ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เตรียมออกเกณฑ์สินเชื่อบุคคลใหม่เร็ว ๆ นี้ นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผอ.อาวุโส
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยงและวิเคราะห์ ธปท. เปิดเผยว่าภายหลังการหารือกับตัวแทนจาก ธ.พาณิชย์เกี่ยวกับการ
คิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงกรณีลูกหนี้บัตรเครดิตชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนดว่า เป็นการรับฟังความคิดเห็นของ
ธ.พาณิชย์ว่ามีความคิดอย่างไร เพราะอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมผิดนัดชำระที่ ธ.พาณิชย์เรียกเก็บสูงเกิน
ไป จึงอยากให้ชี้แจงที่มาที่ไปและต้นทุนที่เรียกเก็บคิดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและมีความชัดเจนมากขึ้น เช่น ค่า
อากรแสตมป์ ค่าจดจำนอง ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริงอยู่แล้ว รวมทั้งค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัด
ชำระล่าช้า อยากให้ ธ.พาณิชย์ประกาศให้ชัดเจนว่าค่าธรรมเนียมอะไรบ้างที่เรียกเก็บ ซึ่งกรณีดังกล่าวรวมถึง
สินเชื่อประเภทอื่นด้วย ทั้งนี้ หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้ว ธปท. จะประเมินผลอีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้น จะ
ร่างหลักเกณฑ์เสนอ ก.คลังพิจารณา โดยอาจจะกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ แต่ขอพิจารณาราย
ละเอียดที่ชัดเจนก่อน เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ด้านตัวแทนจาก ธ.พาณิชย์ที่เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ไม่
เห็นด้วยกับแนวทางของ ธปท. หากมีการกำหนดเพดานการคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระจริงอาจจะส่งหนังสือทัก
ท้วงในนามของชมรมธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งจะรอดูผลสรุปของ ธปท. ก่อน (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังอาจปรับเป้าจีดีพีปีนี้ตามภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผย
ว่า จีดีพีของไทยในปีนี้อาจจะขยายตัวน้อยกว่าที่คาดและอาจต่ำกว่าร้อยละ 6.5 เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
แตะระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล โดยล่าสุด ก.คลังเพิ่งปรับประมาณการจีดีพีเดือน ส.ค.47 อยู่ที่
ระดับร้อยละ 6.5 — 7.0 โดยพิจารณาจากดัชนีมูลฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปี 37.1 — 39.1 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อบาร์เรล ซึ่งราคาน้ำมันที่พุ่งเกินกว่าเป้าหมายที่คาดไว้เป็นจำนวนมากทำให้จีดีพีที่ประมาณการไว้คลาดเคลื่อน
จากความเป็นจริง จะส่งผลให้จีดีพีของไทยในปีนี้อาจเติบโตเพียงร้อยละ 5 — 6 เท่านั้น สำหรับประมาณการ
เศรษฐกิจล่าสุดเมื่อเดือน ส.ค.47 ของ ก.คลังมีการคาดการณ์ว่า การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 18.6 —
20.3 การนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 27.2 — 27.9 ดุลการค้าจะติดลบ 0.6 — 1.4 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 4.3 — 5.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเกินดุลร้อยละ 2.6 — 3.1 ของจี
ดีพี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 — 3.1 ซึ่งอัตราเงินเฟ้ออาจจะเร่งตัวสูงขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้
หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. กรมบัญชีกลางจะเริ่มใช้ระบบการบริหารการเงินการคลังอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 1 ต.ค.47
นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ยกยอดข้อมูลเข้าสู่ระบบการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ (GFMIS) ว่า การ
ดำเนินการดังกล่าวเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการยกยอดข้อมูลตามระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่ให้มี
ประสิทธิภาพ โดยกรมบัญชีกลางจะจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ระบบ GFMIS สามารถทำงานได้ในวันที่
1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป โดยจะกำหนดวิธีการทำงานด้านการบัญชีการเงินเป็นแบบควบคู่กันระหว่างระบบงานเดิมกับ
ระบบงานใหม่ ซึ่งการใช้ระบบนี้ส่งผลดีในแง่ข้อมูลสามารถใช้ติดตามประเมินผลได้ทันที และทำให้การเบิกจ่าย
เงิน งปม. รวดเร็วกว่าระบบเดิม และลดระบบงานบุคลากร และเชื่อว่าระบบ GFMIS จะทำงานได้สมบูรณ์ใน
ทุกหน่วยงานราชการภายในปี 49 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. กรมศุลกากรเปิด สนง.เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นายชวลิต
เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร นายคูนิโอ มิกูริยา รองเลขาธิการองค์การศุลกากรโลก (WCO) และนายทา
เคชิ มัตสุโมโต หัวหน้า สนง.เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ROCB) ร่วมกันเป็น
ประธานในพิธีเปิด สนง. ROCB ณ กรมศุลกากร เมื่อวันที่ 28 ก.ย.47 นายชวลิตกล่าวว่า การตั้ง สนง.
