กรุงเทพ--29 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมระดับผู้นำเอเชีย-ยุโรปหรืออาเซม ครั้งที่ 5 (ASEM 5) จะมีขึ้นที่ International Conference Center (ICC) กรุงฮานอย ระหว่างวันที่ 7 - 9 ตุลาคม 2547 โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะนำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปประเทศเวียดนามเพื่อเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมเดินทางไปด้วย
การประชุมอาเซมครั้งที่ 5 นี้ ประเทศเวียดนามในฐานะเจ้าภาพได้กำหนดหัวข้อหลัก (Theme) ของการประชุมครั้งนี้ว่า " Further Revitalizing and Substantiating the Asia-Europe Partnership" เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในฐานะหุ้นส่วนระหว่างกัน
ปัจจุบัน อาเซมมีสมาชิก 25 ประเทศ ประกอบด้วยยุโรป 15 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเดิมได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร และคณะกรรมาธิการยุโรป และเอเชีย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี
การประชุมครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ของความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป เนื่องจากจะมีการรับสมาชิกใหม่อีก 13 ประเทศ โดย 3 ประเทศจากเอเชียคือ กัมพูชา ลาว และพม่า และสมาชิกใหม่สหภาพยุโรปอีก 10 ประเทศ ได้แก่ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกียและสโลเวเนีย ซึ่งการเพิ่มจำนวนสมาชิกในการประชุมครั้งนี้ จะทำให้อาเซมมีสมาชิกทั้งสิ้น 38 ประเทศและหนึ่งองค์กร (คณะกรรมาธิการยุโรป) และทำให้อาเซมเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างภูมิภาคที่มีความสำคัญอย่างมากทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยจะมีประชากรรวมกันในประเทศสมาชิกสูงถึง 2,300 ล้านคน และมี GDP รวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกันเท่ากับร้อยละ 36 ของการค้าโลก
นอกจากนี้ ที่ประชุมจะให้การรับรองเอกสาร 3 ฉบับได้แก่ 1.) Chairman's Statement ซึ่งเป็นรายงานสรุปผลการประชุม 2.) Declaration on Closer ASEM Economic Partnership หรือปฏิญญาว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นของอาเซม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า การคลัง และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ด้านพลังงาน คมนาคมและการท่องเที่ยว ตลอดจนการปรับปรุงบทบาทของภาคเอกชนในอาเซม 3.) Declaration on Dialogue Among Cultures and Civilizations หรือปฏิญญาว่าด้วยการหารือระหว่างวัฒนธรรมและอารยธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่ความเข้าใจและการให้ความเคารพซึ่งกันและกันบนพื้นฐานที่แตกต่างกันทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมการประชุมอาเซมครั้งที่ 5 มีกำหนดการประชุมในเบื้องต้น ดังนี้
วันที่ 7 ตุลาคม 2547
บ่าย - การประชุมระดับหัวหน้าคณะผู้แทนแต่ละภูมิภาค
เย็น - พิธีรับสมาชิกใหม่
ค่ำ - งานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างไม่เป็นทางการ
วันที่ 8 ตุลาคม 2547
เช้า - พิธีเปิดการประชุมที่ Ba Dinh Hall กรุงฮานอย
- การประชุมช่วงที่ 1
- งานเลี้ยงอาหารกลางวัน (Working Lunch)
บ่าย - การประชุมช่วงที่ 2
ค่ำ - งานเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการ
วันที่ 9 ตุลาคม 2547
เช้า - การประชุมช่วงที่ 3
- พิธีปิดการประชุม
- การแถลงข่าว
ทั้งนี้ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2547 ในช่วงงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างไม่เป็นทางการ ผู้นำของเอเชียและยุโรปจะแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาค อาทิ พัฒนาการที่สำคัญในอาเซียน ความร่วมมือในกรอบ ASEAN+3 และการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป เป็นต้น
