แท็ก
ธปท.
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คปน. ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ ณ สิ้นเดือน ก.ค.47 มูลหนี้กว่า 1.4 ล้านล้านบาท
นายทำนอง ดาศรี ผอ.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยความคืบหน้าในการส่งเสริมการปรับปรุงโครง
สร้างหนี้ของคณะกรรมการเพื่อการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ว่า นับตั้งแต่ปี 2541 จนถึงสิ้น
เดือน ก.ค.47 มีลูกหนี้เข้าเจรจาตามกระบวนการของ คปน. จำนวน 17,384 ราย มูลหนี้ 2,870,505 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนก่อน 215 ราย มูลหนี้ 1,510 ล้านบาท โดยในเดือน ก.ค.47 มีลูกหนี้ที่เจรจาได้ข้อ
สรุปเพิ่มขึ้น 75 ราย มูลหนี้ 6,147 ล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 32 ราย มูลหนี้
2,725 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจการพาณิชย์ ส่งผลให้ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จภาย
ใต้กระบวนการ คปน. ตั้งแต่เริ่มดำเนินการปี 2541 จนถึงสิ้นเดือน ก.ค.47 มีจำนวน 11,218 ราย มูลหนี้
1.479 ล้านล้านบาท ส่วนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จมีจำนวน 2,320 ราย มูลหนี้ 416,628 ล้าน
บาท สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมายที่สถาบันการเงินแจ้งเข้าโครงการ คปน. เพิ่มเติมนับ
ตั้งแต่เดือน พ.ค. — ก.ค.47 มีจำนวน 1,175 ราย มูลหนี้ 13,988 ล้านบาท และมีลูกหนี้ตอบรับเข้าร่วม
เจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 150 ราย มูลหนี้ 1,383 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี 41
ราย มูลหนี้ 417 ล้านบาท และหนี้อยู่ระหว่างบังคับคดี 109 ราย มูลหนี้ 966 ล้านบาท เมื่อรวมกับลูกหนี้เป้า
หมายที่คงค้างอยู่ระหว่างการเจรจาเดิม ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 มีจำนวนทั้งสิ้น 412 ราย มูลหนี้ 18,548 ล้าน
บาท ทั้งนี้ ข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งระบบ ณ สิ้นเดือน ส.ค.47 มีทั้งสิ้น 641,499.10 ล้านบาท คิด
เป็นร้อยละ 12.18 ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ (บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ, แนวหน้า)
2. ก.คลังจะเสนอหลักเกณฑ์ควบรวมกิจการเครดิตบูโรไทยทั้ง 2 แห่ง ให้ ครม.พิจารณา
นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัด ก.คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัทข้อมูลเครดิต
ไทย จำกัด (TCB) และบริษัทข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด (CCIS) ว่า ในวันที่ 28 ก.ย.47 ก.คลังจะนำเรื่องนี้
เข้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อบังคับต่าง ๆ ของ TCB ที่ได้จัดตั้งขึ้นตามมติ ครม. เพื่อให้สามารถ
ดำเนินการควบรวมกิจการกับ CCIS ได้ และหากได้รับความเห็นชอบจาก ครม. แล้วคาดว่าจะใช้เวลาในการ
ควบรวมกิจการประมาณ 3-4 เดือน จึงจะสามารถเปิดให้บริการได้ โดยค่าบริการในการให้ข้อมูลจะลดลงจาก
เดิมอย่างแน่นอน สำหรับสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใหม่ภายหลังจากควบรวมกิจการนั้น ก.คลังจะถือหุ้นร้อยละ
19 ธอส. ร้อยละ 30 บ.ทิพยประกันภัย ร้อยละ 2 และ CCIS ร้อยละ 49 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 253
ล้านบาท โดยในส่วนของ ก.คลังอาจจะให้ ธ.ออมสิน ธพว. และ ธกส. เข้ามาลงทุน(ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
3. ธ.พาณิชย์ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเพดานคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ นายชาติชาย พยุหนาวี
ชัย ผอฝ.อาวุโส ฝ่ายสินเชื่อ ธ.กสิกรไทย กล่าวว่า สถาบันการเงินควรจะแยกการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ กับ
เบี้ยผิดนัดชำระออกจากกันให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนของผู้บริโภค เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อ ธปท. สั่งให้
นำดอกเบี้ยและเบี้ยค้างชำระมาคิดรวมกันแล้ว ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภคและมีตัวเลขดอกเบี้ยผิดนัดดูสูง
