สศอ-ทีดีอาร์ไอ ร่วมศึกษาผลกระทบเปิดเสรี FTA หวั่นอุตสาหกรรมไทยเสียประโยชน์ระยะยาว เล็งเจาะตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพและฐานเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อ้าแขนรับเปิดเสรีการค้าเต็มรูปแบบ เผยสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ตลาดใหญ่น่าลงทุน
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่องผลกระทบอุตสาหกรรมไทยจากการทำความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี[FTA
] จัดโดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย[TDRI
] ว่า ในการศึกษาถึงผลกระทบต่อการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบ FTA ที่จะมีขึ้นกับแต่ละประเทศ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ตลาดประเทศคู่ค้ามากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ดังนั้นขึ้นอยู่กับขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศที่ควรใช้โอกาสจากตลาดเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด
"ยอมรับว่าปัจจุบันศักยภาพของอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ดังนั้นในการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ข้อตกลง FTA ของไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่จะทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรีด้วยเป็นอันดับแรก โดยเห็นว่าในปัจจุบัน การทำความข้อตกลง FTA ระหว่างไทยกับประเทศคู่ค้าควรพิจารณาเปิดกับประเทศที่มีฐานเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เนื่องจาก ทำให้ผู้ประกอบการในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีลู่ทางการลงทุน และการขยายตลาดมากขึ้น"
ทั้งนี้ในโครงการศึกษาวิเคราะห์ความตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคี กับประเทศคู่ค้าที่ไทยได้มีการจัดทำ FTA สศอ.ได้มีการศึกษาทั้งจากประเทศที่ไทยได้ทำความตกลง FTA ไปแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณา เช่น ประเทศบาห์เรน เปรู อินเดีย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย โดยได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานทางการค้า การลงทุน และการผลิต เพื่อไปสู่การเตรียมพร้อมของภาคอุตสาหกรรมไทยในการรองรับการเปลี่ยนแปลงภาวะแวดล้อมทางการค้าของภาคอุตสาหกรรมภายใต้กรอบการเปิดเสรีแบบทวิภาคี
จากผลการศึกษามูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 6,472.02 พันล้านบาท โดยเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นทั้งจากการส่งออกและนำเข้า โดยในปีที่ผ่านมาไทย มีอัตราการขยายตัวของการส่งออกและนำเข้าร้อยละ 12.9 และ 13.1 ตามลำดับ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย อุตสาหกรรมรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก ข้าว น้ำมันสำเร็จรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวลดลง อาทิ เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ กุ้งสุดแช่เย็นแช่แข็งและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่องผลกระทบอุตสาหกรรมไทยจากการทำความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี[FTA
] จัดโดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย[TDRI
] ว่า ในการศึกษาถึงผลกระทบต่อการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบ FTA ที่จะมีขึ้นกับแต่ละประเทศ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ตลาดประเทศคู่ค้ามากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ดังนั้นขึ้นอยู่กับขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศที่ควรใช้โอกาสจากตลาดเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด
"ยอมรับว่าปัจจุบันศักยภาพของอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ดังนั้นในการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ข้อตกลง FTA ของไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่จะทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรีด้วยเป็นอันดับแรก โดยเห็นว่าในปัจจุบัน การทำความข้อตกลง FTA ระหว่างไทยกับประเทศคู่ค้าควรพิจารณาเปิดกับประเทศที่มีฐานเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เนื่องจาก ทำให้ผู้ประกอบการในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีลู่ทางการลงทุน และการขยายตลาดมากขึ้น"
ทั้งนี้ในโครงการศึกษาวิเคราะห์ความตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคี กับประเทศคู่ค้าที่ไทยได้มีการจัดทำ FTA สศอ.ได้มีการศึกษาทั้งจากประเทศที่ไทยได้ทำความตกลง FTA ไปแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณา เช่น ประเทศบาห์เรน เปรู อินเดีย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย โดยได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานทางการค้า การลงทุน และการผลิต เพื่อไปสู่การเตรียมพร้อมของภาคอุตสาหกรรมไทยในการรองรับการเปลี่ยนแปลงภาวะแวดล้อมทางการค้าของภาคอุตสาหกรรมภายใต้กรอบการเปิดเสรีแบบทวิภาคี
จากผลการศึกษามูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 6,472.02 พันล้านบาท โดยเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นทั้งจากการส่งออกและนำเข้า โดยในปีที่ผ่านมาไทย มีอัตราการขยายตัวของการส่งออกและนำเข้าร้อยละ 12.9 และ 13.1 ตามลำดับ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย อุตสาหกรรมรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก ข้าว น้ำมันสำเร็จรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวลดลง อาทิ เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ กุ้งสุดแช่เย็นแช่แข็งและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-