นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด และระบบ สศค. ประจำเดือนสิงหาคม 2547 สรุปได้ว่า ตัวชี้วัดทางการคลังตามระบบ สศค. และตามระบบกระแสเงินสดสะท้อนถึงฐานะการคลังที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมาก ภาคเอกชนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนได้จากการที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้ (ภาษีเงินได้) และจากฐานการบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต) ได้เพิ่มสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนภาครายจ่ายของรัฐบาลยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันตัววัดผลกระทบทางการคลังได้แสดงถึงผลการดำเนินงานทางการคลังที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
1. ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด (Cash Basis)
1.1 เดือนสิงหาคม 2547
รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 78,700 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 97,742 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 94,164 ล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน 3,577 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 19,042 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 10,125 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 8,917 ล้านบาท (เดือนเดียวกันปีที่แล้วเกินดุล 14,939 ล้านบาท ) เมื่อพิจารณาดุลการคลังเบื้องต้น (รายรับที่ไม่รวมดอกเบี้ยรับ หักด้วยรายจ่ายที่ไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย) รัฐบาลขาดดุลจำนวน 17,923 ล้านบาท
1.2 ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ต.ค.46 - ส.ค.47)
รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 992,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 126,688 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.6 ขณะที่การเบิกจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 1,031,374 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 151,746 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.3 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพจำนวน 43,098 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 38,893 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 63,333 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 102,226 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชดเชยการขาดดุล โดยการใช้เงินคงคลังจำนวน 48,266 ล้านบาท และโดยการกู้เงินจำนวน 53,960 ล้านบาท ด้วยการออกพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง 30,000 และ 23,960 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นเกินดุล 58,363 ล้านบาท
อย่างไรก็ดีในเดือนกันยายน 2547 จะมีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2547 ที่เหลื่อมนำส่งคลังจากเดือนสิงหาคมจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ดุลเงินสดในเดือนกันยายนเกินดุล สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าในปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลจะขาดดุลเงินสดประมาณ 50,500 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลงบประมาณ 12,900 ล้านบาท ขาดดุลนอกงบประมาณ 37,600 ล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 90,000 ล้านบาท
2. เงินคงคลังรัฐบาล
เงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 มีจำนวน 82,950 ล้านบาท (ประมาณ 20 วันทำการ) เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 2,043 ล้านบาท แต่ลดลงจากต้นปีงบประมาณจำนวน 48,266ล้านบาท
3. ฐานะการคลังตามระบบ สศค. (GFS Basis)
3.1 เดือนสิงหาคม 2547
3.1.1 ด้านรายได้
รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 92,082 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้นำส่งคลัง 78,700 ล้านบาท และรายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ รวมทั้งเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 13,382 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 92,062 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.7 เป็นผลจากกรมจัดเก็บภาษีสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นมากจากภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ รวมทั้งภาคเอกชนมีการขยายตัวสูงขึ้น
3.1.2 ด้านรายจ่าย
รัฐบาลมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 101,574 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนจำนวน 92,602 ล้านบาท รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 882 ล้านบาท และรายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 8,091 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังจากหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 101,555 ล้านบาท (ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 89,087 ล้านบาทและรายจ่ายลงทุน 12,468 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 20.1
3.1.3 ดุลการคลังรัฐบาล
ดุลการคลัง (Fiscal Balance) ของรัฐบาลตามระบบ สศค.เดือนสิงหาคม 2547 ขาดดุล 12,137 ล้านบาท เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วขาดดุลเพียง 4,742 ล้านบาท
3.2 ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ต.ค.46 - ส.ค.47)
3.2.1 ด้านรายได้
รัฐบาลมีรายได้รวม 1,254,843 ล้านบาท โดยมีรายได้นำส่งคลัง 978,370 ล้านบาท รายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ และเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 276,473 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 1,188,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 22.4 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องส่งผลให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งเป็นผลจากหน่วยงานจัดเก็บได้นำเทคโนโลยีมาใช้ใน การบริหารจัดเก็บภาษี