เกินกว่าที่คิดจริงมาก สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแก่ธนาคาร แหล่งข่าวจาก ธ.พาณิชย์กล่าวว่า การที่ ธ.พาณิชย์บาง
แห่งคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระสูงมาก เนื่องจากมีการนำค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าธรรมเนียมผิดนัดมาใช้
ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณเป็นดอกเบี้ยเพื่อให้เข้ากับคำสั่งของ ธปท. ทำให้มีอัตราดอกเบี้ยผิดนัดมากกว่าที่เก็บจริง อีก
ทั้งค่าปรับบางอัตราก็เรียบกเก็บในกรณีที่ต่างกันด้วย ด้าน นางชาลอต โทณวณิก ผช.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงศรีฯ
เปิดเผยว่าไม่เห็นด้วยหาก ธปท. จะมีการตั้งเพดานกำหนดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ เนื่องจากสถาบันการเงินแต่ละ
แห่งมีต้นทุนการดำเนินงานต่างกัน จึงอาจจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดต่างกัน ซึ่งทางการควรจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไก
ตลาด (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
4. ธ.ต่างชาติและ ธ.พาณิชย์ขนาดเล็กอาจจะเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากในเร็ว ๆ นี้ นาย
พงศธร สิริโยธิน รอง กก.ผจก.ใหญ่อาวุโส รักษาการ กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงไทย กล่าวว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ย
นโยบายของ ธ.กลาง สรอ. อีกร้อยละ 0.25 ไม่น่าส่งผลต่อดอกเบี้ยในตลาดโลก เนื่องจากนักลงทุนและตลาด
ต่างรับรู้และคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ในส่วนของดอกเบี้ยในประเทศยังไม่น่าจะปรับขึ้นตามเนื่องจากยังมีสภาพคล่อง
เหลือ หากจะมองแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์ควรมองแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ที่มี
จำนวนสาขามากยังไม่น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย เพราะปล่อยสินเชื่อจากการระดมเงินฝากและยังมีสภาพคล่องเหลือ
อีกมากและต้นทุนดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดเล็กและธนาคารต่างชาติที่พึ่งพาการกู้เงินจาก
ตลาดเงินหรือกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อมาปล่อยสินเชื่อ อาจจะมีต้นทุนเพิ่มเนื่องจากตลาดดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์
เริ่มปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ดังนั้น ธนาคารกลุ่มนี้จึงมีโอกาสขยับดอกเบี้ยขึ้นก่อนธนาคารขนาดใหญ่ (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อต่อปีของเยอรมนีลดลงที่ระดับร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ย.47 รายงานจาก
เบอร์ลินเมื่อ 24 ก.ย.47 The Federal Statistics Office เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนี
ในเดือน ก.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อต่อปีลดลงที่ระดับร้อยละ 1.8 จาก
ร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อน ตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าดัชนีฯ จะไม่เปลี่ยนแปลง โดย
การชะลอตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวมีสาเหตุจากการปรับลดลงของราคาอาหารตามฤดูกาลและราคา
น้ำมัน รวมถึงรายได้จากการท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์ที่ลดลงเนื่องจากสิ้นสุดช่วงปิดเทอม ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของ
เยอรมนีเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป(ตัวเลขเบื้องต้น)ซึ่งลด
ลงเช่นกันที่ระดับร้อยละ 2.0 จากร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การปรับ
ตัวลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีอาจจะเป็นการชั่วคราว เนื่องจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก
โดยมีสาเหตุจากการที่กำลังผลิตน้ำมันลดลงเนื่องจากเกิดพายุเฮอร์ริเคนในบริเวณอ่าวเม็กซิโก นอกจากนี้ ยังมี
สาเหตุจากการที่บริษัทผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ในภูมิภาคยุโรป 2 แห่งประกาศปรับเพิ่มราคาน้ำมันตั้งแต่วันที่ 1 ต.