ROCB ขึ้นในไทยแสดงถึงความเป็นผู้นำของกรมศุลกากรของไทยเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรให้อยู่ในระดับสากล ใน
การเสริมสร้างศักยภาพให้แก่หน่วยงานศุลกากรของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย-แปซิฟิกที่มีสมาชิก 30
ประเทศ ให้ปรับปรุงกระบวนการทางศุลกากรให้มีความปลอดภัย ทันสมัย สะดวก รวดเร็วให้ได้ตามมาตรฐาน
สากล และส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้คล่องตัวยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรได้เพิ่มขึ้น
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือน
ก่อน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 28 ก.ย.47 The Conference Board เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความ
เชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ว่า ลดลงที่ระดับ 96.8 จากระดับ 98.7 ในเดือนก่อนหน้า ตรง
ข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าดัชนีฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 99.0 ทั้งนี้ การที่ดัชนีความ
เชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง มีสาเหตุจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานและการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคา
น้ำมัน ซึ่งความกังวลดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่มีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจ
สรอ. ทั้งนี้ จากการสำรวจ ผู้บริโภคที่เห็นว่าการจ้างงานเป็นไปอย่างยากลำบากเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 28.3 จาก
ร้อยละ 26.0 ในเดือนก่อน ในขณะที่ผู้บริโภคที่เห็นว่าการจ้างงานสามารถทำได้โดยง่ายลดลงเหลือร้อยละ
16.8 จากร้อยละ 18.4 ในเดือนก่อน นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันในเดือนเดียวกัน ก็ลดลง
ที่ระดับ 95.5 จากระดับ 100.7 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจเพิ่มขึ้นที่ระดับ
97.6 จากระดับ 97.3 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดจากพายุเฮอร์ริเคนในช่วง
ที่ผ่านมาอาจเป็นสาเหตุให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง และจากข้อมูลในภาคการค้าปลีกที่เปิดเผยไป
เมื่อต้นสัปดาห์บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคมีความกังวลต่อสถานการณ์การใช้จ่ายมากกว่าในปีที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
2. การลงทุนของภาคเอกชนในอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากไตรมาสก่อนสูง
สุดในรอบปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 28 ก.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานตัวเลขการลงทุนของ
ภาคเอกชนในอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้มีจำนวน 29.51 พันล้านปอนด์ เทียบกับ 28.76 พันล้านปอนด์ ในไตร
มาสแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบต่อไตรมาส สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 นับเป็นการเพิ่ม
ขึ้นสูงสุดในรอบปีและส่งผลให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการลงทุนในภาคการอุตสาหกรรมการ
ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในขณะที่ภาคการก่อสร้างและภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และการ
บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ตัวเลขการลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลข GDP ของไตรมาส
ที่ 2 ปีนี้ซึ่ง สนง.สถิติแห่งชาติจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ก.ย.47 เวลา 8.30 น. ตามเวลา
กรีนนิชจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.1 ถึง 0.2 จากร้อยละ 0.9 ที่คาดไว้เมื่อเดือนก่อน (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 28 ก.ย.47 The GfK market เปิดเผยว่า จากการสำรวจประชาชนชาวเยอรมนี 2,000
คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในเดือน
ก่อน แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าตัวเลขในรอบ 6 เดือนแรกของปีนี้ที่อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 4.1-4.8 สาเหตุ
จากครัวเรือนมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องรายได้ในอนาคตลดลงจากการก่อนหน้านี้ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการยอมรับ
ได้มากขึ้นในเรื่องการปรับลดสวัสดิการลง ขณะที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง คือ อยู่ที่ร้อย
ละ 2.0 อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดี
พี) เยอรมนี อาจจะไม่สามารถสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ การฟื้น
ตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 ได้รับการขับเคลื่อนสำคัญจากภาคการส่งออก ขณะที่ความต้องการใน
