ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เปิดเผยว่าการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตยังไม่น่าเป็นห่วง นายสามารถ บูรณ
วัฒนาโชค ผอ.อาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยงและวิเคราะห์ ธปท. เปิดเผยว่า การขยายตัวของสินเชื่อบัตร
เครดิตไม่ได้น่ากังวลแต่อย่างใด เพราะถ้าดูจากปริมาณสินเชื่อเทียบกับสินเชื่อรวมทุกประเภทที่มีอยู่ประมาณ 5
แสนล้านบาท ถือว่ามีสัดส่วนน้อยมาก เนื่องจากยอดสินเชื่อบัตรเครดิต ณ ไตรมาส 2 ปีนี้มีจำนวนเพียง 1.03
แสนล้านบาท จากจำนวนบัตรทั้งสิ้น 8.02 ล้านบัตร ซึ่งไม่ได้มีนัยสำคัญและ ธปท.ก็ดูแลใกล้ชิดอยู่แล้ว ส่วนยอด
เบิกถอนเงินสดล่วงหน้าที่ผ่านบัตรเครดิตแม้ว่าจะสูง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับปกติ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าปริมาณ
การเบิกเงินสดล่วงหน้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องถูกถอนเพื่อนำไปใช้หนี้บัตรเครดิตใบอื่นหรือไม่ เพราะ ธปท. ไม่ได้
กำหนดให้ ธ.พาณิชย์รายงานข้อมูลดังกล่าวให้ทราบ แต่ส่วนหนึ่งน่าจะมีสาเหตุจากช่วงเดือน เม.ย. — มิ.ย.
เป็นช่วงเปิดเทอมและฤดูท่องเที่ยวด้วย (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. เตือนธนบัตรปลอมชนิดราคา 100 บาท ระบาดหนัก นายอิทธิชัย จันทรินทุ ผอ.
อาวุโส สายออกบัตรธนาคาร ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ตรวจพบการลักลอบปลอมแปลงธนบัตรชนิดราคา 100
บาท มากขึ้น จากเดิมที่ส่วนใหญ่จะพบการปลอมแปลงธนบัตรชนิดราคา 500 บาท เนื่องจากธนบัตรชนิดราคา
100 บาท มีการใช้หมุนเวียนมากกว่า สำหรับพื้นที่ที่พบระบาดมากที่สุดอยู่ที่บริเวณชายแดนประเทศกัมพูชา พม่า
ลาว และตามเมืองใหญ่ในประเทศไทย ซึ่ง ธปท. คงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเทคนิคพิเศษสูงขึ้นมาใช้ในการ
ผลิต เพื่อป้องกันการปลอมแปลง โดยจะพยายามจับตาและติดตามในเรื่องนี้ (โพสต์ทูเดย์)
3. ธ.พาณิชย์เรียกร้องให้ ธปท. ออกจัดระเบียบนอนแบงก์ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กก.
ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ต้องการเห็นการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันระหว่างสถาบันการเงินในการทำ
ธุรกิจสินเชื่อบุคคลระหว่าง ธ.พาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) แม้นอนแบงก์จะอยู่ภายใต้
เกณฑ์เดียวกัน แต่ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างที่ยังไม่ได้ถูกควบคุม เช่น การทำธุรกิจเช่าซื้อ ส่งผลให้ ธ.
พาณิชย์เสียเปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะสถาบันการเงินจากต่างประเทศ ซึ่ง ธปท. รับทราบปัญหาแล้ว แต่
ขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายล่าช้า รวมถึงวิธีปฏิบัติเรื่องสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยระหว่าง ธ.พาณิชย์ของรัฐ และ ธ.
