สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗
เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม
หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรองจำนวน ๒ เรื่อง คือ
๑.๑ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอ่างทอง พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๑.๒ ร่างพระราชบัญญัติคนพิการ พ.ศ. …. ซึ่ง นายถาวร เสนเนียม กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๓.๑ รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการ
ฟอกเงิน ประจำปี ๒๕๔๔ และประจำปี ๒๕๔๕
๓.๒ รายงานประจำปี ๒๕๔๕ ของสถาบันพระปกเกล้า
๔. รับทราบเรื่อง นายไชยยศ จิรเมธากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต
เลือกตั้ง จังหวัดอุดรธานี พรรคประชาธิปัตย์ ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๗ ดังนั้นสมาชิกภาพนายไชยยศ จิรเมธากร จึงสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๘) ปัจจุบันมีสมาชิกเหลือจำนวน ๔๕๓ คน
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม
ประธานการประชุมได้เสนอให้ที่ประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว ตามที่เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบตามที่สมาชิกได้เสนอให้เลื่อนระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมา
พิจารณาตาม ลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ และเนื่องจากมีร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร
พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติเห็นชอบให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน ตามที่ประธาน
การประชุมเสนอ
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงว่า
โดยที่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและมาเลเซียเกี่ยวกับการจัดตั้ง
องค์กรร่วม เพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศ
ทั้งสองในอ่าวไทย ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซียว่าด้วย ธรรมนูญและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กร
ร่วมไทย - มาเลเซีย ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เพื่อให้การปฏิบัติการเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ
และความตกลงดังกล่าวในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจทางศุลกากรจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. และ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจและความตกลงดังกล่าวในเรื่องการเรียกเก็บ
อากรศุลกากรจึงจำเป็นต้องตราพระราช-บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยสมาชิกได้อภิปรายและตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายทะเลได้มีการกำหนดพื้นไหล่ทวีป
ซึ่งมีพื้นที่จากฝั่งออกไป ๑๒ ไมล์ทะเลและมีการกำหนดพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อจากพื้นที่ไหล่ทวีปไปอีก ๑๒ ไมล์ทะเล
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นการกำหนดให้มีพื้นที่ที่เรียกว่า พื้นที่พัฒนาร่วมกัน
อาจทำให้เกิดการทับซ้อนของพื้นที่และขัดกับหลักของกฎหมายได้ จากนั้นได้มีสมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า
เนื่องจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ยังไม่ครอบคุมถึงพื้นที่ซึ่งเป็นเขตพัฒนาร่วมกัน ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จะมีการนำน้ำมัน
ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ จาก พื้นที่ดังกล่าวขึ้นมาใช้ ดังนั้นจึงต้องตรากฎหมายขึ้นมาใหม่ให้ครอบคุมเพื่อประโยชน์ร่วมกันของ
ทั้งประเทศไทยและมาเลเซีย และเพื่อให้สามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรเข้าประเทศได้ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
การคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ตอบชี้แจงว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จะไม่ขัดกับหลักกฎหมายทะเลแน่นอน
เนื่องจากในการกำหนดเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกันนั้น อยู่ไกลกว่าเขตพื้นที่ต่อเนื่องออกไป และในต้นปี ๒๕๔๘ จะมีการผลิต
ก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมกันและจะผลิตเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจะเป็นประโยชนร่วมกันทั้งประเทศไทยและมาเลเซีย รวมทั้ง
ทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากการจัดเก็บค่าภาคหลวง และการจัดเก็บอากรเพิ่มขึ้นด้วย
หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๖๔ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะ กรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๕๔ เสียง ให้รับหลักการร่างพระราช-บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการ แปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
หลังจากกรรมาธิการร่วมกันได้แถลงต่อที่ประชุมแล้ว ได้มีสมาชิกอภิปรายสนับสนุน คณะกรรมาธิการร่วมกันใน
ประเด็นต่าง ๆ ว่า เดิมมีการกำหนดให้นักศึกษาออกจากสถานศึกษา ถ้ามีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเรียนได้ รวมถึง
เหตุจากความยากจนด้วย โดยเรื่องนี้คณะกรรมาธิการร่วมกันได้แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดเป็นข้อห้ามไว้ว่า สถาบัน
การศึกษาจะอ้างเหตุแห่งการขาดแคลนทุนทรัพย์ในการให้นักศึกษาผู้นั้นออกจากการศึกษาไม่ได้ เรื่องกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันได้มีมติกำหนดให้ตัวแทนศิษย์เก่าคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้
รวมทั้งในเรื่องการกำหนดให้มีสภาคณาจารย์และข้าราชการ และกรรมการส่งเสริมสถาบันการศึกษา ซึ่งจะเป็น
ประโยชน์แก่สถาบันเป็นอย่างยิ่ง เมื่อที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้แล้ว ได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๖๖ เสียง
เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการร่วมกันได้ตั้งข้อสังเกตว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือนักศึกษาที่
ขาดแคลนทุนทรัพย์และเพื่อสนับสนุนความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย รัฐบาลควรจัดสรร
งบประมาณเกี่ยวกับทุนการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาอย่างเพียงพอ ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๖๔ เสียง
เพื่อให้ส่งข้อสังเกตดังกล่าวไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี) ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
หลังจากกรรมาธิการร่วมกันได้แถลงต่อที่ประชุมแล้วได้มีสมาชิกอภิปรายว่า การแก้ไขเพิ่มเติม
โดยมีการลดอัตราค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีลง อาจทำให้ลูกหนี้ไม่พยายามชำระหนี้เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมต่ำ
นอกจากนี้ยังทำให้เป็นภาระของรัฐด้วย เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีนั้นสูงกว่าค่าธรรมเนียมที่ได้รับอีกด้วย
หลังจากที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้เสร็จแล้วได้ลงมติไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี) ด้วยคะแนนเสียง ๑๖๖ เสียง
จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกยับยั้งไว้ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราช-อาณาจักรไทย
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ
ชุมชน พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา๑๗๕
มีสมาชิกได้สมาชิกได้อภิปรายว่า มีเพียงประเด็นเดียวที่สภาผู้แทนราษฎรมีความเห็นต่างจากวุฒิสภา
คือการกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน โดยร่างฯ ของสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดห้ามข้าราชการการเมือง
ทุกระดับตลอดจนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิก วุฒิสภาเป็นกรรมการ แต่ไม่ได้ห้ามผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิก
ท้องถิ่นเข้าเป็นกรรมการชุดดังกล่าวนี้ แต่วุฒิสภากำหนดห้ามผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่นเป็นกรรมการด้วยนั้น
อาจขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ต้องการให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของคณะกรรมการชุดนี้
รวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมบริหารในกองทุนต่าง ๆ ตลอดจนนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลมอบให้ชุมชนไปดำเนินการ
จึงควรตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้และได้ลงมติ
ไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา ด้วยคะแนน ๑๘๓ เสียง โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบกัน
เป็นกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร
จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๕. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ
และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องของคำนิยาม ที่ได้มีการแก้ไขกำหนดคำนิยามของคำว่า
วิทยาเขต เพิ่มเติมเข้ามานั้น ควรตัดออก เนื่องจากมีการให้คำอธิบายไว้ชัดเจนในมาตราต่าง ๆ อยู่แล้ว เรื่องของการ
กำหนดให้มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ
แผ่นดินนั้นชัดเจนแล้วควรคงไว้ตามร่างเดิมและเรื่องการรับค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการ
ในการให้บริการภายในอำนาจและหน้าที่ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งทำความตกลงกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการนั้นมีการเขียน
ครอบคลุมไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวเข้ามาอีกควรตัดออกและคงไว้ตามร่างเดิม ซึ่งเรื่องดังกล่าว
กรรมาธิการเห็นชอบด้วยกับที่สมาชิกได้อภิปราย เรื่องการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยนั้น ตามหลักปกติจะกำหนดแบ่งส่วน
งานวิชาการเป็นหลัก แต่กฎหมายฉบับนี้กับแบ่งส่วนงานบริหารเป็นหลักแทน จึงขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ให้พิจารณาด้วยเรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการ สรรหาส่วนหนึ่งที่ระบุว่าให้เลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหนึ่งคนจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการ
การอุดมศึกษาเสนอจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มขั้นตอนในการสรรหา
ทำให้เกิดความล่าช้าได้ และควรมีตัวแทนของนักศึกษาเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้วย เรื่องประธานสภาวิชาการนั้นไม่ควร
ที่จะกำหนดให้อธิการบดีเป็นประธานสภา วิชาการโดยตำแหน่ง เพื่อความเป็นอิสระในการดำเนินงานทางวิชาการและ
ควรกำหนดให้กรรมการ และนายกสภามหาวิทยาลัยดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่เกิน ๒ วาระเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลซึ่งมีแนว
ความคิดใหม่ ๆ เข้ามาบริหารมหาวิทยาลัย เรื่องคุณสมบัติของอธิการบดีเหตุใดจึงลดจำนวนปีในเรื่องประสบการณ์ในการ
บริหารงานของผู้ที่จบปริญญาเอกให้น้อยลง ซึ่งกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกัน ชี้แจงว่า ประเด็นเรื่องหลักเกณฑ์การสรรหา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามสมาชิกได้ตั้งข้อสังเกตไว้นั้น จะไม่ทำให้เกิดความล่าช้าอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อคณะกรรมการ
อุดมศึกษาได้กำหนดบัญชีรายชื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิแล้วคณะกรรมการอุดมศึกษาจะเป็นผู้เลือกผู้ทรงคุณวุฒิและเสนอไปที่มหาวิทยาลัย
โดยตรงไม่ต้องส่งให้รัฐมนตรีพิจารณาอีก เรื่องที่มีการขอให้นักศึกษาเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยนั้นไม่สามารถทำได้
เนื่องจากไม่เคยมีมหาวิทยาลัยใดทำมาก่อน เรื่องที่กำหนดให้อธิการบดีเป็นประธานสภาวิชาการโดยตำแหน่งนั้น
เนื่องจากว่าในอนาคตมหาวิทยาลัยบูรพาจะไม่ใช่มหาวิทยาลัยของรัฐอีก
ต่อไปและการกำหนดให้มีประธานสภาวิชาการแยกต่างหากจะทำให้เกิดปัญหาในการบริหารงานได้หากการประสานงานระหว่าง
อธิการบดีและประธานสภาวิชาการไม่ดีพอ จึงถือเป็นความจำเป็นที่ต้องให้อธิการบดีเป็นประธานสภาวิชาการโดยตำแหน่ง
เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัยนั้น การที่จะกำหนดให้ดำรงตำแหน่งได้เพียง ๒ วาระนั้นคงเป็นไปได้ยาก
เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาในการสรรหาบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ เรื่องที่ลดจำนวนปีในเรื่อง
ประสบการณ์ในการบริหารงานนั้น เนื่องจากการศึกษาในระดับปริญญาเอกนั้นใช้เวลานานและ
หากกำหนดประสบการณ์ในการบริหารงานไว้สูงแล้ว เกรงจะทำให้การสรรหาบุคคลเป็นไปโดยลำบาก เมื่อสมาชิก
ได้อภิปรายและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง
เห็นด้วย ๒๔๖ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๖. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบทั้งฉบับ
โดยมีสมาชิกอภิปรายในมาตรา ๓ ซึ่งเป็นการให้คำจำกัดความ "การอาชีวศึกษา" นั้น ควรมีการระบุคำว่า
" ระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี" หรือไม่ ซึ่งสมาชิกฯ อภิปรายเสนอความเห็นอย่างหลากหลาย
เนื่องจากตัวชี้วัดความเป็นฝีมือระดับต่าง ๆ กระทำได้ค่อนข้างยาก แต่กรรมาธิการเสียงข้างมากยังคงยืนยันตามร่างเดิม
จากนั้น เป็นการพิจารณาในมาตรา ๑๑ เกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการภายในสถาบันการศึกษาที่มีการกำหนดชื่อ ตำแหน่ง
คล้ายคลึงกันหลายส่วน อาทิ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการศูนย์ เป็นต้น
ทำให้เกิดความสับสนต่อสายการบริหารและการปฏิบัติ โดยเฉพาะการเรียกชื่อตำแหน่ง "ผู้อำนวยการ" ที่ต้องมีคำต่อท้าย
ที่ยาวเกินไป และในหลักการทางกฎหมาย เมื่อรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ยกระดับการศึกษาทุกระดับให้สูงขึ้น โดยเฉพาะระดับ
อุดมศึกษาจึงควรกำหนดตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของสถาบันเป็น "อธิการบดี" เนื่องจากเป็นสถาบันที่ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี
เหมือนเป็นเช่นที่อื่น ๆ นอกจากนี้เหตุผลด้านจิตวิทยาในการสร้างขวัญ กำลังใจ และเป็นเกียรติแก่นักศึกษาอาชีวศึกษา
รวมทั้งสามารถชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างอาชีวศึกษากับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างชัดเจนด้วย ซึ่งในประเด็นนี้
กรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่า
การจัดโครงสร้างการอาชีวศึกษาตามร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการวางโครงสร้างรูปแบบพิเศษ เนื่องจากจะมีบางสถาบันของ
การอาชีวศึกษาที่จัดการสอนไม่ถึงระดับปริญญา เช่น อาชีวศึกษาเอกชนบางแห่ง นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาได้กำหนดตำแหน่งอธิการบดี
และรองอธิการบดีไว้เฉพาะสถาบันที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งสถาบันอาชีวศึกษาตามกฎหมายนี้
ยังยืนยันไม่ได้ว่าจะสามารถจัดการศึกษาถึงระดับปริญญาได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงควรกำหนดเช่นนี้ไปก่อน ซึ่งกรรมาธิการได้ยืนยันตามร่างเดิม
ต่อมาประชุมมีมติเห็นด้วยกับการพิจารณามาตรานี้ของ กรรมาธิการเสียงข้างมาก ๒๖๔ เสียง นอกจากนี้ กรรมาธิการฯ
ได้ตัดสาระร่างกฎหมายในบางมาตราตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายดังนี้ คือ
มาตรา ๓๗/๑ เกี่ยวกับความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระหว่างสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชน และสถานประกอบการ
เนื่องจากสมาชิกเห็นว่ามีการกำหนดไว้ในพระราช-บัญญัติการศึกษาแห่งชาติและแนวนโยบายแห่งรัฐอยู่แล้ว
มาตรา ๓๙ ในข้อความ "จนกว่าจะมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอาชีวศึกษาและกฎหมาย
ว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรของการศึกษาอาชีวศึกษาโดยเฉพาะ"
นอกจากนี้ ยังมีการปรับ ถ้อยคำในมาตรา ๓๗/๔ วรรค ๒ เป็น "การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี สำหรับค่าใช้จ่ายทางการศึกษา
ตามที่ประมวลกฎหมายรัษฎากรกำหนด" จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของกรรมาธิการด้วยคะแนน ๒๗๐ เสียง
และเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
---------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
ก้องเกียรติ ผือโย / ชัญญา ชำนาญกุล ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์
วันพุธที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗
เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม
หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรองจำนวน ๒ เรื่อง คือ
๑.๑ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอ่างทอง พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๑.๒ ร่างพระราชบัญญัติคนพิการ พ.ศ. …. ซึ่ง นายถาวร เสนเนียม กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๓.๑ รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการ
ฟอกเงิน ประจำปี ๒๕๔๔ และประจำปี ๒๕๔๕
๓.๒ รายงานประจำปี ๒๕๔๕ ของสถาบันพระปกเกล้า
๔. รับทราบเรื่อง นายไชยยศ จิรเมธากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต
เลือกตั้ง จังหวัดอุดรธานี พรรคประชาธิปัตย์ ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๗ ดังนั้นสมาชิกภาพนายไชยยศ จิรเมธากร จึงสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๘) ปัจจุบันมีสมาชิกเหลือจำนวน ๔๕๓ คน
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม
ประธานการประชุมได้เสนอให้ที่ประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว ตามที่เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบตามที่สมาชิกได้เสนอให้เลื่อนระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมา
พิจารณาตาม ลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ และเนื่องจากมีร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร
พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติเห็นชอบให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน ตามที่ประธาน
การประชุมเสนอ
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงว่า
โดยที่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและมาเลเซียเกี่ยวกับการจัดตั้ง
องค์กรร่วม เพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศ
ทั้งสองในอ่าวไทย ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซียว่าด้วย ธรรมนูญและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กร
ร่วมไทย - มาเลเซีย ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เพื่อให้การปฏิบัติการเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ
และความตกลงดังกล่าวในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจทางศุลกากรจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. และ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจและความตกลงดังกล่าวในเรื่องการเรียกเก็บ
อากรศุลกากรจึงจำเป็นต้องตราพระราช-บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยสมาชิกได้อภิปรายและตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายทะเลได้มีการกำหนดพื้นไหล่ทวีป
ซึ่งมีพื้นที่จากฝั่งออกไป ๑๒ ไมล์ทะเลและมีการกำหนดพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อจากพื้นที่ไหล่ทวีปไปอีก ๑๒ ไมล์ทะเล
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นการกำหนดให้มีพื้นที่ที่เรียกว่า พื้นที่พัฒนาร่วมกัน
อาจทำให้เกิดการทับซ้อนของพื้นที่และขัดกับหลักของกฎหมายได้ จากนั้นได้มีสมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า
เนื่องจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ยังไม่ครอบคุมถึงพื้นที่ซึ่งเป็นเขตพัฒนาร่วมกัน ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จะมีการนำน้ำมัน
ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ จาก พื้นที่ดังกล่าวขึ้นมาใช้ ดังนั้นจึงต้องตรากฎหมายขึ้นมาใหม่ให้ครอบคุมเพื่อประโยชน์ร่วมกันของ
ทั้งประเทศไทยและมาเลเซีย และเพื่อให้สามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรเข้าประเทศได้ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
การคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ตอบชี้แจงว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จะไม่ขัดกับหลักกฎหมายทะเลแน่นอน
เนื่องจากในการกำหนดเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกันนั้น อยู่ไกลกว่าเขตพื้นที่ต่อเนื่องออกไป และในต้นปี ๒๕๔๘ จะมีการผลิต
ก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมกันและจะผลิตเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจะเป็นประโยชนร่วมกันทั้งประเทศไทยและมาเลเซีย รวมทั้ง
ทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากการจัดเก็บค่าภาคหลวง และการจัดเก็บอากรเพิ่มขึ้นด้วย
หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๖๔ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะ กรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๕๔ เสียง ให้รับหลักการร่างพระราช-บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการ แปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
หลังจากกรรมาธิการร่วมกันได้แถลงต่อที่ประชุมแล้ว ได้มีสมาชิกอภิปรายสนับสนุน คณะกรรมาธิการร่วมกันใน
ประเด็นต่าง ๆ ว่า เดิมมีการกำหนดให้นักศึกษาออกจากสถานศึกษา ถ้ามีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเรียนได้ รวมถึง
เหตุจากความยากจนด้วย โดยเรื่องนี้คณะกรรมาธิการร่วมกันได้แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดเป็นข้อห้ามไว้ว่า สถาบัน
การศึกษาจะอ้างเหตุแห่งการขาดแคลนทุนทรัพย์ในการให้นักศึกษาผู้นั้นออกจากการศึกษาไม่ได้ เรื่องกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันได้มีมติกำหนดให้ตัวแทนศิษย์เก่าคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้
รวมทั้งในเรื่องการกำหนดให้มีสภาคณาจารย์และข้าราชการ และกรรมการส่งเสริมสถาบันการศึกษา ซึ่งจะเป็น
ประโยชน์แก่สถาบันเป็นอย่างยิ่ง เมื่อที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้แล้ว ได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๖๖ เสียง
เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการร่วมกันได้ตั้งข้อสังเกตว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือนักศึกษาที่
ขาดแคลนทุนทรัพย์และเพื่อสนับสนุนความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย รัฐบาลควรจัดสรร
งบประมาณเกี่ยวกับทุนการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาอย่างเพียงพอ ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๖๔ เสียง
เพื่อให้ส่งข้อสังเกตดังกล่าวไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี) ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
หลังจากกรรมาธิการร่วมกันได้แถลงต่อที่ประชุมแล้วได้มีสมาชิกอภิปรายว่า การแก้ไขเพิ่มเติม
โดยมีการลดอัตราค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีลง อาจทำให้ลูกหนี้ไม่พยายามชำระหนี้เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมต่ำ
นอกจากนี้ยังทำให้เป็นภาระของรัฐด้วย เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีนั้นสูงกว่าค่าธรรมเนียมที่ได้รับอีกด้วย
