แท็ก
อุตสาหกรรม
"สศอ." จับมือมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมศึกษาลดต้นทุนด้านพลังงานของอุตสาหกรรมเบื้องต้นใน 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อหวังรับมือราคาน้ำมันแพงในระยะยาว วางเป้า 7 ปี (2548-2554 )ลดพลังงานได้ 4,200 ล้านบาท เตรียมเสนอพินิจเร็วๆนี้เพื่อประสานสิบทิศช่วยเหลือด้านงบประมาณและมาตรการสนับสนุน
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการศึกษาต้นทุนการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมเพื่อนำมาประกอบการกำหนดนโยบายและมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนในการลดต้นทุนอุตสาหกรรมการผลิต โดยผลการศึกษาจะนำเสนอต่อนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปเพื่อจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนและประสานแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงพลังงาน ซึ่งรวมไปถึงการหามาตรการส่งเสริมและสนับสนุนอื่นๆ ทั้งมาตรการทั่วไปและมาตรการเฉพาะรายอุตสาหกรรม
"การศึกษาดังกล่าวจะสอดคลัองกับแผนของรัฐบาลในการลดใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และลดการขาดดุลของประเทศจากการนำเข้าน้ำมันเนื่องจากระยะยาวแนวโน้มราคาพลังงานยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อต้นทุนการผลิตของไทยเพราะต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งปี 2546 ไทยนำเข้าเชื้อเพลิงมูลค่าถึง 372,197 ล้านบาทและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 400,000 ล้านบาทในปี 2547 โดยภาคอุตสาหกรรมใช้พลังงานเป็นสัดส่วนสูงถึง 35.3%"นางชุตาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้จากผลการศึกษาได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินการเบื้องต้นใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีการใช้ปริมาณพลังงานค่อนข้างสูง โดยกำหนดแผนดำเนินการลดต้นทุน 7 ปี(2548-2554 ) ซึ่งการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์และสำรวจข้อมูลทั้งในแบบสัมภาษณ์และกรอกแบบสอบถามจากโรงงานต้นแบบครอบคลุม 6 กลุ่ม อุตสาหกรรมและกำหนดแผนลดพลังงานโดยกำหนดเป้าหมายที่จะลดต้นทุนด้านพลังงานต่อต้นทุนรวมได้ทั้งสิ้นรวมประมาณ 4,200 ล้านบาทภายในปี 2554
โดยแบ่งเป็นอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ จะลดต้นทุนด้านพลังงานต่อต้นทุนรวม 9% คิดเป็นมูลค่า 1,149 ล้านบาท อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษลดการใช้พลังงาน 10% คิดเป็นมูลค่า 456 ล้านบาท อุตสาหกรรมสิ่งทอลดการใช้พลังงาน 8% คิดเป็นมูลค่า 1,826 ล้านบาท อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ลดการใช้พลังงาน 5% คิดเป็นมูลค่า 334 ล้านบาท อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าลดการใช้พลังงาน 5% คิดเป็นมูลค่า 57 ล้านบาท และอุตสาหกรรมแก้วและเซรามิคลดการใช้พลังงาน 10% คิดเป็นมูลค่า 438 ล้านบาท
ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมทั้ง 6 สาขาเป็นอุตสาหกรรมที่มีค่าใช้จ่ายพลังงานและวัตถุดิบเป็นโครงสร้างหลัก โดยต้นทุนการผลิตรวมของอุตสาหกรรมทั้ง 6 สาขามีมูลค่าประมาณ 402,560 ล้านบาท และมีต้นทุนพลังงานรวม 56,584 ล้านบาท ดังนั้นต้นทุนพลังงานรวมต่อต้นทุนการผลิตรวมของอุตสาหกรรมทั้ง 6 สาขาคิดเป็น 14.06% และหากแยกต้นทุนพลังงานต่อต้นทุนการผลิตสูงสุดไปหาต่ำสุดคือ 1. ปูนซีเมนต์ 26.92% 2.แก้วและเซรามิค 23.92% 3. กระดาษและเยื่อกระดาษ 23.92% 4. เหล็กและเหล็กกล้า 11.79% 5. สิ่งทอ 11.59% 6. ปิโตรเคมี 10.16%
