ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบคุณสมบัติของนายวิโรจน์ นวลแข ผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสรรหาและตรวจสอบคุณสมบัติของนายวิโรจน์ นวลแข
ที่ผ่านการคัดสรรจากคณะกรรมการธ.กรุงไทย ให้กลับเข้าเป็นกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย รอบที่ 2 ว่า
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของฝ่ายตรวจสอบสถาบันการเงิน ร่วมกับฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน
ของ ธปท. และจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันจันทร์ที่ 27 ก.ย.นี้ (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลก
วันนี้, ไทยรัฐ, มติชน)
2. ธปท.เตรียมเรียก ธพ.หารือเรื่องการขยายเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ ธพ.ต้องการหารือกับ ธปท.
เกี่ยวกับการขอขยายเพดานอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับร้อยละ 18 ว่า ธปท.เล็งเห็น
ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ซึ่งคาดว่า ธปท.จะเรียกผู้บริหารของ ธพ.เข้ามาหารือร่วมกันภายในสิ้นเดือน
ก.ย.นี้ พร้อมกันนี้ ธปท.จะหารือเกี่ยวกับการคิดค่าธรรมเนียมปรับในกรณีที่ลูกค้าบัตรเครดิตผิดนัดหรือชำระหนี้ล่าช้า
กว่ากำหนดด้วย (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน, ข่าวสด)
3. สศช.ประเมินไทยอาจขาดดุลการค้าต่อเนื่อง 5 ปี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำแนวโน้มเศรษฐกิจไทยระยะปานกลาง (2548-2552) โดยประเมินว่า แม้
ภาวะเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.7 แต่ก็จะเกิดปัญหาขาดดุลการค้าต่อเนื่อง 5 ปี วงเงินเฉลี่ยปี
ละ 2.97 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดหลังปี 48 จะ
ขาดดุลต่อเนื่อง 4 ปี คิดเป็นวงเงินเฉลี่ยปีละ 1.37 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 1.4 ของจีดีพี โดยสาเหตุสำคัญ
ที่ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงที่ผ่านมา ทำ
ให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการนำเข้าในสัดส่วนที่สูง สินค้าส่งออกยังนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
ขณะที่การขยายการลงทุนต้องนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์และการบริโภคในประเทศสูง ส่วนการผลิตสินค้าทุนเพื่อทด
แทนการนำเข้า และสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร สำหรับราคาสินค้าส่งออกจะมีภาคบริการท่อง
เที่ยวและสุขภาพ รวมถึงการศึกษานานาชาติ จะรักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดได้ระดับหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์)
4. ธ.กรุงศรีอยุธยาแนะ ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วันอีกร้อยละ 0.25 กรรมการผู้จัดการ
ใหญ่ ธ.กรุงศรีอยุธยา เปิดเผยถึง กรณี ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน (อาร์/พี) ตามอีกร้อยละ 0.25 เพื่อรักษาความสมดุล
ระหว่างดอกเบี้ยในและต่างประเทศ รวมถึงเพื่อป้องกันการโยกย้ายเงินทุนออกนอกประเทศ ขณะที่ประธาน
กรรมการบริหาร ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ถ้า ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง จะส่งผลให้การขึ้นเฉพาะดอกเบี้ย
บางประเภทไม่ได้ขึ้นพร้อมกันหมด เช่น บางธนาคารอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิง
(เอ็มแอลอาร์) หรือดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตามต้นทุนทางการเงินของแต่ละธนาคาร ซึ่งหาก ธปท.ต้องการ
เห็นภาพการขึ้นดอกเบี้ยพร้อมกันทั้งระบบแล้ว ควรจะมีการออกเครื่องมือทางการเงินเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วน
เกินออกไป เช่น พันธบัตร (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีและระยะ 15 ปีอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน
เม.ย.47 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 47 บริษัทธุรกิจสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า
ณ สิ้นสุดสัปดาห์ที่ 23 ก.ย. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 5.70 ลดลง
จากระดับร้อยละ 5.75 เมื่อสัปดาห์ก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 47 ที่เคยอยู่ในระดับร้อยละ 5.52 เช่น
เดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 5.10 จากระดับร้อยละ 5.13 เมื่อ
สัปดาห์ก่อนทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยระยะ 15 ปีเคยอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 4.84 เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 47 ส่วนอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ ( ARM) อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 4.00 ลดลงจากระดับเฉลี่ยร้อย
ละ 4.03 เมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี 15 ปีและ ARM อยู่ในระดับ
เฉลี่ยร้อยละ 6.01 5.03 และร้อยละ 3.81 ตามลำดับ นักวิเคราะห์เห็นว่าการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองลด
ลงอยู่ในระดับต่ำอีกครั้งส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะยังคงแข็งแกร่งต่อไป โดยตัวเลขการก่อสร้างบ้านใหม่
ของทางการสรอ.ในเดือนส.ค.เพิ่มขึ้นถึงระดับ 2,000 ล้านหลัง (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) เพิ่มขึ้น
จากระดับ 1,988 ล้านหลังเมื่อเดือนก.ค.อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน อนึ่งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาธ.กลาง
สรอ.ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 อยู่ในระดับร้อยละ 1.75 เป็นการปรับเพิ่มขึ้น
ครั้งที่ 3 ในรอบปี (รอยเตอร์)
2. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ สรอ.ปรับตัวลดลงในเดือน ส.ค.47 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
23 ก.ย.47 The Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเครื่องมือชี้วัดการดำเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจของ สรอ.ในอนาคต ลดลงที่ระดับ 115.7 หรือลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน ส.ค.47 หลังจากที่
ลดลงร้อยละ 0.3 เช่นกันในเดือนก่อนหน้า แต่ลดลงมากกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะลด
ลงร้อยละ 0.2 และนับเป็นการลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่เคยเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงต้นปี
47 ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงของดัชนีฯ มีสาเหตุจากการที่แนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยคงที่ ในขณะที่
การขออนุญาตก่อสร้างลดลง และความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคก็ไม่ดีนัก อนึ่ง การลดลงของ
ดัชนีฯ สะท้อนถึงความกังวลของบรรดาผู้บริโภคและธุรกิจ สรอ. โดยผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้ที่อาจ
เป็นข้อจำกัดต่อการใช้จ่าย ในขณะที่ธุรกิจมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการกำหนดราคาขายที่จะครอบ
คลุมต้นทุนที่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือน ส.ค.47 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ
23 ก.ย.47 The Department of Statistics เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล)
ของ สิงคโปร์ในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.47 และอยู่ใน
ระดับเดียวกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยก่อนหน้านี้ ในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. ดัชนีราคาเพิ่มติดต่อกัน 3 เดือน
ก่อนที่จะทรงตัวในเดือน มิ.ย. และลดลงในเดือน ก.ค. สำหรับอัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีสิ้นสุดเดือน ส.ค.47
อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.6 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของ The Monetary Authority of Singapore (MAS) ที่
ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสมว่าควรอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 ถึง 2 ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อดัชนี
ราคาผู้บริโภคในเดือน ส.ค. คือ ราคาเครื่องนุ่งห่ม การขนส่ง และการสื่อสาร ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
ส่วนหนึ่งยังเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ บรรดานักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่า อัตราเงิน
เฟ้อของสิงคโปร์สามารถที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 2 ใน 2-3 เดือนข้างหน้านี้ เนื่องจากการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจและการปรับเพิ่มของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (รอยเตอร์)
4. จีนคาดว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปี 47 จะมีมากถึง 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 23 ก.ย.47 ก.พาณิชย์ของจีนคาดการณ์ว่าการลงทุนจากต่างประ
ทศที่แท้จริงของจีนในปี 47 จะมียอดรวมสูงถึง 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 53.5 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ในปี 46 โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่แท้จริงของจีนมีจำนวน 43.6
พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 จากปี 46 ทั้งนี้ ได้มีการลงนามในสัญญาลงทุนแล้ว จำนวน 93.8
พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 แสดงให้เห็นแนวโน้มที่ดีในอนาคต และถ้าการไหลเข้าของเงินลง
ทุนจากต่างประเทศยังคงมีต่อเนื่องในระดับนี้คาดว่าตัวเลขทั้งปีจะมีมากกว่า 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งการ
ลงทุนจำนวนมากจากต่างประเทศเป็นปัจจัยที่ชี้ให้เห็นว่านักลงทุนจากต่างประเทศมีความเชื่อมั่นว่าจีนประสบความ
สำเร็จในการชะลอความร้อนแรงในการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี อนึ่ง ในปี 46 บริษัทต่างชาติร้อย
ละ 55 เป็นผู้ส่งสินค้าออกของจีนทั้งหมด และอยู่ในลำดับ 3 ของผู้ผลิตสินค้าทั้งหมดของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้
เสียภาษีสูงสุดในลำดับ 5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ก.ย. 47 23 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.414 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2274/41.5193 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.80/25.23 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.45 36.13 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบคุณสมบัติของนายวิโรจน์ นวลแข ผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสรรหาและตรวจสอบคุณสมบัติของนายวิโรจน์ นวลแข
ที่ผ่านการคัดสรรจากคณะกรรมการธ.กรุงไทย ให้กลับเข้าเป็นกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย รอบที่ 2 ว่า
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของฝ่ายตรวจสอบสถาบันการเงิน ร่วมกับฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน
ของ ธปท. และจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันจันทร์ที่ 27 ก.ย.นี้ (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลก
วันนี้, ไทยรัฐ, มติชน)
2. ธปท.เตรียมเรียก ธพ.หารือเรื่องการขยายเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ ธพ.ต้องการหารือกับ ธปท.
เกี่ยวกับการขอขยายเพดานอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับร้อยละ 18 ว่า ธปท.เล็งเห็น
ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ซึ่งคาดว่า ธปท.จะเรียกผู้บริหารของ ธพ.เข้ามาหารือร่วมกันภายในสิ้นเดือน
ก.ย.นี้ พร้อมกันนี้ ธปท.จะหารือเกี่ยวกับการคิดค่าธรรมเนียมปรับในกรณีที่ลูกค้าบัตรเครดิตผิดนัดหรือชำระหนี้ล่าช้า
กว่ากำหนดด้วย (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน, ข่าวสด)
3. สศช.ประเมินไทยอาจขาดดุลการค้าต่อเนื่อง 5 ปี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำแนวโน้มเศรษฐกิจไทยระยะปานกลาง (2548-2552) โดยประเมินว่า แม้
ภาวะเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.7 แต่ก็จะเกิดปัญหาขาดดุลการค้าต่อเนื่อง 5 ปี วงเงินเฉลี่ยปี
ละ 2.97 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดหลังปี 48 จะ
ขาดดุลต่อเนื่อง 4 ปี คิดเป็นวงเงินเฉลี่ยปีละ 1.37 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 1.4 ของจีดีพี โดยสาเหตุสำคัญ
ที่ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงที่ผ่านมา ทำ
ให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการนำเข้าในสัดส่วนที่สูง สินค้าส่งออกยังนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
ขณะที่การขยายการลงทุนต้องนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์และการบริโภคในประเทศสูง ส่วนการผลิตสินค้าทุนเพื่อทด
แทนการนำเข้า และสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร สำหรับราคาสินค้าส่งออกจะมีภาคบริการท่อง
เที่ยวและสุขภาพ รวมถึงการศึกษานานาชาติ จะรักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดได้ระดับหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์)
4. ธ.กรุงศรีอยุธยาแนะ ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วันอีกร้อยละ 0.25 กรรมการผู้จัดการ
ใหญ่ ธ.กรุงศรีอยุธยา เปิดเผยถึง กรณี ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน (อาร์/พี) ตามอีกร้อยละ 0.25 เพื่อรักษาความสมดุล
ระหว่างดอกเบี้ยในและต่างประเทศ รวมถึงเพื่อป้องกันการโยกย้ายเงินทุนออกนอกประเทศ ขณะที่ประธาน
กรรมการบริหาร ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ถ้า ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง จะส่งผลให้การขึ้นเฉพาะดอกเบี้ย
บางประเภทไม่ได้ขึ้นพร้อมกันหมด เช่น บางธนาคารอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิง
(เอ็มแอลอาร์) หรือดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตามต้นทุนทางการเงินของแต่ละธนาคาร ซึ่งหาก ธปท.ต้องการ
เห็นภาพการขึ้นดอกเบี้ยพร้อมกันทั้งระบบแล้ว ควรจะมีการออกเครื่องมือทางการเงินเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วน
เกินออกไป เช่น พันธบัตร (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีและระยะ 15 ปีอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน
เม.ย.47 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 47 บริษัทธุรกิจสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า
ณ สิ้นสุดสัปดาห์ที่ 23 ก.ย. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 5.70 ลดลง
จากระดับร้อยละ 5.75 เมื่อสัปดาห์ก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 47 ที่เคยอยู่ในระดับร้อยละ 5.52 เช่น
เดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 5.10 จากระดับร้อยละ 5.13 เมื่อ
สัปดาห์ก่อนทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยระยะ 15 ปีเคยอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 4.84 เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 47 ส่วนอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ ( ARM) อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 4.00 ลดลงจากระดับเฉลี่ยร้อย
ละ 4.03 เมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี 15 ปีและ ARM อยู่ในระดับ
เฉลี่ยร้อยละ 6.01 5.03 และร้อยละ 3.81 ตามลำดับ นักวิเคราะห์เห็นว่าการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองลด
ลงอยู่ในระดับต่ำอีกครั้งส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะยังคงแข็งแกร่งต่อไป โดยตัวเลขการก่อสร้างบ้านใหม่
ของทางการสรอ.ในเดือนส.ค.เพิ่มขึ้นถึงระดับ 2,000 ล้านหลัง (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) เพิ่มขึ้น
จากระดับ 1,988 ล้านหลังเมื่อเดือนก.ค.อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน อนึ่งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาธ.กลาง
สรอ.ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 อยู่ในระดับร้อยละ 1.75 เป็นการปรับเพิ่มขึ้น
ครั้งที่ 3 ในรอบปี (รอยเตอร์)
2. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ สรอ.ปรับตัวลดลงในเดือน ส.ค.47 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
23 ก.ย.47 The Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเครื่องมือชี้วัดการดำเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจของ สรอ.ในอนาคต ลดลงที่ระดับ 115.7 หรือลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน ส.ค.47 หลังจากที่
ลดลงร้อยละ 0.3 เช่นกันในเดือนก่อนหน้า แต่ลดลงมากกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะลด
ลงร้อยละ 0.2 และนับเป็นการลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่เคยเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงต้นปี
47 ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงของดัชนีฯ มีสาเหตุจากการที่แนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยคงที่ ในขณะที่
การขออนุญาตก่อสร้างลดลง และความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคก็ไม่ดีนัก อนึ่ง การลดลงของ
ดัชนีฯ สะท้อนถึงความกังวลของบรรดาผู้บริโภคและธุรกิจ สรอ. โดยผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้ที่อาจ
เป็นข้อจำกัดต่อการใช้จ่าย ในขณะที่ธุรกิจมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการกำหนดราคาขายที่จะครอบ
คลุมต้นทุนที่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือน ส.ค.47 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ
23 ก.ย.47 The Department of Statistics เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล)
ของ สิงคโปร์ในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.47 และอยู่ใน
ระดับเดียวกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยก่อนหน้านี้ ในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. ดัชนีราคาเพิ่มติดต่อกัน 3 เดือน
ก่อนที่จะทรงตัวในเดือน มิ.ย. และลดลงในเดือน ก.ค. สำหรับอัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีสิ้นสุดเดือน ส.ค.47
อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.6 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของ The Monetary Authority of Singapore (MAS) ที่
ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสมว่าควรอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 ถึง 2 ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อดัชนี
ราคาผู้บริโภคในเดือน ส.ค. คือ ราคาเครื่องนุ่งห่ม การขนส่ง และการสื่อสาร ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
ส่วนหนึ่งยังเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ บรรดานักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่า อัตราเงิน
เฟ้อของสิงคโปร์สามารถที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 2 ใน 2-3 เดือนข้างหน้านี้ เนื่องจากการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจและการปรับเพิ่มของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (รอยเตอร์)
4. จีนคาดว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปี 47 จะมีมากถึง 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 23 ก.ย.47 ก.พาณิชย์ของจีนคาดการณ์ว่าการลงทุนจากต่างประ
ทศที่แท้จริงของจีนในปี 47 จะมียอดรวมสูงถึง 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 53.5 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ในปี 46 โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่แท้จริงของจีนมีจำนวน 43.6
พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 จากปี 46 ทั้งนี้ ได้มีการลงนามในสัญญาลงทุนแล้ว จำนวน 93.8
พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 แสดงให้เห็นแนวโน้มที่ดีในอนาคต และถ้าการไหลเข้าของเงินลง
ทุนจากต่างประเทศยังคงมีต่อเนื่องในระดับนี้คาดว่าตัวเลขทั้งปีจะมีมากกว่า 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งการ
ลงทุนจำนวนมากจากต่างประเทศเป็นปัจจัยที่ชี้ให้เห็นว่านักลงทุนจากต่างประเทศมีความเชื่อมั่นว่าจีนประสบความ
สำเร็จในการชะลอความร้อนแรงในการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี อนึ่ง ในปี 46 บริษัทต่างชาติร้อย
ละ 55 เป็นผู้ส่งสินค้าออกของจีนทั้งหมด และอยู่ในลำดับ 3 ของผู้ผลิตสินค้าทั้งหมดของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้
เสียภาษีสูงสุดในลำดับ 5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ก.ย. 47 23 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.414 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2274/41.5193 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.80/25.23 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.45 36.13 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-