นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนสิงหาคม 2547 ดังนี้
เศรษฐกิจไทยในเดือนสิงหาคมยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดี แม้ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน การลงทุนภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวสูง การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวอย่างดี การค้าระหว่างประเทศทั้งการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การผลิตยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังขยายตัวในอัตราเร่งตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี แม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนสิงหาคมขยายตัวที่ร้อยละ 17.8 ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนสิงหาคม หดตัวร้อยละ 1.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลส่วนใหญ่จากการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ อย่างไรก็ตาม รายได้จัดเก็บภาษีสรรพาสามิตจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ยังคงขยายตัวดีสะท้อนการขยายตัวของการบริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ดี สอดคล้องกับการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 24.1 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจัดทำโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับลดลงมาอยู่ที่ 92.0 จุด ในเดือนสิงหาคม เนื่องจากความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นและการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ
การลงทุนภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวสูง การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องสะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวสูงร้อยละ 31.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.2 ในเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนภาคก่อสร้างยังคงมีแนวโน้มที่ดีตามการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงร้อยละ 76.7 ในเดือนสิงหาคม สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ในเดือนกรกฎาคม
การใช้จ่ายภาครัฐเร่งตัวขึ้น รายจ่ายงบประมาณเดือนสิงหาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 101.55 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ทั้งนี้ รายจ่ายประจำขยายตัวร้อยละ 27.8 ขณะที่รายจ่ายลงทุนหดตัวร้อยละ 16.2
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวในอัตราเร่ง มูลค่าการส่งออกเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 27.7 โดยมีมูลค่าสูงเกิน 8 พันล้านเหรียญ สรอ. ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยกลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 ซึ่งทำลายสถิติการนำเข้าสูงสุด ซึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวดี จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบสูงเพื่อให้ในการผลิต ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนสิงหาคมกลับมาขาดดุล 216 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 9.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 70.9 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 71.3 เนื่องจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทำให้ผู้ผลิตชะลอการผลิต การปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดยาสูบ และปัญหาการขาดแคลดวัตถุดิบในหมวดอาหาร
สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 8.7 ในเดือนกรกฎาคม ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงิน เฉพาะกิจในเดือนมิถุนายน ขยายตัวร้อยละ 12.0
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน โดยกลุ่มสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ และกลุ่มพลังงานเนื่องจากการปรับเพดานราคาปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนสิงหาคม อ่อนค่าลงจากเฉลี่ย 40.93 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกรกฎาคมเกินดุลที่ 610 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 440 ล้านเหรียญ สรอ. จากเดือนก่อน เป็นผลจากการเกินดุลบริการสูงของรายได้ท่องเที่ยว ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 43.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนสิงหาคม คิดเป็น 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.7 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความแข็งแกร่งและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - สิงหาคม 2547) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง ทำให้รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 992,481 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.6 ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 1,031,374 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 17.3 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณระบบกระแสเงินสดขาดดุล 38,893 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 63,333 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 102,226 ล้านบาท อย่างไรก็ดีในเดือนกันยายน 2547 จะมีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2547 ที่เหลื่อมนำส่งคลังจากเดือนสิงหาคมจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ดุลเงินสดในเดือนกันยายนเกินดุล สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าในปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลจะขาดดุลเงินสดประมาณ 50.5 พันล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลงบประมาณ 12.9 พันล้านบาท ขาดดุลนอกงบประมาณ 37.6 พันล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 90 พันล้านบาท
สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 เท่ากับ 2,932 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.3 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2547 13.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 25.5 ของ GDP
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนสิงหาคม 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดย (1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 ชะลอตัวจากร้อยละ 20.4 ในเดือนก่อน (2) ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนหดตัวร้อยละ 1.8 ในเดือนสิงหาคม เป็นผลมาจากการปรับลดโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ (3) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนสิงหาคมปรับลดลงมาอยู่ที่ 92.0 จุด จากความกังวลต่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น และการปรับขึ้นของดอกเบี้ยภายในประเทศ (4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.0 ในเดือนก่อน ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง โดย (1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนสิงหาคมยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 76.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีเป็นอัตราปกติ (2) การลงทุนในสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 31.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.2 ในเดือนกรกฎาคม ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 (3) มูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 15.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ 41.2 (4) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 11.9 ในเดือนกรกฎาคม (5) ความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนกรกฎาคมปรับลดมาอยู่ที่ 48.3 จุด ต่ำที่สุดในรอบปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง (1) มูลค่าการส่งออกเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 27.7 โดยมีมูลค่าสูงเกิน 8 พันล้านเหรียญ สรอ. ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยกลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร ขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 9.5 ในเดือนกรกฎาคม (2) มูลค่าการนำเข้าเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 ซึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวดี จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบสูงเพื่อให้ในการผลิต ส่วนปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ในเดือนกรกฎาคม (3) ดุลการค้าเดือนสิงหาคมขาดดุล 216 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรายจ่ายงบประมาณตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนสิงหาคมอยู่ที่ 101.55 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.1 โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 โดยมีรายจ่ายที่สำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ จำนวน 4,531 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายลงทุนหดตัวร้อยละ 16.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 9.3 โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 15.7 โดยเฉพาะหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ขยายตัวร้อยละ 9.2 ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 70.9 ลดลงจากร้อยละ 71.3 ในเดือนก่อน เป็นผลมาจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทำให้ผู้ผลิตชะลอการผลิต การปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดยาสูบ และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในหมวดอาหาร
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดี ตามความต้องการในการลงทุนที่เพิ่มขึ้น โดย (1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 4.5 (2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 8.7 ในเดือนกรกฎาคม (3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 12.4 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 12.2 ในไตรมาสที่ 1
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย (1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.18 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 (2) สินเชื่อคงค้าง ขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.09 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนมิถุนายน จำนวน 35.8 พันล้านบาท ขณะที่ในไตรมาสที่ 2 สินเชื่ออนุมัติใหม่มีมูลค่า 99.4 พันล้านบาท (3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2 อยู่ที่ 112.9 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 47 คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด (4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 (5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง อยู่ที่ 1.51 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนมิถุนายนกำไรสุทธิ จำนวน 3,399 ล้านบาท ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 6,305 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง (1) อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.1 โดยกลุ่มสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ และกลุ่มพลังงานเนื่องจากการปรับเพดานราคาปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศ (2) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนสิงหาคม อ่อนค่าลงจากเฉลี่ย 40.93 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม (3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกรกฎาคมเกินดุลทั้งสิ้น 610 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 440 ล้านดออลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากการเกินดุลบริการสูงจากรายได้ด้านการท่องเที่ยว (4) ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 43.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนสิงหาคม คิดเป็น 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.7 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังเดือนสิงหาคม 2547 และช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547
1. ด้านรายได้
ในเดือนสิงหาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเบื้องต้นรวม 154,464 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 17,654 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 33.7) และมีรายได้จัดเก็บสุทธิรวม 144,532 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,913 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 35.1)
ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - สิงหาคม 2547) รายได้จัดเก็บรวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยมีรายได้รวม 1,202,946 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 78,203 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.0 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 19.4) โดยมีรายได้จัดเก็บสุทธิ 1,087,976 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 69,018 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 18.3) เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของการรับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2547 และมีผู้มายื่นภาษีสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก
2. ด้านรายจ่าย
ในเดือนสิงหาคม 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 97,741 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 31.5) โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบัน 94,164 ล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 3,577 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 46 - สิงหาคม 47) ได้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 1,031,373 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.3 โดยในส่วนของงบประมาณปีปัจจุบันได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 949,388 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 81.6 ของวงเงินงบประมาณ (1,163,500 ล้านบาท) และเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 81,975 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันนั้น เป็นการเบิกจ่ายในส่วนของงบประจำ จำนวน 819,740 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 91.5 ของงบประจำทั้งสิ้น) และงบลงทุน จำนวน 129,648 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 48.5 ของงบลงทุนทั้งสิ้น)
3. ฐานะการคลัง
3.1 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด
ในเดือนสิงหาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 78,700 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 97,742 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 94,164 ล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน 3,577 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 19,042 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 10,125 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 8,917 ล้านบาท (เดือนเดียวกันปีที่แล้วเกินดุล 14,939 ล้านบาท ) เมื่อพิจารณาดุลการคลังเบื้องต้น (รายรับที่ไม่รวมดอกเบี้ยรับ หักด้วยรายจ่ายที่ไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย) รัฐบาลขาดดุลจำนวน 17,923 ล้านบาท
สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 992,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 126,688 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.6 ขณะที่การเบิกจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 1,031,374 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 151,746 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.3 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพจำนวน 43,098 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 38,893 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 63,333 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 102,226 ล้านบาท สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นเกินดุล 58,363 ล้านบาท
3.2 ฐานะการคลังตามระบบ สศค.
ในเดือนสิงหาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 92,082 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 101,574 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนจำนวน 92,602 ล้านบาท รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 882 ล้านบาท และรายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 8,091 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังขาดดุล 12,137 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 1,254,843 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 1,230,342 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณจำนวน 1,031,300 ล้านบาท จากรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 9,537 ล้านบาท รายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 189,505 ล้านบาท และเกินดุลการให้กู้ยืมสุทธิจำนวน 24,500 ล้านบาท และเมื่อหักผลของการให้กู้ยืมตามนโยบายรัฐบาลสุทธิจำนวน 30,702 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 6,202 ล้านบาท
4. หนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 เท่ากับ 2,932 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.3 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 13.7 พันล้านบาท โดยประกอบด้วยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,653 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 867 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 411 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 25.5 ของ GDP (ลดลงจากร้อยละ 26.1 ในเดือนที่แล้ว)
หนี้สาธารณะคงค้างที่เปลี่ยนไปเป็นผลจากหนี้รัฐบาลกู้ตรงลดลงสุทธิ 38.6 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นสุทธิ 19.8 พันล้านบาท และหนี้ FIDF เพิ่มขึ้น 32.5 พันล้านบาท
ข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ
โทร. : 02-273-9020 ต่อ 3660
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 12/2547 29 กันยายน 2547--
เศรษฐกิจไทยในเดือนสิงหาคมยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดี แม้ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน การลงทุนภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวสูง การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวอย่างดี การค้าระหว่างประเทศทั้งการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การผลิตยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังขยายตัวในอัตราเร่งตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี แม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนสิงหาคมขยายตัวที่ร้อยละ 17.8 ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนสิงหาคม หดตัวร้อยละ 1.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลส่วนใหญ่จากการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ อย่างไรก็ตาม รายได้จัดเก็บภาษีสรรพาสามิตจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ยังคงขยายตัวดีสะท้อนการขยายตัวของการบริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ดี สอดคล้องกับการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 24.1 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจัดทำโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับลดลงมาอยู่ที่ 92.0 จุด ในเดือนสิงหาคม เนื่องจากความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นและการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ
การลงทุนภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวสูง การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องสะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวสูงร้อยละ 31.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.2 ในเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนภาคก่อสร้างยังคงมีแนวโน้มที่ดีตามการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงร้อยละ 76.7 ในเดือนสิงหาคม สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ในเดือนกรกฎาคม
การใช้จ่ายภาครัฐเร่งตัวขึ้น รายจ่ายงบประมาณเดือนสิงหาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 101.55 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ทั้งนี้ รายจ่ายประจำขยายตัวร้อยละ 27.8 ขณะที่รายจ่ายลงทุนหดตัวร้อยละ 16.2
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวในอัตราเร่ง มูลค่าการส่งออกเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 27.7 โดยมีมูลค่าสูงเกิน 8 พันล้านเหรียญ สรอ. ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยกลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 ซึ่งทำลายสถิติการนำเข้าสูงสุด ซึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวดี จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบสูงเพื่อให้ในการผลิต ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนสิงหาคมกลับมาขาดดุล 216 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 9.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 70.9 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 71.3 เนื่องจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทำให้ผู้ผลิตชะลอการผลิต การปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดยาสูบ และปัญหาการขาดแคลดวัตถุดิบในหมวดอาหาร
สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 8.7 ในเดือนกรกฎาคม ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงิน เฉพาะกิจในเดือนมิถุนายน ขยายตัวร้อยละ 12.0
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน โดยกลุ่มสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ และกลุ่มพลังงานเนื่องจากการปรับเพดานราคาปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนสิงหาคม อ่อนค่าลงจากเฉลี่ย 40.93 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกรกฎาคมเกินดุลที่ 610 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 440 ล้านเหรียญ สรอ. จากเดือนก่อน เป็นผลจากการเกินดุลบริการสูงของรายได้ท่องเที่ยว ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 43.