๑๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๑)
๑๔. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
๑๕. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓)
๑๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
๑๗. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๙)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๔)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๕)
ที่ประชุมได้มีมติให้รวมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๔ และ ๒๕ พร้อมกันแต่ให้ลงมติรับหลักการ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒. นายนภดล มัณฑะจิตร
๓. นายนิพนธ์ ฮะกีมี ๔. นายชูชาติ อัศวโรจน์
๕. นางชลิดา พันธ์กระวี ๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๗. นางกรรณิกา ธรรมเกษร ๘. พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล
๙. นายอารักษ์ ไชยริปู ๑๐. นายกมล บันไดเพชร
๑๑. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๒. นายภาคิน สมมิตร
๑๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๔. นายจำนงค์ โพธิสาโร
๑๕. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๑๖. นายประเสริฐ บุญเรือง
๑๗. นายวิสันต์ เดชเสน ๑๘. นายสุวิชญ์ โยทองยศ
๑๙. นายเอกพร รักความสุข ๒๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๑. นายชูศักดิ์ ศิรินิล ๒๒. นายจำรัส เวียงสงค์
๒๓. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๒๔. พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ
๒๕. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ๒๖. นายเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน
๒๗. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ๒๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร
๒๙. นายเจือ ราชสีห์ ๓๐. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
๓๑. นายสุวโรช พะลัง ๓๒. นายเจริญ คันธวงศ์
๓๓. นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ๓๔. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๕. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ
ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา ทั้งนี้
ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยัง
คณะรัฐมนตรีด้วย
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา จึงถือว่า
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกยับยั้งไว้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (๓)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๒. นายวิชัย สามิตร
๓. นายไพศาล จันทรภักดี ๔. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
๕. นายประเสริฐ บุญเรือง ๖. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์
๗. นายภาคิน สมมิตร ๘. นายธนกร นันที
๙. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๑๐. นายตรีพล เจาะจิตต์
๑๑. นายวินัย เสนเนียม ๑๒. นายชัย ชิดชอบ
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๙)
๗. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วย
กับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา
พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๕๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑ ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ….
ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
(ไม่เห็นชอบด้วยกับร่างของคณะกรรมาธิการร่วมกัน) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
**********************************