กรุงเทพ--29 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) ถ้อยแถลงของนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทซ ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 วันที่ 27 กันยายน 2547
ประธานสมัชชาสหประชาชาติ
ผมขอแสดงความยินดีกับ ฯพณฯ ที่ได้รับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ทำงานสนองความปรารถนาและเป้าหมายสูงสุดของมนุษยชาติ ในยามที่เกิดปัญหาความขัดแย้ง สหประชาชาติเป็นความหวังแห่งการสมานฉันท์ ในยามที่เกิดความยากไร้และความทุกข์ทรมาน สหประชาชาติและองค์กรด้านการพัฒนาต่างๆ ในสังกัดเป็นความหวังแห่งการรักษาเยียวยา
อย่างไรก็ตาม หลังจากก่อตั้งสหประชาชาติมาเป็นเวลาเกือบ 60 ปี สหประชาชาติที่เรามีความคาดหวังอันสูงยิ่ง พบว่าตนเองตกอยู่ท่ามกลางของวิกฤติการณ์แห่งความอยู่รอดขององค์กรในโลกที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นและคาดการณ์ได้น้อยลง สหประชาชาติกำลังดิ้นรนเพื่อปรับปรุงตนเอง เอกลักษณ์และการคงไว้ซึ่งบทบาทที่มีความหมายสำหรับยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อเผชิญหน้ากับความเป็นจริงใหม่ๆ และความเป็นจริงอื่น ๆ จำเป็นจะต้องทำให้สหประชาชาติมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นและบรรลุอุดมคติสูงสุดขององค์กร โดยปฏิบัติให้มากขึ้นและพูดให้น้อยลง
มวลรัฐสมาชิกต้องมีความตั้งใจจริงและดำเนินการทุกอย่างเพื่อสหประชาชาติ จึงจะเป็นพลังขับเคลื่อนสหประชาชาติ ไปสู่ทุกสิ่งที่เราปรารถนา สหประชาชาติจะเป็นองค์กรเช่นไร ขึ้นอยู่กับรัฐสมาชิกที่จะดลบันดาลให้เป็นไปตามนั้น ดังนั้น ยิ่งเราเรียกร้องจากสหประชาชาติมากเพียงใด ประเทศสมาชิก ก็ยิ่งต้องเป็นฝ่ายที่ต้องช่วยกันดำเนินการมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ภารกิจเบื้องหน้าของเราคือ การสร้าง หลักประกันว่า ความพยายามร่วมกันทั้งมวลในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ในอันที่จะ ผลักดันภารกิจของสหประชาชาติให้ก้าวหน้าไปและเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นสูงสุดในการทำงานของ ระบบพหุภาคี
ประธานสมัชชาสหประชาชาติ
พหุภาคีนิยมไม่สามารถทำงานได้โดยปราศจากรากฐานที่มั่นคง ซึ่งเกิดจากความร่วมมือจาก รัฐสมาชิก 191 ประเทศ แต่อะไรคือสิ่งที่จะเชื่อมโยงรัฐสมาชิกเข้ากับระบบพหุภาคีนิยมอย่างแนบแน่น
สหประชาชาติจะต้องปรับเปลี่ยนและแข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากสภาพความเป็นจริงทาง ยุทธศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกในศตวรรษที่ 21 มีความซับซ้อนและแตกต่างอย่างมากจากปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) ประเทศไทยเชื่อว่าในสภาพความเป็นจริงระหว่างประเทศในปัจจุบัน มีความจำเป็นมากขึ้นที่จะสร้างเวทีความร่วมมือ (building blocks) ระดับภูมิภาคและระดับอนุภูมิภาคใหม่ เพื่อเป็นรากฐานที่จะทำให้สหประชาชาติแข็งแรงขึ้น เวทีความร่วมมือ (building blocks) เหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงรัฐสมาชิกต่าง ๆ เข้ากับระบบพหุภาคี
ในทางปฏิบัติ เวทีความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคเหล่านี้จะต้องเป็นเสมือน “รากฐาน” (building blocks) เพื่อร่วมรับผิดชอบ เกื้อหนุนและส่งเสริมเป้าหมายของสหประชาชาติด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา อันได้แก่ การลดความยากจน การต่อสู้การก่อการร้ายระหว่างประเทศ และสิทธิมนุษยชน โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของมวลมนุษยชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะสร้างประชาคมอันประกอบด้วย เสาหลัก 3 ด้าน ภายในของปี 2020 (พ.ศ. 2563) คือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community) ประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural) การทำให้ประชาคมอาเซียนเหล่านี้เป็นจริงได้จะต้อง ลดช่องว่างระหว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน
ประเทศไทยได้ริเริ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง (ACMECS) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศเพื่อนบ้าน ความร่วมมือดังกล่าวนี้เป็นเสมือน “รากฐาน” (building block) สำหรับประชาคมทั้ง 3 ด้านของอาเซียน
อาเซียนกำลังร่วมมือกับมิตรประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเพื่อก่อตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asian Community) ซึ่งจะประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเห็นความจำเป็นที่จะเชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียใต้ จึงได้ก่อตั้งบิมสเทค (BIMSTEC) ซึ่งในการประชุมสุดยอดเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เห็นพ้องที่จัดตั้งเขตการค้าเสรี เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเชียใต้
“รากฐาน” แห่งความร่วมมือ (building blocks) เหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับกรอบความ ร่วมมือเอเชีย (ACD) ซึ่งเป็นเวทีการพัฒนาของภูมิภาคเอเชียเวทีแรก ปัจจุบันมีสมาชิก 25 ประเทศ และมีหลายประเทศที่แสดงความสนใจจะเข้าร่วมในอนาคต ประเทศไทยริเริ่ม ACD ด้วยความเชื่อมั่นในความเป็นหุ้นส่วนเพื่อระดมพลังจากความหลากหลายและทำให้ความหลากหลายเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศสมาชิกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ACD เป็นรากฐาน (building block) ที่สำคัญสำหรับความ ร่วมมือระดับพหุภาคีที่จะส่งเสริมระบบพหุภาคีของสหประชาชาติ กรอบความร่วมมือเหล่านี้จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับความแตกต่างของกันและกัน และร่วมสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งสันติภาพและความอดกลั้น เพื่อรับมือกับความรุนแรงและการก่อการร้ายในโลกปัจจุบัน
ประธานสมัชชาสหประชาชาติ
เรายึดมั่นในระบบพหุภาคีว่า เป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการรักษาสันติภาพและการพัฒนาความ อยู่ดีกินดีทั่วโลก แต่เหนือสิ่งอื่นใด เรายึดมั่นระบบพหุภาคีว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะบรรลุความมั่นคงและการพัฒนาของโลก ในขณะเดียวกัน ความมั่นคงของรัฐและความมั่นคงของมนุษย์จะต้องเป็นสิ่งที่จะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน
การก่อการร้ายในอิรัก ซาอุดีอาระเบีย อินโดนีเซีย และรัสเซียและในประเทศต่าง ๆ มีเป้าหมายเพื่อทำลายความมั่นใจและความหวังของผู้รักสันติทั่วโลก ดังนั้น เราในฐานะอารยชน ต้องร่วมกันต่อสู้การก่อการร้ายในทุกที่และทุกรูปแบบ เพราะการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามโดยตรงทั้งต่อความมั่นคงของรัฐและความมั่นคงของมนุษย์ไม่สามารถมีความมั่นคงปลอดภัยได้ในโลกปัจจุบัน หากความยากจนยังเป็นปัญหาของประชากรส่วนใหญ่ของโลกและโลกยังไม่มีสันติภาพ หากยังไม่มีความคืบหน้าในการบรรลุการดำเนินการตามเป้าหมายของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals-MDGs) ของสหประชาชาติ
ประเทศไทยจึงเข้าร่วมในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ให้เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ประเทศ มั่นคงปลอดภัยและได้ดำเนินการทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับผิดชอบในการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวภายในประเทศ สำหรับในระดับระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network-HSN) และเวทีระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทยได้เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสมดุลย์ระหว่างความปลอดจากความ หวาดกลัวและการปลอดจากความขาดแคลนจากสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต หลักการทั้งสองเป็นสิ่งที่ ไม่สามารถแยกจากกันได้ เมื่อประเทศไทยรับหน้าที่ประธาน HSN ในปี 2548-2549 ประเทศไทยจะดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวอย่างแข็งขันยิ่งขึ้น รวมทั้งจะส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคประชาสังคม
สมาชิกเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ได้ออกแถลงการณ์ในช่วงก่อนการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม 2547 ยอมรับว่า ปัญหาโรคเอดส์เป็นประเด็นทั้งด้านการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
ประเทศไทยมีทัศนะต่อเรื่องทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเช่นเดียวกันกับเรื่องปัญหาโรคเอดส์ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องทั้งด้านการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องจากเรื่องทุ่นระเบิดฯ เป็นประเด็นทางมนุษยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ในฐานะประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 ผมได้ประสานงานกับธนาคารโลกเพื่อความร่วมมือในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดฯ และ รู้สึกขอบคุณที่ธนาคารโลกเห็นพ้องที่จะร่วมมือในมิติด้านการพัฒนาของการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิด ผมรู้สึกยินดีที่ธนาคารโลกจะระดมทรัพยากรสำหรับการฝึกผู้กู้กับระเบิดฯ และเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับผู้รอดชีวิตจากทุ่นระเบิดฯ ให้เป็นพลเมืองของสังคมที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผมเชื่อมั่นว่า ความเป็นหุ้นส่วนกับธนาคารโลกจะสนับสนุนให้รัฐภาคีมีทรัพยากรมากขึ้นในการบรรลุ เป้าหมายของอนุสัญญาฯ ต่อไป
ประธานสมัชชาสหประชาชาติ
ในขณะที่เรากำลังพยายามที่จะประกันการสร้างสันติภาพให้กับโลก ก็มีความพยายามที่จะทำลายสันติภาพและความมั่นคงของโลกด้วยความโหดร้าย ความเกลียดชัง และความรุนแรง ในขณะที่หลายคนกำลังดิ้นรนเพื่อต่อสู้ความยากจน และในขณะที่เรากำลังมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนา สหัสวรรษ ระบบพหุภาคีที่เราต้องการจะพึ่งพากำลังเผชิญกับสิ่งท้าทายและภัยคุกคามที่มีอานุภาพมหาศาลและในสัดส่วนที่เราไม่เคยประสบพบมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เรายังโชคดีที่ในวันนี้ ได้เห็นบางประเทศกำลังสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศอื่น ๆ หลายประเทศกำลังเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับความแตกต่างและเปลี่ยนแปลงความหลากหลายของประเทศให้เป็นความแข็งแกร่งร่วมกัน และประเทศทั้งหลายกำลังเรียนรู้ที่จะปรับตัวไปสู่ความอดกลั้นทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมืองในระดับที่สูงขึ้นเพื่อดูแลส่งเสริมวัฒนธรรมของสันติภาพและวัฒนธรรมของการอดกลั้นอาศัยกรอบความร่วมมืออันเป็นเสมือนรากฐานต่างๆ (building blocks) เช่นที่ประเทศไทยได้ริเริ่มในเอเชีย อาศัยความร่วมมือทำนองเดียวกันนี้ในลาตินอเมริกา แอฟริกา ยุโรปและที่อื่นๆ และอาศัยความร่วมมือใต้-ใต้ ประเทศที่มีความรับผิดชอบจำนวนหนึ่งพร้อมที่จะมีส่วนสนับสนุนในวิถีทางของตนเพื่อจะเปลี่ยนความแตกต่างให้เป็นความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนที่จะดูแลจัดการกับความมั่นคงและการพัฒนา ซึ่งเป็นสิ่งชี้วัดที่สำคัญ 2 ประการของสหประชาชาติ นอกจากนั้นแล้วความเป็นหุ้นส่วนและเวทีความร่วมมือต่าง ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น ยังสามารถช่วยวางรากฐานสำหรับการหน้าที่ของระบบพหุภาคีนิยมของสหประชาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน การก่อกำเนิดขององค์ประกอบของความร่วมมือและความ เชื่อมโยงที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ระหว่างการพัฒนากับความมั่นคง และระหว่างความต้องการ ที่จะพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์กับความมั่นคงของรัฐซึ่งอยู่คู่ขนานกัน สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโลกได้เปลี่ยนแปลงมาอย่างมากเพียงใดจากปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488)