พาณิชย์เอกชนก็มีปัญหาด้วย นอกจากนี้ ควรนำ พรบ.สถาบันการเงินมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ เนื่องจาก พรบ.ดัง
กล่าวได้ร่างมา 2 ปีแล้ว ยังไม่สามารถประกาศใช้ อาจไม่ทันต่อสถานการณ์ และยังเรียกร้องว่า ธปท. ไม่
ควรกำหนดเพดานเบี้ยปรับของสินเชื่อบุคคล เพราะสร้างข้อจำกัดเกินไปกับสถาบันการเงินจนเป็นอุปสรรคในการ
ดำเนินธุรกิจ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, ไทยรัฐ)
4. เศรษฐกิจไทยปี 48 จะขยายตัวร้อยละ 5.5 — 6.0 ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กก.ผจก.สาย
วิจัยธุรกิจ บล.ภัทร จก. กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้และปีหน้าว่า ปัจจัยเศรษฐกิจ
อยู่ในช่วงหักเห โดย 3-4 ปีที่ผ่านมาปัจจัยรอบข้างสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะดอกเบี้ยต่ำทั่วโลกและการที่
รัฐบาลมีนโยบายทำให้เกิดความมั่นใจ จึงเกิดแรงกระตุ้นของการบริโภคและเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่าง
ชัดเจน แต่การขยายตัวในช่วงเวลานับแต่นี้ไปจะทำได้ไม่ง่ายเหมือนช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากดอกเบี้ยและราคา
น้ำมันที่สูงขึ้นมีผลกับเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก เพราะไทยพึ่งพาพลังงานร้อยละ 13-14 ของจีดีพี ในจำนวนนี้
ร้อยละ 6-7 นำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศซึ่งถือว่าสูงมาก ซึ่งแบบจำลองเศรษฐกิจของไอเอ็มเอฟประเมินว่า
ทุก 5 ดอลลาร์ สรอ. ที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้อัตราการขยายตัวเติบโตลดลง
ร้อยละ 9 และผลกระทบนี้จะเริ่มชัดเจนในปี 48 เนื่องจากรัฐบาลยังคงตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ ซึ่งจากปัจจัย
เหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าเศรษฐกิจไทยปี 48 จะขยายตัวน้อยกว่าปีนี้ คือ จะอยู่ที่ร้อยละ 6 และอาจจะลง
มาถึงร้อยละ 5.5 (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ไอเอ็มเอฟปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปีหน้าลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.3
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 27 ก.ย.47 จากหนังสือ World Economic Outlook ฉบับล่าสุดรายงานว่า กอง
ทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปี 48 อยู่ที่ระดับร้อย
ละ 4.3 ลดลงจากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ในรายงานฉบับเดือน เม.ย.47 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 นอก
จากนี้ ยังคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.ในปีหน้าจะขยายตัวอยู่ในระดับร้อยละ 3.5 ขณะที่จีนจะ
ขยายตัวถึงร้อยละ 7.5 อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟทำนายว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขยายตัวร้อย
ละ 5.0 ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของจีน ญี่ปุ่น และบางประเทศสมาชิกในเขต
เศรษฐกิจยุโรป เช่น เยอรมนีและฝรั่งเศส ขยายตัวอย่างมาก ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟปรับลดประมาณการเศรษฐกิจใน
ปีหน้าของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ของโลกเกือบทุกประเทศยกเว้นญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่ไอเอ็มเอ
ฟคาดว่าจะมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนประเทศแคนาดาและอังกฤษยังคงมีอัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ประมาณการไว้ (รอยเตอร์)
2. ราคาน้ำมันในตลาด สรอ.ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล รายงาน
จากนิวยอร์กเมื่อ 27 ก.ย.47 รายงานจาก The New York Mercantile Exchange เปิดเผยว่า ราคา
น้ำมันดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้า สรอ. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 36 เซนต์ต่อบาร์เรลสู่ระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาร์เรล นับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 21 ปี หลังจากล่าสุดอยู่ที่ระดับ 49.80 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็น
การปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีข่าวเกี่ยวกับปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไนจีเรีย ทำให้บริษัทผู้ผลิต
น้ำมันในไนจีเรียไม่สามารถผลิตน้ำมันในแหล่งผลิตในไนจีเรียได้ ส่งผลให้ไนจีเรียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันมากที่สุดเป็น
อันดับ 5 ของกลุ่มโอเปคไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้ตามโควต้าคือวันละ 2.3 ล.บาร์เรล ประกอบกับความกังวล
เกี่ยวกับปริมาณการผลิตในรัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย และอิรัก ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความหวาดหวั่นในตลาด
น้ำมัน สำหรับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในตลาดลอนดอน ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ระดับ 46.28 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาร์เรล อนึ่ง แม้ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในปี 47 นี้ แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 24 ปี ซึ่งเป็นผลจากมีการจำกัดการผลิตน้ำมันจากกลุ่มผู้ผลิต
น้ำมันรายใหญ่ (OPEC) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. การควบคุมระดับมหภาคของจีนได้ผลทำให้เศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
วันที่ 27 ก.ย. 47 คณะกรรมการนโยบายการเงินของจีนแถลงภายหลังการประชุมรายไตรมาสว่า ปัจจุบัน
เศรษฐกิจจีนเริ่มมีเสถียรภาพและมาตรการควบคุมเศรษฐกิจมหภาคก็กำลังทำงานอยู่ อย่างไรก็ตามนโยบายควม
คุมการขยายตัวของสินเชื่อและนโยบายการเงินอาจจะต้องเข้มงวดและจริงจัง โดยในระยะต่อไปจีนต้องสนับสนุน
ให้นโยบายมหภาคดังกล่าวสมบูรณ์ ซึ่งต้องมีเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินอย่างยืดหยุ่นและหลากหลาย
เพื่อที่จะนำไปสู่บทบาทสำคัญในกลไกตลาดในการจัดสรรทรัพยากร ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้น ท่ามกลางการคาด
การณ์กันอย่างกว้างขวางว่าการสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากอาจจะเป็นเหตุให้ ธ.
กลางจีนต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี นอกจากนั้น ธ.กลางจีนยังได้มีนโยบายใน
การรักษาเสถึยรภาพเงินหยวนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสมดุลด้วย สำหรับในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประสบ
ความสำเร็จจากนโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2 ชะลอตัวอยู่ที่
ระดับร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วและปริมาณเงิน-board money supply ณ สิ้นสุดเดือนส.ค. ขยาย
ตัวร้อยละ 13.6 ลดลงจากเดือนเม.ย. ที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 19 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อน
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 27 ก.ย.47 ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 1.1 ในเดือน
ส.ค.47 ลดลงจากเดือน ก.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากเดือน มิ.ย.47 และต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากความผันผวนของผลผลิตอุตสาหกรรมยาซึ่งลดลงร้อยละ 40.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันของปีก่อนอันเป็นผลจากการเปลี่ยนส่วนผสมทางเคมีของยาที่ผลิตในเดือน ส.ค.47 ในขณะที่ผลผลิตโรง
งานอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกันเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ
ปีก่อน แต่ยังต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 โดยอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อย
ละ 32 ของผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดและประมาณร้อยละ 50 ของยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 29.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของไมโครชิป คอมพิวเตอร์และ
เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมีซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 เมื่อเทียบช่วง
