นายวิจักร วิเศษน้อย รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า กรมฯ ได้พัฒนาระบบงานให้
บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก — นำเข้าสินค้าที่มีปีละประมาณกว่า
850,000 ฉบับ มาโดยตลอดโดยนำระบบ EDI มาให้บริการสำหรับการออกหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่ง
ทอตั้งแต่ปี 2544 ทำให้ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการจากเดิม 2 — 3 วัน เหลือเพียงภายใน 1
วัน รวมทั้งได้เปิดให้บริการในรูปแบบของ EDI Service Counter
ต่อมากรมฯ ได้ขยายการให้บริการระบบ EDI โดยผ่านทาง Internet สำหรับการออกหนังสือ
รับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ได้แก่ FORM A, FORM D, FORM GSTP และ FORM C/O
และการออก
ใบอนุญาตและหนังสือรับรองการส่งออก — นำเข้าสินค้าทั่วไป ซึ่งเป็นเอกสารที่ออกให้สำหรับสินค้า
ที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออกและนำเข้า เช่น ข้าว กาแฟ ไม้ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สินค้า
ยาและเคมีภัณฑ์รวม 16 ชนิด เพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน รถยนต์ใช้แล้ว เป็นต้น ทำให้ลดขั้นตอนและระยะ
เวลาในการให้บริการจากเดิมภายใน 1 วัน เหลือเพียงภายใน 1 ชั่วโมงเท่านั้น โดยผู้ส่งออกสามารถส่ง
คำขอผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ จากสำนักงานของตนเองได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งกรมฯ มีหน่วยงานที่ให้
บริการออกเอกสารดังกล่าวในส่วนกลาง รวม 5 แห่ง ได้แก่ ณ อาคารกรมการค้าต่างประเทศ ถนนนนทบุรี 1
จ.นนทบุรี ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ณ ท่าเรือกรุงเทพ ณ ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ กรมส่ง
เสริมการส่งออก ณ ศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก (ตลาดไท)
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่าขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างดำเนินการขยายการให้
บริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก — นำเข้าสินค้าด้วยระบบ EDI ไปยังหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ได้แก่
สำนักงานการค้าต่างประเทศ รวม 6 เขต คือ เชียงใหม่ เชียงราย สงขลา ชลบุรี สระแก้ว
หนองคายและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดรวม 12 จังหวัด ได้แก่ ตาก พิษณุโลก กาญจนบุรี ตราด
นครราชสีมา นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ตและนราธิวาส ซึ่งจะสามารถ
เปิดให้บริการได้ ตั้งแต่วันที่
1 พ.ย.47 เป็นต้นไป และจะขยายการให้บริการในระบบฯ ดังกล่าวไปยังสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
ทั่วประเทศภายในปี 2549
นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจัดทำระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ กับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและนำเข้าสินค้า เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการปกครอง กรม
ศุลกากร กรมสรรพากร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการนิคม
อุตสาหกรรมฯ เพื่อลดการยื่นเอกสารประกอบคำขอหนังสือสำคัญฯ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ
ส่งออก — นำเข้าสินค้าเพื่อให้การตรวจปล่อยสินค้าเป็นไปด้วยความรวดเร็วและนำไปสู่การออกหนังสือสำคัญ
การส่งออก — นำเข้าสินค้าในรูปแบบของ Paperless ต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทร 0-2547-4872 โทรสาร
0-2547-4816 E-Mail : tpdft@mocnet.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ กันยายน 2547--
-สส-
บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก — นำเข้าสินค้าที่มีปีละประมาณกว่า
850,000 ฉบับ มาโดยตลอดโดยนำระบบ EDI มาให้บริการสำหรับการออกหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่ง
ทอตั้งแต่ปี 2544 ทำให้ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการจากเดิม 2 — 3 วัน เหลือเพียงภายใน 1
วัน รวมทั้งได้เปิดให้บริการในรูปแบบของ EDI Service Counter
ต่อมากรมฯ ได้ขยายการให้บริการระบบ EDI โดยผ่านทาง Internet สำหรับการออกหนังสือ
รับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ได้แก่ FORM A, FORM D, FORM GSTP และ FORM C/O
และการออก
ใบอนุญาตและหนังสือรับรองการส่งออก — นำเข้าสินค้าทั่วไป ซึ่งเป็นเอกสารที่ออกให้สำหรับสินค้า
ที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออกและนำเข้า เช่น ข้าว กาแฟ ไม้ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สินค้า
ยาและเคมีภัณฑ์รวม 16 ชนิด เพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน รถยนต์ใช้แล้ว เป็นต้น ทำให้ลดขั้นตอนและระยะ
เวลาในการให้บริการจากเดิมภายใน 1 วัน เหลือเพียงภายใน 1 ชั่วโมงเท่านั้น โดยผู้ส่งออกสามารถส่ง
คำขอผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ จากสำนักงานของตนเองได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งกรมฯ มีหน่วยงานที่ให้
บริการออกเอกสารดังกล่าวในส่วนกลาง รวม 5 แห่ง ได้แก่ ณ อาคารกรมการค้าต่างประเทศ ถนนนนทบุรี 1
จ.นนทบุรี ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ณ ท่าเรือกรุงเทพ ณ ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ กรมส่ง
เสริมการส่งออก ณ ศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก (ตลาดไท)
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่าขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างดำเนินการขยายการให้
บริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก — นำเข้าสินค้าด้วยระบบ EDI ไปยังหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ได้แก่
สำนักงานการค้าต่างประเทศ รวม 6 เขต คือ เชียงใหม่ เชียงราย สงขลา ชลบุรี สระแก้ว
หนองคายและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดรวม 12 จังหวัด ได้แก่ ตาก พิษณุโลก กาญจนบุรี ตราด
นครราชสีมา นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ตและนราธิวาส ซึ่งจะสามารถ
เปิดให้บริการได้ ตั้งแต่วันที่
1 พ.ย.47 เป็นต้นไป และจะขยายการให้บริการในระบบฯ ดังกล่าวไปยังสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
ทั่วประเทศภายในปี 2549
นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจัดทำระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ กับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและนำเข้าสินค้า เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการปกครอง กรม
ศุลกากร กรมสรรพากร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการนิคม
อุตสาหกรรมฯ เพื่อลดการยื่นเอกสารประกอบคำขอหนังสือสำคัญฯ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ
ส่งออก — นำเข้าสินค้าเพื่อให้การตรวจปล่อยสินค้าเป็นไปด้วยความรวดเร็วและนำไปสู่การออกหนังสือสำคัญ
การส่งออก — นำเข้าสินค้าในรูปแบบของ Paperless ต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทร 0-2547-4872 โทรสาร
0-2547-4816 E-Mail : tpdft@mocnet.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ กันยายน 2547--
-สส-