3.2.2 ด้านรายจ่าย
รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 1,230,342 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณจำนวน 1,031,300 ล้านบาท จากรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 9,537 ล้านบาท รายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 189,505 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 1,164,040 ล้านบาท (แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,058,728 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 105,313 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 25.7 ซึ่งเป็น การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำร้อยละ 28.4 ในขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
3.2.3 ดุลการคลัง
รัฐบาลเกินดุลการดำเนินงานเบื้องต้น 129,813 ล้านบาท และเกินดุลการให้กู้ยืมสุทธิจำนวน 24,500 ล้านบาท และเมื่อหักผลของการให้กู้ยืมตามนโยบายรัฐบาลสุทธิจำนวน 30,702 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 6,202 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเกินดุลจำนวน 20,514 ล้านบาท
4. ผลกระทบของผลการดำเนินงานรัฐบาลในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
4.1 ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงมี 2 ส่วนคือรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (ประกอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง การใช้สินค้าและบริการ) และรายจ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาล ในขณะเดียวกันรายได้หลักของรัฐบาล คือ ภาษี และเงินสมทบประกันสังคม เป็นการดึงอำนาจซื้อจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีอำนาจซื้อลดลง
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายในรายการบำเหน็จดำรงชีพ การขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการ ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.4 ด้านภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีที่แล้วร้อยละ 1.6 แสดงถึงนโยบายการคลังไม่ได้สร้างภาระเพิ่มเติมให้แก่ภาคเอกชนและภาคครัวเรือน
4.2 ภาคการเงิน
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 102,226 ล้านบาท และได้ชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลังจำนวน 48,266 ล้านบาท และการกู้ยืมเงินโดยการออกพันธบัตรและตั๋วเงินคลังจำนวน 30,000 และ 23,960 ล้านบาท ตามลำดับ
การเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปี ณ สิ้นเดือนสิงหาคมทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการสำรองเงินสดไว้เพื่อการชำระภาษีของภาคเอกชน มีผลให้อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร (Interbank rate) ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 1.05 เป็น 1.37 และ 1.40 ตามลำดับ นอกจากนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน 0.25 บาท ในวันที่ 25 สิงหาคม 2547 ด้วยเช่นกัน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 74/2547 27 กันยายน 2547--
1. ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด (Cash Basis)
1.1 เดือนสิงหาคม 2547
รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 78,700 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 97,742 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 94,164 ล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน 3,577 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 19,042 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 10,125 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 8,917 ล้านบาท (เดือนเดียวกันปีที่แล้วเกินดุล 14,939 ล้านบาท ) เมื่อพิจารณาดุลการคลังเบื้องต้น (รายรับที่ไม่รวมดอกเบี้ยรับ หักด้วยรายจ่ายที่ไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย) รัฐบาลขาดดุลจำนวน 17,923 ล้านบาท
1.2 ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ต.ค.46 - ส.ค.47)
รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 992,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 126,688 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.6 ขณะที่การเบิกจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 1,031,374 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 151,746 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.3 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพจำนวน 43,098 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 38,893 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 63,333 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 102,226 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชดเชยการขาดดุล โดยการใช้เงินคงคลังจำนวน 48,266 ล้านบาท และโดยการกู้เงินจำนวน 53,960 ล้านบาท ด้วยการออกพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง 30,000 และ 23,960 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นเกินดุล 58,363 ล้านบาท
อย่างไรก็ดีในเดือนกันยายน 2547 จะมีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2547 ที่เหลื่อมนำส่งคลังจากเดือนสิงหาคมจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ดุลเงินสดในเดือนกันยายนเกินดุล สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าในปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลจะขาดดุลเงินสดประมาณ 50,500 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลงบประมาณ 12,900 ล้านบาท ขาดดุลนอกงบประมาณ 37,600 ล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 90,000 ล้านบาท