เวลาเดียวกันของปีก่อนสูงกว่าที่คาดไว้ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ในเดือน ก.ค.47 ตัวเลขผลผลิต
อุตสาหกรรมที่ลดลงในเดือน ส.ค.47 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์เริ่มชะลอตัวลงหลังจากขยายตัวด้วยเลข
สองหลัก 4 ไตรมาสติดต่อกันตั้งแต่สิ้นสุดการระบาดของโรคไข้หวัด SARS ในกลางปี 46 แต่อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 9 ในปีนี้ สูงสุดในรอบ 4 ปี จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของชิ
ปคอมพิวเตอร์และยาจากต่างประเทศ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกของเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมีก็เพิ่มขึ้นจากราคา
น้ำมันที่สูงขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ก.ย. 47 27 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.47 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2815/41.5755 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 646.78/14.70 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.1 36.46 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. เปิดเผยว่าการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตยังไม่น่าเป็นห่วง นายสามารถ บูรณ
วัฒนาโชค ผอ.อาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยงและวิเคราะห์ ธปท. เปิดเผยว่า การขยายตัวของสินเชื่อบัตร
เครดิตไม่ได้น่ากังวลแต่อย่างใด เพราะถ้าดูจากปริมาณสินเชื่อเทียบกับสินเชื่อรวมทุกประเภทที่มีอยู่ประมาณ 5
แสนล้านบาท ถือว่ามีสัดส่วนน้อยมาก เนื่องจากยอดสินเชื่อบัตรเครดิต ณ ไตรมาส 2 ปีนี้มีจำนวนเพียง 1.03
แสนล้านบาท จากจำนวนบัตรทั้งสิ้น 8.02 ล้านบัตร ซึ่งไม่ได้มีนัยสำคัญและ ธปท.ก็ดูแลใกล้ชิดอยู่แล้ว ส่วนยอด
เบิกถอนเงินสดล่วงหน้าที่ผ่านบัตรเครดิตแม้ว่าจะสูง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับปกติ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าปริมาณ
การเบิกเงินสดล่วงหน้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องถูกถอนเพื่อนำไปใช้หนี้บัตรเครดิตใบอื่นหรือไม่ เพราะ ธปท. ไม่ได้
กำหนดให้ ธ.พาณิชย์รายงานข้อมูลดังกล่าวให้ทราบ แต่ส่วนหนึ่งน่าจะมีสาเหตุจากช่วงเดือน เม.ย. — มิ.ย.
เป็นช่วงเปิดเทอมและฤดูท่องเที่ยวด้วย (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. เตือนธนบัตรปลอมชนิดราคา 100 บาท ระบาดหนัก นายอิทธิชัย จันทรินทุ ผอ.
อาวุโส สายออกบัตรธนาคาร ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ตรวจพบการลักลอบปลอมแปลงธนบัตรชนิดราคา 100
บาท มากขึ้น จากเดิมที่ส่วนใหญ่จะพบการปลอมแปลงธนบัตรชนิดราคา 500 บาท เนื่องจากธนบัตรชนิดราคา
100 บาท มีการใช้หมุนเวียนมากกว่า สำหรับพื้นที่ที่พบระบาดมากที่สุดอยู่ที่บริเวณชายแดนประเทศกัมพูชา พม่า
ลาว และตามเมืองใหญ่ในประเทศไทย ซึ่ง ธปท. คงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเทคนิคพิเศษสูงขึ้นมาใช้ในการ
ผลิต เพื่อป้องกันการปลอมแปลง โดยจะพยายามจับตาและติดตามในเรื่องนี้ (โพสต์ทูเดย์)
3. ธ.พาณิชย์เรียกร้องให้ ธปท. ออกจัดระเบียบนอนแบงก์ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กก.
ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ต้องการเห็นการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันระหว่างสถาบันการเงินในการทำ
ธุรกิจสินเชื่อบุคคลระหว่าง ธ.พาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) แม้นอนแบงก์จะอยู่ภายใต้
เกณฑ์เดียวกัน แต่ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างที่ยังไม่ได้ถูกควบคุม เช่น การทำธุรกิจเช่าซื้อ ส่งผลให้ ธ.
พาณิชย์เสียเปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะสถาบันการเงินจากต่างประเทศ ซึ่ง ธปท. รับทราบปัญหาแล้ว แต่
ขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายล่าช้า รวมถึงวิธีปฏิบัติเรื่องสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยระหว่าง ธ.พาณิชย์ของรัฐ และ ธ.