ประเทศยังคงชะลอตัว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ อัตราการว่างงานที่
เพิ่มขึ้นรวมทั้งการปฏิรูปภาคสวัสดิการของรัฐบาลเยอรมนีที่ยังไม่ชัดเจนส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่าง
มาก อันอาจจะมีผลกระทบย้อนกลับสู่ภาคการค้าปลีกของประเทศ (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือนส.ค.ลดลงร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 47 รมว.เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. 47 ยอด
ค้าปลีกของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีที่แล้วและลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน (ตัวเลขหลัง
ปรับฤดูกาล) มากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ที่คาดว่ายอดค้าปลีกดังกล่าวในเดือนส.ค. จะ
ลดลงเพียงร้อยละ 1.4 ในขณะที่ยอดค้าปลีกเมื่อเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.8 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน การลดลงของตัวเลขดังกล่าวในเดือนส.ค.นักวิเคราะห์มีความเห็นว่า
เป็นผลจากคลื่นความร้อนและช่วงสิ้นสุดกีฬาโอลิมปิค รวมทั้งตัวเลขอื่นๆซึ่งบ่งชี้ว่าอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในส่วนของ
สินค้า DVD และทีวีจอแบน เริ่มชะลอลง ประกอบกับยังมีความวิตกเกี่ยวกับการฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าของเศรษฐกิจ
และราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นสูงสุด ในขณะที่ค่าจ้างและเงินเพิ่มพิเศษของบริษัทขนาดใหญ่ที่เพิ่มสูงขึ้นก็ได้เริ่มลดลงเช่น
เดียวกัน อย่างไรก็ตามภาคบริการซึ่งเป็นสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของการบริโภคก็ยังคงขยายตัว รวมทั้งควรจับตามอง
ในเรื่องการส่งออกและผลผลิตต่างๆด้วย(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ก.ย. 47 27 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.584 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3876/41.6724 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.5625-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 637.89/19.13 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,000/8,100 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.38 37.1 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. เตรียมออกเกณฑ์สินเชื่อบุคคลใหม่เร็ว ๆ นี้ นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผอ.อาวุโส
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยงและวิเคราะห์ ธปท. เปิดเผยว่าภายหลังการหารือกับตัวแทนจาก ธ.พาณิชย์เกี่ยวกับการ
คิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงกรณีลูกหนี้บัตรเครดิตชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนดว่า เป็นการรับฟังความคิดเห็นของ
ธ.พาณิชย์ว่ามีความคิดอย่างไร เพราะอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมผิดนัดชำระที่ ธ.พาณิชย์เรียกเก็บสูงเกิน
ไป จึงอยากให้ชี้แจงที่มาที่ไปและต้นทุนที่เรียกเก็บคิดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและมีความชัดเจนมากขึ้น เช่น ค่า
อากรแสตมป์ ค่าจดจำนอง ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริงอยู่แล้ว รวมทั้งค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัด
ชำระล่าช้า อยากให้ ธ.พาณิชย์ประกาศให้ชัดเจนว่าค่าธรรมเนียมอะไรบ้างที่เรียกเก็บ ซึ่งกรณีดังกล่าวรวมถึง
สินเชื่อประเภทอื่นด้วย ทั้งนี้ หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้ว ธปท. จะประเมินผลอีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้น จะ
ร่างหลักเกณฑ์เสนอ ก.คลังพิจารณา โดยอาจจะกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ แต่ขอพิจารณาราย
ละเอียดที่ชัดเจนก่อน เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ด้านตัวแทนจาก ธ.พาณิชย์ที่เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ไม่
เห็นด้วยกับแนวทางของ ธปท. หากมีการกำหนดเพดานการคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระจริงอาจจะส่งหนังสือทัก
ท้วงในนามของชมรมธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งจะรอดูผลสรุปของ ธปท. ก่อน (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังอาจปรับเป้าจีดีพีปีนี้ตามภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผย
ว่า จีดีพีของไทยในปีนี้อาจจะขยายตัวน้อยกว่าที่คาดและอาจต่ำกว่าร้อยละ 6.5 เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
แตะระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล โดยล่าสุด ก.คลังเพิ่งปรับประมาณการจีดีพีเดือน ส.ค.47 อยู่ที่
ระดับร้อยละ 6.5 — 7.0 โดยพิจารณาจากดัชนีมูลฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปี 37.1 — 39.1 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อบาร์เรล ซึ่งราคาน้ำมันที่พุ่งเกินกว่าเป้าหมายที่คาดไว้เป็นจำนวนมากทำให้จีดีพีที่ประมาณการไว้คลาดเคลื่อน
