นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘ข่าวยามเช้า’ ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 เมกะเฮิร์ท ถึงกรณีการเพิ่มค่าตอบแทนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ว่า ตามกฎหมาย เรื่องเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นของหน่วยงานอย่างปปช. รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ให้ออกเป็นพระราชบัญญัติ โดยมีกฎหมายออกมาตั้งแต่รัฐบาลของนายกฯชวน หลีกภัย และรัฐบาลชุดนี้ก็ได้แก้กฎหมายเพื่อเพิ่มเงินเดือนไปแล้วครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ระเบียบที่ปปช.สามารถออกเองได้จะมีเฉพาะเรื่องของการประกันสุขภาพ กับเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายเงินเดือนที่อนุญาตให้ ปปช.ออกระเบียบเพื่อเพิ่มเงินเดือนตนเอง ดังนั้นการขึ้นเงินเดือนให้กับตนเองของ ปปช. จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม โดยระเบียบที่บอกว่าเป็นค่าตอบแทนก็เขียนว่า เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่แบบเหมาจ่ายรายเดือน ถ้าเกิดให้ปปง. ทำอย่างนี้ได้ ต่อไปองค์กรอื่นๆ เช่น ปปง. หรือศาลรัฐธรรมนูญ ก็คงทำได้หมด ดีไม่ดีหน่วยงานราชการก็อาจจะออกระเบียบบริหารงานบุคคล เพิ่มเงินให้พวกเดียวกันเอง โดยบอกว่าเป็นค่าตอบแทนเพิ่มเติมรายเดือน ก็จะทำให้บิดเบือนกันหมด ซึ่งตรงนี้จะกลายเป็นปัญหาในทางกฎหมาย แน่นอน
‘ผมเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการเสนอกฎหมายฉบับนี้เข้าสภา ท่านอ้างมาตรา 107 เรื่องของการบริหารสำนักงาน ปปช.สามารถที่จะไปออกระเบียบเรื่องของการกำหนดตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ หรือผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานปปช.ได้ ตรงนี้ไม่ใช่ เพราะท่านออกให้ตัวท่านเอง คือประธานกับ กรรมการ เพราะฉะนั้นตรงนี้น่าจะขัดต่อกฎหมาย ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่า ทางวุฒิสภากำลังขอความร่วมมือเพื่อจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ เพราะบังเอิญมาเกิดกับปปง.จึงไม่เหมือนหน่วยงานอื่น เพราะปปช.มีหน้าทีปราบปรามการทุจริต และเมื่อถูกกล่าวหาแบบนี้ ก็เลยมีช่องทางตรวจสอบที่ไม่เหมือนกับองค์กรอื่น ซึ่งมีอยู่ 2 ทาง คือมาตรา 299 ให้ ส.ส.เข้าชื่อ 1 ใน 4 เสนอให้วุฒิลงมติถอดถอน และอีกช่องทางหนึ่ง คือ มาตรา 300 โดย สว.กับส.ส. เข้าชื่อกันแล้วส่งเรื่องไปที่ศาลอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีนี้จะใช้ในการกระทำผิดทางอาญา เช่น ทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งตนคิดว่าวุฒิสภาจะใช้มาตรานี้ อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูว่า ส.ว.มองว่าเข้าข่ายอะไร ซึ่ง ส.ส.ก็คงจะต้องตัดสินใจว่าจะให้ความร่วมมืออย่างไร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
‘ผมเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการเสนอกฎหมายฉบับนี้เข้าสภา ท่านอ้างมาตรา 107 เรื่องของการบริหารสำนักงาน ปปช.สามารถที่จะไปออกระเบียบเรื่องของการกำหนดตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ หรือผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานปปช.ได้ ตรงนี้ไม่ใช่ เพราะท่านออกให้ตัวท่านเอง คือประธานกับ กรรมการ เพราะฉะนั้นตรงนี้น่าจะขัดต่อกฎหมาย ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่า ทางวุฒิสภากำลังขอความร่วมมือเพื่อจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ เพราะบังเอิญมาเกิดกับปปง.จึงไม่เหมือนหน่วยงานอื่น เพราะปปช.มีหน้าทีปราบปรามการทุจริต และเมื่อถูกกล่าวหาแบบนี้ ก็เลยมีช่องทางตรวจสอบที่ไม่เหมือนกับองค์กรอื่น ซึ่งมีอยู่ 2 ทาง คือมาตรา 299 ให้ ส.ส.เข้าชื่อ 1 ใน 4 เสนอให้วุฒิลงมติถอดถอน และอีกช่องทางหนึ่ง คือ มาตรา 300 โดย สว.กับส.ส. เข้าชื่อกันแล้วส่งเรื่องไปที่ศาลอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีนี้จะใช้ในการกระทำผิดทางอาญา เช่น ทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งตนคิดว่าวุฒิสภาจะใช้มาตรานี้ อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูว่า ส.ว.มองว่าเข้าข่ายอะไร ซึ่ง ส.ส.ก็คงจะต้องตัดสินใจว่าจะให้ความร่วมมืออย่างไร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-