กรุงเทพ--27 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่นครนิวยอร์กเกี่ยวกับผลการประชุมระหว่างรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ซึ่งนาง Yoriko Kawaguchi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่โรงแรม Inter Continental นครนิวยอร์ก รวมทั้งผลการหารือกับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถานและเติร์กเมนิสถาน สรุปสาระได้ดังนี้
1. การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ที่ประชุมได้ทบทวนความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติของที่ประชุม ASEAN-Japan Commemorative Summit เมื่อปลายปี 2546 และตกลงที่จะนำผลการประชุมไปดำเนินการทุกเรื่อง โดยเฉพาะการเป็นหุ้นส่วนของญี่ปุ่นกับอาเซียนในการพัฒนา สำหรับประเด็นเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาตินั้น ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า จำเป็นต้องมีการปฏิรูปสหประชาชาติอย่างจริงจังและสนับสนุนการทำงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งและเห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่ว่าการปฏิรูปสหประชาชาตินั้น ต้องพิจารณาใน ภาพรวมทั้งหมด โดยการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงเป็นเพียงส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ดี โดยที่การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงโดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนสมาชิกทั้งประเภทถาวรและไม่ถาวรมีความสำคัญ อาเซียนและญี่ปุ่นจึงควรหารือร่วมกันเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ก่อนเพื่อให้เป็นแนวทางการดำเนินงานในขั้นต่อไป ที่ประชุมได้ตกลงว่าอาเซียนและญี่ปุ่นจะทำงานร่วมกันในเรื่องนี้ และให้ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรของทั้งสองฝ่ายทำการศึกษาและหารือร่วมกันอย่างสม่ำเสมอเรื่องหลักเกณฑ์การเพิ่มสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง ในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายก็จะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเจรจาหารือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าจะยกเรื่องนี้ขึ้นหารือในที่ประชุม ACD ด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและจะได้ทราบทัศนะ/ท่าทีของประเทศ ใน ACD อันจะช่วยให้ฝ่ายเอเชียสามารถประสานท่าทีที่ใกล้เคียงกันได้โดยเร็วเพื่อช่วยรักษาผลประโยชน์ของภูมิภาค เนื่องจากภูมิภาคอื่นได้เริ่มดำเนินการเรื่องนี้กันแล้ว
2. การหารือกับนาย Kassymzhomart Tokaev รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถานทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการปฏิรูปสหประชาชาติเป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องไม่จำกัดอยู่ที่ การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้น และจะต้องหาทางที่จะเชื่อมโยงองค์กรในภูมิภาคซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือที่มีความสำคัญ อันจะก้าวไปสู่ระบบพหุภาคีนิยมในที่สุดกับสหประชาชาติ เข้าด้วยกัน เพื่อให้สหประชาชาติสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน ฝ่ายคาซัคสถานได้ตกลงที่จะเป็นผู้ร่วมอุปถัมภ์ข้อมติของไทยเรื่องทุ่นระเบิด และในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบรับคำเชิญของนาย Tokaev ไปร่วมการประชุม Conference on Interaction and Confidence Building in Asia (CICA) ที่คาซัคสถานในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2547 ด้วย
3. การหารือกับนาย Rashid Meredov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเติร์กเมนิสถาน ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้เชิญนาย Meredov ให้เยือนไทย และเสนอให้มีการติดต่อระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย ในโอกาสนี้ นาย Meredov ได้ชี้แจงการดำเนินงานต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและขอให้ไทยเข้าใจท่าทีของเติร์กเมนิสถานในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบว่าไทยมีความเห็นว่าประเทศต่างๆ ควรร่วมมือกันผลักดันให้เกิดพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนที่สร้างสรรค์ในประเทศนั้นๆ มากกว่าที่จะมุ่งเฉพาะเจาะจงไปที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เนื่องจากจะไม่เกิดผลในทางบวก ในการนี้ ขอให้ฝ่ายเติร์กเมนิสถานส่งข้อมูลการดำเนินงานที่แสดงถึงพัฒนาการในเรื่องนี้ให้ฝ่ายไทยต่อไป ซึ่งไทยพร้อมที่จะเจรจากับมิตรประเทศอื่นๆ ให้ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่นครนิวยอร์กเกี่ยวกับผลการประชุมระหว่างรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ซึ่งนาง Yoriko Kawaguchi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่โรงแรม Inter Continental นครนิวยอร์ก รวมทั้งผลการหารือกับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถานและเติร์กเมนิสถาน สรุปสาระได้ดังนี้
1. การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ที่ประชุมได้ทบทวนความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติของที่ประชุม ASEAN-Japan Commemorative Summit เมื่อปลายปี 2546 และตกลงที่จะนำผลการประชุมไปดำเนินการทุกเรื่อง โดยเฉพาะการเป็นหุ้นส่วนของญี่ปุ่นกับอาเซียนในการพัฒนา สำหรับประเด็นเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาตินั้น ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า จำเป็นต้องมีการปฏิรูปสหประชาชาติอย่างจริงจังและสนับสนุนการทำงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งและเห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่ว่าการปฏิรูปสหประชาชาตินั้น ต้องพิจารณาใน ภาพรวมทั้งหมด โดยการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงเป็นเพียงส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ดี โดยที่การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงโดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนสมาชิกทั้งประเภทถาวรและไม่ถาวรมีความสำคัญ อาเซียนและญี่ปุ่นจึงควรหารือร่วมกันเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ก่อนเพื่อให้เป็นแนวทางการดำเนินงานในขั้นต่อไป ที่ประชุมได้ตกลงว่าอาเซียนและญี่ปุ่นจะทำงานร่วมกันในเรื่องนี้ และให้ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรของทั้งสองฝ่ายทำการศึกษาและหารือร่วมกันอย่างสม่ำเสมอเรื่องหลักเกณฑ์การเพิ่มสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง ในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายก็จะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเจรจาหารือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าจะยกเรื่องนี้ขึ้นหารือในที่ประชุม ACD ด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและจะได้ทราบทัศนะ/ท่าทีของประเทศ ใน ACD อันจะช่วยให้ฝ่ายเอเชียสามารถประสานท่าทีที่ใกล้เคียงกันได้โดยเร็วเพื่อช่วยรักษาผลประโยชน์ของภูมิภาค เนื่องจากภูมิภาคอื่นได้เริ่มดำเนินการเรื่องนี้กันแล้ว
2. การหารือกับนาย Kassymzhomart Tokaev รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถานทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการปฏิรูปสหประชาชาติเป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องไม่จำกัดอยู่ที่ การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้น และจะต้องหาทางที่จะเชื่อมโยงองค์กรในภูมิภาคซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือที่มีความสำคัญ อันจะก้าวไปสู่ระบบพหุภาคีนิยมในที่สุดกับสหประชาชาติ เข้าด้วยกัน เพื่อให้สหประชาชาติสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน ฝ่ายคาซัคสถานได้ตกลงที่จะเป็นผู้ร่วมอุปถัมภ์ข้อมติของไทยเรื่องทุ่นระเบิด และในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบรับคำเชิญของนาย Tokaev ไปร่วมการประชุม Conference on Interaction and Confidence Building in Asia (CICA) ที่คาซัคสถานในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2547 ด้วย
3. การหารือกับนาย Rashid Meredov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเติร์กเมนิสถาน ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้เชิญนาย Meredov ให้เยือนไทย และเสนอให้มีการติดต่อระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย ในโอกาสนี้ นาย Meredov ได้ชี้แจงการดำเนินงานต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและขอให้ไทยเข้าใจท่าทีของเติร์กเมนิสถานในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบว่าไทยมีความเห็นว่าประเทศต่างๆ ควรร่วมมือกันผลักดันให้เกิดพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนที่สร้างสรรค์ในประเทศนั้นๆ มากกว่าที่จะมุ่งเฉพาะเจาะจงไปที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เนื่องจากจะไม่เกิดผลในทางบวก ในการนี้ ขอให้ฝ่ายเติร์กเมนิสถานส่งข้อมูลการดำเนินงานที่แสดงถึงพัฒนาการในเรื่องนี้ให้ฝ่ายไทยต่อไป ซึ่งไทยพร้อมที่จะเจรจากับมิตรประเทศอื่นๆ ให้ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-