สิ่งนี้คือเหตุผลว่า ทำไมการปฏิรูปสหประชาชาติไม่ใช่เป็นเพียงคำถามเกี่ยวกับเรื่องประสิทธิภาพขององค์กรใดองค์กรหนึ่งของหน่วยงานที่สำคัญแห่งนี้ และไม่ใช่เพียงคำถามที่เกี่ยวกับจำนวนและองค์ประกอบ แต่เป็นการตั้งคำถามพื้นฐานที่สำคัญมากกว่า นั่นคือ
- จะทำอย่างไรให้สหประชาชาติตอบสนองต่อความต้องการและความเป็นจริงใหม่ๆที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ไขในประเด็นปัญหาทางด้านความมั่นคงและการพัฒนาอย่างเท่าเทียม
- อะไรคือกลไกที่จะดูแลจัดการกับประเด็นด้านการพัฒนาและประเด็นด้านเศรษฐกิจระดับโลกในระยะยาวได้อย่างเพียงพอ
- อะไรคือกลไกที่จะดูแลจัดการกับการสร้างและฟื้นฟูบูรณะประเทศภายหลังความขัดแย้งได้อย่างเพียงพอ
- อะไรคือกลไกที่จะทำให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมได้มากยิ่งขึ้น โดยตระหนักว่า ภาคประชาสังคมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการพัฒนาและการแก้ไขความขัดแย้ง
- อะไรคือความเชื่อมโยงระหว่างระบบพหุภาคีนิยมของสหประชาชาติกับเวทีความร่วมมือในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค โดยตระหนักว่าเวทีความร่วมมือเหล่านี้เป็นองค์ประกอบเพื่อสร้างความร่วมมือสำหรับระบบพหุภาคีนิยมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นสิ่งจำเป็นอย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากการขยายสมาชิกภาพเป็นสิ่งจำเป็น อะไรคือหลักเกณฑ์ที่สามารถเป็นไปได้จริงสำหรับการขยายสมาชิกภาพเพื่อให้บรรลุความมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น จำเป็นที่จะต้องมีความโปร่งใสมากขึ้นหรือไม่ และอะไรคือบทบาทและความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิกของสหประชาชาติ
- สำหรับสมัชชาสหประชาชาติ องค์กรที่มีตัวแทนรัฐสมาชิกเกือบ 200 ประเทศ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าจำนวนสมาชิกเมื่อตั้งสหประชาชาติถึงสามเท่า เป็นเรื่องที่เป็นภาระยุ่งยากและเรายังคงพอใจกับกระบวนการทำงานของสมัชชาฯ อยู่หรือไม่ และเราจะสามารถปรับปรุง เพิ่มกำลังและทำให้สมัชชาฯ มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นได้อย่างไร
คำถามเหล่านี้ยังไม่ใช่คำถามทั้งหมด และประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ตั้งคำถามเหล่านี้ แต่เราทุกคนจะต้องหาคำตอบ ในขณะที่ทุกคนสามารถที่จะมีข้อคิดเห็น ความเห็น และบทวิเคราะห์ที่แตกต่างกันที่สุดแล้ว การตัดสินใจจะต้องกระทำโดยพวกเราบรรดาสมาชิกของสหประชาชาติ
การปฏิรูปสถาบันให้เป็นสถาบันที่ได้รับการเคารพนับถือไม่เคยเป็นเรื่องง่าย เราจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงในการปฏิรูป แต่ผมมีความศรัทธาในสายตาอันยาวไกลและความรอบรู้ของสมาชิกสหประชาชาติที่จะเลือกแสดงทัศนะที่รอบด้านและเลือกวิถีทางที่ถูกต้อง แม้ว่าจะเป็นหนทางที่มีผู้เลือกสัญจรเพียงน้อยครั้งในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะใช้ประสบการณ์ทั้งหมดในการเพิ่มพูนสร้างเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะมีบทบาทที่รับผิดชอบและบทบาทอันสร้างสรรค์ในการมีส่วนสนับสนุนต่อกระบวนการปฏิรูปสหประชาชาติ เราได้สนับสนุน “คณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม สิ่งท้าทายและการเปลี่ยนแปลง” และกำลังรอผลรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่กำหนดจะออกมาในเดือนธันวาคมศกนี้ เช่นเดียวกับการถกแถลงที่มีประโยชน์และสร้างสรรค์โดยรัฐสมาชิกของสหประชาชาติทั้งหมดภายหลังจากนั้น
ไม่ว่าสหประชาชาติจะฟื้นตัวจากวิกฤตในวัยกลางคนหรือจมดิ่งสู่การขาดความน่าเชื่อถือ ขึ้นอยู่กับพวกเราบรรดาสมาชิกสหประชาชาติ สำหรับสิ่งที่เป็นอยู่และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต สหประชาชาติเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นจากความมุ่งมั่นและความปรารถนาดีของเรา ขึ้นอยู่กับเราที่จะลุกขึ้นรับมือกับสิ่งท้าทาย เราจะมีสหประชาชาติเมื่อประเทศต่างๆ สามารถรวมตัวกันได้เท่านั้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) ถ้อยแถลงของนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทซ ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 วันที่ 27 กันยายน 2547
