กรุงเทพ--30 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ทางไกลจากนครนิวยอร์กเกี่ยวกับผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในวันนี้ ในระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก สรุปได้ดังนี้
1. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้มีการหารือถึงการเตรียมการ เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ที่จะมีขึ้นที่เวียงจันทน์ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2547 โดยมีการหารือกันเกี่ยวกับร่างแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ที่จะเผยแพร่ภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียนสิ้นสุดลง
2. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้หารือกันเกี่ยวกับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียได้กล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้แจ้งให้รัฐบาลไทยทราบอย่างเป็นทางการถึงการสนับสนุนของรัฐบาลอินโดนีเซียต่อการสมัครตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียได้เสนอว่า ประเทศอาเซียนทั้งหลายควรให้การสนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ หลังจากนั้นรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนต่างก็ได้แสดงท่าทีสนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในการสมัครตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ดังนั้น ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งนี้ถือว่า ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้รับการนับสนุนจากสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศอย่างเป็นทางการแล้ว
3. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ตกลงกันว่า สมาชิกประเทศอาเซียนจะช่วยดำเนินการหาเสียงให้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในการเข้าชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งตำแหน่งนี้จะมีการเลือกตั้งในช่วงกลางปี ค.ศ. 2006 และจะมีการเข้ารับหน้าที่ในปลายปี 2006 ซึ่งในขั้นต่อไปเอกอัครราชทูตลาวประจำสหประชาชาติในฐานะผู้แทนประเทศลาวซึ่งเป็นประธาน อาเซียนอยู่ในขณะนี้จะมีหนังสือเวียนไปยังผู้แทนกลุ่มประเทศเอเชียในสหประชาชาติทั้งหมดเพื่อแจ้งให้ทราบว่า บัดนี้ อาเซียนได้ให้การสนับสนุนแก่ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในการสมัครเข้าชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติแล้ว นอกจากนี้ ในการหารือระหว่างที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ รัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศลาวก็ได้แจ้งแก่เลขาธิการสหประชาชาติด้วยว่าสมาชิกอาเซียนได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการแก่ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในการสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติด้วย
4. สำหรับการดำเนินการหาเสียงต่อไปนั้น โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่าเนื่องจากก่อนหน้านี้ทางกลุ่มสมาชิกประเทศเอเชียในสหประชาชาติได้มีหนังสือถึงเลขาธิการ สหประชาชาติแล้วโดยยืนยันว่า เลขาธิการสหประชาชาติคนต่อไปหลังจากนายโคฟี่ อันนัน ควรมาจากภูมิภาคเอเชีย เพราะฉะนั้นต่อไปก็จะเป็นการหาเสียงจากกลุ่มประเทศในเอเชียเพื่อสนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ และอีกส่วนหนึ่งก็คงจะต้องหาเสียงจากประเทศในภูมิภาคอื่นที่ไม่ได้อยู่ในภูมิภาค เอเชียด้วย เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นยอมรับว่าเลขาธิการสหประชาชาติคนต่อไปควรมาจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในส่วนของสมาชิกประเทศอาเซียนก็จะช่วยกันหาเสียง โดยสมาชิกอาเซียนประเทศใดมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับประเทศใดหรือกลุ่มใดก็จะช่วยหาเสียงกับประเทศหรือกลุ่มนั้น
5. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เป็นเวลา 30 ปีแล้วที่ไม่มีชาวเอเชียเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ และประเทศในเอเชียก็เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในสหประชาชาติ ซึ่งรวมถึงจีน ญี่ปุ่น อินเดีย จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ชาวเอเชียน่าจะดำรงตำแหน่งนี้ ในส่วนของไทยนั้น จุดยืนของไทยเชื่อว่าหากไทยได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติแล้ว ไทยจะสามารถมี บทบาทสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ พร้อมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบพหุภาคีภายใต้ระบบสหประชาชาติได้ โดยนโยบายของไทย ขณะนี้เป็นนโยบาย Pro-active โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการให้ความร่วมมือทางวิชาการ ส่งเสริมความร่วมมือในด้านความมั่นคงของมนุษย์ และด้านทุ่นระเบิดเป็นต้น
6. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเช้าวันเดียวกัน นายอานันท์ ปันยารชุน ในฐานะประธานคณะทำงานเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ ได้พบกับ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและบรรยายสรุปให้ทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าในการทำงานของ คณะทำงาน และประเด็นพิจารณาที่สำคัญเกี่ยวกับกระบวนการของสหประชาชาติ ตลอดจน ระยะเวลาดำเนินการของคณะทำงาน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นและสามารถนำเสนอรายงานให้เลขาธิการสหประชาชาติพิจารณาในต้นเดือนธันวาคม 2547 นี้ ซึ่งรายงานนี้จะมีความสำคัญ เนื่องจากการปฏิรูปสหประชาชาติเป็นเรื่องที่จะต้องมีการหารือกันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพราะ ปีหน้าจะเป็นการครบรอบ 60 ปีของสหประชาชาติ ซึ่งเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติคงเป็นเรื่อง หลักที่จะต้องมีการหารือกัน โดยนำเอารายงานของคณะทำงานของนายอานันท์ ปันยารชุน มาเป็นพื้นฐานในการหารือ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ทางไกลจากนครนิวยอร์กเกี่ยวกับผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในวันนี้ ในระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก สรุปได้ดังนี้
1. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้มีการหารือถึงการเตรียมการ เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ที่จะมีขึ้นที่เวียงจันทน์ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2547 โดยมีการหารือกันเกี่ยวกับร่างแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ที่จะเผยแพร่ภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียนสิ้นสุดลง
2. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้หารือกันเกี่ยวกับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียได้กล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้แจ้งให้รัฐบาลไทยทราบอย่างเป็นทางการถึงการสนับสนุนของรัฐบาลอินโดนีเซียต่อการสมัครตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียได้เสนอว่า ประเทศอาเซียนทั้งหลายควรให้การสนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ หลังจากนั้นรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนต่างก็ได้แสดงท่าทีสนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในการสมัครตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ดังนั้น ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งนี้ถือว่า ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้รับการนับสนุนจากสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศอย่างเป็นทางการแล้ว
3. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ตกลงกันว่า สมาชิกประเทศอาเซียนจะช่วยดำเนินการหาเสียงให้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในการเข้าชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งตำแหน่งนี้จะมีการเลือกตั้งในช่วงกลางปี ค.ศ. 2006 และจะมีการเข้ารับหน้าที่ในปลายปี 2006 ซึ่งในขั้นต่อไปเอกอัครราชทูตลาวประจำสหประชาชาติในฐานะผู้แทนประเทศลาวซึ่งเป็นประธาน อาเซียนอยู่ในขณะนี้จะมีหนังสือเวียนไปยังผู้แทนกลุ่มประเทศเอเชียในสหประชาชาติทั้งหมดเพื่อแจ้งให้ทราบว่า บัดนี้ อาเซียนได้ให้การสนับสนุนแก่ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในการสมัครเข้าชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติแล้ว นอกจากนี้ ในการหารือระหว่างที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ รัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศลาวก็ได้แจ้งแก่เลขาธิการสหประชาชาติด้วยว่าสมาชิกอาเซียนได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการแก่ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในการสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติด้วย
4. สำหรับการดำเนินการหาเสียงต่อไปนั้น โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่าเนื่องจากก่อนหน้านี้ทางกลุ่มสมาชิกประเทศเอเชียในสหประชาชาติได้มีหนังสือถึงเลขาธิการ สหประชาชาติแล้วโดยยืนยันว่า เลขาธิการสหประชาชาติคนต่อไปหลังจากนายโคฟี่ อันนัน ควรมาจากภูมิภาคเอเชีย เพราะฉะนั้นต่อไปก็จะเป็นการหาเสียงจากกลุ่มประเทศในเอเชียเพื่อสนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ และอีกส่วนหนึ่งก็คงจะต้องหาเสียงจากประเทศในภูมิภาคอื่นที่ไม่ได้อยู่ในภูมิภาค เอเชียด้วย เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นยอมรับว่าเลขาธิการสหประชาชาติคนต่อไปควรมาจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในส่วนของสมาชิกประเทศอาเซียนก็จะช่วยกันหาเสียง โดยสมาชิกอาเซียนประเทศใดมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับประเทศใดหรือกลุ่มใดก็จะช่วยหาเสียงกับประเทศหรือกลุ่มนั้น
5. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เป็นเวลา 30 ปีแล้วที่ไม่มีชาวเอเชียเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ และประเทศในเอเชียก็เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในสหประชาชาติ ซึ่งรวมถึงจีน ญี่ปุ่น อินเดีย จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ชาวเอเชียน่าจะดำรงตำแหน่งนี้ ในส่วนของไทยนั้น จุดยืนของไทยเชื่อว่าหากไทยได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติแล้ว ไทยจะสามารถมี บทบาทสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ พร้อมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบพหุภาคีภายใต้ระบบสหประชาชาติได้ โดยนโยบายของไทย ขณะนี้เป็นนโยบาย Pro-active โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการให้ความร่วมมือทางวิชาการ ส่งเสริมความร่วมมือในด้านความมั่นคงของมนุษย์ และด้านทุ่นระเบิดเป็นต้น
6. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเช้าวันเดียวกัน นายอานันท์ ปันยารชุน ในฐานะประธานคณะทำงานเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ ได้พบกับ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและบรรยายสรุปให้ทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าในการทำงานของ คณะทำงาน และประเด็นพิจารณาที่สำคัญเกี่ยวกับกระบวนการของสหประชาชาติ ตลอดจน ระยะเวลาดำเนินการของคณะทำงาน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นและสามารถนำเสนอรายงานให้เลขาธิการสหประชาชาติพิจารณาในต้นเดือนธันวาคม 2547 นี้ ซึ่งรายงานนี้จะมีความสำคัญ เนื่องจากการปฏิรูปสหประชาชาติเป็นเรื่องที่จะต้องมีการหารือกันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพราะ ปีหน้าจะเป็นการครบรอบ 60 ปีของสหประชาชาติ ซึ่งเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติคงเป็นเรื่อง หลักที่จะต้องมีการหารือกัน โดยนำเอารายงานของคณะทำงานของนายอานันท์ ปันยารชุน มาเป็นพื้นฐานในการหารือ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-