ค.47 ที่อาจส่งผลให้บริษัทผลิตน้ำมันอื่นๆ ขึ้นราคาน้ำมันตาม อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์มองว่าอัตราเงินเฟ้อของ
เยอรมนีและเขตเศรษฐกิจยุโรปในช่วงที่เหลือของปี 47 จะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปัจจุบัน (รอยเตอร์)
2. คาดว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในเยอรมนีสำหรับเดือน ก.ย.47 จะลดลงจากเดือน
ก่อน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 24 ก.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนี
ชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในเยอรมนีซึ่งเป็นผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารธุรกิจจำนวน 7,000 คนโดย
Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยธุรกิจชั้นนำของเยอรมนีสำหรับเดือน ก.ย.47 จะอยู่ที่ 95.1 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่
ระดับ 95.3 ลดลงเป็นเดือนที่ 4 ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและความกังวลว่า
เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว หลังจากที่เศรษฐกิจเยอรมนีเริ่มฟื้นตัวจากการส่งออกสินค้าเช่นเคมีภัณฑ์และเครื่อง
จักรโดยมี สรอ.และจีนเป็นตลาดใหญ่ ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของ GDP ก็ยัง
อยู่ในภาวะซบเซาสร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจะหยุดชะงักหากการส่งออกชะลอตัวตามภาวะ
เศรษฐกิจโลก เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนชาวเยอรมันซึ่งสำรวจโดย ZEW ซึ่งเป็นสถาบันวิจัย
ชั้นนำของเยอรมนีอีกแห่งหนึ่งที่ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือนในเดือน ก.ย.47 สาเหตุจากความกังวล
ว่าราคาน้ำมันอาจทำให้ความต้องการในประเทศลดลง Ifo มีกำหนดจะรายงานดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นดังกล่าว
ข้างต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 ก.ย.47 เวลา 8.00 น. ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของจีนในปี 47 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.0 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 25 ก.
ย.47 the State Development and Reform Commission คาดว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของจีน
ในปี 47 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.0 ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.2 แม้ว่า
จีนจะใช้มาตรการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจในประเทศลงตั้งแต่ปีก่อน รวมถึงการธนาคารต้องกันสำรองเพิ่ม
ขึ้นแทนการปล่อยกู้ ตลอดจนระงับโครงการใหม่ในภาคอุตสาหกรรม อาทิเช่น โครงการในภาคอสังหาริมทรัพย์
และผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า แต่ปัญหาจากการที่เศรษฐกิจของจีนร้อนแรงเกินไปก็ยังคงมีอยู่ ขณะที่เลขาธิการฝ่ายทั่วไป
และโฆษกของ the State Development and Reform Commission (Cao Yushu) ยังแนะนำว่ารัฐบาล
จีนควรกำหนดเป้าหมายการควบคุมเศรษฐกิจมหภาค 2 มาตรการ คือ ป้องกันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
ประเทศไม่ให้ร้อนแรงจนเกินไป และการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมให้มีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม
ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวใกล้เคียงกับร้อยละ 9.0 ในปีนี้ก่อนที่จะลดความร้อนแรงลงใน
ปีถัดไป เทียบกับที่จีดีพีในปี 46 เคยอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.1 ส่วนในครึ่งแรกของปี 47 เศรษฐกิจจีนขยายตัวถึง
ร้อยละ 9.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะชะลอตัวลงในปี 48 รายงานจากโซล เมื่อ
24 ก.ย.47 ก.คลัง เกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การเติบโตเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะชะลอตัวลงในปี 48 ขณะที่รัฐบาล
เกาหลีใต้ ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย พยายามที่จะรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ใน
ระดับที่ดีที่สุดคือร้อยละ 5.0 ในปีนี้ จากที่เคยขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปีก่อน อย่างไรก็ตาม จากภาวะการชะลอ
ตัวของภาคการส่งออกและการบริโภคในประเทศที่อ่อนตัวลงอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
เกาหลีใต้ในปีหน้า โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย.47 จะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 20 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นเครื่องชี้ว่าการส่งออกอาจจะชะลอ
ตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 หลังจากที่ขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 41.9 เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนการส่งออกใน
รอบ 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.47) เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 เมื่อเทียบต่อปี แต่รัฐบาลเกาหลีใต้คาดว่าใน
ช่วงที่เหลือของปี 47 การส่งออกอาจเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง เพราะความต้องการสินค้าจากประเทศเพื่อน
บ้าน เช่น จีน และประเทศอื่น ๆ เบาบางลง (รอยเตอร์)
5. รมว.คลังเกาหลีใต้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี47 จะประมาณร้อยละ 3.5 รายงานจากโซล
เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 47 รัฐบาลเกาหลีใต้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะประมาณร้อยละ 3.5 ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว
แม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้ระดับราคาสินค้าจะสูงขึ้นอย่างมาก นักวิเคราะห์กล่าวว่ารัฐบาลมีความเห็นเรื่องแนวโน้มเงิน
เฟ้อแตกต่างกับธ.กลางเกาหลีใต้ที่เห็นว่าแนวโน้มเงินเฟ้อมีความน่าวิตกเนื่องจากระดับราคาที่เพิ่มสูงขึ้น อย่าง
ไรก็ตามรัฐบาลเห็นว่าราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อของเดือนต.ค. ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 จาก
ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และทำให้ทั้งปี 47 อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ทั้งนี้เมื่อปี 46 อัตราเงินเฟ้อของ
เกาหลีใต้อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 3.6 สำหรับในปี 47 ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อว่าจะยังคง
อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.6 ในส่วนของรัฐบาลมีความเห็นว่าเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ยังไม่น่าวิตกดังนั้นจึงควรปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งตรงข้ามกับธ.กลางที่มีความวิตกเรื่องภาวะเงินเฟ้อและเห็นว่าต้อง
ติดตามแนวโน้มเงินเฟ้อเนื่องจากการสูงขึ้นของระดับราคา อนึ่งเมื่อเดือนส.ค. ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนของเกาหลีใต้อยู่ในระดับต่ำสุดที่ร้อยละ
3.5 เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศที่ตกต่ำมาเป็นเวลา 2 ปีแล้วสำหรับเดือนก.ย.ธ.กลางเกาหลีใต้ไม่มีการ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจึงสร้างความผิดหวังให้แก่บรรดานักลงทุน นักเศรษฐศาสตร์ และแม้แต่รัฐบาลเกาหลีใต้
เอง อย่างไรก็ตามสำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการใน
วันที่ 5 ต.ค. นี้(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.ย. 47 24 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.39 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2081/41.5055 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 654.60/17.55 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.46 36.45 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คปน. ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ ณ สิ้นเดือน ก.ค.47 มูลหนี้กว่า 1.4 ล้านล้านบาท
นายทำนอง ดาศรี ผอ.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยความคืบหน้าในการส่งเสริมการปรับปรุงโครง
สร้างหนี้ของคณะกรรมการเพื่อการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ว่า นับตั้งแต่ปี 2541 จนถึงสิ้น
เดือน ก.ค.47 มีลูกหนี้เข้าเจรจาตามกระบวนการของ คปน. จำนวน 17,384 ราย มูลหนี้ 2,870,505 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนก่อน 215 ราย มูลหนี้ 1,510 ล้านบาท โดยในเดือน ก.ค.47 มีลูกหนี้ที่เจรจาได้ข้อ
สรุปเพิ่มขึ้น 75 ราย มูลหนี้ 6,147 ล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 32 ราย มูลหนี้
2,725 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจการพาณิชย์ ส่งผลให้ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จภาย
ใต้กระบวนการ คปน. ตั้งแต่เริ่มดำเนินการปี 2541 จนถึงสิ้นเดือน ก.ค.47 มีจำนวน 11,218 ราย มูลหนี้
1.479 ล้านล้านบาท ส่วนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จมีจำนวน 2,320 ราย มูลหนี้ 416,628 ล้าน
บาท สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมายที่สถาบันการเงินแจ้งเข้าโครงการ คปน. เพิ่มเติมนับ