จากความเป็นจริง จะส่งผลให้จีดีพีของไทยในปีนี้อาจเติบโตเพียงร้อยละ 5 — 6 เท่านั้น สำหรับประมาณการ
เศรษฐกิจล่าสุดเมื่อเดือน ส.ค.47 ของ ก.คลังมีการคาดการณ์ว่า การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 18.6 —
20.3 การนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 27.2 — 27.9 ดุลการค้าจะติดลบ 0.6 — 1.4 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 4.3 — 5.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเกินดุลร้อยละ 2.6 — 3.1 ของจี
ดีพี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 — 3.1 ซึ่งอัตราเงินเฟ้ออาจจะเร่งตัวสูงขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้
หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. กรมบัญชีกลางจะเริ่มใช้ระบบการบริหารการเงินการคลังอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 1 ต.ค.47
นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ยกยอดข้อมูลเข้าสู่ระบบการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ (GFMIS) ว่า การ
ดำเนินการดังกล่าวเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการยกยอดข้อมูลตามระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่ให้มี
ประสิทธิภาพ โดยกรมบัญชีกลางจะจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ระบบ GFMIS สามารถทำงานได้ในวันที่
1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป โดยจะกำหนดวิธีการทำงานด้านการบัญชีการเงินเป็นแบบควบคู่กันระหว่างระบบงานเดิมกับ
ระบบงานใหม่ ซึ่งการใช้ระบบนี้ส่งผลดีในแง่ข้อมูลสามารถใช้ติดตามประเมินผลได้ทันที และทำให้การเบิกจ่าย
เงิน งปม. รวดเร็วกว่าระบบเดิม และลดระบบงานบุคลากร และเชื่อว่าระบบ GFMIS จะทำงานได้สมบูรณ์ใน
ทุกหน่วยงานราชการภายในปี 49 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. กรมศุลกากรเปิด สนง.เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นายชวลิต
เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร นายคูนิโอ มิกูริยา รองเลขาธิการองค์การศุลกากรโลก (WCO) และนายทา
เคชิ มัตสุโมโต หัวหน้า สนง.เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ROCB) ร่วมกันเป็น
ประธานในพิธีเปิด สนง. ROCB ณ กรมศุลกากร เมื่อวันที่ 28 ก.ย.47 นายชวลิตกล่าวว่า การตั้ง สนง.
ROCB ขึ้นในไทยแสดงถึงความเป็นผู้นำของกรมศุลกากรของไทยเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรให้อยู่ในระดับสากล ใน
การเสริมสร้างศักยภาพให้แก่หน่วยงานศุลกากรของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย-แปซิฟิกที่มีสมาชิก 30
ประเทศ ให้ปรับปรุงกระบวนการทางศุลกากรให้มีความปลอดภัย ทันสมัย สะดวก รวดเร็วให้ได้ตามมาตรฐาน
สากล และส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้คล่องตัวยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรได้เพิ่มขึ้น
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือน
ก่อน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 28 ก.ย.47 The Conference Board เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความ
เชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ว่า ลดลงที่ระดับ 96.8 จากระดับ 98.7 ในเดือนก่อนหน้า ตรง
ข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าดัชนีฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 99.0 ทั้งนี้ การที่ดัชนีความ
เชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง มีสาเหตุจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานและการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคา
น้ำมัน ซึ่งความกังวลดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่มีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจ
สรอ. ทั้งนี้ จากการสำรวจ ผู้บริโภคที่เห็นว่าการจ้างงานเป็นไปอย่างยากลำบากเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 28.3 จาก
ร้อยละ 26.0 ในเดือนก่อน ในขณะที่ผู้บริโภคที่เห็นว่าการจ้างงานสามารถทำได้โดยง่ายลดลงเหลือร้อยละ
16.8 จากร้อยละ 18.4 ในเดือนก่อน นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันในเดือนเดียวกัน ก็ลดลง
ที่ระดับ 95.5 จากระดับ 100.7 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจเพิ่มขึ้นที่ระดับ
97.6 จากระดับ 97.3 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดจากพายุเฮอร์ริเคนในช่วง
ที่ผ่านมาอาจเป็นสาเหตุให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง และจากข้อมูลในภาคการค้าปลีกที่เปิดเผยไป
