จีนเริ่มกลายมาเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลกแทนญี่ปุ่นในปี 2546 ด้วยปริมาณการผลิตที่สูงราว 220 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 22.8 ของปริมาณการผลิตเหล็กดิบรวมของโลก ขณะเดียวกันจีนเป็นประเทศผู้ใช้เหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ปี 2542 และมีปริมาณการใช้เหล็กราว 240 ล้านตันในปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 27.2 ของปริมาณการใช้เหล็กดิบรวมของโลก การที่จีนมีปริมาณการผลิตและปริมาณการใช้เหล็กสูงมากดังกล่าวมีส่วนทำให้ปริมาณการผลิตเหล็กดิบรวมของโลกในปี 2546 อยู่ในระดับสูงถึง 965 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากปี 2545 ขณะที่ปริมาณการใช้เหล็กดิบรวมของโลกสูงถึง 884 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กอันดับ 1 ของโลก มีดังนี้
1. การมีแหล่งสินแร่เหล็กในประเทศ ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีสินแร่เหล็กสำรองมากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากรัสเซีย ออสเตรเลีย และยูเครน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสินแร่เหล็กที่จีนผลิตได้มีสัดส่วนของเหล็กผสมอยู่เพียงร้อยละ 30 ทำให้จีนต้องพึ่งพาการนำเข้าสินแร่เหล็กโดยเฉพาะจากออสเตรเลียและบราซิลเป็นหลัก จนทำให้จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าสินแร่เหล็กมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่นในปัจจุบัน
2. อุตสาหกรรมผลิตเหล็กของจีนมีการเติบโตและพัฒนามาเป็นลำดับ เนื่องจากภาครัฐให้การคุ้มครองและส่งเสริม ดังนี้
การคุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ ได้แก่ การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) และมาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty) เพื่อมิให้ประเทศคู่ค้าใช้มาตรการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ผลิตเหล็กของจีน โดยล่าสุดในเดือนมกราคม 2547 รัฐบาลจีนประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกับเหล็กแผ่นรีดเย็นที่นำเข้าจากรัสเซีย เกาหลีใต้ ยูเครน คาซัคสถาน และไต้หวัน นโยบายส่งเสริมการควบรวมกิจการ เพื่อลดจำนวนผู้ผลิตขนาดเล็กและเน้นปรับปรุงประสิทธิ-ภาพการผลิตของโรงงาน โดยตั้งเป้าที่จะมีโรงงานผลิตเหล็กขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการผลิตประมาณ 4 โรง (จากปัจจุบันที่มีโรงงานผลิตเหล็กกว่า 30 โรง) มีกำลังการผลิตรวมกันมากถึง 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตเหล็กทั้งหมดของประเทศ นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก รัฐบาลจีนมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนผลิตเหล็กที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นหลัก เนื่องจากประสิทธิภาพในการผลิตเหล็กของจีนยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเฉลี่ยเพียง 47 ตัน/คน/ปี ในปี 2545 เทียบกับญี่ปุ่นซึ่งสามารถผลิตเหล็กได้เฉลี่ยสูงถึง 557 ตัน/คน/ปี ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะเอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเหล็กของจีนในระยะยาว
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนเป็นประเทศผู้ใช้เหล็กอันดับ 1 ของโลก คือ
1. การมีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่แข็งแกร่งจำนวนมากรองรับ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหนัก อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ ซึ่งขยายตัวค่อนข้างสูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน
2. เศรษฐกิจจีนขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของภาคก่อสร้าง ทั้งในส่วนของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของภาคเอกชนและการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของภาครัฐ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตต่างชาติในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งล้วนมีความต้องการใช้เหล็กจำนวนมากทำให้ความต้องการใช้เหล็กของจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับในปี 2547 คาดว่าปริมาณการผลิตและความต้องการใช้เหล็กของจีนจะชะลอการขยายตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2546 โดยปริมาณการผลิตเหล็กจะอยู่ในระดับ 250 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 13 เทียบกับอัตราขยายตัวร้อยละ 21 ในปี 2546 ขณะที่ความต้องการใช้เหล็กจะมีปริมาณ 280 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 15 เทียบกับอัตราขยายตัวร้อยละ 19 ในปี 2546 ทั้งนี้ การชะลอตัวดังกล่าวเป็นผลจากการที่รัฐบาลจีนเริ่มใช้นโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลงด้วยการเพิ่มความเข้มงวดกับการลงทุนในบางสาขา โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมเหล็ก อะลูมิเนียม ซีเมนต์ และภาคการก่อสร้าง ตั้งแต่ปลายปี 2546 เป็นสำคัญ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-พห-
