กรุงเทพ--29 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 ณ นครนิวยอร์ก รวมทั้งผลการประชุม Asia Cooperation Dialogue (ACD) และการประชุม ASEAN-SAARC ตลอดจนการหารือทวิภาคี สรุปสาระได้ดังนี้
1. การกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำถึง 2 เสาหลักที่สำคัญของสหประชาชาติ คือ การพัฒนาและความมั่นคง ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่กันไป รวมทั้งความเคลื่อนไหวและความแข็งแกร่งในแต่ละอนุภูมิภาคที่ถือว่า เป็นตัวต่อ (jigsaw) สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการก้าวไปสู่ระบบพหุพาคีนิยม ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงความริเริ่มต่างๆ ที่ไทยได้ดำเนินการทั้งในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคเพื่อสนับสนุนระบบนี้ซึ่งมีสหประชาชาติเป็นศูนย์กลาง อาทิ การดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่กัน เป็นประชาคมอาเซียน ประชาคมเอเชียตะวันออก ความร่วมมือกับเอเชียใต้ และ ACD ประกอบกับ ในปัจจุบันนี้ สถานการณ์โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีความท้าทายและภัยคุกคามใหม่ๆ เกิดขึ้น ประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติจึงต้องร่วมกันพิจารณาว่าจะต้องปรับปรุงสหประชาชาติ ที่ได้ก่อตั้งมานานถึง 60 ปี อย่างไรจึงจะช่วยให้องค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติทำงานได้อย่างเข้มแข็งและ ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการปฏิรูปสหประชาชาตินี้จะต้องพิจารณาในภาพรวมทั้งหมด
2. การประชุมACD ที่ประชุมได้ทบทวนความคืบหน้าการดำเนินงานต่างๆ ในกรอบ ACD และรับทราบว่าภูฏานได้ดำเนินการตามกระบวนการภายในประเทศเพื่อเข้าเป็นสมาชิกของ ACD เสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมได้ยืนยันมติที่จะรับภูฏานเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในการประชุม ACD ครั้งที่ 4 ที่ปากีสถาน และรับทราบเอกสารแนวความคิดของไทยเสนอแนะหลักเกณฑ์การเป็นเจ้าภาพจัดการจัดประชุม ACD แนวทางและรูปแบบการมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ที่ประสงค์จะมีความร่วมมือกับ ACD ซึ่งไทยได้เสนอแนวทางการมีความร่วมมือในลักษณะของการเป็นหุ้นส่วน ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้พิจารณาเอกสารดังกล่าวในที่ประชุม ACD ที่ปากีสถานในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้ที่จะจัดการประชุมผู้นำ ACD เนื่องจากในปัจจุบัน ACD มีความร่วมมือที่คืบหน้าและเป็นรูปธรรมหลายประการ อาทิ กองทุนพันธบัตรเอเชีย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้นำได้แสดงเจตนารมย์ทางการเมืองร่วมกัน โดยไทยพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมผู้นำ ACD ครั้งแรกในปลายปี 2548
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการปฎิรูปสหประชาชาติ และตกลงให้เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวร ประจำสหประชาชาติของประเทศสมาชิกร่วมกันหารือและจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญขึ้นทำการศึกษาในเรื่องดังกล่าวโดยรอดูจากผลการศึกษาของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เพื่อให้ ACD มีท่าทีในเรื่องการปฎิรูปสหประชาชาติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3. การประชุม ASEAN-SAARC รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานร่วมกับ นาย Khurshid Mehmood Kasuri รัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถาน ที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างอาเซียนและ SAARC และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการ อาเซียนและสำนักเลขาธิการ SAARC ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน
- ร่วมกันหารือกับผู้อำนวยการของ UNAIDS เพื่อร่วมกันจัดทำโครงการความร่วมมือเรื่องโรคเอดส์ เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทาง ชีวภาพ จึงน่าจะมีศักยภาพในการร่วมมือกันได้
- ประสานงานกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียในการสนับสนุนโครงการความร่วมมือ ด้านการท่องเที่ยวและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ซึ่งเป็นความร่วมมือที่สามารถดำเนินการได้ทันที
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึง โครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน พร้อมทั้งยืนยันว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปเพื่อสันติ และพร้อมที่จะให้องค์ปรมาณูระหว่างประเทศเข้าไปทำการตรวจสอบ
4. การหารือทวิภาคี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับนาย Natwar Singh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย นาย Kostyantyn Hryshchenko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเครน นาย Abdullah Gul รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี นาง Nkosazana Dlamini Zuma รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แอฟริกาใต้ และนาย Olu Adeniji รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไนจีเรีย โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติ รวมทั้งประเด็นด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีอื่นๆ
สำหรับในส่วนของอินเดียนั้น ยังได้หารือเรื่องการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี สถานการณ์ในพม่า และฝ่ายอินเดียได้ขอให้ไทยสนับสนุนการขอเข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 ณ นครนิวยอร์ก รวมทั้งผลการประชุม Asia Cooperation Dialogue (ACD) และการประชุม ASEAN-SAARC ตลอดจนการหารือทวิภาคี สรุปสาระได้ดังนี้
1. การกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 59 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำถึง 2 เสาหลักที่สำคัญของสหประชาชาติ คือ การพัฒนาและความมั่นคง ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่กันไป รวมทั้งความเคลื่อนไหวและความแข็งแกร่งในแต่ละอนุภูมิภาคที่ถือว่า เป็นตัวต่อ (jigsaw) สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการก้าวไปสู่ระบบพหุพาคีนิยม ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงความริเริ่มต่างๆ ที่ไทยได้ดำเนินการทั้งในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคเพื่อสนับสนุนระบบนี้ซึ่งมีสหประชาชาติเป็นศูนย์กลาง อาทิ การดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่กัน เป็นประชาคมอาเซียน ประชาคมเอเชียตะวันออก ความร่วมมือกับเอเชียใต้ และ ACD ประกอบกับ ในปัจจุบันนี้ สถานการณ์โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีความท้าทายและภัยคุกคามใหม่ๆ เกิดขึ้น ประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติจึงต้องร่วมกันพิจารณาว่าจะต้องปรับปรุงสหประชาชาติ ที่ได้ก่อตั้งมานานถึง 60 ปี อย่างไรจึงจะช่วยให้องค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติทำงานได้อย่างเข้มแข็งและ ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการปฏิรูปสหประชาชาตินี้จะต้องพิจารณาในภาพรวมทั้งหมด
2. การประชุมACD ที่ประชุมได้ทบทวนความคืบหน้าการดำเนินงานต่างๆ ในกรอบ ACD และรับทราบว่าภูฏานได้ดำเนินการตามกระบวนการภายในประเทศเพื่อเข้าเป็นสมาชิกของ ACD เสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมได้ยืนยันมติที่จะรับภูฏานเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในการประชุม ACD ครั้งที่ 4 ที่ปากีสถาน และรับทราบเอกสารแนวความคิดของไทยเสนอแนะหลักเกณฑ์การเป็นเจ้าภาพจัดการจัดประชุม ACD แนวทางและรูปแบบการมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ที่ประสงค์จะมีความร่วมมือกับ ACD ซึ่งไทยได้เสนอแนวทางการมีความร่วมมือในลักษณะของการเป็นหุ้นส่วน ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้พิจารณาเอกสารดังกล่าวในที่ประชุม ACD ที่ปากีสถานในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้ที่จะจัดการประชุมผู้นำ ACD เนื่องจากในปัจจุบัน ACD มีความร่วมมือที่คืบหน้าและเป็นรูปธรรมหลายประการ อาทิ กองทุนพันธบัตรเอเชีย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้นำได้แสดงเจตนารมย์ทางการเมืองร่วมกัน โดยไทยพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมผู้นำ ACD ครั้งแรกในปลายปี 2548
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการปฎิรูปสหประชาชาติ และตกลงให้เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวร ประจำสหประชาชาติของประเทศสมาชิกร่วมกันหารือและจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญขึ้นทำการศึกษาในเรื่องดังกล่าวโดยรอดูจากผลการศึกษาของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เพื่อให้ ACD มีท่าทีในเรื่องการปฎิรูปสหประชาชาติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3. การประชุม ASEAN-SAARC รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานร่วมกับ นาย Khurshid Mehmood Kasuri รัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถาน ที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างอาเซียนและ SAARC และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการ อาเซียนและสำนักเลขาธิการ SAARC ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน
- ร่วมกันหารือกับผู้อำนวยการของ UNAIDS เพื่อร่วมกันจัดทำโครงการความร่วมมือเรื่องโรคเอดส์ เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทาง ชีวภาพ จึงน่าจะมีศักยภาพในการร่วมมือกันได้
- ประสานงานกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียในการสนับสนุนโครงการความร่วมมือ ด้านการท่องเที่ยวและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ซึ่งเป็นความร่วมมือที่สามารถดำเนินการได้ทันที
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึง โครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน พร้อมทั้งยืนยันว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปเพื่อสันติ และพร้อมที่จะให้องค์ปรมาณูระหว่างประเทศเข้าไปทำการตรวจสอบ
4. การหารือทวิภาคี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับนาย Natwar Singh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย นาย Kostyantyn Hryshchenko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเครน นาย Abdullah Gul รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี นาง Nkosazana Dlamini Zuma รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แอฟริกาใต้ และนาย Olu Adeniji รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไนจีเรีย โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติ รวมทั้งประเด็นด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีอื่นๆ
สำหรับในส่วนของอินเดียนั้น ยังได้หารือเรื่องการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี สถานการณ์ในพม่า และฝ่ายอินเดียได้ขอให้ไทยสนับสนุนการขอเข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-