พาณิชย์เอกชนก็มีปัญหาด้วย นอกจากนี้ ควรนำ พรบ.สถาบันการเงินมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ เนื่องจาก พรบ.ดัง
กล่าวได้ร่างมา 2 ปีแล้ว ยังไม่สามารถประกาศใช้ อาจไม่ทันต่อสถานการณ์ และยังเรียกร้องว่า ธปท. ไม่
ควรกำหนดเพดานเบี้ยปรับของสินเชื่อบุคคล เพราะสร้างข้อจำกัดเกินไปกับสถาบันการเงินจนเป็นอุปสรรคในการ
ดำเนินธุรกิจ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, ไทยรัฐ)
4. เศรษฐกิจไทยปี 48 จะขยายตัวร้อยละ 5.5 — 6.0 ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กก.ผจก.สาย
วิจัยธุรกิจ บล.ภัทร จก. กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้และปีหน้าว่า ปัจจัยเศรษฐกิจ
อยู่ในช่วงหักเห โดย 3-4 ปีที่ผ่านมาปัจจัยรอบข้างสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะดอกเบี้ยต่ำทั่วโลกและการที่
รัฐบาลมีนโยบายทำให้เกิดความมั่นใจ จึงเกิดแรงกระตุ้นของการบริโภคและเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่าง
ชัดเจน แต่การขยายตัวในช่วงเวลานับแต่นี้ไปจะทำได้ไม่ง่ายเหมือนช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากดอกเบี้ยและราคา
น้ำมันที่สูงขึ้นมีผลกับเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก เพราะไทยพึ่งพาพลังงานร้อยละ 13-14 ของจีดีพี ในจำนวนนี้
ร้อยละ 6-7 นำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศซึ่งถือว่าสูงมาก ซึ่งแบบจำลองเศรษฐกิจของไอเอ็มเอฟประเมินว่า
ทุก 5 ดอลลาร์ สรอ. ที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้อัตราการขยายตัวเติบโตลดลง
ร้อยละ 9 และผลกระทบนี้จะเริ่มชัดเจนในปี 48 เนื่องจากรัฐบาลยังคงตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ ซึ่งจากปัจจัย
เหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าเศรษฐกิจไทยปี 48 จะขยายตัวน้อยกว่าปีนี้ คือ จะอยู่ที่ร้อยละ 6 และอาจจะลง
มาถึงร้อยละ 5.5 (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ไอเอ็มเอฟปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปีหน้าลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.3
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 27 ก.ย.47 จากหนังสือ World Economic Outlook ฉบับล่าสุดรายงานว่า กอง
ทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปี 48 อยู่ที่ระดับร้อย
ละ 4.3 ลดลงจากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ในรายงานฉบับเดือน เม.ย.47 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 นอก
จากนี้ ยังคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.ในปีหน้าจะขยายตัวอยู่ในระดับร้อยละ 3.5 ขณะที่จีนจะ
ขยายตัวถึงร้อยละ 7.5 อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟทำนายว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขยายตัวร้อย
ละ 5.0 ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของจีน ญี่ปุ่น และบางประเทศสมาชิกในเขต
เศรษฐกิจยุโรป เช่น เยอรมนีและฝรั่งเศส ขยายตัวอย่างมาก ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟปรับลดประมาณการเศรษฐกิจใน
ปีหน้าของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ของโลกเกือบทุกประเทศยกเว้นญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่ไอเอ็มเอ
ฟคาดว่าจะมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนประเทศแคนาดาและอังกฤษยังคงมีอัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ประมาณการไว้ (รอยเตอร์)
2. ราคาน้ำมันในตลาด สรอ.ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล รายงาน
จากนิวยอร์กเมื่อ 27 ก.ย.47 รายงานจาก The New York Mercantile Exchange เปิดเผยว่า ราคา
น้ำมันดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้า สรอ. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 36 เซนต์ต่อบาร์เรลสู่ระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาร์เรล นับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 21 ปี หลังจากล่าสุดอยู่ที่ระดับ 49.80 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็น
การปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีข่าวเกี่ยวกับปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไนจีเรีย ทำให้บริษัทผู้ผลิต
น้ำมันในไนจีเรียไม่สามารถผลิตน้ำมันในแหล่งผลิตในไนจีเรียได้ ส่งผลให้ไนจีเรียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันมากที่สุดเป็น
อันดับ 5 ของกลุ่มโอเปคไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้ตามโควต้าคือวันละ 2.3 ล.บาร์เรล ประกอบกับความกังวล