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กอันดับ 1 ของโลก มีดังนี้
1. การมีแหล่งสินแร่เหล็กในประเทศ ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีสินแร่เหล็กสำรองมากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากรัสเซีย ออสเตรเลีย และยูเครน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสินแร่เหล็กที่จีนผลิตได้มีสัดส่วนของเหล็กผสมอยู่เพียงร้อยละ 30 ทำให้จีนต้องพึ่งพาการนำเข้าสินแร่เหล็กโดยเฉพาะจากออสเตรเลียและบราซิลเป็นหลัก จนทำให้จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าสินแร่เหล็กมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่นในปัจจุบัน
2. อุตสาหกรรมผลิตเหล็กของจีนมีการเติบโตและพัฒนามาเป็นลำดับ เนื่องจากภาครัฐให้การคุ้มครองและส่งเสริม ดังนี้
การคุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ ได้แก่ การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) และมาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty) เพื่อมิให้ประเทศคู่ค้าใช้มาตรการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ผลิตเหล็กของจีน โดยล่าสุดในเดือนมกราคม 2547 รัฐบาลจีนประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกับเหล็กแผ่นรีดเย็นที่นำเข้าจากรัสเซีย เกาหลีใต้ ยูเครน คาซัคสถาน และไต้หวัน นโยบายส่งเสริมการควบรวมกิจการ เพื่อลดจำนวนผู้ผลิตขนาดเล็กและเน้นปรับปรุงประสิทธิ-ภาพการผลิตของโรงงาน โดยตั้งเป้าที่จะมีโรงงานผลิตเหล็กขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการผลิตประมาณ 4 โรง (จากปัจจุบันที่มีโรงงานผลิตเหล็กกว่า 30 โรง) มีกำลังการผลิตรวมกันมากถึง 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตเหล็กทั้งหมดของประเทศ นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก รัฐบาลจีนมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนผลิตเหล็กที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นหลัก เนื่องจากประสิทธิภาพในการผลิตเหล็กของจีนยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเฉลี่ยเพียง 47 ตัน/คน/ปี ในปี 2545 เทียบกับญี่ปุ่นซึ่งสามารถผลิตเหล็กได้เฉลี่ยสูงถึง 557 ตัน/คน/ปี ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะเอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเหล็กของจีนในระยะยาว
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนเป็นประเทศผู้ใช้เหล็กอันดับ 1 ของโลก คือ
1. การมีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่แข็งแกร่งจำนวนมากรองรับ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหนัก อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ ซึ่งขยายตัวค่อนข้างสูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน
2. เศรษฐกิจจีนขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของภาคก่อสร้าง ทั้งในส่วนของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของภาคเอกชนและการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของภาครัฐ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตต่างชาติในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งล้วนมีความต้องการใช้เหล็กจำนวนมากทำให้ความต้องการใช้เหล็กของจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับในปี 2547 คาดว่าปริมาณการผลิตและความต้องการใช้เหล็กของจีนจะชะลอการขยายตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2546 โดยปริมาณการผลิตเหล็กจะอยู่ในระดับ 250 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 13 เทียบกับอัตราขยายตัวร้อยละ 21 ในปี 2546 ขณะที่ความต้องการใช้เหล็กจะมีปริมาณ 280 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 15 เทียบกับอัตราขยายตัวร้อยละ 19 ในปี 2546 ทั้งนี้ การชะลอตัวดังกล่าวเป็นผลจากการที่รัฐบาลจีนเริ่มใช้นโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลงด้วยการเพิ่มความเข้มงวดกับการลงทุนในบางสาขา โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมเหล็ก อะลูมิเนียม ซีเมนต์ และภาคการก่อสร้าง ตั้งแต่ปลายปี 2546 เป็นสำคัญ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-พห-