นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการประชุม Road Show ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนซึ่งประกอบด้วย (1) Pehin Dato Abdul Rahman Ibrahim รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังบรูไน (2) นาย Aun Porn Moniroth รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการการคลังและอุตสาหกรรมกัมพูชา (3) Tan Sri Nor Mohamed Yakcop รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองมาเลเซีย (4) นาง Juanita Amatong รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังฟิลิปปินส์ (5) Dr. Boediono รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย (6) นาย Lim Hng Kiang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (7) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย และ (8) Dr. Le Thi Bang Tam ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเวียดนาม ซึ่งได้ร่วมกันจัด ณ โรงแรม Westin Times Square นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 29 กันยายน 2547 สำหรับประเทศไทย โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. การจัดทำ Road Show รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งนี้เป็นการดำเนินการร่วมกันครั้งแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน มีจุดประสงค์เพื่อแสดงต้องการให้นักลงทุน ตระหนักถึงศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนปัจจัยที่ดึงดูดนักลงทุนให้มาร่วมลงทุนในอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) และในโอกาสนี้ประเทศไทยได้จัด Road Show ในส่วนของประเทศไทยซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการจัด Thailand Focus ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนสนใจมาลงทุนในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีจุดเด่นในการลงทุนที่แตกต่างจากสมาชิกในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ สำหรับในการจัด Road Show ครั้งนี้มีผู้บริหารกองทุนบริษัทในสหรัฐอเมริกาและผู้สนใจเข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คนผู้บริหารกองทุนดังกล่าวบริหารเงินกองทุนซึ่งลงทุนในเอเซียมากกว่า 50 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ
2. ในช่วงเช้าของวันที่ 29 กันยายน 2547 ซึ่งเป็นการทำ Road Show ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนซึ่งได้ร่วมกันแถลงให้นักลงทุนเห็นถึงศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของ ASEAN ภายใต้หัวข้อหลัก (theme) คือ "The Promise of ASEAN" โดยการบรรยายแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ (1) ศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (Economic Transformation and Regional Integration) (2) ภาคเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงในการเจริญเติบโต (ASEAN Growth Sectors) และ 3) ศักยภาพการพัฒนาของตลาดทุน (ASEAN Capital Markets) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
2.1 ในช่วงเปิดการประชุม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย และ Dr. Le Thi Bang Tam ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเวียดนามได้ร่วมแถลงถึงศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ ASEAN โดยกล่าวถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2547 มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6 ซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับกับภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมและหากสามารถคงแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่นนี้ต่อไป จนถึงปี 2553 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภูมิภาคอาเซียนจะมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ สหรัฐฯ ซึ่งถือได้ว่า ASEAN เป็นภูมิภาคมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพโดยที่ผ่านมาประเทศในอาเซียนได้มีความคืบหน้าไปมากในการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปภาคการเงิน การปรับโครงสร้างภาคเอกชนให้มีบรรษัทภิบาลมากขึ้น เพื่อสร้างรากฐานสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้เน้นให้นักลงทุนทราบถึงความร่วมมือในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่ร่วมมือกันผลักดัน และส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ซึ่งจะมีการรวมตัวกันอย่างแท้จริงทั้งทางด้านสินค้า บริการ และเงินทุนในปี 2563 ในด้านตลาดเงินและตลาดทุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้มีความร่วมมือในการจัดทำ Roadmap เพื่อสนับสนุนการรวมต้วทางการเงินของอาเซียนใน 4 ด้านได้แก่ การเปิดเสรีด้านบริการการเงิน การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเสรีเงินทุน การพัฒนาตลาดทุน และความร่วมมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความคืบหน้าของการลดภาษีศุลกากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการพัฒนาระบบศุลกากร อาเซียนให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข?งขันของภูมิภาคอาเซียนโดยรวมซึ่งสามารถทำให้บรรลุได้โดยการสร?างความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันการดึงศักยภาพความเข้มแข็งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละสมาชิกอาเซียนที่แตกต่างกันมารวมกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจจากความหลากหลายของ อาเซียน