ในวันที่ 8 ตุลาคม 2547 ในช่วงการประชุมช่วงที่ 1 ผู้นำเอเชียและยุโรปจะหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านการเมืองในหัวข้อ International Developments and New Global Challenges อาทิ บทบาทสหประชาชาติในการสร้างสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคง การก่อการร้ายระหว่างประเทศ และอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งภัยคุกคามจากปัญหาข้ามชาติอื่นๆ เช่น โรคระบาด
ในช่วงงานเลี้ยงอาหารกลางวัน ผู้นำเอเชียและยุโรปจะหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับอนาคตของอาเซม ขึ้นหารือระหว่างกัน โดยพิจารณาข้อเสนอแนะที่จะยกระดับอาเซมเป็นเวทีความร่วมมือและการพัฒนาด้านสถาบันเพื่อรองรับความร่วมมือต่างๆ เช่น ข้อเสนอการจัดตั้ง Virtual Secretariat เป็นต้น
ในช่วงการประชุมช่วงที่ 2 จะเป็นการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในหัวข้อ Promoting the Asia-Europe Economic Partnership in the Context of Globalization and Open Regionalism โดยผู้นำจะหารือเกี่ยวกับข้อเสนอตามรายงานของคณะทำงาน ASEM Task Force for Closer Economic Partnership (ASEM-CEP) ซึ่งมีดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นผู้แทนไทยในคณะทำงานดังกล่าวด้วย เช่น ความร่วมมือในเรื่องพลังงาน การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ต การจัดตั้ง ASEM Business Advisory Council (ASEMBAC) และการก่อตั้งตลาดและกองทุนพันธบัตรอาเซมที่ใช้ระบบตะกร้าเงินสกุลเยน ดอลลาร์สหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ ที่ประชุมจะได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่อยู่ในความสนใจของประเทศสมาชิก เช่น การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียหรือเอเชียบอนด์และการเชื่อมโยงกับตลาดยูโรบอนด์ ซึ่งเป็นข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีไทยในช่วงการประชุมอาเซมครั้งที่ 4 ที่กรุงโคเปนเฮเกนในปี 2545
ในช่วงเช้าของวันที่ 9 ตุลาคม 2547 จะเป็นการประชุมช่วงที่ 3 ซึ่งจะเป็นการพิจารณาประเด็นทางด้านสังคม วัฒนธรรมและความร่วมมือด้านอื่นๆ ในหัวข้อ Cultural Diversity and National Cultures in the Age of Information Technology and Globalization โดยผู้นำจะหารือแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมและการรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้นในส่วนของไทยนั้น นายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับบทบาทนำของไทยในการ ริเริ่มความร่วมมือในภูมิภาค อาทิ ACD, BIMSTEC, ACMECS และ GMS รวมทั้งการส่งเสริมให้อาเซมเป็นสังคมบนพื้นฐานองค์ความรู้ ความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียหรือเอเชียบอนด์ การพัฒนาไบโอดีเซลเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ และการเป็นเจ้าภาพจัด ASEM Youth Games เพื่อส่งเสริมมิตรภาพของเยาวชนไทยและยุโรป ฯลฯ
นอกเวทีการประชุม นายกรัฐมนตรีจะได้มีการพบปะหารือกับผู้นำสำคัญของยุโรป และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็จะมีโอกาสพบปะหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศจากประเทศต่างๆ ในยุโรปและสมาชิกใหม่ สหภาพยุโรป เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีด้านต่างๆ ด้วย
ทั้งนี้ พัฒนาการของกระบวนการอาเซมในช่วง 8 ปีที่ผ่านมามีการจัดการประชุมระดับผู้นำมาแล้ว 4 ครั้งได้แก่ การประชุมเอเชีย - ยุโรปครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ในปี 2539 การประชุมเอเชีย- ยุโรปครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอนในปี2541 การประชุมเอเชีย- ยุโรปครั้งที่ 3 ที่กรุงโซล ในปี 2543 และการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 ที่กรุงโคเปนเฮเปน ในปี 2545