2. เงินคงคลังรัฐบาล
เงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 มีจำนวน 82,950 ล้านบาท (ประมาณ 20 วันทำการ) เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 2,043 ล้านบาท แต่ลดลงจากต้นปีงบประมาณจำนวน 48,266ล้านบาท
3. ฐานะการคลังตามระบบ สศค. (GFS Basis)
3.1 เดือนสิงหาคม 2547
3.1.1 ด้านรายได้
รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 92,082 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้นำส่งคลัง 78,700 ล้านบาท และรายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ รวมทั้งเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 13,382 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 92,062 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.7 เป็นผลจากกรมจัดเก็บภาษีสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นมากจากภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ รวมทั้งภาคเอกชนมีการขยายตัวสูงขึ้น
3.1.2 ด้านรายจ่าย
รัฐบาลมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 101,574 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนจำนวน 92,602 ล้านบาท รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 882 ล้านบาท และรายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 8,091 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังจากหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 101,555 ล้านบาท (ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 89,087 ล้านบาทและรายจ่ายลงทุน 12,468 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 20.1
3.1.3 ดุลการคลังรัฐบาล
ดุลการคลัง (Fiscal Balance) ของรัฐบาลตามระบบ สศค.เดือนสิงหาคม 2547 ขาดดุล 12,137 ล้านบาท เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วขาดดุลเพียง 4,742 ล้านบาท
3.2 ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ต.ค.46 - ส.ค.47)
3.2.1 ด้านรายได้
รัฐบาลมีรายได้รวม 1,254,843 ล้านบาท โดยมีรายได้นำส่งคลัง 978,370 ล้านบาท รายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ และเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 276,473 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 1,188,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 22.4 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องส่งผลให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งเป็นผลจากหน่วยงานจัดเก็บได้นำเทคโนโลยีมาใช้ใน การบริหารจัดเก็บภาษี
3.2.2 ด้านรายจ่าย
รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 1,230,342 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณจำนวน 1,031,300 ล้านบาท จากรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 9,537 ล้านบาท รายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 189,505 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 1,164,040 ล้านบาท (แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,058,728 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 105,313 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 25.7 ซึ่งเป็น การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำร้อยละ 28.4 ในขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
3.2.3 ดุลการคลัง
รัฐบาลเกินดุลการดำเนินงานเบื้องต้น 129,813 ล้านบาท และเกินดุลการให้กู้ยืมสุทธิจำนวน 24,500 ล้านบาท และเมื่อหักผลของการให้กู้ยืมตามนโยบายรัฐบาลสุทธิจำนวน 30,702 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 6,202 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเกินดุลจำนวน 20,514 ล้านบาท
4. ผลกระทบของผลการดำเนินงานรัฐบาลในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
4.1 ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงมี 2 ส่วนคือรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (ประกอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง การใช้สินค้าและบริการ) และรายจ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาล ในขณะเดียวกันรายได้หลักของรัฐบาล คือ ภาษี และเงินสมทบประกันสังคม เป็นการดึงอำนาจซื้อจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีอำนาจซื้อลดลง
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายในรายการบำเหน็จดำรงชีพ การขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการ ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.4 ด้านภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีที่แล้วร้อยละ 1.6 แสดงถึงนโยบายการคลังไม่ได้สร้างภาระเพิ่มเติมให้แก่ภาคเอกชนและภาคครัวเรือน
4.2 ภาคการเงิน
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 102,226 ล้านบาท และได้ชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลังจำนวน 48,266 ล้านบาท และการกู้ยืมเงินโดยการออกพันธบัตรและตั๋วเงินคลังจำนวน 30,000 และ 23,960 ล้านบาท ตามลำดับ
การเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปี ณ สิ้นเดือนสิงหาคมทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการสำรองเงินสดไว้เพื่อการชำระภาษีของภาคเอกชน มีผลให้อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร (Interbank rate) ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 1.05 เป็น 1.37 และ 1.40 ตามลำดับ นอกจากนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน 0.25 บาท ในวันที่ 25 สิงหาคม 2547 ด้วยเช่นกัน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 74/2547 27 กันยายน 2547--