2.2 ในช่วงที่ 2 Dr. Boediono รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซียได้เป็นประธานในการอภิปรายในเรื่องของ "ASEAN Growth Sector" เพื่อชี้ให้นักลงทุนเห็นโอกาส การลงทุนในภาคการผลิตและการบริการที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูงในอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วย ประชากรที่มีการศึกษาและอำนาจซื้อเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภูมิภาคอาเซียนอยู่ในระดับสูงดังกล่าว ทั้งสภาพภูมิศาสตร์และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีหลากหลาย นอกจากนี้แนวโน้มการรวมตัวกันของภูมิภาคอาเซียนเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็น แนวโน้มการรวมตัวกันของภูมิภาคอาเซียนเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวล้วนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนการลงทุนของต่างประเทศในภูมิภาคนี้ทั้งสิ้น
Tan Sri Nor Mohamed Yakcop รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองของมาเลเซียได้เป็นประธานในการอภิปรายในเรื่องสุดท้าย "The Development of Capital Markets" เพื่อชี้ให้นักลงทุนเห็นโอกาสในการลงทุนในตลาดทุนในอาเซียนซึ่งรวมทั้งตลาดตราสารหนี้และในตลาดหลักทรัพย์ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นลำดับ และมีแนวโน้มการเชื่อมโยงกันระหว่างสมาชิกมากขึ้น ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรวมถึงการพัฒนากฎระเบียบต่างๆ การพัฒนาบรรษัทภิบาล การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ซึ่งได้มีการขยายตัวเป็นอย่างมากทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาตราสารหนี้ของภาคเอกชน ณ สิ้นปี 2546 มูลค่าของตลาดตราสารหนี้ในประเทศสมาชิกอาเซียน 5 (สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย) มีมากกว่า 370 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ สำหรับตลาดหลักทรัพย์นั้นมีบริษัทเข้ารับการจดทะเบียนมากกว่า 2,300 บริษัท มูลค่าตลาดประมาณ 600 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ รัฐบาลของสมาชิกอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการร่วมมือในการพัฒนาตลาดทุนมากขึ้นได้แก่ การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย มาตรการริเริ่มในการเสริมสร้างความร่วมมือและการเชื่อมโยงระหว่างตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงในด้านการซื้อขาย การชำระราคาและการส่งมอบความช่วยเหลือทางวิชาการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว และความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่มีการพัฒนาตลาดทุนยังไม่เต็มที่
3. การจัด Roadshow ของแต่ละประเทศ มีประเทศอาเซียนที่สนใจทำ Roadshow เป็นรายประเทศ 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น มีนักลงทุนและผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเข้าฟังกว่า 270 คน โดยมี ดร. อุตตม สาวนายน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ผู้บรรยายประกอบด้วย ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลังบรรยายภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ม.ร.ว. ปรีดียาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย บรรยายเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และนาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บรรยายเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนและการพัฒนาตลาดทุนไทย โดยวัตถุประสงค์สำคัญในการทำการจัด Roadshow ของแต่ละประเทศครั้งนี้เพื่อต้องการบอกกล่าวให้นักลงทุนต่างชาติทราบถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างสมบูรณ์ โดยจะเห็นได้จากโครงสร้างของเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทยปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมากขึ้นทั้งภาคการคลัง และการเงิน นอกจากนี้เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติได้รับทราบข้อเท็จจริงว่าตลาดหลักทรัพย์ของไทยกำลังเจริญเติบโตอย่างมั่นคง ดังจะเห็นได้จากมีการเพิ่มขึ้นของมูลค่าตลาด (Market Capitalization) อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ไม่ใช่เป็นการเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) เท่านั้น แต่มีการนำสินค้าใหม่ๆ เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น ทั้งจากภาครัฐที่ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายนำรัฐวิสาหกิจหลายแห่งเข้าจดทะเบียนในตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ ได้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (มหาชน) บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งจากการที่ภาวะเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัว อย่างเต็มที่ดังกล่าวทำให้ภาคเอกชนได้สนใจเข้ามาระดมทุนใน ตลาดหลักทรัพย์เพื่อลงทุนขยายกิจการมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้เน้นให้เห็นว่าตลาดทุนไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านโครงสร้างในระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยมีบรรษัทภิบาลมากขึ้น