"การศึกษายังได้เปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาพบว่าไทยยังมีต้นทุนพลังงานต่อต้นทุนการผลิตสูงทั้ง 6 อุตสาหกรรมหลักได้แก่ แก้วและเซรามิคสูงกว่า 19.2% ปูนซีเมนต์สูงกว่า 23.3% กระดาษและเยื่อ 12.2% เหล็ก 6.5% สิ่งทอ 8.3% และปิโตรเคมี 5.8% ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า " นางชุตาภรณ์กล่าว
สำหรับแนวทางการดำเนินการนั้นสิ่งสำคัญภาคเอกชนจะต้องร่วมมือในการวางแผนจัดการการใช้พลังงาน ปรับปรุงเทคโนโลยี มีการอบรมพนักงานให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการลดใช้พลังงาน แต่ในส่วนของภาครัฐนั้นผลการศึกษาได้เสนอแนะให้มีการเพิ่มมาตรการเพิ่มเติมในการสนับสนุนจากปัจจุบันที่มีอยู่เช่น การปรับปรุงขั้นตอนการให้การสนับสนุนทางการเงินให้คล่องตัวและรวดเร็ว เนื่องจากการอนุมัติเงินสนับสนุนจากภาครัฐในปัจจุบันยังมีความล่าช้าซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ไม่จูงใจ
นอกจากนี้จะต้องมีมาตรการในการตรวจสอบและลงโทษผู้ประกอบการอย่างจริงจัง โดยมาตรการบังคับสำหรับโรงงานควบคุมที่มีระเบียบในการปฏิบัติอยู่แล้ว การจัดตั้งศูนย์ปรึกษาด้านการอนุรักษ์การใช้พลังงานให้กระจายอยู่ในทุกภูมิภาค การเพิ่มความเข้มข้นการสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การสนับสนุนให้มีการประกาศมาตรฐานประสิทธิภาพไฟฟ้าขั้นต่ำของอุปกรณ์ไฟฟ้า การสนับสนุนทางมาตรการภาษี เช่น การให้เครดิตภาษีการลงทุน สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้อุปกรณ์ใหม่หรือเปลี่ยนอุปกรณ์เก่าเป็นใหม่ให้มีประสิทธิภาพประหยัดมากขึ้น เป็นต้น
" การจะบรรลุเป้าหมายนั้นผู้ประกอบการคือหัวใจสำคัญเพราะจะต้องตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเอง อย่างไรก็ตามในระยะต่อไปสศอ.จะมีการกำหนดเป้าหมายการประหยัดพลังงานกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีก"นางชุตาภรณ์กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการศึกษาต้นทุนการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมเพื่อนำมาประกอบการกำหนดนโยบายและมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนในการลดต้นทุนอุตสาหกรรมการผลิต โดยผลการศึกษาจะนำเสนอต่อนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปเพื่อจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนและประสานแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงพลังงาน ซึ่งรวมไปถึงการหามาตรการส่งเสริมและสนับสนุนอื่นๆ ทั้งมาตรการทั่วไปและมาตรการเฉพาะรายอุตสาหกรรม
"การศึกษาดังกล่าวจะสอดคลัองกับแผนของรัฐบาลในการลดใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และลดการขาดดุลของประเทศจากการนำเข้าน้ำมันเนื่องจากระยะยาวแนวโน้มราคาพลังงานยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อต้นทุนการผลิตของไทยเพราะต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งปี 2546 ไทยนำเข้าเชื้อเพลิงมูลค่าถึง 372,197 ล้านบาทและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 400,000 ล้านบาทในปี 2547 โดยภาคอุตสาหกรรมใช้พลังงานเป็นสัดส่วนสูงถึง 35.3%"นางชุตาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้จากผลการศึกษาได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินการเบื้องต้นใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีการใช้ปริมาณพลังงานค่อนข้างสูง โดยกำหนดแผนดำเนินการลดต้นทุน 7 ปี(2548-2554 ) ซึ่งการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์และสำรวจข้อมูลทั้งในแบบสัมภาษณ์และกรอกแบบสอบถามจากโรงงานต้นแบบครอบคลุม 6 กลุ่ม อุตสาหกรรมและกำหนดแผนลดพลังงานโดยกำหนดเป้าหมายที่จะลดต้นทุนด้านพลังงานต่อต้นทุนรวมได้ทั้งสิ้นรวมประมาณ 4,200 ล้านบาทภายในปี 2554
