แท็ก
อุตสาหกรรม
สศอ.ชูโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เหตุพบของเสียบรรจุภัณฑ์-วัสดุเหลือใช้จากโรงงานสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลจากการสำรวจโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ในพื้นที่กรุงเทพ-ปริมณฑล ได้วางมาตรการแก้ไขเชิงบูรณาการทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบ เสนอจัดตั้งบริษัทจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ ชื่อ"ไทยรีแพค" เพื่อกระตุ้นผู้ประกอบการมีส่วนร่วมประกอบกิจการแบบมีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำโครงการแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อรองรับมาตรการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ ทั้งนี้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมสำคัญในการสนับสนุนพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆอย่างกว้างขวาง อีกทั้ง ยังเป็นการดึงดูดผู้บริโภคในการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ได้กลายเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่กลายเป็นของเสียเหลือใช้ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก ระบบการจัดการบรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการไทยบางแห่งยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น สศอ.จึงต้องเข้ามาสนับสนุนด้านการจัดการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมการตลาดและการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ
ในเบื้องต้น สศอ.ได้มอบให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ใน 5 ประเภท ได้แก่ พลาสติก อลูมิเนียม โลหะ แก้ว และกระดาษ โดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจากโรงงานขนาดใหญ่ 17 แห่ง รวมทั้ง ส่งแบบสอบถามไปยังโรงงานต่างๆ เพื่อศึกษาและสำรวจข้อมูล ด้านกำลังการผลิตของอุตสาหกรรม ราคาของบรรจุภัณฑ์ การจ้างงาน ผลการดำเนินงาน การจัดการด้านการลดของเสียในโรงงาน และความต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่น เพื่อนำผลการศึกษาจัดทำนโยบาย มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เสนอต่อหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบต่อไป
จากผลการศึกษา ได้เสนอให้มีการจัดตั้งบริษัท "ไทยรีแพค" ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และผู้ผลิตสินค้า ในการวางแผนประกอบกิจการที่มีระบบการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะเป็นการบริหารธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งบริษัทดังกล่าว จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ โดยมีขั้นตอนดำเนินการประกอบด้วย 1. การระดมทุนจากค่าธรรมเนียมรายปีของสมาชิก 2. การจัดจ้างบริษัทเอกชน 4 แห่ง เพื่อรับดำเนินการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ 5 ประเภท ได้แก่ บรรจุภัณฑ์แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะและอะลูมิเนียม ซึ่งบริษัทไทยรีแพคจะทำหน้าที่ตั้งแต่การรณรงค์แยกขยะ การจัดเก็บ คัดแยก รวบรวมและขนส่งไปยังโรงงานแปรรูป โดยจะมีการรายงานผลดำเนินการต่อหน่วยงานของรัฐเป็นประจำทุกปี แนวทางการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวจะนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาต่อไป
จากผลการศึกษา ปริมาณของเสียบรรจุภัณฑ์ในช่วงปี 2546 จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 62,750,116 คน พบว่า มีปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้น 39,517.81 ตันต่อวัน โดยมีปริมาณมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งสู่สถานที่กำจัด ได้แก่ พลาสติก 9,597.53 ตันต่อวัน กระดาษ 849.49 ตันต่อวัน อลูมิเนียม 186.23 ตันต่อวัน แก้ว 1,075.78 ตันต่อวัน และโลหะ 167.93 ตันต่อวัน รวมบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท เป็นปริมาณทั้งสิ้น 11,876.97 ตันต่อวัน ซึ่งหากรวมเป็นปริมาณมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ที่ต้องกำจัดในหนึ่งปี พบว่า เป็นปริมาณสูงถึง 4,074,987.01 ตันต่อปี
ทั้งนี้ จะเห็นว่า ปัจจุบันของเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้มีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และส่วนใหญ่มักย่อยสลายยาก ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งผลักดันมาตรการแก้ไขปัญหาในทุกส่วนอย่างจริงจัง โดยในด้านการส่งเสริมการลงทุน ได้เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) พิจารณาด้านสิทธิประโยชน์ให้กับภาคเอกชน เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีทั้งด้านเงินลงทุนและอัตราภาษีเครื่องจักรสำหรับการใช้ซ้ำและการรีไซเคิลแก่ผู้ประกอบการ รวมทั้ง ให้งบประมาณสนับสนุนการศึกษาวิจัยแนวทางการใช้ประโยชน์ขยะบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ให้มากขึ้น
