นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘ข่าวยามเช้า’ ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 เมกะเฮิร์ท ถึงกรณีที่มีการจัดเวทีรวมพลคนด่ารัฐบาลขึ้นว่า เป็นเรื่องแปลกของคนที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ต้องยอมรับความจริงว่า เวทีวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งสาเหตุก็มาจากท่าทีของนายกฯ และอีกส่วนหนึ่งคือ เมื่อระยะเวลาของการบริหารงานผ่านไป ผลงานของรัฐบาลหลายเรื่องปรากฏชัดเจนมากขึ้น นำมาสู่เหตุผลที่ทำให้คนอยากวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลมากขึ้น
สำหรับการจัดเวทีดังกล่าวขึ้นนั้นไม่มีความจำเป็น เพราะในระบอบประชาธิปไตยถ้านายกฯต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยจริงๆ มีหลายเวทีที่จะให้คนเขาเล่นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเวทีที่จัดขึ้นโดยใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม การจัดสัมมนาทางวิชาการ หรือ การให้พื้นที่กับสื่อ ซึ่งรัฐบาลนี้เป็นผู้ปิดกั้นไม่ให้คนที่วิพากษ์วิจารณ่ได้ใช้ สื่ออย่างเต็มที่เหมือนในอดีต และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือในกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐบาลไม่เคยมาฟัง ญัตติกฎหมาย หรือมาตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน และฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างจริงจัง โดยเฉพาะท่านนายกฯ
นายอภิสิทธิ์ ได้ยกตัวอย่างถึง มาตราการ 5% ของระบบราชการ ว่า ถ้ารัฐบาลให้ความสนใจในการอภิปราย คงมีการแก้ไขมาก่อนหน้านี้ พอถึงวันที่ 30 ก.ย. จำเป็นที่จะต้องส่งรายชื่อก็มายกเลิกเรื่องดังกล่าว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลเข้าใจผิดในเรื่องของการทำงาน ทั้งนี้ถ้ารัฐบาลต้องการฟังตัวแทนของประชาชน ทั้ง ส.ส. และ สว. ต้องใช้มาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ โดยเปิดสภาอภิปรายเป็นการทั่วไปโดยไม่ต้องลงมติ ‘ท่านสบายใจได้ไม่มีใครไปไล่ท่าน แต่ว่าเปิดอภิปรายทั่วไป แล้วให้ส.ส.และสว.สะท้อนเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน และถ่ายทอดไปทั่วประเทศนั้นก็ทำได้เป็นหน้าที่ของสภา อีกทั้งนายกฯก็มีอำนาจในการดำเนินการได้ ไม่ต้องไปเสียงบประมาณเพิ่มเติม ผ้าเย็น อาหารการกินอะไร พวกตนไม่สนใจ พวกตนสนใจเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น ซึ่งนายกฯอาจจะไม่เข้าใจ เพราะท่านอาจจะให้ความสนใจกับผ้าเย็นกับอาหารมากกว่า’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
รองหน.พรรคปชป. กล่าวต่ออีกว่า เรื่องที่มีการวิจารณ์นายกฯมากที่สุด คือ เรื่องของการรวบอำนาจ โดยพยายามที่จะไปครอบงำ ดึงกลไกต่างๆของสังคมให้อยู่ภายใต้การควบคุมของตนเอง ซึ่งหากอำนาจไปร่วมอยู่ที่คนๆเดียว หรือกลุ่มเดียว ทำให้เกิดความเสื่อม และการใช้อำนาจถูกบิดเบื้อนเพื่อเอื้อประโยชน์ให้คนที่ถืออำนาจ ตนคิดว่า การจัดเวทีดังกล่าวขึ้นนั้นชี้ให้เห็นถึงรูปธรรมของการรวบอำนาจที่ชัดเจน ‘ขนาดบุคคลที่ต้องการวิจารณ์ท่านอย่างเสรี ท่านยังคิดว่าท่านมีอำนาจในการจัดการเป็นเจ้าภาพเสียงเอง ซึ่งผิดตั้งแต่ที่ท่านเริ่มคิด และยังไม่ทราบอีกว่าบุคคลเหล่านั้นไม่พอใจเรื่องใด’ รองหน.พรรคปชป.กล่าว และกล่าวต่อว่า ทั้งนี้เวทีที่เกิดขึ้นอาจจะก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มคน เพราะอาจจะมีกลุ่มคนที่เชียร์รัฐบาล หรืออาจจะเชียร์ท่านนายกฯ ก็มี เมื่อไปอยู่ในเวทีเหล่านั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความรุนแรง
‘ที่ท่านนายกฯบอกว่าจะไปฟัง และให้ครม.ไปนั่งฟัง แล้วบอกว่าจะลดการตอบโต้ ตนไม่แน่ใจเพราะเห็นว่าเมื่อวานนี้ พูดว่าจะกรวดน้ำ ตรงนี้อยากจะฝากนิดเดียวว่า คนบาปกับจิตใจอกุศลไม่อยู่ในฐานะจะไปกรวดน้ำแผ่เมตตาให้ใคร ’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
สำหรับการจัดเวทีดังกล่าวขึ้นนั้นไม่มีความจำเป็น เพราะในระบอบประชาธิปไตยถ้านายกฯต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยจริงๆ มีหลายเวทีที่จะให้คนเขาเล่นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเวทีที่จัดขึ้นโดยใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม การจัดสัมมนาทางวิชาการ หรือ การให้พื้นที่กับสื่อ ซึ่งรัฐบาลนี้เป็นผู้ปิดกั้นไม่ให้คนที่วิพากษ์วิจารณ่ได้ใช้ สื่ออย่างเต็มที่เหมือนในอดีต และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือในกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐบาลไม่เคยมาฟัง ญัตติกฎหมาย หรือมาตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน และฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างจริงจัง โดยเฉพาะท่านนายกฯ
นายอภิสิทธิ์ ได้ยกตัวอย่างถึง มาตราการ 5% ของระบบราชการ ว่า ถ้ารัฐบาลให้ความสนใจในการอภิปราย คงมีการแก้ไขมาก่อนหน้านี้ พอถึงวันที่ 30 ก.ย. จำเป็นที่จะต้องส่งรายชื่อก็มายกเลิกเรื่องดังกล่าว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลเข้าใจผิดในเรื่องของการทำงาน ทั้งนี้ถ้ารัฐบาลต้องการฟังตัวแทนของประชาชน ทั้ง ส.ส. และ สว. ต้องใช้มาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ โดยเปิดสภาอภิปรายเป็นการทั่วไปโดยไม่ต้องลงมติ ‘ท่านสบายใจได้ไม่มีใครไปไล่ท่าน แต่ว่าเปิดอภิปรายทั่วไป แล้วให้ส.ส.และสว.สะท้อนเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน และถ่ายทอดไปทั่วประเทศนั้นก็ทำได้เป็นหน้าที่ของสภา อีกทั้งนายกฯก็มีอำนาจในการดำเนินการได้ ไม่ต้องไปเสียงบประมาณเพิ่มเติม ผ้าเย็น อาหารการกินอะไร พวกตนไม่สนใจ พวกตนสนใจเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น ซึ่งนายกฯอาจจะไม่เข้าใจ เพราะท่านอาจจะให้ความสนใจกับผ้าเย็นกับอาหารมากกว่า’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
รองหน.พรรคปชป. กล่าวต่ออีกว่า เรื่องที่มีการวิจารณ์นายกฯมากที่สุด คือ เรื่องของการรวบอำนาจ โดยพยายามที่จะไปครอบงำ ดึงกลไกต่างๆของสังคมให้อยู่ภายใต้การควบคุมของตนเอง ซึ่งหากอำนาจไปร่วมอยู่ที่คนๆเดียว หรือกลุ่มเดียว ทำให้เกิดความเสื่อม และการใช้อำนาจถูกบิดเบื้อนเพื่อเอื้อประโยชน์ให้คนที่ถืออำนาจ ตนคิดว่า การจัดเวทีดังกล่าวขึ้นนั้นชี้ให้เห็นถึงรูปธรรมของการรวบอำนาจที่ชัดเจน ‘ขนาดบุคคลที่ต้องการวิจารณ์ท่านอย่างเสรี ท่านยังคิดว่าท่านมีอำนาจในการจัดการเป็นเจ้าภาพเสียงเอง ซึ่งผิดตั้งแต่ที่ท่านเริ่มคิด และยังไม่ทราบอีกว่าบุคคลเหล่านั้นไม่พอใจเรื่องใด’ รองหน.พรรคปชป.กล่าว และกล่าวต่อว่า ทั้งนี้เวทีที่เกิดขึ้นอาจจะก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มคน เพราะอาจจะมีกลุ่มคนที่เชียร์รัฐบาล หรืออาจจะเชียร์ท่านนายกฯ ก็มี เมื่อไปอยู่ในเวทีเหล่านั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความรุนแรง
‘ที่ท่านนายกฯบอกว่าจะไปฟัง และให้ครม.ไปนั่งฟัง แล้วบอกว่าจะลดการตอบโต้ ตนไม่แน่ใจเพราะเห็นว่าเมื่อวานนี้ พูดว่าจะกรวดน้ำ ตรงนี้อยากจะฝากนิดเดียวว่า คนบาปกับจิตใจอกุศลไม่อยู่ในฐานะจะไปกรวดน้ำแผ่เมตตาให้ใคร ’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-