ประธานสมัชชาสหประชาชาติ
ผมขอแสดงความยินดีกับ ฯพณฯ ที่ได้รับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ทำงานสนองความปรารถนาและเป้าหมายสูงสุดของมนุษยชาติ ในยามที่เกิดปัญหาความขัดแย้ง สหประชาชาติเป็นความหวังแห่งการสมานฉันท์ ในยามที่เกิดความยากไร้และความทุกข์ทรมาน สหประชาชาติและองค์กรด้านการพัฒนาต่างๆ ในสังกัดเป็นความหวังแห่งการรักษาเยียวยา
อย่างไรก็ตาม หลังจากก่อตั้งสหประชาชาติมาเป็นเวลาเกือบ 60 ปี สหประชาชาติที่เรามีความคาดหวังอันสูงยิ่ง พบว่าตนเองตกอยู่ท่ามกลางของวิกฤติการณ์แห่งความอยู่รอดขององค์กรในโลกที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นและคาดการณ์ได้น้อยลง สหประชาชาติกำลังดิ้นรนเพื่อปรับปรุงตนเอง เอกลักษณ์และการคงไว้ซึ่งบทบาทที่มีความหมายสำหรับยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อเผชิญหน้ากับความเป็นจริงใหม่ๆ และความเป็นจริงอื่น ๆ จำเป็นจะต้องทำให้สหประชาชาติมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นและบรรลุอุดมคติสูงสุดขององค์กร โดยปฏิบัติให้มากขึ้นและพูดให้น้อยลง
มวลรัฐสมาชิกต้องมีความตั้งใจจริงและดำเนินการทุกอย่างเพื่อสหประชาชาติ จึงจะเป็นพลังขับเคลื่อนสหประชาชาติ ไปสู่ทุกสิ่งที่เราปรารถนา สหประชาชาติจะเป็นองค์กรเช่นไร ขึ้นอยู่กับรัฐสมาชิกที่จะดลบันดาลให้เป็นไปตามนั้น ดังนั้น ยิ่งเราเรียกร้องจากสหประชาชาติมากเพียงใด ประเทศสมาชิก ก็ยิ่งต้องเป็นฝ่ายที่ต้องช่วยกันดำเนินการมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ภารกิจเบื้องหน้าของเราคือ การสร้าง หลักประกันว่า ความพยายามร่วมกันทั้งมวลในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ในอันที่จะ ผลักดันภารกิจของสหประชาชาติให้ก้าวหน้าไปและเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นสูงสุดในการทำงานของ ระบบพหุภาคี
ประธานสมัชชาสหประชาชาติ
พหุภาคีนิยมไม่สามารถทำงานได้โดยปราศจากรากฐานที่มั่นคง ซึ่งเกิดจากความร่วมมือจาก รัฐสมาชิก 191 ประเทศ แต่อะไรคือสิ่งที่จะเชื่อมโยงรัฐสมาชิกเข้ากับระบบพหุภาคีนิยมอย่างแนบแน่น
สหประชาชาติจะต้องปรับเปลี่ยนและแข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากสภาพความเป็นจริงทาง ยุทธศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกในศตวรรษที่ 21 มีความซับซ้อนและแตกต่างอย่างมากจากปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) ประเทศไทยเชื่อว่าในสภาพความเป็นจริงระหว่างประเทศในปัจจุบัน มีความจำเป็นมากขึ้นที่จะสร้างเวทีความร่วมมือ (building blocks) ระดับภูมิภาคและระดับอนุภูมิภาคใหม่ เพื่อเป็นรากฐานที่จะทำให้สหประชาชาติแข็งแรงขึ้น เวทีความร่วมมือ (building blocks) เหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงรัฐสมาชิกต่าง ๆ เข้ากับระบบพหุภาคี
ในทางปฏิบัติ เวทีความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคเหล่านี้จะต้องเป็นเสมือน “รากฐาน” (building blocks) เพื่อร่วมรับผิดชอบ เกื้อหนุนและส่งเสริมเป้าหมายของสหประชาชาติด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา อันได้แก่ การลดความยากจน การต่อสู้การก่อการร้ายระหว่างประเทศ และสิทธิมนุษยชน โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของมวลมนุษยชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะสร้างประชาคมอันประกอบด้วย เสาหลัก 3 ด้าน ภายในของปี 2020 (พ.ศ. 2563) คือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community) ประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural) การทำให้ประชาคมอาเซียนเหล่านี้เป็นจริงได้จะต้อง ลดช่องว่างระหว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน
ประเทศไทยได้ริเริ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง (ACMECS) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศเพื่อนบ้าน ความร่วมมือดังกล่าวนี้เป็นเสมือน “รากฐาน” (building block) สำหรับประชาคมทั้ง 3 ด้านของอาเซียน
อาเซียนกำลังร่วมมือกับมิตรประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเพื่อก่อตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asian Community) ซึ่งจะประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเห็นความจำเป็นที่จะเชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียใต้ จึงได้ก่อตั้งบิมสเทค (BIMSTEC) ซึ่งในการประชุมสุดยอดเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เห็นพ้องที่จัดตั้งเขตการค้าเสรี เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเชียใต้
“รากฐาน” แห่งความร่วมมือ (building blocks) เหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับกรอบความ ร่วมมือเอเชีย (ACD) ซึ่งเป็นเวทีการพัฒนาของภูมิภาคเอเชียเวทีแรก ปัจจุบันมีสมาชิก 25 ประเทศ และมีหลายประเทศที่แสดงความสนใจจะเข้าร่วมในอนาคต ประเทศไทยริเริ่ม ACD ด้วยความเชื่อมั่นในความเป็นหุ้นส่วนเพื่อระดมพลังจากความหลากหลายและทำให้ความหลากหลายเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศสมาชิกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ACD เป็นรากฐาน (building block) ที่สำคัญสำหรับความ ร่วมมือระดับพหุภาคีที่จะส่งเสริมระบบพหุภาคีของสหประชาชาติ กรอบความร่วมมือเหล่านี้จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับความแตกต่างของกันและกัน และร่วมสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งสันติภาพและความอดกลั้น เพื่อรับมือกับความรุนแรงและการก่อการร้ายในโลกปัจจุบัน
ประธานสมัชชาสหประชาชาติ
เรายึดมั่นในระบบพหุภาคีว่า เป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการรักษาสันติภาพและการพัฒนาความ อยู่ดีกินดีทั่วโลก แต่เหนือสิ่งอื่นใด เรายึดมั่นระบบพหุภาคีว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะบรรลุความมั่นคงและการพัฒนาของโลก ในขณะเดียวกัน ความมั่นคงของรัฐและความมั่นคงของมนุษย์จะต้องเป็นสิ่งที่จะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน
การก่อการร้ายในอิรัก ซาอุดีอาระเบีย อินโดนีเซีย และรัสเซียและในประเทศต่าง ๆ มีเป้าหมายเพื่อทำลายความมั่นใจและความหวังของผู้รักสันติทั่วโลก ดังนั้น เราในฐานะอารยชน ต้องร่วมกันต่อสู้การก่อการร้ายในทุกที่และทุกรูปแบบ เพราะการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามโดยตรงทั้งต่อความมั่นคงของรัฐและความมั่นคงของมนุษย์ไม่สามารถมีความมั่นคงปลอดภัยได้ในโลกปัจจุบัน หากความยากจนยังเป็นปัญหาของประชากรส่วนใหญ่ของโลกและโลกยังไม่มีสันติภาพ หากยังไม่มีความคืบหน้าในการบรรลุการดำเนินการตามเป้าหมายของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals-MDGs) ของสหประชาชาติ
ประเทศไทยจึงเข้าร่วมในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ให้เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ประเทศ มั่นคงปลอดภัยและได้ดำเนินการทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับผิดชอบในการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวภายในประเทศ สำหรับในระดับระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network-HSN) และเวทีระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทยได้เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสมดุลย์ระหว่างความปลอดจากความ หวาดกลัวและการปลอดจากความขาดแคลนจากสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต หลักการทั้งสองเป็นสิ่งที่ ไม่สามารถแยกจากกันได้ เมื่อประเทศไทยรับหน้าที่ประธาน HSN ในปี 2548-2549 ประเทศไทยจะดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวอย่างแข็งขันยิ่งขึ้น รวมทั้งจะส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคประชาสังคม
สมาชิกเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ได้ออกแถลงการณ์ในช่วงก่อนการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม 2547 ยอมรับว่า ปัญหาโรคเอดส์เป็นประเด็นทั้งด้านการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
ประเทศไทยมีทัศนะต่อเรื่องทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเช่นเดียวกันกับเรื่องปัญหาโรคเอดส์ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องทั้งด้านการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องจากเรื่องทุ่นระเบิดฯ เป็นประเด็นทางมนุษยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ในฐานะประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 ผมได้ประสานงานกับธนาคารโลกเพื่อความร่วมมือในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดฯ และ รู้สึกขอบคุณที่ธนาคารโลกเห็นพ้องที่จะร่วมมือในมิติด้านการพัฒนาของการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิด ผมรู้สึกยินดีที่ธนาคารโลกจะระดมทรัพยากรสำหรับการฝึกผู้กู้กับระเบิดฯ และเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับผู้รอดชีวิตจากทุ่นระเบิดฯ ให้เป็นพลเมืองของสังคมที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผมเชื่อมั่นว่า ความเป็นหุ้นส่วนกับธนาคารโลกจะสนับสนุนให้รัฐภาคีมีทรัพยากรมากขึ้นในการบรรลุ เป้าหมายของอนุสัญญาฯ ต่อไป
ประธานสมัชชาสหประชาชาติ
ในขณะที่เรากำลังพยายามที่จะประกันการสร้างสันติภาพให้กับโลก ก็มีความพยายามที่จะทำลายสันติภาพและความมั่นคงของโลกด้วยความโหดร้าย ความเกลียดชัง และความรุนแรง ในขณะที่หลายคนกำลังดิ้นรนเพื่อต่อสู้ความยากจน และในขณะที่เรากำลังมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนา สหัสวรรษ ระบบพหุภาคีที่เราต้องการจะพึ่งพากำลังเผชิญกับสิ่งท้าทายและภัยคุกคามที่มีอานุภาพมหาศาลและในสัดส่วนที่เราไม่เคยประสบพบมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เรายังโชคดีที่ในวันนี้ ได้เห็นบางประเทศกำลังสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศอื่น ๆ หลายประเทศกำลังเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับความแตกต่างและเปลี่ยนแปลงความหลากหลายของประเทศให้เป็นความแข็งแกร่งร่วมกัน และประเทศทั้งหลายกำลังเรียนรู้ที่จะปรับตัวไปสู่ความอดกลั้นทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมืองในระดับที่สูงขึ้นเพื่อดูแลส่งเสริมวัฒนธรรมของสันติภาพและวัฒนธรรมของการอดกลั้นอาศัยกรอบความร่วมมืออันเป็นเสมือนรากฐานต่างๆ (building blocks) เช่นที่ประเทศไทยได้ริเริ่มในเอเชีย อาศัยความร่วมมือทำนองเดียวกันนี้ในลาตินอเมริกา แอฟริกา ยุโรปและที่อื่นๆ และอาศัยความร่วมมือใต้-ใต้ ประเทศที่มีความรับผิดชอบจำนวนหนึ่งพร้อมที่จะมีส่วนสนับสนุนในวิถีทางของตนเพื่อจะเปลี่ยนความแตกต่างให้เป็นความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนที่จะดูแลจัดการกับความมั่นคงและการพัฒนา ซึ่งเป็นสิ่งชี้วัดที่สำคัญ 2 ประการของสหประชาชาติ นอกจากนั้นแล้วความเป็นหุ้นส่วนและเวทีความร่วมมือต่าง ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น ยังสามารถช่วยวางรากฐานสำหรับการหน้าที่ของระบบพหุภาคีนิยมของสหประชาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน การก่อกำเนิดขององค์ประกอบของความร่วมมือและความ เชื่อมโยงที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ระหว่างการพัฒนากับความมั่นคง และระหว่างความต้องการ ที่จะพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์กับความมั่นคงของรัฐซึ่งอยู่คู่ขนานกัน สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโลกได้เปลี่ยนแปลงมาอย่างมากเพียงใดจากปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488)