ตั้งแต่เดือน พ.ค. — ก.ค.47 มีจำนวน 1,175 ราย มูลหนี้ 13,988 ล้านบาท และมีลูกหนี้ตอบรับเข้าร่วม
เจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 150 ราย มูลหนี้ 1,383 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี 41
ราย มูลหนี้ 417 ล้านบาท และหนี้อยู่ระหว่างบังคับคดี 109 ราย มูลหนี้ 966 ล้านบาท เมื่อรวมกับลูกหนี้เป้า
หมายที่คงค้างอยู่ระหว่างการเจรจาเดิม ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 มีจำนวนทั้งสิ้น 412 ราย มูลหนี้ 18,548 ล้าน
บาท ทั้งนี้ ข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งระบบ ณ สิ้นเดือน ส.ค.47 มีทั้งสิ้น 641,499.10 ล้านบาท คิด
เป็นร้อยละ 12.18 ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ (บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ, แนวหน้า)
2. ก.คลังจะเสนอหลักเกณฑ์ควบรวมกิจการเครดิตบูโรไทยทั้ง 2 แห่ง ให้ ครม.พิจารณา
นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัด ก.คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัทข้อมูลเครดิต
ไทย จำกัด (TCB) และบริษัทข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด (CCIS) ว่า ในวันที่ 28 ก.ย.47 ก.คลังจะนำเรื่องนี้
เข้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อบังคับต่าง ๆ ของ TCB ที่ได้จัดตั้งขึ้นตามมติ ครม. เพื่อให้สามารถ
ดำเนินการควบรวมกิจการกับ CCIS ได้ และหากได้รับความเห็นชอบจาก ครม. แล้วคาดว่าจะใช้เวลาในการ
ควบรวมกิจการประมาณ 3-4 เดือน จึงจะสามารถเปิดให้บริการได้ โดยค่าบริการในการให้ข้อมูลจะลดลงจาก
เดิมอย่างแน่นอน สำหรับสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใหม่ภายหลังจากควบรวมกิจการนั้น ก.คลังจะถือหุ้นร้อยละ
19 ธอส. ร้อยละ 30 บ.ทิพยประกันภัย ร้อยละ 2 และ CCIS ร้อยละ 49 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 253
ล้านบาท โดยในส่วนของ ก.คลังอาจจะให้ ธ.ออมสิน ธพว. และ ธกส. เข้ามาลงทุน(ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
3. ธ.พาณิชย์ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเพดานคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ นายชาติชาย พยุหนาวี
ชัย ผอฝ.อาวุโส ฝ่ายสินเชื่อ ธ.กสิกรไทย กล่าวว่า สถาบันการเงินควรจะแยกการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ กับ
เบี้ยผิดนัดชำระออกจากกันให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนของผู้บริโภค เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อ ธปท. สั่งให้
นำดอกเบี้ยและเบี้ยค้างชำระมาคิดรวมกันแล้ว ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภคและมีตัวเลขดอกเบี้ยผิดนัดดูสูง
เกินกว่าที่คิดจริงมาก สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแก่ธนาคาร แหล่งข่าวจาก ธ.พาณิชย์กล่าวว่า การที่ ธ.พาณิชย์บาง
แห่งคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระสูงมาก เนื่องจากมีการนำค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าธรรมเนียมผิดนัดมาใช้
ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณเป็นดอกเบี้ยเพื่อให้เข้ากับคำสั่งของ ธปท. ทำให้มีอัตราดอกเบี้ยผิดนัดมากกว่าที่เก็บจริง อีก
ทั้งค่าปรับบางอัตราก็เรียบกเก็บในกรณีที่ต่างกันด้วย ด้าน นางชาลอต โทณวณิก ผช.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงศรีฯ
เปิดเผยว่าไม่เห็นด้วยหาก ธปท. จะมีการตั้งเพดานกำหนดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ เนื่องจากสถาบันการเงินแต่ละ
แห่งมีต้นทุนการดำเนินงานต่างกัน จึงอาจจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดต่างกัน ซึ่งทางการควรจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไก
ตลาด (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
4. ธ.ต่างชาติและ ธ.พาณิชย์ขนาดเล็กอาจจะเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากในเร็ว ๆ นี้ นาย
พงศธร สิริโยธิน รอง กก.ผจก.ใหญ่อาวุโส รักษาการ กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงไทย กล่าวว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ย
นโยบายของ ธ.กลาง สรอ. อีกร้อยละ 0.25 ไม่น่าส่งผลต่อดอกเบี้ยในตลาดโลก เนื่องจากนักลงทุนและตลาด
ต่างรับรู้และคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ในส่วนของดอกเบี้ยในประเทศยังไม่น่าจะปรับขึ้นตามเนื่องจากยังมีสภาพคล่อง