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนสิงหาคม คิดเป็น 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.7 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความแข็งแกร่งและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - สิงหาคม 2547) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง ทำให้รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 992,481 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.6 ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 1,031,374 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 17.3 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณระบบกระแสเงินสดขาดดุล 38,893 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 63,333 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 102,226 ล้านบาท อย่างไรก็ดีในเดือนกันยายน 2547 จะมีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2547 ที่เหลื่อมนำส่งคลังจากเดือนสิงหาคมจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ดุลเงินสดในเดือนกันยายนเกินดุล สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าในปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลจะขาดดุลเงินสดประมาณ 50.5 พันล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลงบประมาณ 12.9 พันล้านบาท ขาดดุลนอกงบประมาณ 37.6 พันล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 90 พันล้านบาท
สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 เท่ากับ 2,932 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.3 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2547 13.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 25.5 ของ GDP
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนสิงหาคม 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดย (1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 ชะลอตัวจากร้อยละ 20.4 ในเดือนก่อน (2) ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนหดตัวร้อยละ 1.8 ในเดือนสิงหาคม เป็นผลมาจากการปรับลดโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ (3) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนสิงหาคมปรับลดลงมาอยู่ที่ 92.0 จุด จากความกังวลต่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น และการปรับขึ้นของดอกเบี้ยภายในประเทศ (4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.0 ในเดือนก่อน ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง โดย (1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนสิงหาคมยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 76.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีเป็นอัตราปกติ (2) การลงทุนในสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 31.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.2 ในเดือนกรกฎาคม ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 (3) มูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 15.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ 41.2 (4) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 11.9 ในเดือนกรกฎาคม (5) ความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนกรกฎาคมปรับลดมาอยู่ที่ 48.3 จุด ต่ำที่สุดในรอบปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง (1) มูลค่าการส่งออกเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 27.7 โดยมีมูลค่าสูงเกิน 8 พันล้านเหรียญ สรอ. ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยกลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร ขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 9.5 ในเดือนกรกฎาคม (2) มูลค่าการนำเข้าเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 ซึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวดี จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบสูงเพื่อให้ในการผลิต ส่วนปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ในเดือนกรกฎาคม (3) ดุลการค้าเดือนสิงหาคมขาดดุล 216 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรายจ่ายงบประมาณตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนสิงหาคมอยู่ที่ 101.55 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.1 โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 โดยมีรายจ่ายที่สำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ จำนวน 4,531 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายลงทุนหดตัวร้อยละ 16.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 9.3 โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 15.7 โดยเฉพาะหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ขยายตัวร้อยละ 9.2 ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 70.9 ลดลงจากร้อยละ 71.3 ในเดือนก่อน เป็นผลมาจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทำให้ผู้ผลิตชะลอการผลิต การปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดยาสูบ และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในหมวดอาหาร
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดี ตามความต้องการในการลงทุนที่เพิ่มขึ้น โดย (1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 4.5 (2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 8.7 ในเดือนกรกฎาคม (3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 12.4 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 12.2 ในไตรมาสที่ 1
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย (1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.18 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 (2) สินเชื่อคงค้าง ขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.09 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนมิถุนายน จำนวน 35.8 พันล้านบาท ขณะที่ในไตรมาสที่ 2 สินเชื่ออนุมัติใหม่มีมูลค่า 99.4 พันล้านบาท (3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2 อยู่ที่ 112.9 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 47 คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด (4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 (5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง อยู่ที่ 1.51 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนมิถุนายนกำไรสุทธิ จำนวน 3,399 ล้านบาท ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 6,305 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง (1) อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.1 โดยกลุ่มสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ และกลุ่มพลังงานเนื่องจากการปรับเพดานราคาปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศ (2) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนสิงหาคม อ่อนค่าลงจากเฉลี่ย 40.93 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม (3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกรกฎาคมเกินดุลทั้งสิ้น 610 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 440 ล้านดออลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากการเกินดุลบริการสูงจากรายได้ด้านการท่องเที่ยว (4) ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 43.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนสิงหาคม คิดเป็น 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.7 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังเดือนสิงหาคม 2547 และช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547