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
การประชุมระดับผู้นำเอเชีย-ยุโรปหรืออาเซม ครั้งที่ 5 (ASEM 5) จะมีขึ้นที่ International Conference Center (ICC) กรุงฮานอย ระหว่างวันที่ 7 - 9 ตุลาคม 2547 โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะนำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปประเทศเวียดนามเพื่อเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมเดินทางไปด้วย
การประชุมอาเซมครั้งที่ 5 นี้ ประเทศเวียดนามในฐานะเจ้าภาพได้กำหนดหัวข้อหลัก (Theme) ของการประชุมครั้งนี้ว่า " Further Revitalizing and Substantiating the Asia-Europe Partnership" เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในฐานะหุ้นส่วนระหว่างกัน
ปัจจุบัน อาเซมมีสมาชิก 25 ประเทศ ประกอบด้วยยุโรป 15 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเดิมได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร และคณะกรรมาธิการยุโรป และเอเชีย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี
การประชุมครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ของความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป เนื่องจากจะมีการรับสมาชิกใหม่อีก 13 ประเทศ โดย 3 ประเทศจากเอเชียคือ กัมพูชา ลาว และพม่า และสมาชิกใหม่สหภาพยุโรปอีก 10 ประเทศ ได้แก่ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกียและสโลเวเนีย ซึ่งการเพิ่มจำนวนสมาชิกในการประชุมครั้งนี้ จะทำให้อาเซมมีสมาชิกทั้งสิ้น 38 ประเทศและหนึ่งองค์กร (คณะกรรมาธิการยุโรป) และทำให้อาเซมเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างภูมิภาคที่มีความสำคัญอย่างมากทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยจะมีประชากรรวมกันในประเทศสมาชิกสูงถึง 2,300 ล้านคน และมี GDP รวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกันเท่ากับร้อยละ 36 ของการค้าโลก
นอกจากนี้ ที่ประชุมจะให้การรับรองเอกสาร 3 ฉบับได้แก่ 1.) Chairman's Statement ซึ่งเป็นรายงานสรุปผลการประชุม 2.) Declaration on Closer ASEM Economic Partnership หรือปฏิญญาว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นของอาเซม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า การคลัง และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ด้านพลังงาน คมนาคมและการท่องเที่ยว ตลอดจนการปรับปรุงบทบาทของภาคเอกชนในอาเซม 3.) Declaration on Dialogue Among Cultures and Civilizations หรือปฏิญญาว่าด้วยการหารือระหว่างวัฒนธรรมและอารยธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่ความเข้าใจและการให้ความเคารพซึ่งกันและกันบนพื้นฐานที่แตกต่างกันทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมการประชุมอาเซมครั้งที่ 5 มีกำหนดการประชุมในเบื้องต้น ดังนี้
วันที่ 7 ตุลาคม 2547
บ่าย - การประชุมระดับหัวหน้าคณะผู้แทนแต่ละภูมิภาค
เย็น - พิธีรับสมาชิกใหม่
ค่ำ - งานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างไม่เป็นทางการ
วันที่ 8 ตุลาคม 2547
เช้า - พิธีเปิดการประชุมที่ Ba Dinh Hall กรุงฮานอย
- การประชุมช่วงที่ 1
- งานเลี้ยงอาหารกลางวัน (Working Lunch)
บ่าย - การประชุมช่วงที่ 2
ค่ำ - งานเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการ
วันที่ 9 ตุลาคม 2547
เช้า - การประชุมช่วงที่ 3
- พิธีปิดการประชุม
- การแถลงข่าว
ทั้งนี้ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2547 ในช่วงงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างไม่เป็นทางการ ผู้นำของเอเชียและยุโรปจะแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาค อาทิ พัฒนาการที่สำคัญในอาเซียน ความร่วมมือในกรอบ ASEAN+3 และการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป เป็นต้น