สิ่งนี้คือเหตุผลว่า ทำไมการปฏิรูปสหประชาชาติไม่ใช่เป็นเพียงคำถามเกี่ยวกับเรื่องประสิทธิภาพขององค์กรใดองค์กรหนึ่งของหน่วยงานที่สำคัญแห่งนี้ และไม่ใช่เพียงคำถามที่เกี่ยวกับจำนวนและองค์ประกอบ แต่เป็นการตั้งคำถามพื้นฐานที่สำคัญมากกว่า นั่นคือ
- จะทำอย่างไรให้สหประชาชาติตอบสนองต่อความต้องการและความเป็นจริงใหม่ๆที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ไขในประเด็นปัญหาทางด้านความมั่นคงและการพัฒนาอย่างเท่าเทียม
- อะไรคือกลไกที่จะดูแลจัดการกับประเด็นด้านการพัฒนาและประเด็นด้านเศรษฐกิจระดับโลกในระยะยาวได้อย่างเพียงพอ
- อะไรคือกลไกที่จะดูแลจัดการกับการสร้างและฟื้นฟูบูรณะประเทศภายหลังความขัดแย้งได้อย่างเพียงพอ
- อะไรคือกลไกที่จะทำให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมได้มากยิ่งขึ้น โดยตระหนักว่า ภาคประชาสังคมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการพัฒนาและการแก้ไขความขัดแย้ง
- อะไรคือความเชื่อมโยงระหว่างระบบพหุภาคีนิยมของสหประชาชาติกับเวทีความร่วมมือในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค โดยตระหนักว่าเวทีความร่วมมือเหล่านี้เป็นองค์ประกอบเพื่อสร้างความร่วมมือสำหรับระบบพหุภาคีนิยมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นสิ่งจำเป็นอย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากการขยายสมาชิกภาพเป็นสิ่งจำเป็น อะไรคือหลักเกณฑ์ที่สามารถเป็นไปได้จริงสำหรับการขยายสมาชิกภาพเพื่อให้บรรลุความมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น จำเป็นที่จะต้องมีความโปร่งใสมากขึ้นหรือไม่ และอะไรคือบทบาทและความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิกของสหประชาชาติ
- สำหรับสมัชชาสหประชาชาติ องค์กรที่มีตัวแทนรัฐสมาชิกเกือบ 200 ประเทศ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าจำนวนสมาชิกเมื่อตั้งสหประชาชาติถึงสามเท่า เป็นเรื่องที่เป็นภาระยุ่งยากและเรายังคงพอใจกับกระบวนการทำงานของสมัชชาฯ อยู่หรือไม่ และเราจะสามารถปรับปรุง เพิ่มกำลังและทำให้สมัชชาฯ มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นได้อย่างไร
คำถามเหล่านี้ยังไม่ใช่คำถามทั้งหมด และประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ตั้งคำถามเหล่านี้ แต่เราทุกคนจะต้องหาคำตอบ ในขณะที่ทุกคนสามารถที่จะมีข้อคิดเห็น ความเห็น และบทวิเคราะห์ที่แตกต่างกันที่สุดแล้ว การตัดสินใจจะต้องกระทำโดยพวกเราบรรดาสมาชิกของสหประชาชาติ
การปฏิรูปสถาบันให้เป็นสถาบันที่ได้รับการเคารพนับถือไม่เคยเป็นเรื่องง่าย เราจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงในการปฏิรูป แต่ผมมีความศรัทธาในสายตาอันยาวไกลและความรอบรู้ของสมาชิกสหประชาชาติที่จะเลือกแสดงทัศนะที่รอบด้านและเลือกวิถีทางที่ถูกต้อง แม้ว่าจะเป็นหนทางที่มีผู้เลือกสัญจรเพียงน้อยครั้งในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะใช้ประสบการณ์ทั้งหมดในการเพิ่มพูนสร้างเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะมีบทบาทที่รับผิดชอบและบทบาทอันสร้างสรรค์ในการมีส่วนสนับสนุนต่อกระบวนการปฏิรูปสหประชาชาติ เราได้สนับสนุน “คณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม สิ่งท้าทายและการเปลี่ยนแปลง” และกำลังรอผลรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่กำหนดจะออกมาในเดือนธันวาคมศกนี้ เช่นเดียวกับการถกแถลงที่มีประโยชน์และสร้างสรรค์โดยรัฐสมาชิกของสหประชาชาติทั้งหมดภายหลังจากนั้น
ไม่ว่าสหประชาชาติจะฟื้นตัวจากวิกฤตในวัยกลางคนหรือจมดิ่งสู่การขาดความน่าเชื่อถือ ขึ้นอยู่กับพวกเราบรรดาสมาชิกสหประชาชาติ สำหรับสิ่งที่เป็นอยู่และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต สหประชาชาติเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นจากความมุ่งมั่นและความปรารถนาดีของเรา ขึ้นอยู่กับเราที่จะลุกขึ้นรับมือกับสิ่งท้าทาย เราจะมีสหประชาชาติเมื่อประเทศต่างๆ สามารถรวมตัวกันได้เท่านั้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-