"นักลงทุนต่างชาติที่ได้เข้ามาร่วม Road Show ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนและของประเทศไทยนี้ ล้วนแต่เป็นนักลงทุนที่สนใจในภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่มีการลงทุนในประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังอาเซียนและคณะผู้แทนไทย จึงสร้างความมั่นใจในการเพิ่มการลงทุนที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นและนักลงทุนรายใหม่ก็พร้อมที่จะเข้ามาลงทุน ซึ่งนับว่าเป็นเป็นผลดีต่อประเทศไทยในระยะยาวเป็นอย่างมาก" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกล่าวในตอนท้าย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 76/2547 30 กันยายน 2547--
1. การจัดทำ Road Show รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งนี้เป็นการดำเนินการร่วมกันครั้งแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน มีจุดประสงค์เพื่อแสดงต้องการให้นักลงทุน ตระหนักถึงศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนปัจจัยที่ดึงดูดนักลงทุนให้มาร่วมลงทุนในอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) และในโอกาสนี้ประเทศไทยได้จัด Road Show ในส่วนของประเทศไทยซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการจัด Thailand Focus ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนสนใจมาลงทุนในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีจุดเด่นในการลงทุนที่แตกต่างจากสมาชิกในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ สำหรับในการจัด Road Show ครั้งนี้มีผู้บริหารกองทุนบริษัทในสหรัฐอเมริกาและผู้สนใจเข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คนผู้บริหารกองทุนดังกล่าวบริหารเงินกองทุนซึ่งลงทุนในเอเซียมากกว่า 50 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ
2. ในช่วงเช้าของวันที่ 29 กันยายน 2547 ซึ่งเป็นการทำ Road Show ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนซึ่งได้ร่วมกันแถลงให้นักลงทุนเห็นถึงศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของ ASEAN ภายใต้หัวข้อหลัก (theme) คือ "The Promise of ASEAN" โดยการบรรยายแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ (1) ศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (Economic Transformation and Regional Integration) (2) ภาคเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงในการเจริญเติบโต (ASEAN Growth Sectors) และ 3) ศักยภาพการพัฒนาของตลาดทุน (ASEAN Capital Markets) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
2.1 ในช่วงเปิดการประชุม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย และ Dr. Le Thi Bang Tam ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเวียดนามได้ร่วมแถลงถึงศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ ASEAN โดยกล่าวถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2547 มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6 ซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับกับภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมและหากสามารถคงแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่นนี้ต่อไป จนถึงปี 2553 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภูมิภาคอาเซียนจะมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ สหรัฐฯ ซึ่งถือได้ว่า ASEAN เป็นภูมิภาคมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพโดยที่ผ่านมาประเทศในอาเซียนได้มีความคืบหน้าไปมากในการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปภาคการเงิน การปรับโครงสร้างภาคเอกชนให้มีบรรษัทภิบาลมากขึ้น เพื่อสร้างรากฐานสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้เน้นให้นักลงทุนทราบถึงความร่วมมือในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่ร่วมมือกันผลักดัน และส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ซึ่งจะมีการรวมตัวกันอย่างแท้จริงทั้งทางด้านสินค้า บริการ และเงินทุนในปี 2563 ในด้านตลาดเงินและตลาดทุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้มีความร่วมมือในการจัดทำ Roadmap เพื่อสนับสนุนการรวมต้วทางการเงินของอาเซียนใน 4 ด้านได้แก่ การเปิดเสรีด้านบริการการเงิน การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเสรีเงินทุน การพัฒนาตลาดทุน และความร่วมมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความคืบหน้าของการลดภาษีศุลกากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการพัฒนาระบบศุลกากร อาเซียนให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข?งขันของภูมิภาคอาเซียนโดยรวมซึ่งสามารถทำให้บรรลุได้โดยการสร?างความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันการดึงศักยภาพความเข้มแข็งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละสมาชิกอาเซียนที่แตกต่างกันมารวมกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจจากความหลากหลายของ อาเซียน
2.2 ในช่วงที่ 2 Dr. Boediono รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซียได้เป็นประธานในการอภิปรายในเรื่องของ "ASEAN Growth Sector" เพื่อชี้ให้นักลงทุนเห็นโอกาส การลงทุนในภาคการผลิตและการบริการที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูงในอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วย ประชากรที่มีการศึกษาและอำนาจซื้อเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภูมิภาคอาเซียนอยู่ในระดับสูงดังกล่าว ทั้งสภาพภูมิศาสตร์และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีหลากหลาย นอกจากนี้แนวโน้มการรวมตัวกันของภูมิภาคอาเซียนเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็น แนวโน้มการรวมตัวกันของภูมิภาคอาเซียนเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวล้วนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนการลงทุนของต่างประเทศในภูมิภาคนี้ทั้งสิ้น