หลังจากที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้เสร็จแล้วได้ลงมติไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี) ด้วยคะแนนเสียง ๑๖๖ เสียง
จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกยับยั้งไว้ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราช-อาณาจักรไทย
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ
ชุมชน พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา๑๗๕
มีสมาชิกได้สมาชิกได้อภิปรายว่า มีเพียงประเด็นเดียวที่สภาผู้แทนราษฎรมีความเห็นต่างจากวุฒิสภา
คือการกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน โดยร่างฯ ของสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดห้ามข้าราชการการเมือง
ทุกระดับตลอดจนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิก วุฒิสภาเป็นกรรมการ แต่ไม่ได้ห้ามผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิก
ท้องถิ่นเข้าเป็นกรรมการชุดดังกล่าวนี้ แต่วุฒิสภากำหนดห้ามผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่นเป็นกรรมการด้วยนั้น
อาจขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ต้องการให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของคณะกรรมการชุดนี้
รวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมบริหารในกองทุนต่าง ๆ ตลอดจนนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลมอบให้ชุมชนไปดำเนินการ
จึงควรตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้และได้ลงมติ
ไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา ด้วยคะแนน ๑๘๓ เสียง โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบกัน
เป็นกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร
จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๕. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ
และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องของคำนิยาม ที่ได้มีการแก้ไขกำหนดคำนิยามของคำว่า
วิทยาเขต เพิ่มเติมเข้ามานั้น ควรตัดออก เนื่องจากมีการให้คำอธิบายไว้ชัดเจนในมาตราต่าง ๆ อยู่แล้ว เรื่องของการ
กำหนดให้มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ
แผ่นดินนั้นชัดเจนแล้วควรคงไว้ตามร่างเดิมและเรื่องการรับค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการ
ในการให้บริการภายในอำนาจและหน้าที่ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งทำความตกลงกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการนั้นมีการเขียน
ครอบคลุมไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวเข้ามาอีกควรตัดออกและคงไว้ตามร่างเดิม ซึ่งเรื่องดังกล่าว
กรรมาธิการเห็นชอบด้วยกับที่สมาชิกได้อภิปราย เรื่องการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยนั้น ตามหลักปกติจะกำหนดแบ่งส่วน
งานวิชาการเป็นหลัก แต่กฎหมายฉบับนี้กับแบ่งส่วนงานบริหารเป็นหลักแทน จึงขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ให้พิจารณาด้วยเรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการ สรรหาส่วนหนึ่งที่ระบุว่าให้เลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหนึ่งคนจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการ
การอุดมศึกษาเสนอจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มขั้นตอนในการสรรหา
ทำให้เกิดความล่าช้าได้ และควรมีตัวแทนของนักศึกษาเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้วย เรื่องประธานสภาวิชาการนั้นไม่ควร
ที่จะกำหนดให้อธิการบดีเป็นประธานสภา วิชาการโดยตำแหน่ง เพื่อความเป็นอิสระในการดำเนินงานทางวิชาการและ
ควรกำหนดให้กรรมการ และนายกสภามหาวิทยาลัยดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่เกิน ๒ วาระเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลซึ่งมีแนว
ความคิดใหม่ ๆ เข้ามาบริหารมหาวิทยาลัย เรื่องคุณสมบัติของอธิการบดีเหตุใดจึงลดจำนวนปีในเรื่องประสบการณ์ในการ
บริหารงานของผู้ที่จบปริญญาเอกให้น้อยลง ซึ่งกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกัน ชี้แจงว่า ประเด็นเรื่องหลักเกณฑ์การสรรหา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามสมาชิกได้ตั้งข้อสังเกตไว้นั้น จะไม่ทำให้เกิดความล่าช้าอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อคณะกรรมการ
อุดมศึกษาได้กำหนดบัญชีรายชื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิแล้วคณะกรรมการอุดมศึกษาจะเป็นผู้เลือกผู้ทรงคุณวุฒิและเสนอไปที่มหาวิทยาลัย
โดยตรงไม่ต้องส่งให้รัฐมนตรีพิจารณาอีก เรื่องที่มีการขอให้นักศึกษาเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยนั้นไม่สามารถทำได้