เหลือ หากจะมองแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์ควรมองแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ที่มี
จำนวนสาขามากยังไม่น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย เพราะปล่อยสินเชื่อจากการระดมเงินฝากและยังมีสภาพคล่องเหลือ
อีกมากและต้นทุนดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดเล็กและธนาคารต่างชาติที่พึ่งพาการกู้เงินจาก
ตลาดเงินหรือกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อมาปล่อยสินเชื่อ อาจจะมีต้นทุนเพิ่มเนื่องจากตลาดดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์
เริ่มปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ดังนั้น ธนาคารกลุ่มนี้จึงมีโอกาสขยับดอกเบี้ยขึ้นก่อนธนาคารขนาดใหญ่ (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อต่อปีของเยอรมนีลดลงที่ระดับร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ย.47 รายงานจาก
เบอร์ลินเมื่อ 24 ก.ย.47 The Federal Statistics Office เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนี
ในเดือน ก.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อต่อปีลดลงที่ระดับร้อยละ 1.8 จาก
ร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อน ตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าดัชนีฯ จะไม่เปลี่ยนแปลง โดย
การชะลอตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวมีสาเหตุจากการปรับลดลงของราคาอาหารตามฤดูกาลและราคา
น้ำมัน รวมถึงรายได้จากการท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์ที่ลดลงเนื่องจากสิ้นสุดช่วงปิดเทอม ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของ
เยอรมนีเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป(ตัวเลขเบื้องต้น)ซึ่งลด
ลงเช่นกันที่ระดับร้อยละ 2.0 จากร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การปรับ
ตัวลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีอาจจะเป็นการชั่วคราว เนื่องจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก
โดยมีสาเหตุจากการที่กำลังผลิตน้ำมันลดลงเนื่องจากเกิดพายุเฮอร์ริเคนในบริเวณอ่าวเม็กซิโก นอกจากนี้ ยังมี
สาเหตุจากการที่บริษัทผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ในภูมิภาคยุโรป 2 แห่งประกาศปรับเพิ่มราคาน้ำมันตั้งแต่วันที่ 1 ต.
ค.47 ที่อาจส่งผลให้บริษัทผลิตน้ำมันอื่นๆ ขึ้นราคาน้ำมันตาม อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์มองว่าอัตราเงินเฟ้อของ
เยอรมนีและเขตเศรษฐกิจยุโรปในช่วงที่เหลือของปี 47 จะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปัจจุบัน (รอยเตอร์)
2. คาดว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในเยอรมนีสำหรับเดือน ก.ย.47 จะลดลงจากเดือน
ก่อน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 24 ก.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนี
ชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในเยอรมนีซึ่งเป็นผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารธุรกิจจำนวน 7,000 คนโดย
Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยธุรกิจชั้นนำของเยอรมนีสำหรับเดือน ก.ย.47 จะอยู่ที่ 95.1 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่
ระดับ 95.3 ลดลงเป็นเดือนที่ 4 ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและความกังวลว่า
เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว หลังจากที่เศรษฐกิจเยอรมนีเริ่มฟื้นตัวจากการส่งออกสินค้าเช่นเคมีภัณฑ์และเครื่อง
จักรโดยมี สรอ.และจีนเป็นตลาดใหญ่ ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของ GDP ก็ยัง
อยู่ในภาวะซบเซาสร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจะหยุดชะงักหากการส่งออกชะลอตัวตามภาวะ
เศรษฐกิจโลก เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนชาวเยอรมันซึ่งสำรวจโดย ZEW ซึ่งเป็นสถาบันวิจัย
ชั้นนำของเยอรมนีอีกแห่งหนึ่งที่ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือนในเดือน ก.ย.47 สาเหตุจากความกังวล
ว่าราคาน้ำมันอาจทำให้ความต้องการในประเทศลดลง Ifo มีกำหนดจะรายงานดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นดังกล่าว
ข้างต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 ก.ย.47 เวลา 8.00 น. ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของจีนในปี 47 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.0 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 25 ก.