เกี่ยวกับปริมาณการผลิตในรัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย และอิรัก ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความหวาดหวั่นในตลาด
น้ำมัน สำหรับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในตลาดลอนดอน ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ระดับ 46.28 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาร์เรล อนึ่ง แม้ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในปี 47 นี้ แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 24 ปี ซึ่งเป็นผลจากมีการจำกัดการผลิตน้ำมันจากกลุ่มผู้ผลิต
น้ำมันรายใหญ่ (OPEC) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. การควบคุมระดับมหภาคของจีนได้ผลทำให้เศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
วันที่ 27 ก.ย. 47 คณะกรรมการนโยบายการเงินของจีนแถลงภายหลังการประชุมรายไตรมาสว่า ปัจจุบัน
เศรษฐกิจจีนเริ่มมีเสถียรภาพและมาตรการควบคุมเศรษฐกิจมหภาคก็กำลังทำงานอยู่ อย่างไรก็ตามนโยบายควม
คุมการขยายตัวของสินเชื่อและนโยบายการเงินอาจจะต้องเข้มงวดและจริงจัง โดยในระยะต่อไปจีนต้องสนับสนุน
ให้นโยบายมหภาคดังกล่าวสมบูรณ์ ซึ่งต้องมีเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินอย่างยืดหยุ่นและหลากหลาย
เพื่อที่จะนำไปสู่บทบาทสำคัญในกลไกตลาดในการจัดสรรทรัพยากร ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้น ท่ามกลางการคาด
การณ์กันอย่างกว้างขวางว่าการสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากอาจจะเป็นเหตุให้ ธ.
กลางจีนต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี นอกจากนั้น ธ.กลางจีนยังได้มีนโยบายใน
การรักษาเสถึยรภาพเงินหยวนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสมดุลด้วย สำหรับในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประสบ
ความสำเร็จจากนโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2 ชะลอตัวอยู่ที่
ระดับร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วและปริมาณเงิน-board money supply ณ สิ้นสุดเดือนส.ค. ขยาย
ตัวร้อยละ 13.6 ลดลงจากเดือนเม.ย. ที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 19 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อน
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 27 ก.ย.47 ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 1.1 ในเดือน
ส.ค.47 ลดลงจากเดือน ก.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากเดือน มิ.ย.47 และต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากความผันผวนของผลผลิตอุตสาหกรรมยาซึ่งลดลงร้อยละ 40.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันของปีก่อนอันเป็นผลจากการเปลี่ยนส่วนผสมทางเคมีของยาที่ผลิตในเดือน ส.ค.47 ในขณะที่ผลผลิตโรง
งานอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกันเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ
ปีก่อน แต่ยังต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 โดยอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อย
ละ 32 ของผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดและประมาณร้อยละ 50 ของยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 29.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของไมโครชิป คอมพิวเตอร์และ
เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมีซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 เมื่อเทียบช่วง
เวลาเดียวกันของปีก่อนสูงกว่าที่คาดไว้ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ในเดือน ก.ค.47 ตัวเลขผลผลิต
อุตสาหกรรมที่ลดลงในเดือน ส.ค.47 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์เริ่มชะลอตัวลงหลังจากขยายตัวด้วยเลข
สองหลัก 4 ไตรมาสติดต่อกันตั้งแต่สิ้นสุดการระบาดของโรคไข้หวัด SARS ในกลางปี 46 แต่อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 9 ในปีนี้ สูงสุดในรอบ 4 ปี จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของชิ
ปคอมพิวเตอร์และยาจากต่างประเทศ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกของเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมีก็เพิ่มขึ้นจากราคา
น้ำมันที่สูงขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ก.ย. 47 27 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.47 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2815/41.5755 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 646.78/14.70 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.1 36.46 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-