เนื่องจากไม่เคยมีมหาวิทยาลัยใดทำมาก่อน เรื่องที่กำหนดให้อธิการบดีเป็นประธานสภาวิชาการโดยตำแหน่งนั้น
เนื่องจากว่าในอนาคตมหาวิทยาลัยบูรพาจะไม่ใช่มหาวิทยาลัยของรัฐอีก
ต่อไปและการกำหนดให้มีประธานสภาวิชาการแยกต่างหากจะทำให้เกิดปัญหาในการบริหารงานได้หากการประสานงานระหว่าง
อธิการบดีและประธานสภาวิชาการไม่ดีพอ จึงถือเป็นความจำเป็นที่ต้องให้อธิการบดีเป็นประธานสภาวิชาการโดยตำแหน่ง
เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัยนั้น การที่จะกำหนดให้ดำรงตำแหน่งได้เพียง ๒ วาระนั้นคงเป็นไปได้ยาก
เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาในการสรรหาบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ เรื่องที่ลดจำนวนปีในเรื่อง
ประสบการณ์ในการบริหารงานนั้น เนื่องจากการศึกษาในระดับปริญญาเอกนั้นใช้เวลานานและ
หากกำหนดประสบการณ์ในการบริหารงานไว้สูงแล้ว เกรงจะทำให้การสรรหาบุคคลเป็นไปโดยลำบาก เมื่อสมาชิก
ได้อภิปรายและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง
เห็นด้วย ๒๔๖ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๖. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบทั้งฉบับ
โดยมีสมาชิกอภิปรายในมาตรา ๓ ซึ่งเป็นการให้คำจำกัดความ "การอาชีวศึกษา" นั้น ควรมีการระบุคำว่า
" ระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี" หรือไม่ ซึ่งสมาชิกฯ อภิปรายเสนอความเห็นอย่างหลากหลาย
เนื่องจากตัวชี้วัดความเป็นฝีมือระดับต่าง ๆ กระทำได้ค่อนข้างยาก แต่กรรมาธิการเสียงข้างมากยังคงยืนยันตามร่างเดิม
จากนั้น เป็นการพิจารณาในมาตรา ๑๑ เกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการภายในสถาบันการศึกษาที่มีการกำหนดชื่อ ตำแหน่ง
คล้ายคลึงกันหลายส่วน อาทิ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการศูนย์ เป็นต้น
ทำให้เกิดความสับสนต่อสายการบริหารและการปฏิบัติ โดยเฉพาะการเรียกชื่อตำแหน่ง "ผู้อำนวยการ" ที่ต้องมีคำต่อท้าย
ที่ยาวเกินไป และในหลักการทางกฎหมาย เมื่อรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ยกระดับการศึกษาทุกระดับให้สูงขึ้น โดยเฉพาะระดับ
อุดมศึกษาจึงควรกำหนดตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของสถาบันเป็น "อธิการบดี" เนื่องจากเป็นสถาบันที่ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี
เหมือนเป็นเช่นที่อื่น ๆ นอกจากนี้เหตุผลด้านจิตวิทยาในการสร้างขวัญ กำลังใจ และเป็นเกียรติแก่นักศึกษาอาชีวศึกษา
รวมทั้งสามารถชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างอาชีวศึกษากับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างชัดเจนด้วย ซึ่งในประเด็นนี้
กรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่า
การจัดโครงสร้างการอาชีวศึกษาตามร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการวางโครงสร้างรูปแบบพิเศษ เนื่องจากจะมีบางสถาบันของ
การอาชีวศึกษาที่จัดการสอนไม่ถึงระดับปริญญา เช่น อาชีวศึกษาเอกชนบางแห่ง นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาได้กำหนดตำแหน่งอธิการบดี
และรองอธิการบดีไว้เฉพาะสถาบันที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งสถาบันอาชีวศึกษาตามกฎหมายนี้
ยังยืนยันไม่ได้ว่าจะสามารถจัดการศึกษาถึงระดับปริญญาได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงควรกำหนดเช่นนี้ไปก่อน ซึ่งกรรมาธิการได้ยืนยันตามร่างเดิม
ต่อมาประชุมมีมติเห็นด้วยกับการพิจารณามาตรานี้ของ กรรมาธิการเสียงข้างมาก ๒๖๔ เสียง นอกจากนี้ กรรมาธิการฯ
ได้ตัดสาระร่างกฎหมายในบางมาตราตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายดังนี้ คือ
มาตรา ๓๗/๑ เกี่ยวกับความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระหว่างสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชน และสถานประกอบการ
เนื่องจากสมาชิกเห็นว่ามีการกำหนดไว้ในพระราช-บัญญัติการศึกษาแห่งชาติและแนวนโยบายแห่งรัฐอยู่แล้ว
มาตรา ๓๙ ในข้อความ "จนกว่าจะมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอาชีวศึกษาและกฎหมาย
ว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรของการศึกษาอาชีวศึกษาโดยเฉพาะ"
นอกจากนี้ ยังมีการปรับ ถ้อยคำในมาตรา ๓๗/๔ วรรค ๒ เป็น "การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี สำหรับค่าใช้จ่ายทางการศึกษา
ตามที่ประมวลกฎหมายรัษฎากรกำหนด" จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของกรรมาธิการด้วยคะแนน ๒๗๐ เสียง
และเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
---------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
ก้องเกียรติ ผือโย / ชัญญา ชำนาญกุล ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์