นางสาวสุชาดากล่าวเสริมว่า จากการที่ได้ทำการศึกษาวิจัยการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้พัฒนาเทคโนโลยีและวางแนวทางการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทให้เหมาะสมกับประเทศไทย ทำให้ทราบว่า ประเทศญี่ปุ่น มีการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย คัดแยกและรีไซเคิลขยะประเภทต่างๆ และเมื่อเผาขยะแล้วจะนำกากขี้เถ้ามาอัดเป็นแท่งเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ส่วนพลังงานความร้อนจะใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้ง มีการใช้ระบบมัดจำแบตเตอรี่และถ่านไฟฉายซึ่งเป็นวัสดุที่เหลือใช้แล้ว ขณะที่ ประเทศสวีเดน ได้จัดตั้งบริษัท REPA ขึ้นเพื่อให้บริการด้านการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะ โดยเจ้าของสินค้าที่ขึ้นทะเบียนต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ซึ่งจะมีอัตราแตกต่างกันตามประเภทบรรจุภัณฑ์ สำหรับในประเทศสวีเดนเจ้าของสินค้าร้อยละ 90 ได้ขึ้นทะเบียนกับบริษัทดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำโครงการแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อรองรับมาตรการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ ทั้งนี้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมสำคัญในการสนับสนุนพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆอย่างกว้างขวาง อีกทั้ง ยังเป็นการดึงดูดผู้บริโภคในการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ได้กลายเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่กลายเป็นของเสียเหลือใช้ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก ระบบการจัดการบรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการไทยบางแห่งยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น สศอ.จึงต้องเข้ามาสนับสนุนด้านการจัดการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมการตลาดและการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ
ในเบื้องต้น สศอ.ได้มอบให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ใน 5 ประเภท ได้แก่ พลาสติก อลูมิเนียม โลหะ แก้ว และกระดาษ โดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจากโรงงานขนาดใหญ่ 17 แห่ง รวมทั้ง ส่งแบบสอบถามไปยังโรงงานต่างๆ เพื่อศึกษาและสำรวจข้อมูล ด้านกำลังการผลิตของอุตสาหกรรม ราคาของบรรจุภัณฑ์ การจ้างงาน ผลการดำเนินงาน การจัดการด้านการลดของเสียในโรงงาน และความต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่น เพื่อนำผลการศึกษาจัดทำนโยบาย มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เสนอต่อหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบต่อไป
จากผลการศึกษา ได้เสนอให้มีการจัดตั้งบริษัท "ไทยรีแพค" ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และผู้ผลิตสินค้า ในการวางแผนประกอบกิจการที่มีระบบการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะเป็นการบริหารธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งบริษัทดังกล่าว จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ โดยมีขั้นตอนดำเนินการประกอบด้วย 1. การระดมทุนจากค่าธรรมเนียมรายปีของสมาชิก 2. การจัดจ้างบริษัทเอกชน 4 แห่ง เพื่อรับดำเนินการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ 5 ประเภท ได้แก่ บรรจุภัณฑ์แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะและอะลูมิเนียม ซึ่งบริษัทไทยรีแพคจะทำหน้าที่ตั้งแต่การรณรงค์แยกขยะ การจัดเก็บ คัดแยก รวบรวมและขนส่งไปยังโรงงานแปรรูป โดยจะมีการรายงานผลดำเนินการต่อหน่วยงานของรัฐเป็นประจำทุกปี แนวทางการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวจะนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาต่อไป
จากผลการศึกษา ปริมาณของเสียบรรจุภัณฑ์ในช่วงปี 2546 จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 62,750,116 คน พบว่า มีปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้น 39,517.81 ตันต่อวัน โดยมีปริมาณมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งสู่สถานที่กำจัด ได้แก่ พลาสติก 9,597.53 ตันต่อวัน กระดาษ 849.49 ตันต่อวัน อลูมิเนียม 186.23 ตันต่อวัน แก้ว 1,075.78 ตันต่อวัน และโลหะ 167.93 ตันต่อวัน รวมบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท เป็นปริมาณทั้งสิ้น 11,876.97 ตันต่อวัน ซึ่งหากรวมเป็นปริมาณมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ที่ต้องกำจัดในหนึ่งปี พบว่า เป็นปริมาณสูงถึง 4,074,987.01 ตันต่อปี
ทั้งนี้ จะเห็นว่า ปัจจุบันของเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้มีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และส่วนใหญ่มักย่อยสลายยาก ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งผลักดันมาตรการแก้ไขปัญหาในทุกส่วนอย่างจริงจัง โดยในด้านการส่งเสริมการลงทุน ได้เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) พิจารณาด้านสิทธิประโยชน์ให้กับภาคเอกชน เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีทั้งด้านเงินลงทุนและอัตราภาษีเครื่องจักรสำหรับการใช้ซ้ำและการรีไซเคิลแก่ผู้ประกอบการ รวมทั้ง ให้งบประมาณสนับสนุนการศึกษาวิจัยแนวทางการใช้ประโยชน์ขยะบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ให้มากขึ้น
นางสาวสุชาดากล่าวเสริมว่า จากการที่ได้ทำการศึกษาวิจัยการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้พัฒนาเทคโนโลยีและวางแนวทางการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทให้เหมาะสมกับประเทศไทย ทำให้ทราบว่า ประเทศญี่ปุ่น มีการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย คัดแยกและรีไซเคิลขยะประเภทต่างๆ และเมื่อเผาขยะแล้วจะนำกากขี้เถ้ามาอัดเป็นแท่งเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ส่วนพลังงานความร้อนจะใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้ง มีการใช้ระบบมัดจำแบตเตอรี่และถ่านไฟฉายซึ่งเป็นวัสดุที่เหลือใช้แล้ว ขณะที่ ประเทศสวีเดน ได้จัดตั้งบริษัท REPA ขึ้นเพื่อให้บริการด้านการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะ โดยเจ้าของสินค้าที่ขึ้นทะเบียนต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ซึ่งจะมีอัตราแตกต่างกันตามประเภทบรรจุภัณฑ์ สำหรับในประเทศสวีเดนเจ้าของสินค้าร้อยละ 90 ได้ขึ้นทะเบียนกับบริษัทดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-