เมื่อต้นสัปดาห์บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคมีความกังวลต่อสถานการณ์การใช้จ่ายมากกว่าในปีที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
2. การลงทุนของภาคเอกชนในอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากไตรมาสก่อนสูง
สุดในรอบปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 28 ก.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานตัวเลขการลงทุนของ
ภาคเอกชนในอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้มีจำนวน 29.51 พันล้านปอนด์ เทียบกับ 28.76 พันล้านปอนด์ ในไตร
มาสแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบต่อไตรมาส สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 นับเป็นการเพิ่ม
ขึ้นสูงสุดในรอบปีและส่งผลให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการลงทุนในภาคการอุตสาหกรรมการ
ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในขณะที่ภาคการก่อสร้างและภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และการ
บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ตัวเลขการลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลข GDP ของไตรมาส
ที่ 2 ปีนี้ซึ่ง สนง.สถิติแห่งชาติจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ก.ย.47 เวลา 8.30 น. ตามเวลา
กรีนนิชจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.1 ถึง 0.2 จากร้อยละ 0.9 ที่คาดไว้เมื่อเดือนก่อน (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 28 ก.ย.47 The GfK market เปิดเผยว่า จากการสำรวจประชาชนชาวเยอรมนี 2,000
คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในเดือน
ก่อน แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าตัวเลขในรอบ 6 เดือนแรกของปีนี้ที่อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 4.1-4.8 สาเหตุ
จากครัวเรือนมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องรายได้ในอนาคตลดลงจากการก่อนหน้านี้ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการยอมรับ
ได้มากขึ้นในเรื่องการปรับลดสวัสดิการลง ขณะที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง คือ อยู่ที่ร้อย
ละ 2.0 อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดี
พี) เยอรมนี อาจจะไม่สามารถสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ การฟื้น
ตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 ได้รับการขับเคลื่อนสำคัญจากภาคการส่งออก ขณะที่ความต้องการใน
ประเทศยังคงชะลอตัว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ อัตราการว่างงานที่
เพิ่มขึ้นรวมทั้งการปฏิรูปภาคสวัสดิการของรัฐบาลเยอรมนีที่ยังไม่ชัดเจนส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่าง
มาก อันอาจจะมีผลกระทบย้อนกลับสู่ภาคการค้าปลีกของประเทศ (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือนส.ค.ลดลงร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 47 รมว.เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. 47 ยอด
ค้าปลีกของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีที่แล้วและลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน (ตัวเลขหลัง
ปรับฤดูกาล) มากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ที่คาดว่ายอดค้าปลีกดังกล่าวในเดือนส.ค. จะ
ลดลงเพียงร้อยละ 1.4 ในขณะที่ยอดค้าปลีกเมื่อเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.8 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน การลดลงของตัวเลขดังกล่าวในเดือนส.ค.นักวิเคราะห์มีความเห็นว่า
เป็นผลจากคลื่นความร้อนและช่วงสิ้นสุดกีฬาโอลิมปิค รวมทั้งตัวเลขอื่นๆซึ่งบ่งชี้ว่าอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในส่วนของ
สินค้า DVD และทีวีจอแบน เริ่มชะลอลง ประกอบกับยังมีความวิตกเกี่ยวกับการฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าของเศรษฐกิจ
และราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นสูงสุด ในขณะที่ค่าจ้างและเงินเพิ่มพิเศษของบริษัทขนาดใหญ่ที่เพิ่มสูงขึ้นก็ได้เริ่มลดลงเช่น
เดียวกัน อย่างไรก็ตามภาคบริการซึ่งเป็นสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของการบริโภคก็ยังคงขยายตัว รวมทั้งควรจับตามอง
ในเรื่องการส่งออกและผลผลิตต่างๆด้วย(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ก.ย. 47 27 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.584 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3876/41.6724 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.5625-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 637.89/19.13 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,000/8,100 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.38 37.1 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-