1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
บริษัทอินเตอร์แอสเสทส์ โฮลดิ้งร่วมทุนกับบริษัท Phyo Phei Phyo Co.Ltd
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งจากชาวประมงจังหวัดสมุทรปราการ กรณีบริษัท อินเตอร์แอสเสทส์ โฮลดิ้ง ทำการเชิญชวนชาวประมงเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่า โดยอ้างว่าบริษัทได้รับอนุมัติจากกรมประมงพม่าให้เข้าร่วมทุนกับบริษัท Phyo Phei Phyo Co.Ltd โดยผ่านความเห็นชอบจาก Myanmar PPP Inter Assets holdings JV Co.Ltd เพื่อทำการประมงในพม่าแล้ว และบริษัทได้ออกเอกสารระเบียบการในการทำประมงออกเชิญชวนชาวประมงทั้งจังหวัด
ล่าสุดสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกรมประมงไทยให้ประสานกับกรมประมงพม่า เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระเบียบและกฎเกณฑ์ในการทำประมงในน่านน้ำพม่า ปรากฏว่ากรมประมงพม่าได้ตอบกลับมาว่าบริษัท Myanmar PPP Inter Assets holdings JV Co.Ltd ได้รับอนุญาตให้ ทำการประมงในลักษณะร่วมทุน มีเรือประมงจำนวน 5 ลำ เข้าร่วมโครงการตรงตามที่บริษัทอินเตอร์แอสเสทส์ โฮลดิ้ง จริงตามที่แจ้งไว้
โดยตามระเบียบการทำประมงในน่านน้ำของพม่าจะสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ แบบ fishing right กับแบบ joint venture โดยแบบแรกกรมประมงพม่าได้อนุญาตให้กับบริษัท สยามโจนาธาน จำกัด เพียงบริษัทเดียวเข้าไปทำประมงในน่านน้ำพม่า ซึ่งได้ดำเนินการทำประมงอยู่ในปัจจุบัน ส่วนการทำประมงแบบ joint venture นั้น บริษัทต่างชาติสามารถร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นของพม่า หรือบริษัทร่วมทุนที่มีอยู่แล้ว หรือกับกรมประมงพม่าได้โดยตรง ตามเงื่อนไขการทำประมงแบบร่วมทุนที่พม่าเป็นผู้กำหนด
อย่างไรก็ตาม กรมประมงพม่าได้ขอให้กรมประมงไทยทำการตรวจสอบและรับรองเรือประมงไทยที่จะเข้าไปทำประมงในน่านน้ำพม่าในลักษณะร่วมทุน เช่นเดียวกับการรับรองเรือประมงที่เข้าไปทำการประมง ร่วมกับบริษัท สยามโจนาธาน จำกัด ในลักษณะของ fishing right ด้วย เมื่อบริษัทอินเตอร์แอสเสทส์ โฮลดิ้ง ได้รับอนุญาตและมีการร่วมทุนกับบริษัทฝ่ายพม่า สามารถนำเรือประมงไทยเข้าไปทำประมงในพม่าอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จะเป็นผลดีต่อเรือประมงไทยที่จะมีทางเลือกและมีแหล่งทำประมงเพิ่มขึ้นจากเดิม ทางสมาคมการประมงไทยจะได้แจ้งคำรับรองของกรมประมง ไปยังสมาชิกสมาคมที่ประสงค์จะเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่าต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 13 ก.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,153.30 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 631.66 ตัน สัตว์น้ำจืด 521.64 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.44 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.22 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 82.59 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 93.50 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 31.63 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 94.29 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.62 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 217.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 225.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 211.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 207.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.71 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.86 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.75 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 - 23 ก.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 20-26 กันยายน 2547--
-พห-
การผลิต
บริษัทอินเตอร์แอสเสทส์ โฮลดิ้งร่วมทุนกับบริษัท Phyo Phei Phyo Co.Ltd
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งจากชาวประมงจังหวัดสมุทรปราการ กรณีบริษัท อินเตอร์แอสเสทส์ โฮลดิ้ง ทำการเชิญชวนชาวประมงเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่า โดยอ้างว่าบริษัทได้รับอนุมัติจากกรมประมงพม่าให้เข้าร่วมทุนกับบริษัท Phyo Phei Phyo Co.Ltd โดยผ่านความเห็นชอบจาก Myanmar PPP Inter Assets holdings JV Co.Ltd เพื่อทำการประมงในพม่าแล้ว และบริษัทได้ออกเอกสารระเบียบการในการทำประมงออกเชิญชวนชาวประมงทั้งจังหวัด
ล่าสุดสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกรมประมงไทยให้ประสานกับกรมประมงพม่า เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระเบียบและกฎเกณฑ์ในการทำประมงในน่านน้ำพม่า ปรากฏว่ากรมประมงพม่าได้ตอบกลับมาว่าบริษัท Myanmar PPP Inter Assets holdings JV Co.Ltd ได้รับอนุญาตให้ ทำการประมงในลักษณะร่วมทุน มีเรือประมงจำนวน 5 ลำ เข้าร่วมโครงการตรงตามที่บริษัทอินเตอร์แอสเสทส์ โฮลดิ้ง จริงตามที่แจ้งไว้
โดยตามระเบียบการทำประมงในน่านน้ำของพม่าจะสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ แบบ fishing right กับแบบ joint venture โดยแบบแรกกรมประมงพม่าได้อนุญาตให้กับบริษัท สยามโจนาธาน จำกัด เพียงบริษัทเดียวเข้าไปทำประมงในน่านน้ำพม่า ซึ่งได้ดำเนินการทำประมงอยู่ในปัจจุบัน ส่วนการทำประมงแบบ joint venture นั้น บริษัทต่างชาติสามารถร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นของพม่า หรือบริษัทร่วมทุนที่มีอยู่แล้ว หรือกับกรมประมงพม่าได้โดยตรง ตามเงื่อนไขการทำประมงแบบร่วมทุนที่พม่าเป็นผู้กำหนด
อย่างไรก็ตาม กรมประมงพม่าได้ขอให้กรมประมงไทยทำการตรวจสอบและรับรองเรือประมงไทยที่จะเข้าไปทำประมงในน่านน้ำพม่าในลักษณะร่วมทุน เช่นเดียวกับการรับรองเรือประมงที่เข้าไปทำการประมง ร่วมกับบริษัท สยามโจนาธาน จำกัด ในลักษณะของ fishing right ด้วย เมื่อบริษัทอินเตอร์แอสเสทส์ โฮลดิ้ง ได้รับอนุญาตและมีการร่วมทุนกับบริษัทฝ่ายพม่า สามารถนำเรือประมงไทยเข้าไปทำประมงในพม่าอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จะเป็นผลดีต่อเรือประมงไทยที่จะมีทางเลือกและมีแหล่งทำประมงเพิ่มขึ้นจากเดิม ทางสมาคมการประมงไทยจะได้แจ้งคำรับรองของกรมประมง ไปยังสมาชิกสมาคมที่ประสงค์จะเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่าต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 13 ก.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,153.30 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 631.66 ตัน สัตว์น้ำจืด 521.64 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.44 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.22 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 82.59 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 93.50 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 31.63 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 94.29 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.62 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 217.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 225.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 211.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 207.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.71 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.86 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.75 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 - 23 ก.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 20-26 กันยายน 2547--
-พห-