1. ด้านรายได้
ในเดือนสิงหาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเบื้องต้นรวม 154,464 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 17,654 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 33.7) และมีรายได้จัดเก็บสุทธิรวม 144,532 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,913 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 35.1)
ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - สิงหาคม 2547) รายได้จัดเก็บรวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยมีรายได้รวม 1,202,946 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 78,203 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.0 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 19.4) โดยมีรายได้จัดเก็บสุทธิ 1,087,976 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 69,018 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 18.3) เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของการรับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2547 และมีผู้มายื่นภาษีสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก
2. ด้านรายจ่าย
ในเดือนสิงหาคม 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 97,741 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 31.5) โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบัน 94,164 ล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 3,577 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 46 - สิงหาคม 47) ได้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 1,031,373 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.3 โดยในส่วนของงบประมาณปีปัจจุบันได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 949,388 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 81.6 ของวงเงินงบประมาณ (1,163,500 ล้านบาท) และเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 81,975 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันนั้น เป็นการเบิกจ่ายในส่วนของงบประจำ จำนวน 819,740 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 91.5 ของงบประจำทั้งสิ้น) และงบลงทุน จำนวน 129,648 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 48.5 ของงบลงทุนทั้งสิ้น)
3. ฐานะการคลัง
3.1 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด
ในเดือนสิงหาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 78,700 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 97,742 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 94,164 ล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน 3,577 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 19,042 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 10,125 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 8,917 ล้านบาท (เดือนเดียวกันปีที่แล้วเกินดุล 14,939 ล้านบาท ) เมื่อพิจารณาดุลการคลังเบื้องต้น (รายรับที่ไม่รวมดอกเบี้ยรับ หักด้วยรายจ่ายที่ไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย) รัฐบาลขาดดุลจำนวน 17,923 ล้านบาท
สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 992,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 126,688 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.6 ขณะที่การเบิกจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 1,031,374 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 151,746 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.3 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพจำนวน 43,098 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 38,893 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 63,333 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 102,226 ล้านบาท สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นเกินดุล 58,363 ล้านบาท
3.2 ฐานะการคลังตามระบบ สศค.
ในเดือนสิงหาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 92,082 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 101,574 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนจำนวน 92,602 ล้านบาท รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 882 ล้านบาท และรายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 8,091 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังขาดดุล 12,137 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 1,254,843 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 1,230,342 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณจำนวน 1,031,300 ล้านบาท จากรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 9,537 ล้านบาท รายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 189,505 ล้านบาท และเกินดุลการให้กู้ยืมสุทธิจำนวน 24,500 ล้านบาท และเมื่อหักผลของการให้กู้ยืมตามนโยบายรัฐบาลสุทธิจำนวน 30,702 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 6,202 ล้านบาท
4. หนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 เท่ากับ 2,932 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.3 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 13.7 พันล้านบาท โดยประกอบด้วยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,653 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 867 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 411 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 25.5 ของ GDP (ลดลงจากร้อยละ 26.1 ในเดือนที่แล้ว)
หนี้สาธารณะคงค้างที่เปลี่ยนไปเป็นผลจากหนี้รัฐบาลกู้ตรงลดลงสุทธิ 38.6 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นสุทธิ 19.8 พันล้านบาท และหนี้ FIDF เพิ่มขึ้น 32.5 พันล้านบาท
ข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ
โทร. : 02-273-9020 ต่อ 3660
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 12/2547 29 กันยายน 2547--