ย.47 the State Development and Reform Commission คาดว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของจีน
ในปี 47 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.0 ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.2 แม้ว่า
จีนจะใช้มาตรการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจในประเทศลงตั้งแต่ปีก่อน รวมถึงการธนาคารต้องกันสำรองเพิ่ม
ขึ้นแทนการปล่อยกู้ ตลอดจนระงับโครงการใหม่ในภาคอุตสาหกรรม อาทิเช่น โครงการในภาคอสังหาริมทรัพย์
และผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า แต่ปัญหาจากการที่เศรษฐกิจของจีนร้อนแรงเกินไปก็ยังคงมีอยู่ ขณะที่เลขาธิการฝ่ายทั่วไป
และโฆษกของ the State Development and Reform Commission (Cao Yushu) ยังแนะนำว่ารัฐบาล
จีนควรกำหนดเป้าหมายการควบคุมเศรษฐกิจมหภาค 2 มาตรการ คือ ป้องกันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
ประเทศไม่ให้ร้อนแรงจนเกินไป และการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมให้มีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม
ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวใกล้เคียงกับร้อยละ 9.0 ในปีนี้ก่อนที่จะลดความร้อนแรงลงใน
ปีถัดไป เทียบกับที่จีดีพีในปี 46 เคยอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.1 ส่วนในครึ่งแรกของปี 47 เศรษฐกิจจีนขยายตัวถึง
ร้อยละ 9.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะชะลอตัวลงในปี 48 รายงานจากโซล เมื่อ
24 ก.ย.47 ก.คลัง เกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การเติบโตเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะชะลอตัวลงในปี 48 ขณะที่รัฐบาล
เกาหลีใต้ ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย พยายามที่จะรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ใน
ระดับที่ดีที่สุดคือร้อยละ 5.0 ในปีนี้ จากที่เคยขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปีก่อน อย่างไรก็ตาม จากภาวะการชะลอ
ตัวของภาคการส่งออกและการบริโภคในประเทศที่อ่อนตัวลงอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
เกาหลีใต้ในปีหน้า โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย.47 จะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 20 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นเครื่องชี้ว่าการส่งออกอาจจะชะลอ
ตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 หลังจากที่ขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 41.9 เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนการส่งออกใน
รอบ 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.47) เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 เมื่อเทียบต่อปี แต่รัฐบาลเกาหลีใต้คาดว่าใน
ช่วงที่เหลือของปี 47 การส่งออกอาจเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง เพราะความต้องการสินค้าจากประเทศเพื่อน
บ้าน เช่น จีน และประเทศอื่น ๆ เบาบางลง (รอยเตอร์)
5. รมว.คลังเกาหลีใต้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี47 จะประมาณร้อยละ 3.5 รายงานจากโซล
เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 47 รัฐบาลเกาหลีใต้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะประมาณร้อยละ 3.5 ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว
แม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้ระดับราคาสินค้าจะสูงขึ้นอย่างมาก นักวิเคราะห์กล่าวว่ารัฐบาลมีความเห็นเรื่องแนวโน้มเงิน
เฟ้อแตกต่างกับธ.กลางเกาหลีใต้ที่เห็นว่าแนวโน้มเงินเฟ้อมีความน่าวิตกเนื่องจากระดับราคาที่เพิ่มสูงขึ้น อย่าง
ไรก็ตามรัฐบาลเห็นว่าราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อของเดือนต.ค. ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 จาก
ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และทำให้ทั้งปี 47 อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ทั้งนี้เมื่อปี 46 อัตราเงินเฟ้อของ
เกาหลีใต้อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 3.6 สำหรับในปี 47 ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อว่าจะยังคง
อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.6 ในส่วนของรัฐบาลมีความเห็นว่าเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ยังไม่น่าวิตกดังนั้นจึงควรปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งตรงข้ามกับธ.กลางที่มีความวิตกเรื่องภาวะเงินเฟ้อและเห็นว่าต้อง
ติดตามแนวโน้มเงินเฟ้อเนื่องจากการสูงขึ้นของระดับราคา อนึ่งเมื่อเดือนส.ค. ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนของเกาหลีใต้อยู่ในระดับต่ำสุดที่ร้อยละ
3.5 เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศที่ตกต่ำมาเป็นเวลา 2 ปีแล้วสำหรับเดือนก.ย.ธ.กลางเกาหลีใต้ไม่มีการ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจึงสร้างความผิดหวังให้แก่บรรดานักลงทุน นักเศรษฐศาสตร์ และแม้แต่รัฐบาลเกาหลีใต้
เอง อย่างไรก็ตามสำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการใน
วันที่ 5 ต.ค. นี้(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.ย. 47 24 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.39 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2081/41.5055 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 654.60/17.55 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.46 36.45 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-