โดยแบ่งเป็นอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ จะลดต้นทุนด้านพลังงานต่อต้นทุนรวม 9% คิดเป็นมูลค่า 1,149 ล้านบาท อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษลดการใช้พลังงาน 10% คิดเป็นมูลค่า 456 ล้านบาท อุตสาหกรรมสิ่งทอลดการใช้พลังงาน 8% คิดเป็นมูลค่า 1,826 ล้านบาท อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ลดการใช้พลังงาน 5% คิดเป็นมูลค่า 334 ล้านบาท อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าลดการใช้พลังงาน 5% คิดเป็นมูลค่า 57 ล้านบาท และอุตสาหกรรมแก้วและเซรามิคลดการใช้พลังงาน 10% คิดเป็นมูลค่า 438 ล้านบาท
ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมทั้ง 6 สาขาเป็นอุตสาหกรรมที่มีค่าใช้จ่ายพลังงานและวัตถุดิบเป็นโครงสร้างหลัก โดยต้นทุนการผลิตรวมของอุตสาหกรรมทั้ง 6 สาขามีมูลค่าประมาณ 402,560 ล้านบาท และมีต้นทุนพลังงานรวม 56,584 ล้านบาท ดังนั้นต้นทุนพลังงานรวมต่อต้นทุนการผลิตรวมของอุตสาหกรรมทั้ง 6 สาขาคิดเป็น 14.06% และหากแยกต้นทุนพลังงานต่อต้นทุนการผลิตสูงสุดไปหาต่ำสุดคือ 1. ปูนซีเมนต์ 26.92% 2.แก้วและเซรามิค 23.92% 3. กระดาษและเยื่อกระดาษ 23.92% 4. เหล็กและเหล็กกล้า 11.79% 5. สิ่งทอ 11.59% 6. ปิโตรเคมี 10.16%
"การศึกษายังได้เปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาพบว่าไทยยังมีต้นทุนพลังงานต่อต้นทุนการผลิตสูงทั้ง 6 อุตสาหกรรมหลักได้แก่ แก้วและเซรามิคสูงกว่า 19.2% ปูนซีเมนต์สูงกว่า 23.3% กระดาษและเยื่อ 12.2% เหล็ก 6.5% สิ่งทอ 8.3% และปิโตรเคมี 5.8% ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า " นางชุตาภรณ์กล่าว
สำหรับแนวทางการดำเนินการนั้นสิ่งสำคัญภาคเอกชนจะต้องร่วมมือในการวางแผนจัดการการใช้พลังงาน ปรับปรุงเทคโนโลยี มีการอบรมพนักงานให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการลดใช้พลังงาน แต่ในส่วนของภาครัฐนั้นผลการศึกษาได้เสนอแนะให้มีการเพิ่มมาตรการเพิ่มเติมในการสนับสนุนจากปัจจุบันที่มีอยู่เช่น การปรับปรุงขั้นตอนการให้การสนับสนุนทางการเงินให้คล่องตัวและรวดเร็ว เนื่องจากการอนุมัติเงินสนับสนุนจากภาครัฐในปัจจุบันยังมีความล่าช้าซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ไม่จูงใจ
นอกจากนี้จะต้องมีมาตรการในการตรวจสอบและลงโทษผู้ประกอบการอย่างจริงจัง โดยมาตรการบังคับสำหรับโรงงานควบคุมที่มีระเบียบในการปฏิบัติอยู่แล้ว การจัดตั้งศูนย์ปรึกษาด้านการอนุรักษ์การใช้พลังงานให้กระจายอยู่ในทุกภูมิภาค การเพิ่มความเข้มข้นการสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การสนับสนุนให้มีการประกาศมาตรฐานประสิทธิภาพไฟฟ้าขั้นต่ำของอุปกรณ์ไฟฟ้า การสนับสนุนทางมาตรการภาษี เช่น การให้เครดิตภาษีการลงทุน สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้อุปกรณ์ใหม่หรือเปลี่ยนอุปกรณ์เก่าเป็นใหม่ให้มีประสิทธิภาพประหยัดมากขึ้น เป็นต้น
" การจะบรรลุเป้าหมายนั้นผู้ประกอบการคือหัวใจสำคัญเพราะจะต้องตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเอง อย่างไรก็ตามในระยะต่อไปสศอ.จะมีการกำหนดเป้าหมายการประหยัดพลังงานกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีก"นางชุตาภรณ์กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-