ในวันที่ 8 ตุลาคม 2547 ในช่วงการประชุมช่วงที่ 1 ผู้นำเอเชียและยุโรปจะหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านการเมืองในหัวข้อ International Developments and New Global Challenges อาทิ บทบาทสหประชาชาติในการสร้างสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคง การก่อการร้ายระหว่างประเทศ และอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งภัยคุกคามจากปัญหาข้ามชาติอื่นๆ เช่น โรคระบาด
ในช่วงงานเลี้ยงอาหารกลางวัน ผู้นำเอเชียและยุโรปจะหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับอนาคตของอาเซม ขึ้นหารือระหว่างกัน โดยพิจารณาข้อเสนอแนะที่จะยกระดับอาเซมเป็นเวทีความร่วมมือและการพัฒนาด้านสถาบันเพื่อรองรับความร่วมมือต่างๆ เช่น ข้อเสนอการจัดตั้ง Virtual Secretariat เป็นต้น
ในช่วงการประชุมช่วงที่ 2 จะเป็นการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในหัวข้อ Promoting the Asia-Europe Economic Partnership in the Context of Globalization and Open Regionalism โดยผู้นำจะหารือเกี่ยวกับข้อเสนอตามรายงานของคณะทำงาน ASEM Task Force for Closer Economic Partnership (ASEM-CEP) ซึ่งมีดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นผู้แทนไทยในคณะทำงานดังกล่าวด้วย เช่น ความร่วมมือในเรื่องพลังงาน การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ต การจัดตั้ง ASEM Business Advisory Council (ASEMBAC) และการก่อตั้งตลาดและกองทุนพันธบัตรอาเซมที่ใช้ระบบตะกร้าเงินสกุลเยน ดอลลาร์สหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ ที่ประชุมจะได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่อยู่ในความสนใจของประเทศสมาชิก เช่น การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียหรือเอเชียบอนด์และการเชื่อมโยงกับตลาดยูโรบอนด์ ซึ่งเป็นข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีไทยในช่วงการประชุมอาเซมครั้งที่ 4 ที่กรุงโคเปนเฮเกนในปี 2545
ในช่วงเช้าของวันที่ 9 ตุลาคม 2547 จะเป็นการประชุมช่วงที่ 3 ซึ่งจะเป็นการพิจารณาประเด็นทางด้านสังคม วัฒนธรรมและความร่วมมือด้านอื่นๆ ในหัวข้อ Cultural Diversity and National Cultures in the Age of Information Technology and Globalization โดยผู้นำจะหารือแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมและการรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้นในส่วนของไทยนั้น นายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับบทบาทนำของไทยในการ ริเริ่มความร่วมมือในภูมิภาค อาทิ ACD, BIMSTEC, ACMECS และ GMS รวมทั้งการส่งเสริมให้อาเซมเป็นสังคมบนพื้นฐานองค์ความรู้ ความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียหรือเอเชียบอนด์ การพัฒนาไบโอดีเซลเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ และการเป็นเจ้าภาพจัด ASEM Youth Games เพื่อส่งเสริมมิตรภาพของเยาวชนไทยและยุโรป ฯลฯ
นอกเวทีการประชุม นายกรัฐมนตรีจะได้มีการพบปะหารือกับผู้นำสำคัญของยุโรป และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็จะมีโอกาสพบปะหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศจากประเทศต่างๆ ในยุโรปและสมาชิกใหม่ สหภาพยุโรป เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีด้านต่างๆ ด้วย
ทั้งนี้ พัฒนาการของกระบวนการอาเซมในช่วง 8 ปีที่ผ่านมามีการจัดการประชุมระดับผู้นำมาแล้ว 4 ครั้งได้แก่ การประชุมเอเชีย - ยุโรปครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ในปี 2539 การประชุมเอเชีย- ยุโรปครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอนในปี2541 การประชุมเอเชีย- ยุโรปครั้งที่ 3 ที่กรุงโซล ในปี 2543 และการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 ที่กรุงโคเปนเฮเปน ในปี 2545
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-