Tan Sri Nor Mohamed Yakcop รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองของมาเลเซียได้เป็นประธานในการอภิปรายในเรื่องสุดท้าย "The Development of Capital Markets" เพื่อชี้ให้นักลงทุนเห็นโอกาสในการลงทุนในตลาดทุนในอาเซียนซึ่งรวมทั้งตลาดตราสารหนี้และในตลาดหลักทรัพย์ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นลำดับ และมีแนวโน้มการเชื่อมโยงกันระหว่างสมาชิกมากขึ้น ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรวมถึงการพัฒนากฎระเบียบต่างๆ การพัฒนาบรรษัทภิบาล การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ซึ่งได้มีการขยายตัวเป็นอย่างมากทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาตราสารหนี้ของภาคเอกชน ณ สิ้นปี 2546 มูลค่าของตลาดตราสารหนี้ในประเทศสมาชิกอาเซียน 5 (สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย) มีมากกว่า 370 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ สำหรับตลาดหลักทรัพย์นั้นมีบริษัทเข้ารับการจดทะเบียนมากกว่า 2,300 บริษัท มูลค่าตลาดประมาณ 600 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ รัฐบาลของสมาชิกอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการร่วมมือในการพัฒนาตลาดทุนมากขึ้นได้แก่ การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย มาตรการริเริ่มในการเสริมสร้างความร่วมมือและการเชื่อมโยงระหว่างตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงในด้านการซื้อขาย การชำระราคาและการส่งมอบความช่วยเหลือทางวิชาการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว และความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่มีการพัฒนาตลาดทุนยังไม่เต็มที่
3. การจัด Roadshow ของแต่ละประเทศ มีประเทศอาเซียนที่สนใจทำ Roadshow เป็นรายประเทศ 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น มีนักลงทุนและผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเข้าฟังกว่า 270 คน โดยมี ดร. อุตตม สาวนายน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ผู้บรรยายประกอบด้วย ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลังบรรยายภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ม.ร.ว. ปรีดียาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย บรรยายเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และนาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บรรยายเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนและการพัฒนาตลาดทุนไทย โดยวัตถุประสงค์สำคัญในการทำการจัด Roadshow ของแต่ละประเทศครั้งนี้เพื่อต้องการบอกกล่าวให้นักลงทุนต่างชาติทราบถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างสมบูรณ์ โดยจะเห็นได้จากโครงสร้างของเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทยปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมากขึ้นทั้งภาคการคลัง และการเงิน นอกจากนี้เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติได้รับทราบข้อเท็จจริงว่าตลาดหลักทรัพย์ของไทยกำลังเจริญเติบโตอย่างมั่นคง ดังจะเห็นได้จากมีการเพิ่มขึ้นของมูลค่าตลาด (Market Capitalization) อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ไม่ใช่เป็นการเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) เท่านั้น แต่มีการนำสินค้าใหม่ๆ เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น ทั้งจากภาครัฐที่ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายนำรัฐวิสาหกิจหลายแห่งเข้าจดทะเบียนในตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ ได้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (มหาชน) บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งจากการที่ภาวะเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัว อย่างเต็มที่ดังกล่าวทำให้ภาคเอกชนได้สนใจเข้ามาระดมทุนใน ตลาดหลักทรัพย์เพื่อลงทุนขยายกิจการมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้เน้นให้เห็นว่าตลาดทุนไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านโครงสร้างในระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยมีบรรษัทภิบาลมากขึ้น
"นักลงทุนต่างชาติที่ได้เข้ามาร่วม Road Show ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนและของประเทศไทยนี้ ล้วนแต่เป็นนักลงทุนที่สนใจในภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่มีการลงทุนในประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังอาเซียนและคณะผู้แทนไทย จึงสร้างความมั่นใจในการเพิ่มการลงทุนที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นและนักลงทุนรายใหม่ก็พร้อมที่จะเข้ามาลงทุน ซึ่งนับว่าเป็นเป็นผลดีต่อประเทศไทยในระยะยาวเป็นอย่างมาก" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกล่าวในตอนท้าย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 76/2547 30 กันยายน 2547--